ทํา หมัน สุนัข ฟรี ภูเก็ต 2564

8/28-29 หมู่ 9 ถนนเจ้าฟ้าตะวันออก ฉลอง อำเภอเมือง

ทํา หมัน สุนัข ฟรี ภูเก็ต 2564

ข้อมูลเพิ่มเติมแผนที่ดูภาพสถานที่รีวิวจากเฟสบุ๊คและกูเกิล

คะแนนกูเกิลรีวิว : 4.5/5

คะแนนเฟสบุ๊ครีวิว : -/5

เวลาให้บริการ

  • จันทร์ :09:00-21:00
  • อังคาร :09:00-21:00
  • พุธ :09:00-21:00
  • พฤหัสบดี :09:00-21:00
  • ศุกร์ :09:00-21:00
  • เสาร์ :09:00-21:00
  • อาทิตย์ :09:00-21:00

โรงพยาบาลสัตว์ เจ้าฟ้าอันดามัน ให้บริการทำหมันแมว โดยวิธีผ่าตัด ตั้งอยู่บนถนนเจ้าฟ้าตะวันออก อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต เป็นโรงพยาบาลสัตว์ ที่ทันสมัยและได้มาตรฐาน ให้บริการครบวงจร โดยสัตวแพทย์ และทีมงานมืออาชีพ วินิจฉัยโรคได้ถูกต้องแม่นยำ ยินดีดูแลสัตว์เลี้ยงของท่าน ด้วยความใส่ใจและเต็มใจ สัตว์เลี้ยงของท่านจะได้รับการดูแลอย่างอบอุ่น ไม่ต่างจากบ้าน

รับลงทะเบียนฉีดวัคซีนและทำหมันสุนัขและแมว

ทํา หมัน สุนัข ฟรี ภูเก็ต 2564

1/1

องค์การบริหารส่วนตำบลสาคู ร่วมกับ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดภูเก็ต

 เปิดรับลงทะเบียนเพื่อฉีดวัคซีน และทำหมัน สุนัขและแมว ในวันที่ 20-22 พฤษภาคม 2565 ณ ศูนย์กีฬาสะพานหิน อ.เมือง จ.ภูเก็ต

ลงทะเบียน ตามวันและเวลาดังนี้

  • วันพุธ ที่ 18 พ.ค. 65 เวลา 8.30 - 16.30 น.
  • วันพฤหัสบดี ที่ 19 พ.ค. 65 เวลา 8.30 - 15.30 น.

ช่องทางการลงทะเบียน

  •  ลงทะเบียนด้วยตนเอง ณ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.สาคู
  •  โทรศัพท์ 076-328146 , 076-603871 ถึง 2 ต่อ 20

หลักฐานการลงทะเบียน

  •  เลขบัตรประชาชน ชื่อ-สกุล และที่อยู่ของเจ้าของ
  •  จำนวนสัตว์ที่ต้องการลงทะเบียนเข้ารับบริการ

หมายเหตุ

  •  ทำหมัน จำกัด 1 คน / 1 ตัว
  •  ฉีดวัคซีน ไม่จำกัด

ประเทศไทยเป็นที่อยู่อาศัยของสุนัขจรจัดนับล้านตัว

มูลนิธิเพื่อสุนัขในซอย (ซอยด๊อก) ก่อตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาสวัสดิภาพของสัตว์จรจัดในประเทศไทยด้วยการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุคือ ปัญหาประชากรสัตว์จรจัดที่มากเกินไป เป็นที่ยอมรับในระดับสากลว่าวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการจัดการกับประชากรสุนัขจรจัดคือการทำหมันสัตว์อย่างต่อเนื่องในทุกพื้นที่หรือที่เรียกว่ากระบวนการ CNVR (จับ, ทำหมัน, ฉีดวัคซีน, นำกลับสู่ถิ่นเดิม) 

ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2565 มูลนิธิฯ ได้ทำหมันและฉีดวัคซีนสัตว์มากเป็นประวัติการณ์ที่จำนวน 750,000 ตัว นับตั้งแต่เริ่มดำเนินการในปีพ.ศ. 2546 โดยเฉลี่ยมีสุนัขและแมวที่ได้รับการทำหมันและฉีดวัคซีนกว่า 16,000 ตัวต่อเดือน 

โครงการทำหมันของมูลนิธิฯ ดำเนินการที่ศูนย์พักพิงที่จังหวัดภูเก็ต กรุงเทพฯ และที่หน่วยทำหมันเคลื่อนที่ทั้ง 12 หน่วย ซึ่ง 8 หน่วยดำเนินการในกรุงเทพฯ และพื้นที่โดยรอบ อีก 4 หน่วยดำเนินการอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย สุนัขและแมวที่เข้ารับการทำหมันมีทั้งที่พามาโดยทีมเจ้าหน้าที่กู้ภัยสัตว์ของซอยด๊อกและบุคคลทั่วไป โครงการทำหมันเริ่มขึ้นในภูเก็ตและในปี พ.ศ. 2558 ได้ขยายไปสู่พื้นที่กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นที่อยู่ของสุนัขจรจัดหลายแสนตัว ค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการในกรุงเทพฯ ครึ่งหนึ่งได้รับการสนับสนุนจาก Dogs Trust Worldwide และมีสัตว์กว่า 375,000 ตัวได้รับการทำหมันและฉีดวัคซีนในเมืองหลวงของประเทศไทยจนถึงปัจจุบัน ในอนาคตข้างหน้าโครงการที่กรุงเทพฯ จะทยอยเปิดหน่วยทำหมันเคลื่อนที่จนครบ 10 หน่วยและตั้งเป้าโครงการให้สำเร็จลุล่วงภายใน 7-10 ปี 

ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2563 ซอยด๊อกได้รับความช่วยเหลือจากที่ปรึกษาด้านสวัสดิภาพสัตว์อิสระเพื่อทำการสำรวจประชากรสุนัขจรจัดในเขตกรุงเทพฯ เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 ผลจากการสำรวจแสดงให้เห็นว่าในพื้นที่ที่โครงการทำหมันของเราไปถึงนั้น นอกจากจะได้เห็นจำนวนประชากรสัตว์ที่ลดลงเป็นจำนวนมากแล้ว โดยลดลงประมาณ 20% เมื่อเทียบกับตัวเลขในปี พ.ศ. 2559 เรายังได้เห็นว่าสุนัขเหล่านี้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงขึ้น โดยคงเหลือสุนัขที่มีปัญหาผิวหนังและร่างกายซูบผอมน้อยลงมาก

ทํา หมัน สุนัข ฟรี ภูเก็ต 2564

โครงการทำหมันของซอยด๊อกได้ขยายการทำงานไปยังพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศไทยอีกด้วย โดยดำเนินการที่เชียงใหม่ ชลบุรี พังงา นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี กาญจนบุรี สงขลาและพัทลุง รวมถึงพื้นที่เกาะเช่นเกาะสมุย เกาะพะงัน เกาะกูด และเกาะช้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 นอกจากนี้โครงการทำหมันของซอยด๊อกที่ต่างประเทศยังได้เริ่มดำเนินการเป็นครั้งแรกช่วงปลายปี พ.ศ. 2564 ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา

การฉีดวัคซีน  

วัคซีนนั้นมีความสำคัญและต้องทำควบคู่กับการทำหมัน สามารถป้องกันการแพร่เชื้อโรคที่เป็นอันตรายเช่น โรคพิษสุนัขบ้า  เป้าหมายสูงสุดของการฉีดวัคซีนแก่สุนัขและแมวคือการกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปจากประเทศไทย

การฉีดวัคซีนอย่างน้อย 70% ให้แก่สัตว์ในพื้นที่จะเกิดภูมิคุ้มกันระดับฝูง (herd immunity) ซึ่งเป็นการป้องกันโรคติดต่อจากสัตว์สู่สัตว์ โดยที่สัตว์ในพื้นที่ได้รับวัคซีนและมีภูมิคุ้มกัน ดังนั้นจึงป้องกันไม่ให้มีสัตว์หน้าใหม่ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนเข้ามาในบริเวณนั้น ซึ่งมูลนิธิเพื่อสุนัขในซอยได้มีส่วนลดการแพร่ระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าในกรุงเทพฯ นับตั้งแต่การทำงานในเมืองหลวงแห่งนี้ในปีพ.ศ. 2558