การปกครองของอเมริกาเหนือในอดีต

ʧ�����š ���駷�� 2 (�.�. 1936-1945) ���Ѱ����ԡ��������ʧ����㹻� �.�. 1941 ���ͪ�������ͻ���Ⱦѹ��Եõ�͵�ҹ�ѷ��༴稡�÷ҧ���âͧ���������Э���� �繼�����������͵�� �ͧ�����˻�ЪҪҵԔ (UN) �����ѡ���ѹ���Ҿ�ͧ�š 㹪�ǧ�͹���¢ͧʧ���� ���Ѱ� �������Դ���ҳٷ���������繽��»�Ҫ�� ���ʧ�����š ���駷�� 2 �֧�ص�ŧ㹷���ش

ทวีปอเมริกาเหนือเป็นที่ตั้งของำระเทศที่มั่งคั่งด้วยทรัพยากรและความเจริญก้าวหน้าทางด้านต่างๆ มีประเทศที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา และเม็กซิโก อเมริกาเหนือเป็นทวีปใหม่ที่คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus) ชาวเจนัวแห่งอิตาลีค้นพบเป็นครั้งแรกใน ค.ศ. ๑๔๙๒

อเมริกาเหนือเป็นแหล่งอารยธรรมโบราณของโลก อารยธรรมที่สำคัญ คือ อารายธรรมของพวกอินเดียนเผ่ามายา (Maya) และอารยธรรมอัซเต็ก (Aztec) เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ ๓ ของโลกรองจากเอเชียและแอฟิกา โดยมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๒๒,๑๒๖,๑๐๖ ตารางกิโลเมตร มีประชากรทั้งหมดประมาณ ๕๔๒ ล้านคน (ค.ศ. ๒๐๑๐) ประชากรส่วนใหญ่ทั้งของสหรัฐอเมริกาและแคนาดาเป็นชนผิวขาวที่สืบเชื้อสายและวัฒนธรรมมาจากยุโรปโดยเฉพาะอังกฤษและฝรั่งเศส จึงเรียกชื่อทั่วไปว่า กลุ่มแองโกลอเมริกา (Anglo America) ส่วนปะชากรในแถบลาตินอเมริกาโดยเฉพาะเม็กซิโกเป็นชนชาติผสมระหว่างพวกอินเดียนพื้นเมืองกับชาวสเปนซึ่งทำให้เกิดลูกผสม ที่เรียกว่า เมสติโซ (Mestizo) และยังมีประชากรลูกผสมที่เกิดจากชาวผิวขาวกับชาวแอฟริกันผิวดำที่เป็นทาส เรียกว่า มูลาตโต (Mulatto) ด้วย ศาสนาหลักที่สำคัญของประชากรในทวีปอเมริกาเหนือ คือ คริสต์ศาสนานิกายโปรเตสแตนต์และนิการโรมันคาทอลิก

๒.๑ ที่ตั้งและสภาพภูมิศาสตร์ที่มีผลต่อพัฒนาการของทวีป

ทวีปอเมริกาเหนือตั้งอยู่ในเขตซีกโลกเหนือทั้งหมด ลักษณะภูมิประเทศคล้ายรูปสามเหลี่ยมโดยมีฐานกว้างอยู่ทางตอนเหนือและมียอดอยู่ทางใต้ แบ่งออกเป็น ๓ ภูมิภาค ซึ่งมีประเทศต่างๆ อยู่รวมกัน โดยมีเนื้อที่ทั้งหมด ๑๐,๙๑๖,๑๓๙ ตารางกิโลเมตร ภูมิภาคอเมริกากลางซึ่งรวมเม็กซิโกด้วยมีเนื้อที่ประมาณ ๒,๔๙๗,๙๘๐ ตารางกิโลเมตร และภูมิภาคเวสต์อินดีสมีเนื้อที่ประมาณ ๒๕๑,๙๘๗ ตาตรงกิโลเมตร สำหรับลักษณะภูมิประเทศและโครงสร้างทางธรณีวิทยาของทวีปอเมริกาเหนือสามารถแบ่งออกเป็น ๓ เขตใหญ่ๆ ดังนี้

ลักษณะภูมิประเทศ

สาระสำคัญ

๑. เขตเทือกเขาสูงภาคตะวันตก

เป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน บริเวณเทือกเขามักเป็นที่ราบสูงหรือแอ่งแผ่นดิน (Basin) คั่นอยู่ เป็นเขตที่อุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุอันมีค่า เช่น ปิโตรเลียม แร่เงิน ทองคำ ตะกั่ว สังกะสี ทองแดง เป็นต้น ทั้งยังอุดมไปด้วยป่าเขา แม่น้ำลำธารและหุบเขาลึกชันที่สวยงาม

๒. เขตที่ราบตอนกลาง

เป็นบริเวณที่ราบกว้างขวาง ประกอบด้วย เนินและที่ราบสูง พื้นที่ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นลูกคลื่น ที่ราบบางแห่งประกอบด้วยทะเลสาบขนาดใหญ่

๓. เขตภูเขาหินเก่าภาคตะวันออก

เป็นเทือกเขาและที่ราบสูง อุดมไปด้วยทะเลสาบใหญ่น้อย

นอกจากนี้ การที่มีมหาสมุทรแอตแลนติกทางด้านตะวันตกของทวีปและมหาสมุทรแปซิฟิกทางด้านตะวันออกของทวีปก็ทำให้สะดวกต่อการติดต่อค้าขายทางทะเลกับนานาประเทศ และมหาสมุทรทั้งสองก็เป็นพรมแดนธรรมชาติที่ป้องกันการบุกรุกจากประเทศอื่นได้อย่าวดี ทวีปอเมริกาเหนือมีทะเลสาบ น้ำตก และแม่น้ำจำนวนมาก แม่น้ำที่สำคัญที่สุดมี ๓ สาย ได้แก่ แม่น้ำแมกเคนซี (Mackenzie) มีความยาวประมาณ ๑,๘๐๐ กิโลเมตร จัดเป็นแม่น้ำที่ยาวเป็นอันดับ ๒ ของทวีปอเมริกาเหนือเป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งทางตอนเหนือของทวีป อยู่ในประเทศแคนาดา แม่น้ำเซนต์ ลอว์เรนซ์ (St.Lawrence) ไหล่ลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติก มีความยาวประมาณ ๑,๒๒๕ กิโลเมตร มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นบริเวณลุ่มแม่น้ำและเป็นเขตอุตสาหกรรมทั้งของแคนาดาและสหรัฐอเมริกา แม่น้ำสายนี้ใช้เดินเรือขนาดใหญ่ได้ตลอดทั้งสาย เนื่องจากมีการขุดคลอง สร้างเขื่อนและประตูน้ำไว้เป็นระยะๆ และแม่น้ำมิสซิสซิปปี (Mississippi) ในสหรัฐอเมริกา มีความยาว ๓,๗๙๒ กิโลเมตร เป็นแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญ แม่น้ำและน้ำตกยังเป็นแหล่งกำเนิดพลังงานไฟฟ้าที่ช่วยส่งเสริมการอุตสาหกรรมของประเทศให้เจริญรุดหน้า

การที่ดินแดนส่วนใหญ่ของอเมริกาเหนือมีพื้นที่ตั้งแต่เขตทรอปิกขึ้นไปจนถึงเขตขั้วโลกเหนือทำให้มีภูมิอากาศเกือบทุกประเภทเช่นเดียวกับทวีปเอเชีย เช่น มีเขตภูมิอากาศแบบทุนดราที่มีอากาศหนาวเย็นและยาวนานในฤดูหนาว เขตภูมิอากาศแบบภูเขา ภูมิอากาศแบบทะเลทราย เขตภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น และเขตภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนที่ค่อนข้างชื้นในฤดูหนาวส่วนฤดูร้อนแห้งแล้งและอบอุ่น เป็นต้น จากเขตภูมิอากาศที่หลากหลายดังกล่าวทำให้อเมริกาเหนืออุดมสมบูรณ์ไปด้วยผลิตผลทางการเกษตรหลากหลายประเภทและมีแร่ธาตุนานาชนิด รวมทั้งป่าไม้ ป่าไม้มีทั้งป่าไม้ผลัดใบและป่าสนซึ่งเป็นแหล่งที่มาของวัสดุก่อสร้างต่างๆ รวมทั้งการทำกะดาษและเส้นใยสังเคราะห์อื่นๆ อีกมาก นอกจากนี้ บริเวณสองฟากฝั่งมหาสมุทรของทวีปอเมริกาเหนือ โดยเฉพาะชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกยังอุดมสมบูรณ์ด้วยอาหารทะเลเป็นแหล่งประมงที่สำคัญของทวีป

๒.๒ พัฒนาการและกาสร้างสรรค์ด้านต่างๆ

สำหรับพัฒนาการและการสร้างสรรค์ด้านต่างๆ ของทวีปอเมริกาเหนือสามารถสรุปได้ ดังนี้

๑) พัฒนาการด้านการเมืองการปกครองทั้งสหรัฐอเมริกาและแคนาดาปกครองในระบอบประชาธิปไตย สหรัฐอเมริกาเดิมเป็นอาณานิคมของอังกฤษซึ่งอังกฤษได้ให้สิทธิการปกครองตนเองในระดับหนึ่ง แต่อังกฤษก็ปกครองอย่างเอาเปรียบและเก็บภาษี ซึ่งทำให้ชาวอาณานิคมอเมริกันไม่พอใจและคิดแยกตัวออกจนนำไปสู่สงครามการปฏิวัติของชาวอเมริกันระหว่าง ค.ศ. ๑๗๗๖-๑๗๘๑ หลังการประกาศเอกราชจากอังกฤษได้สำเร็จ สหรัฐอเมริกาปกครองประเทศแบบสหพันธรัฐสาธารณรัฐ (Federal Republic) ซึ่งมีการแบ่งสรรอำนาจระหว่างรัฐบาลกลางกับรัฐบาลมลรัฐ โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขและมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศหลักการสำคัญของรัฐธรรมนูญ คือ ประชาชนเป็นแหล่งที่มาของอำนาจสูงสุด หลังจากนั้นชาวอเมริกันก็ขยายถิ่นฐานจากฝั่งตะวันออกของทวีปไปยังดินแดนทางตะวันตกจรดชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก ในช่วงการก่อร่างสร้างประเทศ สหรัฐอเมริกาดำเนินนโยบายแยกตัวอยู่อย่างโดดเดี่ยวโดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองในยุโรป และประกาศหลักการมอนโร (Monroe Doctrine) ใน ค.ศ. ๑๘๒๓ ห้ามประเทศในยุโรปเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ในทวีปอเมริกา

ในช่วงการก่อสร้างประเทศและขยายดินแดนไปทางตะวันตกนั้น ปัญหาทาสเป็นปัญหาสำคัญทางสังคมที่ชาวอเมริกันกำลังเผชิญอยู่ จนนำไปสู่ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างกันมลรัฐทางภาคเหนือซึ่งเป็นเขตอุตสาหกรรมและไม่ใช่แรงงานทาสนิโกรมักขัดแย้งกับมลรัฐทางภาคใต้ซึ่งเป็นเขตเกษตรกรรม ที่มีการปลูกฝ้าย ยาสูบ และข้าวเป็นพืชหลัก ทั้งอาศัยแรงงานทาสนิโกร ชาวอเมริกันทางภาคเหนือเรียกร้องให้มีการยกเลิกระบบทาส แต่ชาวอเมริกันทางภาคใต้ไม่เห็นด้วย นอกจากนี้ ในการจัดสรรงบประมาณจากรัฐบาลกลาง มลรัฐภาคใต้มักเสียเปรียบเพราะเป็นเสียงส่วนน้อยในรัฐสภาดังนั้น เมื่อรัฐบาลกลางประกาศยกเลิกทาสโดยมลรัฐทางภาคเหนือและมลรัฐทางภาคตะวันตกให้การสนับสนุน มลรัฐทางภาคใต้จึงประกาศแยกตัวออกจากรัฐบาลกลาง ฝ่ายรัฐบาลกลางจึงเห็นว่ามลรัฐทางภาคใต้เป็นกบฏ สงครามกลางเมืองอเมริกันจึงเกิดขึ้นระหว่าง ค.ศ. ๑๘๖๑-๑๘๖๕ และสิ้นสุดลงด้วยความปราชัยของมลรัฐทางภาคใต้ซึ่งเป็นสรภูมิในการรบ

หลังสงครามกลางเมืองสิ้นสุดลง สหรัฐอเมริกาก็มีความมั่นคงทางการเมืองและการปกครอง รัฐบาลกลางจะควบคุมและกำหนดนโยบายที่สำคัญในด้านการออกเงินตรา นโยบายต่างประเทศ และการป้องกันประเทศ และให้รัฐบาลมลรัฐมีสิทธิในการปกครองตนเอง ทั้งรัฐบาลกลางและรัฐบาลมลรัฐจะแบ่งแยกอำนาจการปกครองเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ซึ่งอำนาจทั้ง ๓ ฝ่ายเป็นอิสระต่อกัน และคอยตรวจสอบ และถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน ในส่วนของรัฐบาลกลาง อำนาจนิติบัญญัติอยู่ที่รัฐสภาบริหารอยู่ที่ประธานาธิบดี และตุลาการอยู่ที่ศาลสูงสุดตามลำดับ หลักการสำคัญของการปกครอง คือ ประชาชนเป็นแหล่งที่มาของอำนาจสูงสุด

ส่วนแคนาดาเดิมเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส แต่ฝรั่งเศสก็ไม่ได้สนใจที่จะปกครองอย่างจริงจังนัก เพราะเห็นว่ายังเป็นดินแดนล้าหลังและไม่มีการสำรวจพื้นที่ทั้งหมดฝรั่งเศสเพียงแต่ใช้แคนาดาเป็นตลาดใหญ่ของการค้าขนสัตว์เท่านั้น เมื่อฝรั่งเศสได้อาณานิคมอเมริกันในทวีปอเมริกาเหนือ อังกฤษจึงต้องการแย่งชิงตลาดการค้าขนสัตว์ของฝรั่งเศสและนำไปสู่การเกิดสงครามระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศสใน ค.ศ. ๑๗๕๖ ฝรั่งเศสเป็นฝ่ายพ่ายแพ้และต้องสูญเสียแคนาดาให้อังกฤษ อังกฤษใช้นโยบายประนีประนอมในการปกครองชาวแคนาดาเชื้อสายฝรั่งเศส โดยให้ควิเบก (Quebec) ซึ่งประชากรร้อยละ ๙๙ มีเชื้อสายฝรั่งเศสมีสิทธิปกครองตนเองระดับหนึ่ง ขณะเดียวกันอังกฤษก็สนับสนุนให้ชาวอังกฤษเข้ามาตั้งถิ่นฐานในแคนาดามากขึ้นการอพยพของชาวอังกฤษที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดวัฒนธรรมที่แตกต่างกันอย่างมากระหว่างชาวแคนาดาเชื้อสายอังกฤษกับชาวแคนาดาเชื้อสายฝรั่งเศส

แม้อังกฤษจะปกครองแคนาดาอย่างผ่อนปรนแต่ชาวแคนาดาก็ต่อต้านระบบการปกครองอาณานิคมของอังกฤษและเรียกร้องให้ปฏิรูปการเมืองโดยเฉพาะการมีผู้แทนรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้ง อังกฤษเห็นด้วยในระยะแรกแต่เมื่อชาวแคนาดาเคลื่อนไหวต่อต้านจนนำไปสู่การจลาจล อังกฤษจึงยอมปฏิรูประบบการเมืองและเปลี่ยนรูปแบบการปกครองเป็นสหพันธรัฐใน ค.ศ. ๑๘๖๗ โดยมีสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบทที่ ๒ แห่งสหราชอาณาจักรเป็นประมุข ทรงใช้พระราชอำนาจผ่านผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ขณะที่อำนาจบริหารประเทศที่แท้จริงอยู่ที่นายกรัฐมนตรีและรัฐสภา

รัฐสภาแคนาดา ประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎรหรือสภาสามัญที่สมาชิกมาจากการเลือกตั้ง และวุฒิสภาซึ่งสมาชิกมาจากการแต่งตั้ง หน้าที่หลักของวุฒิสภา คือ การให้คำปรึกษาและยับยั้งกฎหมายจากสภาสามัญที่วุฒิสภาไม่เห็นด้วย มีการแบ่งอำนาจระหว่างรัฐบาลกลางกับรัฐบาลมณฑลต่างๆ โดยรัฐบาลกลางดูแลเรื่องสำคัญต่างๆ เช่น การป้องกันประเทศ การค้านโยบายต่างประเทศ การเงิน เป็นต้น รัฐบาลท้องถิ่นในมณฑลต่างๆ มีอำนาจปกครองตนเองสูงโดยบริหารงานผ่านระบบรัฐสภา (แต่ไม่มีวุฒิสภา) เพื่อดำเนินการด้านทรัพยากรธรรมชาติ การศึกษา การคมนาคม และสุขภาพ

ส่วนกลุ่มประเทศในอเมริกากลางโดยเฉพาะเม็กซิโกซึ่งเดิมเป็นอาณานิคมของสเปนและได้ก่อการปฏิวัติประกาศอิสรภาพจากสเปนเป็นผลสำเร็จใน ค.ศ. ๑๘๑๐ หลังการปฏิวัติการเมืองการปกครองก็ไม่มั่นคง เพราะประชากรส่วนใหญ่ยากจน ไม่มีการศึกษา และขาดประสบการณ์และความรู้ความเข้าใจในระบบการเมือง การปกครองจึงเป็นแบบเผด็จกาและมักมีการแย่งชิงอำนาจกันเสมอ อย่างไรก็ตาม ใน ค.ศ. ๑๙๑๗ มีการปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงระบอบการเมืองให้เป็นประชาธิปไตยโดยมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายหลักของประเทศ ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับ ค.ศ. ๑๙๑๗ ยังคงใช้สืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน เม็กซิโกจึงปกครองแบบสหพันธรัฐ มีรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น มีประธานาธิบดีเป็นทั้งประมุขของประเทศและผู้นำรัฐบาลและเป็นผู้แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ฝ่านิติบัญญัติมีวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้งโดยตรงและการเลือกตั้งแบบสัดส่วน (party list)

๑) พัฒนาการด้านเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจของประเทศในอเมริกาเหนือเป็นระบบการค้าเสรี ที่เอกราชต่างแข่งขันกันดำเนินการทางธุรกิจอย่างอิสระภายในขอบเขตของกฎหมาย ส่วนรัฐจะควบคุมและดำเนินการทางธุรกิจที่เกี่ยวกับกิจการสาธารณะและสวัสดิภาพของสังคมส่วนรวม ทรัพยากรและแร่ธาตุที่มีอยู่มาก ตลอดจนเงินทุนและแรงงานที่มีคุณภาพจำนวนมากและมีเส้นทางขนส่งที่ดี ทำให้อเมริกาเหนือเป็นทวีปที่เจริญก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรมที่สำคัญ รายได้ประชาชาติกว่าครึ่งมาจากสินค้าอุตสาหกรรม

ความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีการจัดตั้งระบบธนาคารกลางเพื่อควบคุมธนาคารและสถาบันการเงินต่างๆ ให้มั่นคงขึ้นในเรื่องของการให้สินเชื่อ อัตราดอกเบี้ยและการหมุนเวียนของเงิน ขณะเดียวกันรัฐบาลก็จัดระบบประกันสังคม (Social Security System) และโครงการสวัสดิการสังคมด้านต่างๆ เพื่อให้ประชากรมีหลักประกันที่มั่นคงในการดำรงชีวิต การประกันสังคมและโครงการสวัสดิการดังกล่าวจึงมีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจมีเสถียรภาพด้วย

ส่วนแคนาดา ระบบเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับทรัพยากรธรรมชาติเพราะเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกยูเรเนียม ถ่านหิน แก๊ส โปแตสเซียม และอื่นๆ อุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศ เช่น อุตสาหกรรมป่าไม้ อุปกรณ์คมนาคม ผลิตภัณฑ์จากกระดาษและเคมีภัณฑ์ การแปรรูปอาหาร เป็นต้น การที่สหรัฐอเมริกาให้ความช่วยเหลือด้านบุคลากรแลเทคโนโลยีสมัยใหม่ แคนาดาจึงเป็นประเทศอุตสาหกรรมขนาดใหญ่อีกประเทศหนึ่งของโลก โดยเขตอุตสาหกรรมจะอยู่บริเวณตอนใต้ส่วนเม็กซิโกและกลุ่มประเทศในอเมริกากลาง รวมทั้งกลุ่มหมู่เกาะเวสต์อินดีสเป็นประเทศกำลังพัฒนา ความเจริญทางเศรษฐกิจยังคงอยู่ในระดับปานกลางเพราะประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและการประมง ระบบเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้มีลักษณะสำคัญที่คล้ายคลึงกัน คือ การพึ่งพาเงินลงทุนจากต่างประเทศและพึ่งพิงสหรัฐอเมริกาและแคนาดาซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญเม็กซิโกและประเทศในกลุ่มอเมริกากลางได้แก้ปัญหาเศรษฐกิจด้วยการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด เช่น การจัดตั้งเขตการค้าเสรีทวีปอเมริกา (Free Trade Area of the Americas : FTAA) ขึ้นและพยายามขยายความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนกับประเทศในภูมิภาค

๒) พัฒนาการด้านสังคมและศิลปวัฒนธรรมทวีปอเมริกาเหนือมีผู้คนหลากหลายเชื้อชาติอาศัยอยู่ร่วมกัน วัฒนธรรมและวิถีชีวิตจึงเป็นวัฒนธรรมที่ผสมผสาน สหรัฐอเมริกาและแคนาดาซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นคนผิวขาวจะมีแบบแผนทางสังคมและวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน โดยสังคมกลุ่มแองโกลอเมริกาจะเป็นสังคมเมืองและสังคมอุตสาหกรรมที่มีมาตรฐานการครองชีพสูงและเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ ผู้คนมีความขยันและเชื่อมั่นในการทำศึกษา มีระเบียบวินัยในการทำงาน รักกีฬาเป็นชีวิตจิตใจ และนิยมการเตรียมแผนงานล่วงหน้าตลอดจนชอบความสะดวกสบายในชีวิตประจำวัน

อย่างไรก็ตาม การที่มีชนกลุ่มน้อยต่างๆ อาศัยอยู่ในประเทศเป็นจำนวนมาก เช่น พวกยุโรปตะวันออก จีน อินเดียเม็กซิกันเป็นต้น ทำให้สังคมและวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมแห่งประเทศ

ส่วนสังคมกลุ่มลาตินอเมริกาในเม็กซิโกและอเมริกากลาง ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นพวกเมสติโซ เป็นสังคมเกษตรที่มีความแตกต่างมากระหว่างเมืองกับชนบท ประชากรส่วนใหญ่ยากจนและจำนวนไม่น้อยอ่านเขียนไม่ได้ ส่วนวัฒนธรรมจะเป็นวัฒนธรรมผสมระหว่างวัฒนธรรมของอินเดียแดงและสเปน และวัฒนธรรมสเปนกับวัฒนธรรมนิโกรแอฟริกาและยุโรปตะวันตกการเต้นรำและดนตรีก็เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตทางวัฒนธรรมและเป็นอัตลักษณ์ที่สำคัญของประเทศแถบนี้ ดนตรีและการเต้นรำที่รู้จักกันดีทั่วโลก คือ แทงโกและแซมบา ในแต่ละปียังมีงานเทศกาลคาร์นิวัลประจำปีซึ่งจัดขึ้นก่อนฤดูถือศีล จะมีการเต้นรำกันอย่างสนุกสนาน

๒.๓ อิทธิพลของทวีปอเมริกาเหนือต่อสังคมโลก

สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศที่มั่งคั่งและมีความเจริญก้าวหน้าทั้งทางด้านอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีต่างๆ มากที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือได้ชื่อว่าเป็นผู้นำการปกครองระบอบประชาธิปไตยอุดมการณ์ทางการเมืองของสหรัฐอเมริกาที่ถือว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกันและทุกคนต้องได้รับสิทธิตามธรรมชาติที่ผู้ใดจะลิดรอนหรือบิดเบือนไปไม่ได้ ก็เป็นหลักการปกครองที่นานาประเทศทั่วโลกยอมรับ และทำให้อุดมคติอเมริกันที่ว่า รัฐบาลของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชนแพร่หลายไปทั่วโลก ส่วนแนวคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะสิทธิ เสรีภาพขั้นพื้นฐานในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นและการนับถือศาสนาก็เป็นแนวทางการปกครองที่ประเทศต่างๆ นำไปใช้ในการปกครองประเทศ สหรัฐอเมริกาจึงเป็นประเทศอภิมหาอำนาจที่เป็นผู้นำของประเทศต่างๆ ในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย

ความก้าวหน้าทางการคมนาคมสื่อสารและเทคโนโลยียังทำให้อเมริกาเหนือโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศชั้นนำในการพัฒนาด้านการสื่อสารนำแบบแผนชีวิตและวัฒนธรรมอเมริกันเผยแพร่ไปทั่วโลก เช่น ดนตรีอเมริกัน ภาพยนตร์ฮอลลีวูด อาหารจานด่วน และอื่นๆ ทำให้ผู้คนทั่วโลกรู้จักและคุ้นเคยกับวัฒนธรรมอเมริกัน

นอกจากนี้ ความเป็นผู้นำของสหรัฐอเมริกาในด้านเทคโนโลยีเรื่องไมโครชิป คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ รวมถึงการถ่ายทอดสดเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ผ่านดาวเทียมทำให้ผู้คนทั่วโลกกลายเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน โลกก็ถูกย่อให้มีขนาดเล็กลง กระแสโลกาภิวัตน์ (Globalization) ที่เกิดขึ้นในปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในอเมริกาเหนือก็ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในประวัติศาสตร์โลก

ความเป็นผู้นำด้านอวกาศและนิวเคลียร์ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งทำให้อเมริกาเหนือมีบทบาทโดดเด่นด้านความมั่นคงทางการเมืองและเป็นผู้นำทางการทหารของโลกได้ทำให้ประชาคมโลกตระหนักถึงอำนาจความน่ากลัวของอาวุธนิวเคลียร์ สหรัฐอเมริกาจึงมีบทบาทสำคัญในการจะช่วยสร้างโลกที่มีสันติภาพ เพราะสามารถผลักดันเรื่องการลดกำลังอาวุธและเลิกล้มการสร้างอาวุธนิวเคลียร์ซึ่งจะนำไปสู่การร่วมมือกันในการป้องกันการเกิดสงคราม นอกจากนี้ ความสำเร็จของสหรัฐอเมริกาในการส่งมนุษย์เดนทางไปสู่อวกาศและถ่ายทอดเรื่องราวการเดินทางไปนอกโลกทำให้ผู้คนทั่วโลกสามารถเห็นโลกที่ตนอาศัยอยู่ได้เป็นครั้งแรก และต่างตระหนักถึงความสำคัญของโลกและภัยร้ายแรงของอาวุธนิวเคลียร์ที่สามารถทำลายโลกได้ภายในพริบตา แนวความคิดของการป้องกันโลกไม่ให้ถูกทำลาย ก็ได้นำไปสู่การเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างกันและการพยายามจะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งต่างๆ ของโลก