จากการตรวจสอบความแข็งของแร่อยากทราบว่า

คำถามประจำที่เจ้าของร้านมักพบเจอเสมอในกลุ่มผู้รักหิน รวมถึงลูกค้าบางท่าน ที่ไปพบหินที่สวยงามเข้า ไม่ว่าจะเก็บมาหรือซื้อจากร้านค้าบางร้านที่ไม่ทราบชนิดของหิน แต่หินชนิดดังกล่าวมีความสวยงาม และมีความน่าสนใจ น่าสะสม คือ หินที่ตัวเองพบนั้นเป็นหินชนิดใด? 

โดยส่วนใหญ่จะส่งเพียงภาพถ่ายของหินชนิดดังกล่าวมาให้เจ้าของร้าน หรือส่งไปให้ผู้รู้สักท่านดูรูปหินชนิดนั้นๆ ซึ่งการดูรูป จะบอกได้เพียงลักษณะของสีของหินชนิดดังกล่าว หากโชคดีก็จะถ่ายรูปโดนรูปผลึกของหินชนิดนั้นๆ ผู้ที่ถูกถามก็จะพอตอบได้ รวมถึงถ่ายติดชนิดหินข้างเคียงที่เกิดร่วมกับหินชนิดดังกล่าว ก็จะเริ่มตัดตัวเลือกออกได้บ้าง แต่หากมีเพียงรูปของหินชนิดนั้นๆเดี่ยวๆหรือ ผ่านการแปรรูปเป็นงานแกะสลักแล้วนั้น แทบจะตอบได้ โดยดูจากสีของหินที่ใกล้เคียงได้แบบเดียวเลยทีเดียว นอกจากนี้ การถ่ายรูปมีความผิดพลาด ทางด้านสีค่อนข้างมาก ชนิดของแสงที่ใช้ส่องก็อาจทำให้สีเพี้ยนเกินจริง บางครั้งยังมีการชุบน้ำ หรือน้ำมัน ทำให้สีสันสดกว่าความเป็นจริงอีกเช่นกัน

บทความนี้ เจ้าของร้านขอนำเสนอการทดสอบ รวมถึงข้อสังเกตขั้นต้นของหินชนิดต่างๆ เพื่อใช้เป็นการพิจารณา ชนิดของหิน รวมถึงทดสอบว่าเป็นแบบนั้นจริงหรือไม่ เพื่อให้ผู้รักหินสีทุกท่านใช้กันตัวเอง เวลามีคนมาหลอกขายหิน หรืออัญมณี และใช้พิสูจน์ชนิดหินของตัวเองขั้นต้น

ก่อนอื่น อยากให้ท่านผู้อ่านทุกท่านสังเกตที่ตอนท้ายของบทความแนะนำชนิดหินทุกบทความของร้าน PWsalestone จะมีข้อมูลถึงลักษณะทางกายภาพของหินชนิดต่างๆ ซึ่งจะเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวของหินชนิดนั้นๆ

                

จากการตรวจสอบความแข็งของแร่อยากทราบว่า

ยกตัวอย่างของแร่กัลลินา จะบอกถึงสี กลุ่มแร่ ค่าความถ่วงจำเพาะ ค่าความแข็งของโมร์ สีผงรอยแตก ความมันเงา และโครงสร้างผลึก (หมายเหตุ: บทความความนี้ ยังไม่ขอกล่าวถึงการดูรูปผลึก(Crystal form(habit))

ดังนั้นสิ่งแรกที่เราเห็น คือ

สีของเนื้อหิน(Color) อาจเป็นคุณสมบัติพื้นฐานที่ง่ายที่สุดในการสังเกต น่าเสียดายที่คุณไม่สามารถระบุชนิดหินได้ เมื่อเห็นแค่เพียงสีเท่านั้นเพราะก็มีหินหลายชนิด ที่มีสีเดียวกัน การดูสีของหิน ช่วยจำกัดชนิดของหินที่เรากำลังคิด ถึงความเป็นไปได้ของหินชนิดนั้นๆ แต่ในหลายครั้ง อาจมีชนิดสีของหินหรือแร่บางชนิดที่มีสีอื่นอีก ทำให้ขอบเขตที่เรากำลังคิดอยู่ผิดพลาดได้ ตังอย่างเช่น แร่กัลลินาเอง ก็มีสีที่แตกต่างกัน เมื่อตอนที่แตกใหม่ๆ และจะกลายเป็นอีกสีเมื่อสัมผัสกับอากาศแล้ว หรือ ไคยาไนต์ที่มีสีน้ำเงินในตลาด แต่ก็มีสีเขียว สีแดง สีใส สีขาว สีดำ ด้วยเช่นกัน เป็นต้น ดังนั้นสีเป็นตัวดูขั้นต้นเท่านั้น และไม่สามารถใช้ในการตัดสินชนิดได้มากมายเท่าใดหนัก

จากการตรวจสอบความแข็งของแร่อยากทราบว่า

สีผงของรอยแตก(Streak) เป็นสีของผงแร่ที่หลุดออกมา เมื่อทำการทดสอบขูดหรือถูบนแผ่นหรือกระเบื้องเซรามิก(ด้านหลังที่สากๆ) หรือแผ่นพอร์ซเลนที่ไม่มีการเคลือบผิวให้เรียบ ทำให้แร่ทิ้งคราบผงไว้บนแผ่นเซรามิค ทำให้เราสามารถเห็นสีของแร่ชนิดนั้นๆ ในการทดสอบนี้ ต้องประเมินก่อนด้วยว่าแผ่นจานที่ใช้ทดสอบมีค่าความแข็งมากกว่าตัวหินที่ใช้ทดสอบ ไม่เช่นนั้นสีผงจะไม่มีหลุดจากหิน แต่จะเป็นผงที่แตกจากจานแทน รวมถึงจุดที่ใช้ขูดต้องเป็นตัวเนื้อแร่ที่เราสงสัยจริงๆ เช่น จากรูปด้านบนของแร่กัลลินา หากใช้บริเวณของแร่ควอตซ์สีขาวขูด ผงที่ได้จะสีขาว แต่หากใช้บริเวณสีดำของแร่กัลลินาขูด ผงที่ได้จากสีเทาดำ เป็นต้น

                 

จากการตรวจสอบความแข็งของแร่อยากทราบว่า

  ในรูปเป็นการทดสอบสีผงรอยแตกของแร่เฮมาไทต์ ซึ่งมีสีออกสีแดง(รูปจาก Wikipedia)ค่าความแข็งของโมร์(Mohs Scale of Hardness) คือ ความสามารถของแร่หรือหินชนิดนั้นๆในการต้านทานการถูกขีดข่วน หินที่ไม่ถูกการขีดข่วนนั้น จะนับว่ามีความแข็งมากกว่าวัสดุที่นำมาขีดข่วย การทดสอบความแข็ง ทำได้โดยการนำวัสดุมาขีด ที่ผิวของหิน โดยวัสดุที่นำมาขีดควรรู้ค่าความแข็ง(ในทางกลับกัน อาจนำวัสดุที่เรารู้ค่าความแข็งมาเป็นตัวถูกขีดก็ได้ ถ้าถูกขีดแล้วมันไม่เป็นรอย ความหมาย คือ วัสดุชิ้นนั้นมีค่าความแข็งมากกว่า วัสดุที่นำมาขีด) 

ค่าความแข็งของโมร์ชนิดแร่
1 แร่ทัลก์ (แร่ที่เป็นส่วนประกอบของแป้งทาผิว)
2 แร่ยิปซัม (รวมถึง เซเลไนต์,เดเซิตโรส เป็นต้น)
3 แร่แคลไซต์ (พวกหินปูน)
4 แร่ฟลูออไรต์
5 แร่อะพาร์ไทต์
6 เฟลสปาร์ ตระกูลออร์โธเคลส เช่น ลาบราดอร์ไลต์
7 หินตระกูลควอตซ์
8 โทแพซ
9 คอรันดัม เช่น ทับทิม ไพลิน บุษราคัม และเขียวส่อง เป็นต้น
10 เพชร

เจ้าของร้านพยายามเน้นคุณสมบัติข้อนี้มากตั้งแต่บทความแรกๆ(การตรวจสอบหินแท้และปลอมด้วยค่าความแข็ง, การดูหินที่ถืออยู่ว่าเป็นชนิดใดขั้นต้น) 

การทดสอบคุณสมบัติข้อนี้ค่อนข้างง่าย เนื่องจากมีอุปกรณ์หลายอย่างภายในบ้าน ที่เราทราบค่าความแข็งของวัสดุชนิดนั้น เช่น เล็บมีค่าความแข็งเท่ากับ 2.5, แผ่นแก้ว มีด หรือตะปู(เป็นตะปูทั่วไป ไม่นับตะปูที่ทำจากเหล็กชนิดพิเศษ)  มีค่าความแข็งเท่ากับ  5.5, ตะไบเหล็กมีค่าความแข็งเท่ากับ 6.5 เป็นต้น เพื่อนำมาเป็นเกณฑ์ขั้นต้นในการตัดสินใจ ว่าหินชนิดดังกล่าว เป็นหินชนิดใด

สิ่งที่มักผิดพลาด ของผู้ทดสอบที่ไม่เคยทำและใช้วิธีการนี้ คือ การขูด คือ การขัดสีเท่านั้น ไม่ใช่ใช่การนำมากระทบ หรือกระแทก ซึ่งจะไม่ใช่ การทดสอบด้วยคุณสมบัตินี้ รวมถึงที่ผิวหน้าของชนิดหินที่ทดสอบต้องไม่มีสิ่งใดปิดทับอยู่ ซึ่งจะทำให้เกิดการเข้าใจผิดได้ง่าย และเมื่อขูดเสร็จให้เช็ดผิวหน้าที่ขูดให้สะอาด ก่อนประเมินว่ามันเป็นรอยหรือไม่ เพราะผงรอยที่เกิดขึ้น อาจเป็นผงหรือเศษที่แตกของวัสดุที่นำมาขีด รวมถึงรอย อาจเป็นรอบจากคราบของสารเคลือบ เช่น แลกเกอร์ ที่ผู้ขายเคลือบไว้ เพื่อให้ผิวหน้าเงาและป้องกันสารเคมีอื่นมาโดนหินก็ได้  

อนึ่ง หากผู้สนใจที่จะลองหาค่าความแข็งแบบละเอียดขึ้นว่ามีค่าเท่าไหร่ สามารถสั่งซื้อสินค้า ชุดทดสอบความแข็ง รวมถึง หรือสามารถซื้อ ผลึกส่วนปลายแร่ควอตซ์ ของทางร้านได้ครับ (เนื่องจากค่าความแข็งที่ 7 จะไม่ค่อยมีวัสดุอุปกรณ์ภายในบ้านที่มีค่าความแข็งเท่านี้ และที่ค่าความแข็งนี้ สามารถใช้ทดสอบพวกเพชรหรือพลอยได้ทีเดียว เพราะถ้าเพชรหรือพลอยแท้  ถ้านำผลึกควอตซ์ขูดต้องไม่เป็นรอยครับ) เพื่อนำไปใช้ขีดทดสอบกับตัวหินที่ท่านต้องการทราบชนิด  รวมถึง สามารถสั่งซื้อหินในตระกูลคอรันดัมที่มีค่าความแข็ง 9 ได้แก่ ทับทิม, ไพลิน, เขียวส่อง มาขูดกับเพชรที่บ้าน ถ้าไม่เป็นรอย แสดงว่า ค่าความแข็งเพชรมากกว่า จึงถือว่าของแท้ครับ

เจ้าของร้านอยากจะทำวิดีโอการทดสอบความแข็งอยู่เช่นกัน แต่ก็ยังไม่พร้อมทางด้านเทคนิคการจัดทำวิดีโอ ถ้าพร้อมเมื่อไหร่ เจ้าของร้านจะจัดทำออกมาในรูปแบบวิดีโอครับ

ค่าความถ่วงจำเพาะ(Specific Gravity) ซึ่งถ้าโดยนิยามจะเทียบค่ากับน้ำ ซึ่งจะมีค่าแตกต่างจากความหนาแน่นน้อยมากๆ เจ้าของร้านจึงขอใช้ คำว่า ความหนาแน่น(Density)  จึงพูดในเชิงความหนาแน่นว่า เป็นสัดส่วนของ น้ำหนักต่อหน่วยปริมาตร โดยหินที่มีค่าความถ่วงจำเพาะมากกว่า จะมีน้ำหนักมากกว่าที่ปริมาตรของหินที่เท่ากัน หรือจะมองในเชิงการยกตัวอย่างว่า หากเราเจอหินสีดำสองชิ้นที่มีขนาดเท่ากัน(ปริมาตรเท่ากัน)  ซึ่งอาจเป็นเจท(ค่าความถ่วงจำเพาะ 1.22 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร) หรือ แมกนีไทต์(ค่าความถ่วงจำเพาะ 5.1 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร) มาเปรียบเทียบกัน เราจะรู้สึกว่า แมกนีไทต์หนักกว่ามาก เพราะมากกว่าเกือบ 5 เท่า หรือกระทั่งไพไรต์(ที่มีควมถ่วงจำเพาะประมาณ 5 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร) มาเปรียบเทียบกับทองคำ(ที่มีความถ่วงจำเพาะประมาณ 19 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร) ที่ปริมาตรเท่ากัน เราจะรู้สึกได้ว่า ทองคำหนักกว่า เยอะมาก

การใช้ค่าความถ่วงจำเพาะ เราใช้เพื่อตัดตัวเลือก จากข้อด้านบนที่เราคิดไว้ว่า หินชนิดนี้ เป็นหินชนิดใดบ้าง เช่น ถ้าปกติ เราเคยถือถ่านหิน แต่เมื่อเรามาถือแร่เหล็ก เราจะรู้สึกได้ถึงความแตกต่างของชนิดหิน และสามารถบอกได้ว่ามันหนัก หรือเบาอย่างไร

วิธีการวัด เจ้าของร้านจะวัดคร่าวๆ โดย จะเอาหินแห้งชั่งน้ำหนักก่อน และจะใช้กระบอกตวง(Cylinder) ใส่น้ำ แล้วปล่อยหินลงไปเพื่อดูปริมาตรน้ำที่เปลี่ยนแปลงของระดับน้ำ และอ่านปริมาตรที่เพิ่มขึ้น ก่อนจะนำทั้งสองค่าที่ได้มาคำนวนหาค่าความหนาแน่น ซึ่งจะเป็นค่าประมาณ จึงขอแนะนำให้ ผู้สนใจที่จะใช้วิธีเดียวกับเจ้าของร้าน เมื่อได้ค่าแล้วควรเผื่อค่าในช่วงที่ทดลองซัก +และ- 0.5 จากค่ามาตรฐานของหินชนิดนั้น

จากการตรวจสอบความแข็งของแร่อยากทราบว่า

(หมายเหตุ ค่าที่ได้จะค่อนข้างคลาดเคลื่อนจากข้อมูลในข้อมูลเฉพาะของตัวแร่ เนื่องจากไม่ได้ทำในสภาวะควบคุมในห้องแลปมาตรฐานทั่วไป แต่จะมีค่าอยู่ในช่วงที่พออ่านได้) 

ความโปร่งแสง(Diaphaneity) คือ สมบัติของแร่ที่ยอมให้แสงผ่าน เป็นคุณสมบัติที่จะมองเห็นได้ทันทีหรือโดยการยกก้อนแร่ขึ้นมาส่องดูกับแสงไฟ หรือนำไฟฉายแรงสูงส่อง ความโปร่ง (Diaphaneity)  ซึ่งมีอยู่ 3 รูปแบบ ได้แก่

1. โปร่งใส (transparent)
 คือ ความใสที่สามารถจะมองผ่านไปเห็นวัสดุอื่นที่อยู่ด้านตรงข้ามได้ กล่าวคือ ยอมให้ทั้งแสงและสายตามองผ่านทะลุได้ เช่น ควอตซ์ โทแพซ

2. โปร่งแสง (translucent) เป็นความโปร่งแสง เมื่อนำไฟส่อง หินชิ้นนั้นยอมให้แสงผ่านได้ แต่ไม่สามารถจะมองทะลุได้ เช่น โรสควอตซ์ หรือมิลกี้ควอตซ์ เป็นต้น
3. ทึบแสง (opaque) คือ ไม่ยอมให้แสงและสายตาผ่านทะลุไปได้ เช่น แจสเปอร์หลายๆแบบ แร่กัลลินา ไพไรต์ เป็นต้น

ความโปร่งแสง และความทึบแสงช่วยในการแบ่งชนิดของหินและแร่ได้ เช่น อาเกต และแจสเปอร์ ซึ่งอยู่ในกลุ่มชาซิโดนีเหมือนกัน แต่จะต่างกัน คือ แจสเปอร์เป็นชาซิโดนีชนิดทึบแสง ในขณะที่อาเกตเป็นชาซิโดนีชนิดโปร่งแสง เป็นต้น

กลุ่มแร่(Mineral group) ในการดูหินที่เราสงสัยอยู่ เราจะรู้ว่าหินชนิดนั้น เป็นหินที่อยู่ในกลุ่มแร่อะไร ส่วนหนึ่งของคุณสมบัติของหินในกลุ่มแร่นั้นมีอยู่ จะเป็นกลุ่มแร่ และสามารถพิสูจน์ได้เองเช่นกัน เช่น
กลุ่มแร่ซัลไฟต์ มักมีกลิ่นของซัลเฟอร์ หรือกลิ่นของแก๊สไข่เน่าเป็นกลิ่นประจำตัว และสามารถพิสูจน์ได้ในชื้นที่แตกเปิดหน้าใหม่ๆ โดยการเผาและสัมผัสกลิ่น เช่น ใช้ไฟแช็คลนดู

กลุ่มแร่คาร์บอนเนต 
กลุ่มแร่คาร์บอนเนตมักมีปฏิกริยา เมื่อนำมาสัมผัสกับกรด เช่น กรดเกลือ จะเกิดฟอง เช่น แคลไซต์ โรโดโครไซต์ เป็นต้น ข้อแนะนำของเจ้าของร้าน ในการหากรดเกลือมาทดสอบ เช่น น้ำยาล้างห้องน้ำชนิดกรดต่างๆ ส่วนใหญ่ผลิตมาจากกรดเกลือนั่นเอง 

หากทดสอบด้วยการหยดกรดหรือเผาไฟดูแล้วได้ผลอย่างไร เราก็จะตัดตัวเลือก ได้ว่า หินชนิด ดังกล่าวเป็นหินชนิดใด

การดูคุณสมบัติพิเศษของหินชนิดต่างๆ หินหรือแร่หลายๆชนิดมักมีคุณสมบัติเฉพาะตัวพิเศษต่างๆที่ หินชนิดอื่นๆไม่มี ทำให้เราสามารถทราบได้ทันที ว่ามันเป็นชนิดอะไร เช่น มีลักษณะเหลือบแสงแบบลาบราดอร์ไลต์ ทำให้สามารถจำกัดชนิดของหินชนิดนั้นๆได้อีก ซึ่งจะมี ลาบราดอร์ไลต์, กาแลคไซต์ หรือ ลาวิไคต์ เป็นต้น 

จากบทความก่อนที่เจ้าของร้าน พบว่า หยกน้ำผึ้ง ที่ขายกันบริเวณแม่สอด เป็นหินอะเวนจูรีน เนื่องจากตอนที่เจ้าของร้านส่องดูและพบผลึกเล็กๆสีออกเหลือง เป็นแผ่นๆ เข้าใจว่าเป็นมัสโคไวต์ ซึ่งลักษณะที่เกิดการสะท้อนแสงจากผลึกเล็กๆที่อยู่ภายในเนื้อของหิน เรียกว่า อะเวนจูเรสเซนต์ ซึ่งเป็นคุณสมบัติของหินอะเวนจูรีนนั่นเอง

จากตอนแรกที่เจ้าของร้านกล่าวถึง คุณสมบัติต่างๆ ของหินชนิดนั้นๆ หากผู้สนใจต้องการจะถามในเรื่องของชนิดหิน ควรทดสอบและบอกถึงข้อมูลข้างต้นได้บ้าง อย่างน้อย 2-3 อย่าง เพื่อให้สามารถประเมินต่อได้ แต่หากมีเพียงรูปภาพอย่าเดียว อาจตอบได้คร่าวๆ เท่านั้น โดยผู้ที่พบหินชิ้นนั้น ไม่ควรไปกล่าวโทษผู้ตอบในภายหลัง เนื่องจากข้อมูลไม่เพียงพอในการตัดสินใจ ผู้ตอบก็เช่นกัน ไม่ควรตอบโดยที่ไม่มีข้อมูลอะไรเลยนอกจากข้อมูลเรื่อง สี อย่างเดียว แต่หากในรูปมีรูปผลึกด้วย เช่น รูปสีเหลี่ยมคางหมูของแคลไซต์ สี่เหลี่ยมลูกบาศก์ของฟลูออไรต์ เป็นต้น จะเป็นการตอบที่สมเหตุสมผลมากกว่า 

โดยปกติของหินในร้าน PWsalestone ก่อนจะลงสินค้าทุกครั้ง เจ้าของร้านจะดูสี หากสวยเกินไป เจ้าของร้านอาจนำมาทดลองกับน้ำยาล้างเล็บ(แต่ไม่ทำทุกครั้งหรือทุกชิ้น เฉพาะชิ้นที่สงสัย) ดูความโปร่งแสงเพื่อดูเนื้อภายใน ส่องดูพื้นของเนื้อเพื่อเช็คผลึก ทดสอบค่าความแข็ง(ไม่ทำทุกชิ้นเช่นกัน) ซึ่งจะทำในจุดที่มองดูไม่เด่นมาก และดูคุณสมบัติเฉพาะตัวของหินชนิดนั้นๆ เช่น ถ้าจะทดสอบหินโรโดโครไซต์แท้ ที่ไม่ใช่หินแคลไซต์ย้อมสีมา ทางร้านจะทดสอบด้วยการดูดแม่เหล็ก ซึ่งคุณสมบัติของโรโดโครไซต์ จะดูดแม่เหล็ก แต่ค่อนข้างเบามาก ทำให้ค่อนข้างเสียเวลาในการลงสินค้า ซึ่งที่เจ้าของร้านมีอยู่ตอนนี้ น่าจะเกิน 3,000 ชิ้น ซึ่งหากลูกค้าท่านใดสนใจหินชนิดใดในปริมาณเยอะๆ ทางร้านก็มีเก็บไว้เช่นกัน 

ในส่วนของการดูชนิดหินหรืออัญมณีนั้น จะเป็นการดีที่สุด คือ ส่งสถาบันเพื่ออกใบรับรองในกรณีที่เป็นอัญมณีหรือหินมีค่าต่างๆ จะไม่ยากในการหาสถาบันทดสอบซึ่งมีอยู่หลายแห่งในแต่ละภาคของประเทศไทย แต่หากเป็นหินทั่วๆไป จะหาสถาบันหรือสถานที่ทดสอบยากสักหน่อย คือ ต้องส่งไปทดสอบตามมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่มีภาควิชาธรณีวิทยา(สมัยก่อน เจ้าของร้านเคยส่งหินสีเขียว ที่ไม่ทราบว่าเป็นหินชนิดใด ไปสถาบันอัญมณีแห่งหนึ่งแถวสีลม ปรากฎว่า ทางสถาบันไม่รับตรวจ บอกเจ้าของร้านว่า เค้าไม่รับตรวจหิน ให้ส่งไปทดสอบองค์ประกอบทางเคมีตามแลปทั่วไป หรือภาควิชาธรณีของมหาวิทยาลัยใกล้ๆแถวนั้น) 

อีกส่วนที่เป็นปัญหา คือ ค่าใช้จ่ายในการทดสอบนั่นเอง

หมายเหตุ
-เจ้าของร้านพยายามนำเสนอวิธีการแบบที่สามารถทดลองเองในบ้านได้ เพื่อให้ง่ายต่อผู้สนใจมากที่สุดนั่นเอง ซึ่งอาจมีบางส่วนที่ผิดในเชิงวิชาการบ้าง แต่ก็พอใช้ได้จริง
-บทความต่อไป เจ้าของร้าน จะนำเรื่องสบายๆของตำนานกรีก ที่เกี่ยวข้องกับอัญมณี 2-3 ชนิด มาเล่าถึงตำนานกันครับ 

ข้อมูลอ้างอิง
1. http://www.geothai.net/physical-properties-of-minerals/

2. https://en.wikibooks.org/wiki/High_School_Earth_Science/Identification_of_Minerals
3. https://courses.lumenlearning.com/wmopen-geology/chapter/outcome-identifying-minerals/