เครื่องมือทางภูมิศาสตร์หมายถึง

  1. 1.              เครื่องมือทางภูมิศาสตร์

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์  คือ วัสดุ อุปกรณ์ ในรูปแบบต่างๆ ที่นำมาใช้เป็นสื่อเพื่อการศึกษาการสำรวจ  การเก็บรวบรวม การบันทึก การวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจนใช้เป็นสื่อในการเผยแพร่ข้อมูลทางภูมิศาสตร์

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์จำแนกตามหน้าที่หลักของการใช้งานได้  2  ประเภท  ดังนี้

ประเภทที่  1 เครื่องมือที่ทำหน้าที่เป็นสื่อความรู้ทางภูมิศาสตร์ สื่อความรู้ทางภูมิศาสตร์  หมายถึงวัสดุ   อุปกรณ์  หรือเทคโนโลยีต่างๆ  ที่ทำหน้าที่เผยแพร่ให้ความรู้  สำหรับการศึกษาเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์  อาจอยู่ในรูปของตัวหนังสือ  รูปภาพ  แผนภูมิ  แบบจำลอง  สื่อดิจิทัล  เสียง  และภาพเคลื่อนไหวต่างๆ  ตัวอย่างเครื่องมือเหล่านี้  เช่น  ตำราเรียนภูมิศาสตร์  เว็บไซต์ที่เผยแพร่ความรู้ทางภูมิศาสตร์  แผนที่ประเภทต่างๆ  ลูกโลกจำลอง  ภูมิประเทศจำลอง  รูปถ่ายทางอากาศ  ภาพจากจานดาวเทียม  เป็นต้น

ประเภทที่  2 เครื่องมือที่ทำหน้าที่เป็นสื่อเก็บรวบรวมข้อมูลทางภูมิศาสตร์ สื่อเก็บรวบรวมข้อมูลทางภูมิศาสตร์  หมายถึง  วัสดุ  อุปกรณ์  หรือเทคโนโลยีต่างๆ  ที่ทำหน้าที่เพื่อสำรวจ  ตรวจวัด  บันทึก  เก็บรวบรวม  และวิเคราะห์ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ ตัวอย่างเครื่องมือเหล่านี้  เช่น  สมุดจดบันทึก  เข็มทิศ  เทปวัดระยะทาง  กล้องสามมิติ  (Stereoscope)  เทอร์โมมิเตอร์  (Thermometer)  ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก  หรือจีพีเอส  (Global  Positioning  System  :  GPS)  ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์  หรือจีไอเอส  (Geographic  Information  System  :  GIS)  ข้อมูลจากการรับรู้ระยะไกล  (Remote  Sensing  :  RS)  เป็นต้น

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์หมายถึง

1.2        ลูกโลกจำลอง

ลูกโลกจำลอง  เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อจำลองลักษณะของโลกแสดงที่ตั้งอาณาเขตพรมแดนของประเทศต่างๆ และลูกโลกจำลองยังสามารถใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอนเกี่ยวกับโลกได้เป็นอย่างดี  ลูกโลกจำลองแสดงสิ่งต่อไปนี้

1)   รูปทรงของโลก  โลกมีรูปทรงกลมคล้ายผลส้ม  คือ  ตรงบริเวณขั้วโลกทั้งสองยุบราบลงเล็กน้อยและป่องตรงบริเวณศูนย์สูตร  โลกมีเส้นผ่านศูนย์กลางที่เส้นศูนย์สูตร  ยาว  12,756  กิโลเมตร  และมีเส้นผ่านศูนย์กลางจากขั้วโลกเหนือถึงขั้วโลกใต้ยาว  12,714  กิโลเมตร  จึงเห็นได้ว่ารูปร่างของโลกไม่เป็นทรงกลมอย่างแท้จริง  บนผิวโลกจะมีองค์ประกอบหลัก  2  ส่วน  คือ  ส่วนที่เป็นพื้นน้ำ  ได้แก่  ทะเล  มหาสมุทรต่างๆ  มีเนื้อที่รวมกัน  375  ล้านตารางกิโลเมตร  และส่วนที่เป็นแผ่นดิน  ได้แก่  ทวีปและเกาะต่างๆ  มีเนื้อที่รวมกัน  150  ล้านตารางกิโลเมตร  เมื่อรวมทั้งพื้นน้ำและแผ่นดินแล้ว  โลกจะมีเนื้อที่รวมประมาณ  525  ล้านตารางกิโลเมตร  โดยคิดสัดส่วนบริเวณผิวของเปลือกโลกจะเป็นพื้นน้ำ  2  ใน  3  ส่วน  และส่วนที่เป็นแผ่นดิน  1  ใน  3  ส่วน

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์หมายถึง

ดังนั้น  การสร้างลูกโลกจำลองจึงต้องเป็นไปตามสัดส่วนของโลก  แต่เนื่องจากเมื่อมีการย่อส่วนเป็นลูกโลกจำลองแล้ว  จะพบว่าค่าความยาวของเส้นผ่านศูนย์กลางที่เส้นศูนย์สูตร  และจากขั้วโลกเหนือไปยังขั้วโลกใต้  จะมีค่าไม่ต่างกันมากนัก  จึงเห็นได้ว่ารูปโลกจำลองมีลักษณะทรงกลม  เพราะมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย  เมื่อเทียบกับขนาดจริงของโลก

2)  ข้อมูลที่แสดงบนลูกโลกจำลอง  ลูกโลกจำลองมีหลายแบบตามวัตถุประสงค์ของการแสดง  ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น  2  แบบ  ดังนี้

2.1)  ลูกโลกแสดงลักษณะผิวโลก  โดยแบ่งผิวโลกออกเป็น  2  ส่วนอย่างชัดเจน คือ ส่วนที่เป็นพื้นน้ำ ซึ่งได้แก่ น้ำทะเล  มหาสมุทรเป็นส่วนใหญ่จะแสดงด้วยสีน้ำเงินอ่อน  และส่วนที่เป็นแผ่นดิน  ซึ่งได้แก่  รายละเอียดของทวีป  ประเทศ  ที่ตั้งของเมืองหลวงและเมืองสำคัญ

2.2)  ส่วนที่สมมติขึ้น  ลูกโลกจำลองจะแสดงเส้นเมริเดียนที่ลากจากขั้วโลกเหนือสู่ขั้วโลกใต้  และเส้นขนานที่ลากรอบโลกขนานกับเส้นศูนย์สูตร  เส้นทั้งสองมีไว้เพื่อบอกพิกัดภูมิศาสตร์เป็นค่าของละติจูด  และลองจิจูดของตำแหน่งต่างๆ  ที่อยู่บนพื้นผิวโลก

1.3        รูปถ่ายทางอากาศ

รูปถ่ายทางอากาศ  คือ  รูปที่ได้จากการถ่ายทางอากาศ  โดยผ่านเลนส์กล้องและฟิล์ม  หรือข้อมูลเชิงเลข  ซึ่งถ่ายด้วยกล้องที่นำไปในอากาศยาน  อันได้แก่  บัลลูน  เครื่องบิน  เป็นต้น  ในสมัยปัจจุบันมีการถ่ายรูปทางอากาศจากยานอวกาศได้ด้วย  ปกติการถ่ายรูปทางอากาศจะถ่ายจากเครื่องบินที่มีการวางแผนการบิน  และกำหนดมาตราส่วนของแผนที่มาแล้วเป็นอย่างดี  กล้องถ่ายรูปทางอากาศคล้ายกับกล้องถ่ายรูปทั่วไปในอดีตแต่มีขนาดใหญ่กว่า  เลนส์ยาวกว่า  และใช้ฟิล์มขนาดใหญ่  ซึ่งปกติจะมีขนาดประมาณ  24 x  24  เซนติเมตร  รูปถ่ายทางอากาศจะให้ข้อมูลที่ค่อนข้างละเอียด  นอกจากนี้  รูปถ่ายทางอากาศมีการถ่ายรูปซ้อนทับพื้นที่บนรูปที่ต่อเนื่องกัน  จึงสามารถดูเป็นภาพสามมิติ  หรือทรวดทรงของผิวโลกได้  ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในด้านภูมิศาสตร์

1) ประเภทของรูปถ่ายทางอากาศ  รูปถ่ายทางอากาศ  มี  2  ประเภทใหญ่ๆ  ตามลักษณะการถ่ายรูปดังนี้

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์หมายถึง

1.1)  รูปถ่ายทางอากาศแนวดิ่ง  เป็นรูปถ่ายทางอากาศที่ถ่ายรูปในแนวตั้งฉากกับผิวโลกและไม่เห็นแนวขอบฟ้า

1.2) รูปถ่ายทางอากาศแนวเฉียง  เป็นรูปถ่ายที่เกิดจากการกำหนดแกนของกล้องในลักษณะเฉียง  แบ่งออกเป็น  2  ชนิด  คือ

1)  รูปถ่ายทางอากาศแนวเฉียงสูง  ลักษณะรูปถ่ายจะเห็นแนวขอบฟ้าเป็นแนวกว้างใหญ่

2)  รูปถ่ายทางอากาศแนวเฉียงต่ำ  เป็นรูปถ่ายทางอากาศที่ไม่ปรากฏเส้นขอบฟ้าในภาพรูปถ่ายทางอากาศแนวเฉียงสูงและแนวเฉียงต่ำใช้แสดงภาพรวมของพื้นที่แต่มีมาตราส่วนบนรูปถ่ายทางอากาศแตกต่างกัน  รูปถ่ายทางอากาศแนวดิ่งมีมาตราส่วนในรูปค่อนข้างคงที่  จึงเป็นที่นิยมนำมาใช้ทำแผนที่

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์หมายถึง

2) หลักการแปลความหมายจากรูปถ่ายทางอากาศ  มีหลักการ  ดังนี้

 2.1)  ความแตกต่างของความเข้มของสี  วัตถุต่างชนิดกันจะมีการสะท้อนคลื่นแสงต่างกัน  เช่น  ดินแห้งที่ไม่มีต้นไม้ปกคลุมจะสะท้อนคลื่นแสงมาก  จึงมีสีขาว  น้ำดูดซับเคลื่อนแสงมากจะสะท้อนคลื่นแสงน้อย  จึงมีสีดำ  บ่อน้ำตื้นหรือมีตะกอนมากจะสะท้อนคลื่นแสงได้ดีกว่าบ่อน้ำลึกหรือเป็นน้ำใส  ป่าไม้หนาทึบจะสะท้อนคลื่นแสงน้อยกว่าป่าไม้ถูกทำลาย  ดังนั้น  ป่าไม้แน่นทึบจึงมีสีเข้มกว่าป่าถูกทำลาย  เป็นต้น

2.2)  ขนาดและรูปร่าง  เช่น  สนามฟุตบอลรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่  เป็นต้น

 2.3)  เนื้อภาพและรูปแบบ  เช่น  ป่าไม้ธรรมชาติจะมีเรือนยอดเป็นจุดเล็กบ้างใหญ่บ้างมีระดับสูงต่ำ  และไม่เรียงเป็นระเบียบ  ส่วนป่าปลูกจะมีเรือนยอดสูงใกล้เคียงกันละเรียงเป็นระเบียบ  เป็นต้น

2.4)  ความสูงและเงา  ในกรณีที่วัตถุมีความสูง  เช่น  ต้นไม้สูง  ตึกสูง  เป็นต้น  เมื่อถ่ายรูปทางอากาศในระดับไม่สูงมาก  และเป็นช่วงเวลาเช้า  หรือเวลาบ่ายจะมีเงา  ทำให้ช่วยในการแปลความหมายได้ดี

2.5)  ตำแหน่งและความสัมพันธ์  เช่น  เรือในแม่น้ำ  เรือในทะเล  รถยนต์บนถนน  ต่างแสดงตำแหน่งความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน  เป็นต้น

2.6)  ข้อมูลประกอบ  เช่น  ใช้แผนที่การใช้ที่ดิน  แผนที่ป่าไม้ประกอบการแปลความหมายด้านการใช้ที่ดินและป่าไม้  เป็นต้น

2.7)  การตรวจสอบข้อมูล  ผู้แปลจะต้องมีความรู้ที่จะนำองค์ประกอบมาผสมผสานกัน  การตรวจสอบข้อมูลภาคสนามจะช่วยให้การแปลความหมายถูกต้องแม่นยำ  แต่รูปถ่ายทางอากาศที่ถ่ายในช่วงปีที่แตกต่างกันจะช่วยทำให้เห็นลักษณะการใช้ที่ดินที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  ทั้งโดยกิจกรรมของมนุษย์และตามสภาพธรรมชาติ

3)  ประโยชน์ของรูปถ่ายทางอากาศ  มีดังนี้

1.  การสำรวจและทำแผนที่ภูมิประเทศ

2.  การใช้ในกิจการทหารและความมั่นคงของประเทศ

3.  การสำรวจและติดตามการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

4.  การสำรวจและติดตามการเปลี่ยนแปลงพื้นที่การใช้ที่ดิน

5.  การวางผังเมืองและการสำรวจแหล่งโบราณคดี

6.  การสำรวจและการติดตามด้านยุทธศาสตร์และความมั่นคงของชาติ

1.4  ภาพจากดาวเทียม 

ดาวเทียม  คือ  วัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นเลียนแบบดาวบริวารของดาวเคราะห์  เพื่อให้โคจรรอบโลกมีอุปกรณ์สำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอวกาศและถ่ายทอดข้อมูลนั้นมายังโลก  ดาวเทียมที่โคจรรอบโลกใช้เป็นอุปกรณ์โทรคมนาคมด้วย  เช่น  ถ่ายทอดคลื่นวิทยุและโทรทัศน์ข้ามทวีป  หรือใช้ในการบันทึกทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นบนแผ่นดินและผืนน้ำ

ข้อมูลจากดาวเทียม  เป็นสัญญาณตัวเลขที่ได้รับ  ณ  สถานีรับสัญญาณดาวเทียมภาคพื้นดินในประเทศไทยมีสถานีรับสัญญาณดาวเทียมสำรวจทรัพยากร  ตั้งอยู่ที่อำเภอศรีราชา  จังหวัดชลบุรี  และที่เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร  และมีสถานีรับสัญญาณของกรมอุตุนิยมวิทยากระจายตามภูมิภาคของประเทศ  เมื่อสถานีรับสัญญาณภาคพื้นดินได้รับข้อมูลตัวเลขที่ส่งมาแล้ว  จึงแปลงตัวเลขออกเป็นภาพอีกครั้งหนึ่ง  ซึ่งเรียกว่าภาพจากดาวเทียม  ที่นำไปแปลความหมายต่อไปได้ในระบบคอมพิวเตอร์สามารถนำข้อมูลตัวเลขมาวิเคราะห์เชิงสถิติเพื่อจัดกลุ่มข้อมูลใหม่  ซึ่งเป็นการแปลความหมายอีกรูปแบบหนึ่งได้

1) ชนิดของดาวเทียม  แบ่งออกได้ดังนี้

1.1)  ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา  เป็นดาวเทียมที่บันทึกข้อมูลด้านอุตุนิยมวิทยาดาวเทียมบางดวงจะโคจรรอบโลกในอัตราเร็วเท่ากับการหมุนของโลกและอยู่ในแนวตะวันออกตะวันตกเสมอ  เช่น  ดาวเทียม  GMS  ดาวเทียม  GOES  เป็นต้น  ซึ่งจะมีการบันทึกข้อมูลภูมิอากาศเกือบตลอดเวลา  จึงเป็นประโยชน์มากในการพยากรณ์อากาศและการเตือนภัย

1.2)  ดาวเทียมสมุทรศาสตร์  เป็นดาวเทียมที่บันทึกข้อมูลสมุทรศาสตร์  เช่น  ดาวเทียม SEASAT  จะบันทึกข้อมูลด้านสมุทรศาสตร์  และดาวเทียม  MOS  (Marine  Observation  Satellite)  นอกจากจะใช้ในการสำรวจด้านสมุทรศาสตร์แล้ว  ยังนำมาใช้ในการสำรวจด้านสมุทรศาสตร์แล้ว  ยังนำมาใช้ในการสำรวจบนแผ่นดินแต่ไม่เป็นที่นิยมมากนัก  เป็นต้น

1.3)  ดาวเทียมสำรวจแผ่นดิน  เป็นดาวเทียมที่บันทึกข้อมูลของผิวโลก  จึงมีการนำมาใช้ประโยชน์มากมาย  เช่น  ดาวเทียมธีออส  THEOS  ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของไทย  ส่วนดาวเทียม  LANDSAT  ของสหรัฐอเมริกา  ดาวเทียม  SPOT  ของประเทศฝรั่งเศส  ดาวเทียม  ERS  ของกลุ่มประเทศยุโรป  ดาวเทียม  RANDARSAT  ของประเทศแคนาดา  เป็นต้น

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์หมายถึง

1.4) ดาวเทียมสื่อสาร  เป็นดาวเทียมเพื่อการติดต่อสื่อสารและโทรคมนาคม  เช่น  การรับส่งสัญญาณโทรศัพท์  โทรสาร  ข่าวสาร  ภาพโทรทัศน์  รายการวิทยุ  ข้อมูลข่าวสาร  คอมพิวเตอร์  เป็นต้น  ดาวเทียมสื่อสารเป็นดาวเทียมค้างฟ้าที่อยู่คงที่บนฟ้าของประเทศใดประเทศหนึ่งตลอดเวลา  โดยหลายประเทศจะมีดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศของตนเอง  เช่น  ประเทศไทยมีดาวเทียมไทยคม  ประเทศญี่ปุ่นมีดาวเทียมซากุระ  ประเทศฝรั่งเศสมีดาวเทียมยูริสหรัฐอเมริกามีดาวเทียมเวสดาร์  แคนาดามีดาวเทียมแอนิค  เป็นต้น

1.5)   ดาวเทียมเพื่อกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก  เป็นดาวเทียมที่ใช้ในการสำรวจหาตำแหน่งของวัตถุบนพื้นโลก  ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน  เช่น  เป็นเครื่องมือนำร่องยานพาหนะต่างๆ  จากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง  การกำหนดตำแหน่งเพื่อวางแผนก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค  การหาตำแหน่งของสถานที่ที่ต้องการเดินทางไปโดยใช้ระยะทางที่สั้นที่สุด  เป็นต้น

1.6) ดาวเทียมเพื่อกิจการทหาร  เป็นดาวเทียมที่ใช้ในภารกิจของทหาร  การถ่ายภาพจากกรรมความลับของข้าศึก  การศึกษาแนวพรมแดน  การกำหนดเป้าโจมตีทางทหาร  ดาวเทียมทหารมักจะเป็นความลับของทุกประเทศ  และดาวเทียมทั่วไปก็อาจมีการติดตั้งอุปกรณ์พิเศษเสริมเพื่อใช้งานทางทหาร  เช่น  การใช้ดาวเทียมสื่อสารในการติดต่อระหว่างกองทัพกับฐานทัพ  การใช้ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาในการสำรวจอากาศที่เหมาะสมสำหรับการปฏิบัติการทางทหารต่างๆ  เป็นต้น

2)  การแปลความหมายภาพจากดาวเทียม  สามารถทำได้  ดังนี้

2.1)  ในกรณีที่พิมพ์ข้อมูลเป็นภาพพิมพ์  อาจจะเป็นภาพขาว – ดำ  หรือภาพสี  จะแปลความหมายโดยใช้วิธีเดียวกับการแปลความหมายจากรูปถ่ายทางอากาศ

2.2) ในกรณีที่เป็นข้อมูลตัวเลข  ข้อมูลตัวเลขที่ได้จากดาวเทียมจะถูกแปลงเป็นภาพอีกครั้งหนึ่ง โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีโปรแกรมเฉพาะในการแปลความหมาย  อาจจะให้เครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมช่วยจัดกลุ่มข้อมูลตามหลักสถิติ  แล้วจึงกำหนดกลุ่มข้อมูลตามวัตถุประสงค์ต่อไป

3) ประโยชน์ของข้อมูลจากจานดาวเทียม  ข้อมูลจากดาวเทียมมีประโยชน์  ดังนี้

3.1)  ด้านการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม  หลังจากที่ได้มีการศึกษาและวางแผนอย่างมีระบบ  และได้มีการดำเนินงานในพื้นที่แล้ว  เช่น  พื้นที่ที่ควรคืนสภาพป่า  พื้นที่ที่อนุญาตให้ตัดไม้  จำเป็นต้องมีวิธีการจัดการอย่างต่อเนื่อง  เช่น  การเข้าไปสังเกตการณ์  การตรวจวัดหรือตรวจสอบ  แต่ถ้าพื้นที่นั้นเป็นพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่  การติดตามตรวจสอบทำได้ยากและมีค่าใช้จ่ายสูง  จึงมีการนำข้อมูลจากดาวเทียมมาใช้

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์หมายถึง

ตัวอย่างเช่น  จากการสำรวจพบว่าในปี  พ.ศ.  2516  ไทยมีพื้นที่ป่าไม้ร้อยละ  43.21  ของพื้นที่ประเทศ  แต่ในปี  พ.ศ.  2536  ลดลงเหลือเพียงร้อยละ  26.02  ของพื้นที่ประเทศ  จากข้อมูลนี้จึงทำให้มีการรณรงค์เพื่อรักษาพื้นที่ป่าไม้ให้มากขึ้น  เป็นต้น  นอกจากนี้ข้อมูลจากดาวเทียมยังใช้ในการศึกษาติดตามการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้  โดยเฉพาะป่าต้นน้ำลำธาร  สำรวจพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์และป่าเสื่อมโทรมทั่วประเทศ  ศึกษาไฟป่า  หาพื้นที่ที่เหมาะสำหรับการปลูกสร้างสวนป่าแทนบริเวณที่ถูกบุกรุก

3.2)  ด้านการทำแผนที่  ข้อมูลจากดาวเทียมสามารถนำมาสร้างเป็นแผนที่เฉพาะเรื่อง  เช่น  แผนที่ธรณีวิทยา  แผนที่ดิน  เป็นต้น  ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงช้า  และข้อมูลบางชนิดที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว  เช่น  การเคลื่อนย้ายของสัตว์ป่า  การใช้ที่ดิน  เป็นต้น  สำหรับในประเทศไทยยังมีการใช้ประโยชน์ข้อมูลจากดาวเทียมค่อนข้างจำกัด  สำหรับการจัดทำแผนที่เฉพาะเรื่อง  บทบาทสำคัญของข้อมูลดาวเทียมจึงใช้ในการปรับปรุงแผนที่เดิมที่มีอยู่แล้ว  เช่น  การปรับปรุงแผนที่ภูมิประเทศ  การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน  เป็นต้น  ข้อมูลส่วนใหญ่ได้จากดาวเทียมสำรวจทรัพยากรที่สำคัญ  เช่น  ดาวเทียม  LANDSAT  ดาวเทียม  SPOT  และ  MOS-1  เป็นต้น

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์หมายถึง

3.3)  ด้านอุตุนิยมวิทยา  ข้อมูลจากดาวเทียมสามารถนำมาใช้ในการติดตามลักษณะอากาศในช่วงเวลาตลอด  24  ชั่วโมง  ทำให้การพยากรณ์อากาศมีความถูกต้องแม่นยำและทันเหตุการณ์

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์หมายถึง

ข้อมูลจากดาวเทียมมีประโยชน์อย่างยิ่งในการป้องกันและเตือนภัยพิบัติ  ลดความสูญเสียที่เกิดจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง  เช่น  การเกิดฝนฟ้าคะนอง  การเคลื่อนตัวของพายุ  การเกิดน้ำท่วม  เป็นต้น  ทำให้สามารถวางแผนการช่วยเหลือและฟื้นฟูได้อย่างเหมาะสม

ในปัจจุบันดาวเทียมมีบทบาทมากขึ้นในหลายด้าน  ทั้งด้านเศรษฐกิจ  ด้านความบันเทิง  ด้านการติดต่อสื่อสาร  ด้านธรณีวิทยา  ด้านกรมอุตุนิยมวิทยา  หรือแม้แต่ด้านโทรคมนาคม  และดาวเทียมก็ยังถูกพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง  จนก้าวไปสู่ระบบอุตสาหกรรมดาวเทียม

ที่มา : http://etcgeography.wordpress.com/2011/07/19/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-1/

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์มีอะไรบ้าง

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ แผนที่ ลูกโลก เข็มทิศ ภาพถ่ายดาวเทียม ภาพถ่ายทางอากาศ แผนที่

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์มีความหมายว่าอย่างไร

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์คือ วัสดุอุปกรณ์ ในรูปแบบต่างๆ ที่นามาใช้เป็นสื่อเพื่อการศึกษาการสารวจ การเก็บรวบรวม การบันทึก การวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจนใช้เป็นสื่อในการเผยแพร่ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ สามารถจาแนกตามหน้าที่หลักของการใช้งานได้2 ประเภท ดังนี้

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์หมายถึงอะไรและมีความสำคัญอย่างไร

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ หมายถึง สิ่งที่ใช้ศึกษาข้อมูล ทางภูมิศาสตร์ เกี่ยวกับตําแหน่ง ทําเล ที่ตั้ง การ กระจาย ขอบเขต ความหนาแน่น และปรากฏการณ์ ต่างๆ ความสําคัญ เครื่องมือทางภูมิศาสตร์มีความสําคัญต่อการศึกษาโลกและ ปรากฏการณ์บนโลกอย่างยิ่งเพราะช่วยให้มองเห็นภาพของ

ข้อใดเป็นประโยชน์ของเครื่องมือทางภูมิศาสตร์

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์มีความสำคัญอย่างไร answer choices. ใช้เป็นข้อมูลในการแก้ปัญหา ช่วยให้มนุษย์มองเห็นภาพของโลกได้ชัดเจน