โครง งาน ราว ตาก ผ้า พับ ได้

ราวตากผ้าอัตโนมัติ

ความสำคัญและที่มา 

เนื่องจากพระหรือสามเณรที่วัดไม่ค่อยมีใครอยู่ที่วัดเพราะเรียนหนังสือเลยไม่มีใครเก็บผ้าให้เวลาฝนตก                 จึงได้มีแนวคิดทำราวตากผ้าอัตโนมัติเพราะไม่มีใครเก็บผ้าให้ในเวลาที่ฝนตก จึงเห็นปัญหาและได้คิดค้นประดิษฐ์ ราวตากผ้าอัตโนมัติ ขึ้นมาใช้งานจะได้นำเวลาส่วนที่เหลือไปใช้ในการทำงานอย่างอื่นหรือเมื่อออกไปเรียนหนังสือ ในการตากผ้าแต่ละครั้งต้องตากในที่มีแสงแดด จะทำให้ผ้าแห้งไวและไม่มีกลิ่นอับ แต่ในการตากผ้าแต่ละครั้งต้องมีคนคอยเก็บผ้าเมื่อผ้าแห้ง เมื่อฝนตกผ้าที่ตากไว้อาจเปียกได้ ดังนั้นราวตากผ้าอัตโนมัติ นั้นจะทำงานเมื่อมีฝนตกลงมาโดนที่หน้าสัมผัสของเซนเซอร์ตรวจจับฝนตก เมื่อมีฝนตกมากระทบเข้ากับหน้าสัมผัสจะ จะทำให้เครื่องเก็บผ้าทำงานเก็บผ้าที่ตากไว้เข้าที่ร่มและเมื่อฝนได้อยู่ตกจะทำให้หน้าสัมผัสที่เปียกฝนในตอนแรกนั้นแห้งลงจะทำให้ราวตากผ้าอัตโนมัติ ได้ทำการนำผ้าที่ตากอยู่หรือผ้าอาจยังไม่แห้ง นำออกมาตากใหม่ให้ผ้าที่ยังไม่แห้งนั้นแห้ง

วัตถุประสงค์

  • เพื่อสามารถเก็บผ้าที่ตากไว้เข้าในที่ร่มเมื่อฝนตกได้
  • เพื่อเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการฝึกปฏิบัติจริง
  • เพื่อให้สามเณรเรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับระบบการทำงานของโกโก้บอร์ด  (  GoGo Board  )

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 

  • สามารถลดภาระในการเก็บเสื้อผ้าเวลาฝนตก
  • สามารถลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคผิวหนังกลากเกลื้อนและมีกลิ่นเหม็น
  • สามารถนำสิ่งประดิษฐ์ไปใช้งานได้จริง และสามารถนำไปพัฒนาต่อไปได้

ขั้นตอน และวิธีการทำโครงงาน 

  • อบรมเข้าค่ายอิคคิวซัง 1 ประจำปี 2558  จัดส่งโครงการราวตากผ้าอัตโนมัติ ออกแบบและจัดทำโมเดลราวตากผ้าอัตโนมัติ
  • คัดเลือกประชากรกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา   (สามเณรโรงเรียนนาราบวิทยา จำนวน  92  รูป)
  • คัดเลือกเครื่องมือสำหรับประเมิณผล      (1. แบบประเมินคุณภาพ 2. แบบประเมินความพึงพอใจ)
  • การรวบรวมข้อมูล
  1. ทำหนังสือถึงผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการประเมินชิ้นงาน “ราวตากผ้าอัตโนมัติ”
  2. ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการประเมินคุณภาพและการทดสอบการทำงาน
  3. สาธิตขั้นตอนการใช้งานของเครื่องมือให้ผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินการใช้งาน
  4. ผู้เชี่ยวชาญทำการประเมินคุณภาพการใช้งานของราวตากผ้าอัตโนมัติ
  5. สามเณรทำการเก็บรวบรวมข้อมูลผลการประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ
  6. ปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ
  7. นำไปใช้กับสามเณรโรงเรียนนาราบวิทยา จำนวน  92  รูปกลุ่มเป้าหมาย
  • วิเคราะห์ข้อมูล

ระยะเวลาและแผนงานในการดำเนินงานโครงงาน 

ระยะเวลาที่ใช้ทั้งหมด    6   เดือน  ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2558 ถึง  เดือนมกราคม 2559

แผนงานในการทำโครงงาน (ตัวอย่างตารางแผนงาน)

ภาพหรือแผนผังหรือไดอะแกรมหรือแนวคิด/ของผลงาน

“เมื่อเซนเซอร์วัดความชื้นสัมพัทธ์ตรวจพบว่าความชื้นในอากาศมีปริมาณเพิ่มขึ้น หรือเซนเซอร์น้ำฝนตรวจพบน้ำฝนมอเตอร์จะทำการดึงผ้าที่ตากไว้เข้าไปเก็บไว้ในที่ร่ม จนกว่า จะโดน สวิตซ์ A และเมื่อเซนเซอร์วัดความชื้นสัมพัทธ์วัดความชื้นในอากาศแล้วพบว่ามีปริมาณความชื้นลดลงจนถึง      ที่กำหนด หรือเซนเซอร์วัดปริมาณน้ำฝนตรวจไม่พบน้ำฝนแล้ว มอเตอร์จะดึงผ้ากลับออกมาตาก และหยุดเมื่อชนกับสวิตซ์ B”

code คำสั่ง

โครง งาน ราว ตาก ผ้า พับ ได้
โครง งาน ราว ตาก ผ้า พับ ได้

วัสดุอุปกรณ์ และงบประมาณในการทำโครงงาน (ไม่รวมค่าจ้าง)

ลำดับ                                                 รายการ จำนวนเงิน (บาท)
โกโก้บอร์ด  (  GoGo Board  )                 ๑ ๓,๐๐๐
 Mo tor                                             ๑ ตัว ๑,๐๐๐
 เซนเซอร์วัดความชื้นสัมพัทธ์                   ๑ ตัว ๑๖๐
ราวตากผ้า                                            ๒ ๕๐๐
รางแขวนผ้า                                         ๑ ๒๐๐
ฟิวเจอร์บอร์ด                                       ๓ ๓๐๐
เซนเซอร์วัดปริมาณน้ำฝน                         ๑ ๕๐
                                                                                                                                    รวม ,๒๑๐

การทดสอบโครงงาน และเก็บผลการทดสอบ

  • สมมติฐาน    ราวตากผ้าอัตโนมัติสามารถ ตากผ้าและเก็บเองได้ ตามสภาพภูมิอากาศ โดยใช้โกโก้บอร์ด  ( GoGo Board) ควบคุมการทำงาน
  • ตัวแปรต้น      โกโก้บอร์ด  (GoGo Board)  คอมพิวเตอร์
  • ตัวแปรตาม      ราวตากผ้าอัตโนมัติ
  • ตัวแปรควบคุม   เซ็นต์เซอร์เสง (Sensors Light) เซ็นต์เซอร์น้ำฝน (Sensors  Rain)

ประมวลภาพกิจกรรม

โครง งาน ราว ตาก ผ้า พับ ได้
โครง งาน ราว ตาก ผ้า พับ ได้
โครง งาน ราว ตาก ผ้า พับ ได้
โครง งาน ราว ตาก ผ้า พับ ได้
โครง งาน ราว ตาก ผ้า พับ ได้
โครง งาน ราว ตาก ผ้า พับ ได้
โครง งาน ราว ตาก ผ้า พับ ได้
โครง งาน ราว ตาก ผ้า พับ ได้
โครง งาน ราว ตาก ผ้า พับ ได้

วีดิทัศน์

แนวคิดทางวิทยาศาสตร์ที่นำมาใช้

ฝน เกิดจากอนุภาคของไอน้ำขนาดต่างๆในก้อนเมฆเมื่อมีขนาดใหญ่ขึ้นจนไม่สามารถลอยตัวอยู่ในก้อนเมฆได้ก็จะตกลงมาเป็นฝน  ฝนจะตกลงมายังพื้นดินได้นั้นจะต้องมีเมฆเกิดในท้องฟ้าก่อน  เมฆมีอยู่หลายชนิด  มีเมฆบางชนิดเท่านั้นที่ทำให้มีฝนตก เราทราบแล้วว่าไอน้ำจะกลั่นตัวเป็นเมฆก็ต่อเมื่อมีอนุภาคกลั่นตัวเล็กๆอยู่เป็นจำนวนมากเพียงพอและไอน้ำจะเกาะตัวบนอนุภาคเหล่านี้รวมกันทำให้เกิดเป็นเมฆ  เมฆจะกลั่นตัวเป็นน้ำฝนได้ก็ต้องมีอนุภาคแข็งตัว(Freezing nuclei) หรือเม็ดน้ำขนาดใหญ่ซึ่งจะดึงเม็ดน้ำขนาดเล็กมารวมตัว กันจนเป็นเม็ดฝน สภาวะของน้ำที่ตกลงมาจากท้องฟ้า อาจเป็นลักษณะของฝน ฝนละออง หิมะหรือลูกเห็บ ซึ่งเรารวมเรียกว่าหยาดน้ำฟ้า (Precipitation) ซึ่งจะตกลงมาในลักษณะไหน ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของอากาศในพื้นที่นั้นๆ หยาดน้ำฟ้าต้องเกิดจากเมฆ แต่เมื่อมีเมฆไม่จำเป็นต้องมีหยาดน้ำฟ้าเสมอไป

แสงอาทิตย์   ประกอบด้วยรังสีที่เห็นด้วยตาและไม่เห็น รังสีที่ไม่เห็นด้วยตาที่สำคัญคือ ultraviolet-A (UVA) และ ultraviolet-B (UVB) รังสี UV นี้จะทำให้เกิดผลเสียต่อผิวหนังคือ suntan, sunburn, และ sun damage ปัจจัยที่ทำให้เราได้รับรังสีเพิ่มขึ้นได้แก่ ลม การสะท้อนรังสีจากน้ำ ทราย และหิมะ แม้กระทั่งวันที่มีเมฆมากก็มีรังสี UV เล็ดรอดออกมา

รังสี UVC.  เป็นรังสีที่มีความยาวคลื่นสั้นที่สุด แต่ให้พลังงานสูงสุดและมีอำนาจทำลายสูงสุด รังสีนี้จะถูกโอโซนที่ชั้นบรรยากาศดูดซึมเกือบหมด แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือชั้นโอโซนถูกทำลายจากสายเคมีทำให้รังสีนี้มายังโลกมากขึ้น

รังสี UVB   จะมีความยาวคลื่นมากกว่ารังสี UVC แต่ให้พลังงานต่ำกว่า UVCดังนั้นจะทำลายผิวหนังน้อยกว่า จะมีปริมาณเพียงร้อยละ 5 ของรังสีที่หลุดมายังผิวโลก รังสี UVB เมื่อกระทบผิวหนังเป็นเวลานานจะทำให้เกิดอาการผิวไหม้จากแดด ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าผู้ที่มีผิวไหม้บ่อยจะมีโอกาศเกิดมะเร็งไฝมากกว่าผู้อื่น

รังสี UVA.  เป็นรังสีที่มีความยาวคลื่นมากที่สุดเป็นรังสีที่เป็นต้นเหตุของการเสื่อมของผิวหนัง และเกิดมะเร็ง ประมาณร้อยละ95 ของรังสี UV ที่มายังผิวโลกจะเป็นรังสี UVA รังสีนี้จะทำลายชั้นผิวหนังแท้