ฟ้อนเล็บ คือการแสดงพื้นเมืองของภาคใด

เป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของนาฏศิลป์ล้านนา ซึ่งมักจะแสดงในโอกาสพิเศษเพื่อต้อนรับแขกผู้มีเกียรติหรือฟ้อนสมโภชในทางพุทธศาสนา ท่าเดินของฟ้อนเล็บนี้ถือกันว่าได้เลียนแบบมาจากการเยื้องย่างของช้าง แต่เดิมการฟ้อนเล็บไม่มีท่าฟ้อนเฉพาะแน่นอน พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ในรัชกาลที่ 5 ได้ทรงโปรดปรับปรุงแก้ไขให้สวยงามและมีท่ารำเฉพาะแน่นอน  เอกลักษณ์การฟ้อนเล็บ คือ เล็บโลหะสีทองยาวที่สวมต่อนิ้วผู้รำบ่งบอกถึงความอ่อนช้อยดูแล้วสบายตา การเกล้าผมมวยสูง แต่งหน้าให้มีสีสันรับกับรอยยิ้มที่ส่งถึงผู้ชมให้ไม่ละสายตาในการแสดง

2.การฟ้อนขันดอก อีกหนึ่งศิลปะการรำของนาฏศิลป์ล้านนาที่จะไม่พูดถึงไม่ได้เลย เอกลักษณ์ที่โดดเด่นของการฟ้อนชนิดนี้ คือ การถือพานไม้ด้านในพานจะใส่ดอกไม้นานาชนิด โดยส่วนใหญ่จะเป็นดอกไม้เพื่อตบแต่งบูชา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และไฮไลท์ของการฟ้อนขันดอก  คือการโปรยดอกไม้ขึ้นเหนือศรีษะ ที่ชมแล้วสามารถสร้างความเพลิดเพลิน อีกทั้งเป็นการสร้างลูกเล่นให้การฟ้อนนั้นไม่น่าเบื่ออีกต่อไป   สำหรับการแต่งกาการฟ้อนของภาคเหนือจะเห็นว่า ผู้หญิงจะนุ่งผ้ามีเชิงยาวถึงเท้า สวมเสื้อเกาะอก พร้อมห่มสไบ ยาวคล้องคลุมปล่อยชายลงมาถึงเข่า   การแต่งกายแบบนี้เนื่องจาก อากาศทางภาคเหนือมีอากาศเย็นสบาย  ประชาชนสมัยก่อนจึงนิยมใส่เกาะอก และห่มสไบ  ผมเกล้าสูงทัดดอกไม้แล้วห้อยอุบะ ดอกไม้โลหะ ดอกไม้สด  เพราะทางภาคเหนือมีอากาศดี  ดอกไม้จึงสวยงาม  โดยเฉพาะดอกเอื้อง  หรือดอกกล้วยไม้มีมาก  นำมาประดับผมทำให้สวยงามทั้งผู้ฟ้อนและลีลาการฟ้อนนั่นเอง

     การฟ้อนได้ถือว่าเป็นการแสดงออกถึงวัฒนธรรมและขนบประเพณีชาวเหนือ  ซึ่งมีลักษณะเฉพาะ ทั้งการต่างกาย  จังหวะ และลีลา ท่าทางการฟ้อนรำ  เพลงและดนตรีที่ใช้ประกอบ จึงนับเป็นศิลปะและวัฒนธรรมของชาวภาคเหนือที่ทรงคุณค่าอย่างแท้จริง

เขียนโดย : นายธนบดี นิ่มวงษ์ เจ้าหน้าที่งานประชาสัมพันธ์ ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

           หากจะถามถึงความเป็นเอกลักษณ์ของฟ้อนเล็บแล้ว ถ้าจะตอบว่าคือท่าฟ้อน และการแต่งกายยังตอบไม่ได้ เต็มคำเพราะถูกปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ค่อนข้างมาก หรือตอบว่าอยู่ที่เล็บก็ยังไม่ใช่เพราะการรำมโนราห์ ของภาคใต้ก็สวมเล็บ การฟ้อนผู้ไทของ จังหวัดสกลนครก็สวมเล็บเช่นกัน แม้จะมีพู่ไหมพรมสีแดงตรงปลายเล็บก็ตาม และคำตอบที่น่าจะใกล้เคียงได้แก่ เครื่องดนตรีและเพลงประกอบการฟ้อน และที่น่าจะถูกต้องมากที่สุด เห็นจะได้แก่ ภาพรวมทั้งหมด เพราะใครพบเห็นฟ้อนชนิดนี้ที่ไหน ก็ต้องตอบเป็นเสียงเดียวกันว่าเป็นฟ้อนเล็บ ซึ่งเป็นการแสดงที่อ่อนช้อยงดงาม ตามแบบฉบับของคนเมืองชาวล้านนาโดยแท้

                   ได้รับอิทธิพลจากศิลปะของลาว ซึ่งมักเรียกการละเล่นว่า "เซิ้ง ฟ้อน และหมอลำ" เช่น เซิ้งกระติบข้าว เซิ้งโปงลาง เซิ้งแหย่ไข่มดแดง ฟ้อนภูไท เซิ้งสวิง เซิ้งบ้องไฟ เซิ้งกะหยัง เซิ้งตังหวาย ฯลฯ ใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้านประกอบด้วย แคน พิณ ซอ กลองยาวอีสาน โปงลาง โหวด ฉิ่ง ฉาบ ฆ้อง และ กรับ ส่วนกลุ่มอีสานใต้ ได้รับอิทธิพลจากศิลปะของเขมร มีการละเล่นที่เรียกว่า "เรือม หรือ เร็อม" เช่น เรือมลูดอันเร (รำกระทบสาก) รำกระโน็บติงต็อง (ระบำตั๊กแตนตำข้าว) รำอาไย (รำตัด) วงดนตรีที่ใช้บรรเลงคือวงมโหรีอีสานใต้ มีเครื่องดนตรี เช่น ซอด้วง ซอตรัวเอก กลองกันตรึม พิณ ระนาดเอกไม้ ปี่สไล กลองรำมะนา และเครื่องประกอบจังหวะ การแต่งกายประกอบการแสดงแต่งแบบวัฒนธรรม ของพื้นบ้านอีสาน มีลักษณะลีลาท่ารำและท่วงทำนองดนตรีในการแสดงค่อนข้างกระชับ กระฉับกระเฉง รวดเร็ว และสนุกสนาน

การแสดงฟ้อนเล็บคือภาคอะไร

การฟ้อนเล็บ เป็น ศิลปะการแสดงพื้นบ้านล้านนา หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ฟ้อนแห่ครัวทาน ” เนื่องจากจะแสดงในขบวนแห่ครัวทานของวัด ต่อมามีการสวมเล็บที่ทำด้วยทองเหลืองทั้ง ๘ นิ้ว (ยกเว้นนิ้วโป้ง) จึงเรียกว่าฟ้อนเล็บ ถือเป็นการแสดงที่อ่อนช้อย จะแสดงในงานบุญ งานปอยหลวง และงานประเพณีสำคัญต่างๆ

ข้อใดเป็นการแสดงพื้นเมือง

การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ ได้แก่ ฟ้อนเทียน ฟ้อนเล็บหรือฟ้อนเมือง ฟ้อนลาวแพน ฟ้อนรัก ฟ้อนเงี้ยว ฟ้อนดวงเดือน ฟ้อนดวงดอกไม้ ฟ้อนดวงเดือน ฟ้อนมาลัย ฟ้อนไต ฟ้อนดาบ ฟ้อนโยคีถวายไฟ ระบำชาวเขา รำกลองสะบัดไช เพลงพื้นเมืองภาคเหนือ เช่น เพลงซอ เพลงชาวเหนือ เพลงดวงดอกไม้

รำฟ้อนเล็บนิยมแสดงในโอกาสใด

เดิมจะฟ้อนในงานฉลองสมโภช เพื่อนำขบวนทานหรือเป็นมหรสพในงาน ปัจจุบันมีการแสดงให้นักท่องเที่ยวได้ชม จึงมีปรากฏให้เห็นตามโรงแรม ห้องอาหารโดยทั่วไป อนึ่งการฟ้อนในลักษณะเดียวกันนี้ ถ้าถอดเล็บออกและขณะที่ฟ้อนก็ถือเทียนไปด้วย เรียกว่า “ฟ้อนเทียน” การฟ้อนโดยลักษณะการนี้มีความเป็นมาว่าในสมัยพระราชชายาเจ้าดารารัศมี มีการแสดงถวาย ...

ฟ้อนเล็บนิยมแสดงช่วงเวลาใด

ฟ้อนเล็บ เป็นการฟ้อนของชาวไทยภาคเหนือ กระบวนการฟ้อนเช่นเดียวกับชุดฟ้อนเทียน เพียงแต่ไม่ถือเทียน ผู้ฟ้อนสวมเล็บโลหะยาวทุกนิ้ว เว้นแต่นิ้วหัวแม่มือนิยมฟ้อนในเวลากลางวัน ใช้ผู้ฟ้อนจำนวนมาก เป็นศิลปะการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ของภาคเหนือโดยเฉพาะ รูปแบบการฟ้อนมีอยู่ ๒ แบบ คือ แบบพื้นเมือง เรียกว่า ฟ้อนเมือง และแบบคุ้มเจ้าหลวง