รูปแบบของงานประพันธ์

บทที่ 3 องค์ประกอบของวรรณคดี (ต่อ)

องค์ประกอบด้านประเภทวรรณคดี

                    วิภา  กงกะนันทน์ (2556, น. 109) ได้จัดประเภทงานประพันธ์ไว้ 10 ประเภท ซึ่งในแต่ละประเภทจะปรากฏรูปแบบที่หลากหลาย เป็นระบบและครบถ้วน

                    ดังนั้น เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และศึกษาเพื่อให้เข้าใจวรรณคดีไทยอย่างครอบคลุมผลงาน ผู้สอนจึงยกตัวอย่างวรรณคดีที่น่าสนใจในประเภทต่างๆ  เพื่อประโยชน์ในการค้นคว้าของนักศึกษา ดังนี้

          1.วรรณคดีประเภทกวีนิพนธ์ ได้แก่

                   1.1 รูปแบบลิลิต

                             สำนักราชเลขาธิการ. (2539). ลิลิตตะเลงพ่าย. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้น                                    ติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

                   1.2 รูปแบบนิราศ

                             ธรรมธิเบศร์, เจ้าฟ้า. (2554). เจ้าฟ้าธรรมธิเบศ พระประวัติและพระ                      นิพนธ์บทร้อยกรอง. กรุงเทพฯ: เพชรกะรัต.    

                   1.3 รูปแบบคำรำพึง

                             เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์. (2529). เพียงความเคลื่อนไหว. กรุงเทพฯ: ก. ไก่.        

          2.วรรณคดีประเภทบทละคร ได้แก่

                   2.1 รูปแบบละครไทย

                             พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช,พระบาทสมเด็จพระ. (2549). บทละครเรื่อง                                    รามเกียรติ์ (พิมพ์ครั้งที่10). กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร.

                   2.2 รูปแบบละครพูด

                             มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จพระ. (2536). หัวใจนักรบ (พิมพ์ครั้ง                                    ที่6). กรุงเทพฯ: องค์การค้าคุรุสภา.

                   2.3 รูปแบบบทละครเวที* (ให้ผู้เรียนเลือกศึกษาด้วยตนเอง)

                   2.4 รูปแบบบทละครโทรทัศน์* (ให้ผู้เรียนเลือกศึกษาด้วยตนเอง)

          3.วรรณคดีประเภทบันเทิงคดี แบ่งออกเป็น

                   3.1วรรณคดีประเภทบันเทิงคดีร้อยแก้ว ได้แก่

                             3.1.1 รูปแบบนวนิยาย

                                       คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. (2554). สี่แผ่นดิน (พิมพ์ครั้งที่15).                                                    นนทบุรี: ดอกหญ้า2000.

                   3.2วรรณคดีประเภทบันเทิงคดีร้อยกรอง ได้แก่

                             3.2.1  รูปแบบนิทาน

                                      กรมศิลปากร. (2517). พระอภัยมณีคำกลอนของสุนทรภู่ (พิมพ์

                                                ครั้งที่14). กรุงเทพฯ: บรรณาคาร.

          4.วรรณคดีประเภทสารคดี ได้แก่

                   4.1 รูปแบบพระราชพิธี

                             กรมศิลปากร. (2503). พระราชพิธีสิบสองเดือน. พระนคร: รุ่งเรืองรัตน์.

                   4.2 รูปแบบความเรียง* (ให้ผู้เรียนเลือกศึกษาด้วยตนเอง)

                   4.3 รูปแบบบทความทางวิชาการ* (ให้ผู้เรียนเลือกศึกษาด้วยตนเอง)

                   4.4 รูปแบบบทวิจารณ์* (ให้ผู้เรียนเลือกศึกษาด้วยตนเอง)

                   4.5 รูปแบบชีวประวัติ/อัตชีวประวัติ* (ให้ผู้เรียนเลือกศึกษาด้วยตนเอง)

          5.วรรณคดีประเภทตำรา ได้แก่

                   5.1 รูปแบบตำรากฎหมาย

                             กรมศิลปากร. (2521). กฎหมายตราสามดวง. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

                   5.2 รูปแบบตำราพุทธศาสนา

                             มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2540). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย.                                           กรุงเทพฯ:มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

                   5.3 รูปแบบตำราเรียนภาษาไทย

                             กรมศิลปากร. (2516). กาพย์พระไชยสุริยาและสุภาษิตสอนหญิง.                                             กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.

          6.วรรณคดีประเภทบทเพลง ได้แก่

                   6.1 รูปแบบเพลงชาวบ้าน* เช่น เพลงกล่อมเด็ก เพลงเกี่ยวข้าว เพลงรำวง เป็นต้น                  (ให้ผู้เรียนเลือกศึกษาด้วยตนเอง)

                   6.2 รูปแบบเพลงไทยเดิม* (ให้ผู้เรียนเลือกศึกษาด้วยตนเอง)

                   6.3 รูปแบบเพลงไทยสากล* (ให้ผู้เรียนเลือกศึกษาด้วยตนเอง)

                   6.4 รูปแบบเพลงลูกทุ่ง* (ให้ผู้เรียนเลือกศึกษาด้วยตนเอง)

          7.วรรณคดีประเภทจดหมายและบันทึก ได้แก่

                   7.1 รูปแบบจดหมายเหตุ

                             พิทยาลงกรณ์,พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่น.(2514).จดหมายจางวางหร่ำ.                                     พระนคร : แพร่พิทยา.

                   7.2 รูปแบบบันทึกประจำวัน* (ให้ผู้เรียนเลือกศึกษาด้วยตนเอง)

                   7.3 รูปแบบบันทึกการเดินทาง หรือ บันทึกการท่องเที่ยว* (ให้ผู้เรียนเลือกศึกษา                   ด้วยตนเอง)

          8.วรรณคดีประเภทรายงาน

                   8.1 รูปแบบรายงานการประชุม* (ให้ผู้เรียนเลือกศึกษาด้วยตนเอง)

                   8.2 รูปแบบรายงานผลการวิจัยและการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการ*                      (ให้ผู้เรียนเลือกศึกษาด้วยตนเอง)

                   8.3 รูปแบบรายงานการไปปฏิบัติราชการ* (ให้ผู้เรียนเลือกศึกษาด้วย  ตนเอง)

                   8.4 รูปแบบรายงานข่าว* (ให้ผู้เรียนเลือกศึกษาด้วยตนเอง)

          9.วรรณคดีประเภทวรรณรูป

                   9.1 รูปแบบวรรณรูปมีลักษณะแตกต่างกันไปตามศิลปิน* (ให้ผู้เรียนเลือกศึกษาด้วย                ตนเอง)

          10.วรรณคดีประเภทปกิณกคดี

                   10.1 รูปแบบพจนานุกรม

                             ราชบัณฑิตยสถาน.  (2556).  พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.                                      2544. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

                   10.2 รูปแบบสารานุกรม

                   10.3 รูปแบบปาฐกถา

                   10.4 รูปแบบสุนทรพจน์

                   10.5 รูปแบบภาษิต

                   10.6 รูปแบบคำพังเพย                      

          การศึกษาประเภทของงานประพันธ์จะช่วยทำให้ผู้เรียนเข้าใจวิธีการนำเสนอของนักประพันธ์มากยิ่งขึ้น งานประพันธ์บางประเภทมีหลายรูปแบบร่วมกัน ดังนั้นผู้เรียนจะต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วน ทั้งนี้ในอนาคตอาจมีรูปแบบงานประพันธ์ หรือประเภทงานประพันธ์ที่มากขึ้นกว่าเดิมก็เป็นได้ เนื่องจากนักประพันธ์ในปัจจุบันมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น และผู้อ่านก็เปิดใจรับงานที่สร้างสรรค์มากขึ้น

          จากการศึกษาองค์ประกอบของวรรณคดี ทั้งในด้านภาษา เนื้อหา และประเภทของงานประพันธ์ จะช่วยทำให้ผู้เรียนได้รู้ภาพกว้างของวรรณคดี ในขั้นต่อไปผู้เรียนจะได้เรียนรู้ในขั้นลึกของการศึกษา ซึ่งก็คือ การศึกษากลวิธีในการประพันธ์ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของผู้ประพันธ์แต่ละท่าน

สรุป  

          การเรียนรู้ประเภทของงานประพันธ์ จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถจำแนกรูปแบบของงานประพันธ์ได้อย่างถูกต้อง โดยประเภทของงานประพันธ์มีทั้งหมด 10 ประเภท และมีรูปแบบย่อยที่ต่างกันไป ดังนี้ ประเภทที่1 วรรณคดีประเภทกวีนิพนธ์ ได้แก่ รูปแบบลิลิต รูปแบบนิราศ รูปแบบคำรำพึง ประเภทที่ 2 วรรณคดีประเภทบทละคร ได้แก่ รูปแบบบทละครไทย รูปแบบบทละครพูด รูปแบบบทละครเวที เป็นต้น ประเภทที่ 3 วรรณคดีประเภทบันเทิงคดี แบ่งออกเป็น วรรณคดีประเภทบันเทิงคดีร้อยแก้ว ได้แก่ รูปแบบนวนิยาย และวรรณคดีประเภทบันเทิงคดีร้อยกรอง ได้แก่ รูปแบบนิทาน ประเภทที่ 4 วรรณคดีประเภทสารคดี ได้แก่ รูปแบบพระราชพิธี รูปแบบความเรียง รูปแบบบทความทางวิชาการ เป็นต้น ประเภทที่ 5  วรรณคดีประเภทตำรา ได้แก่ รูปแบบตำรากฎหมาย รูปแบบตำราพุทธศาสนา เป็นต้น ประเภทที่ 6 วรรณคดีประเภทบทเพลง ได้แก่ รูปแบบเพลงชาวบ้าน รูปแบบเพลงไทยเดิม รูปแบบเพลงไทยสากล เป็นต้น ประเภทที่ 7 วรรณคดีประเภทจดหมายและบันทึก ได้แก่ รูปแบบจดหมายเหตุ รูปแบบบันทึกประจำวัน รูปแบบบันทึกการเดินทาง หรือ บันทึกการท่องเที่ยว ประเภทที่ 8 วรรณคดีประเภทรายงาน ได้แก่ รูปแบบรายงานการประชุม รูปแบบรายงานผลการวิจัยหรือการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการ รูปแบบรายงานการไปปฏิบัติราชการ รูปแบบรายงานข่าว ประเภทที่ 9 วรรณคดีประเภทวรรณรูป และ ประเภทที่ 10 วรรณคดีประเภทปกิณกคดี ได้แก่ รูปแบบพจนานุกรม รูปแบบสารานุกรม รูปแบบปาฐกถา เป็นต้น

คำถามทบทวน

เอกสารอ้างอิง

กรมศิลปากร. (2521). กฎหมายตราสามดวง.กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

_______. (2503). พระราชพิธีสิบสองเดือน.พระนคร: รุ่งเรืองรัตน์.

_______. (2516). กาพย์พระไชยสุริยาและสุภาษิตสอนหญิง.กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.

_______. (2517). พระอภัยมณีคำกลอนของสุนทรภู่ (พิมพ์ครั้งที่14). กรุงเทพฯ: บรรณาคาร.

คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. (2554). สี่แผ่นดิน (พิมพ์ครั้งที่15).นนทบุรี: ดอกหญ้า2000.

ธรรมธิเบศร์,เจ้าฟ้า. (2554). เจ้าฟ้าธรรมธิเบศ พระประวัติและพระนิพนธ์บทร้อยกรอง. กรุงเทพฯ:เพชรกะรัต.      

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์. (2529). เพียงความเคลื่อนไหว (พิมพ์ครั้งที่2).กรุงเทพฯ:  ก. ไก่.

พิทยาลงกรณ์,พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่น. (2514). จดหมายจางวางหร่ำ.พระนคร: แพร่พิทยา.

พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช,พระบาทสมเด็จพระ. (2549).บทละครเรื่องรามเกียรติ์  (พิมพ์ครั้งที่ 10).กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร.

มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จพระ. (2536). หัวใจนักรบ (พิมพ์ครั้งที่6).กรุงเทพฯ: องค์การค้าคุรุสภา.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2540). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย.กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2544. กรุงเทพฯราชบัณฑิตยสถาน.

วิภา  กงกะนันทน์. (2556). วรรณคดีศึกษา.กรุงเทพฯ:  สกสค. ลาดพร้าว.

สำนักราชเลขาธิการ. (2539). ลิลิตตะเลงพ่าย. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.


องค์ประกอบที่สําคัญของงานประพันธ์คืออะไร

งานประพันธ์มีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ เนื้อหา และ รูปแบบ เนื้อหา คือ เรื่องราวที่ผู้แต่งถ่ายทอดให้ผู้อ่านผู้ฟังรับรู้ เรื่องราวนี้ผู้แต่งอาจจะผูกขึ้นมา จาก ความรู้ ความคิด อารมณ์ความรู้สึก ประสบการณ์ จินตนาการ ชีวทรรศน์ หรือ โลกทรรศน์ ก็ได้ เนื้อหายังรวมถึง “สาร” ที่ผู้แต่งต้องการสื่อถึงผู้อ่านผู้ฟังด้วย รูปแบบ หมายถึง ...

รูปแบบของบทร้อยกรองแบ่งเป็นกี่ประเภทอะไรบ้าง

ร้อยกรองของไทยมีหลายประเภท ถ้าหากจัดตามลักษณะการแต่งแล้วจะ ได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ คือ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และร่าย ซึ่งในแต่ละ ประเภทยังแบ่งออกเป็นชนิดย่อย ๆ อีกมากมาย เช่น โคลงสุภาพ โคลงดั้น ฯลฯ

คุณค่าของร้อยกรองมีกี่ประเภท

คุณค่าของบทร้อยกรอง ๑. ช่วยให้เข้าถึงรสและเห็นความงามของบทร้อยกรองที่อ่าน ๒. ช่วยให้ได้รับความไพเราะและเกิดความซาบซึ้ง ๓. ช่วยให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน ๔. ช่วยให้จำบทร้อยกรองได้รวดเร็วและแม่นยำ ๕. ช่วยกล่อมเกลาจิตใจให้เป็นคนอ่อนโยนและเยือกเย็น ๖. ช่วยสืบสานศิลปวัฒนธรรมในการอ่านทำนองเสนาะไว้เป็นมรดกของ

การอ่านงานประพันธ์มีกี่ชนิดอะไรบ้าง

พ.ศ. ๒๔๙๕ กำชัย ทองหล่อได้แต่งตำราหลักภาษาไทย โดยอธิบายถึงการอ่านร้อย กรองว่ามีอยู่ ๓ ชนิด คือ อ่านทำนองสามัญ อ่านทำนองเจรจา และการอ่านทำนองเสนาะ ล