รายได้จากต่างประเทศ ไม่เสียภาษี

สิ่งแรกที่คุณต้องรู้หากคุณทำงานอยู่ต่างประเทศ หรือมีรายได้จากต่างประเทศ และต้องการนำเงินได้เข้าประเทศไทย คือ

  • มีถิ่นที่อยู่ในประเทศหรือไม่ (อาศัยอยู่ในประเทศไทย มากกว่า 180 วัน ต่อปี)
  • นำเงินได้เข้าประเทศไทยในปีเดียวกันหรือไม่

เพราะประเทศไทยจัดเก็บภาษีบุคคลธรรมดาจากแหล่งนอกประเทศไทยก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยและนำเงินได้ที่ได้รับจากแหล่งนอกประเทศไทยของปีนั้นเข้ามาในประเทศไทย ในปีเดียวกัน

แหล่งที่มาของเงินได้ ซึ่งแบ่งเป็นเงินได้จากแหล่งในประเทศและนอกประเทศ เงินได้จากแหล่งต่างๆ นี้จะต้องนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ ให้พิจารณา ดังนี้

1. เงินได้เกิดจากแหล่งในประเทศ หมายถึง เงินได้ที่เกิดขึ้น หรือเป็นผลสืบเนื่องจากมี

1.1 หน้าที่งานที่ทำในประเทศไทย หรือ
1.2 กิจการที่ทำในประเทศไทย หรือ
1.3 กิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือ
1.4 ทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย (ดอกเบี้ย เงินปันผล ค่าเช่า ฯลฯ
* เงื่อนไข ผู้มีเงินได้เกิดจากแหล่งในประเทศนี้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามที่ประมวลรัษฏากร กำหนดไว้เสมอเว้นแต่จะมีข้อยกเว้นตามกฎหมาย ทั้งนี้ ไม่ว่าเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วนั้น จะจ่ายในหรือนอกประเทศ และไม่ว่าผู้มีเงินได้นั้นจะเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยหรือไม่ก็ตาม)

2. เงินได้เกิดจากแหล่งนอกประเทศไทย  หมายถึง เงินได้ที่เกิดขึ้นหรือเป็นผลสืบเนื่องจากมี

2.1 หน้าที่งานที่ทำในต่างประเทศ หรือ
2.2 กิจการที่ทำในต่างประเทศ หรือ
2.3 ทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ

* เงื่อนไข ผู้มีเงินได้เกิดจากแหล่งนอกประเทศในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วจะต้องเสียภาษีเงินได้ ในประเทศไทยก็ต่อเมื่อเข้าองค์ประกอบทั้ง 2 ประการ ดังต่อไปนี้
(1) ผู้มีเงินได้เป็น ผู้อยู่ในประเทศไทย ในปีภาษีนั้นชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะเวลา รวมทั้งหมดถึง 180 วัน และ
(2) ผู้มีเงินได้ นำเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษีนั้นด้วย

ในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาบางกรณี ถ้าเกี่ยวข้องกับบุคคลของบางประเทศที่มี อนุสัญญาภาษีซ้อน* หรือความตกลงเพื่อป้องกันการเก็บภาษีซ้ำซ้อนกับประเทศไทยจำเป็นต้องพิจารณาถึงความ ตกลงหรืออนุสัญญาว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนระหว่างประเทศไทยได้ทำความตกลงไว้ด้วย

                        กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนรับจ้างเขียนซอฟต์แวร์ให้กับผู้ประกอบการหรือบุคคลใดซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างในต่างประเทศโดยผู้ว่าจ้างในต่างประเทศยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ดังกล่าว ไม่ถือเป็นการขายสินค้าที่ไม่มีรูปร่างตามมาตรา 77/1(8) และมาตรา 77/1(9) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ถือเป็นการให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศตามมาตรา 77/1(10) มาตรา 77/5 และมาตรา 80/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร

การเสียภาษีเป็นหน้าที่โดยตรงของประชาชนคนไทยที่มีรายได้ทุกคน เพราะภาษีจะถูกนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านสาธารณสุข,การคมนาคม,การศึกษา,การป้องกันประเทศและรักษาความสงบสุขภายในประเทศ และอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งผู้ที่มีรายได้ทุกคนไม่ว่าจะมากหรือน้อย ถ้ามีรายได้เข้าเงื่อนไขตามที่กำหนดจะต้องยื่นภาษีและชำระภาษีให้ครบถ้วนกันทุกคน

รายได้ที่นำไปคำนวณเพื่อเสียภาษี นอกจากจะเป็นรายได้ที่จากแหล่งในประเทศ แล้วผู้ที่มีรายได้จากแหล่งเงินได้นอกประเทศไทยล่ะ มีหน้าที่ที่จะต้องเสียภาษีด้วยหรือไม่

รายได้จากต่างประเทศ ไม่เสียภาษี

มาทำความรู้จักกับแหล่งรายได้แต่ละประเภทกันก่อน

แหล่งเงินได้ในประเทศ

เมื่อพูดถึงแหล่งเงินได้ในประเทศ ทุกคนย่อมเข้าใจกันดีว่าเป็นเงินที่ได้จากการทำงานในประเทศไทย ซึ่งตามประมวลรัษฎากร มาตรา 41 วรรคแรก กำหนดเอาไว้ว่าเงินที่ได้จากการทำงานในประเทศ คือเงินที่เกิดจากการทำงานที่ก่อให้เกิดรายได้ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นเงินค่าจ้าง, เงินจากการให้เช่าทรัพย์สิน, เงินที่ได้จากการทำกิจการในประเทศไทย, ค่าลิขสิทธิ์ และเงินที่มาจากกิจการในประเทศไทยแต่มีการทำงานที่ทำให้เกิดรายได้ในต่างประเทศ ซึ่งอาจจะนับว่าเป็นแหล่งเงินได้จากต่างประเทศ แต่การทำงานนั้นเป็นไปเพื่อทำให้เกิดรายได้ในประเทศไทย

ยกตัวอย่างเช่น นางสาว A ทำงานในบริษัทอาหารเสริม V ซึ่งเป็นบริษัทที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย รายได้จากค่าจ้างของนางสาว A จึงถือว่ามาจากแหล่งรายได้ภายในประเทศ

ส่วนนาย B ทำงานในบริษัทอาหารเสริม V เช่นเดียวกัน แต่มีหน้าที่ต้องไปปฏิบัติหน้าที่ที่สาขาต่างประเทศของบริษัท  ซึ่งเป็นการทำงานเพื่อให้บริษัท V มีรายได้ ดังนั้นรายได้ของนาย B จึงถือเป็นรายได้จากแหล่งเงินได้ในประเทศไทยเช่นเดียวกัน


แหล่งเงินได้จากต่างประเทศ

ส่วนเงินได้ที่มาจากแหล่งเงินได้จากต่างประเทศ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 41 วรรคสองและวรรคสาม กำหนดเอาไว้ว่า แหล่งเงินได้จากต่างประเทศที่เข้าเกณฑ์การเสียภาษีนั้นประกอบไปด้วย

  1. ผู้ที่มีรายได้พักอยู่อยู่ในประเทศไทยในปีเป็นเวลา 180 วัน ซึ่งอาจจะอยู่อย่างต่อเนื่องหรือไม่ก็ได้ แต่รวมระยะเวลาแล้วได้ถึง 180 วัน โดยยึดระยะเวลาตามพาสปอร์ตของผู้มีรายได้
  2. ผู้มีรายได้ มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 จากแหล่งเงินต่างประเทศที่ประกอบไปด้วย
  • การทำงานในต่างประเทศให้กับนายจ้างที่อยู่ต่างประเทศ หรือ ทำงานในประเทศไทยแล้วส่งงานให้กับนายจ้างที่อยู่ต่างประเทศ 

เช่น นางสาว C เป็นคนไทยที่ไปทำงานให้กับบริษัท F ซึ่งเป็นบริษัทฝรั่งเศสและตั้งอยู่ในประเทศฝรั่งเศส ส่วนนาย D ทำงานให้บริษัท F เช่นเดียวกันแต่เป็นการทำงานในสาขาของประเทศไทย และต้องส่งผลงานที่ทำไปยังบริษัทแม่ในฝรั่งเศส ทั้งสองกรณีนี้ถือเป็นรายได้ที่มาจากต่างประเทศ

  • การไปประกอบกิจการในต่างประเทศ และส่งเงินเข้ามาในประเทศไทย
  • การนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศ เช่น หุ้นหรือพันธบัตร
  • ภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการส่งสินค้าในประเทศไทยออกไปขายยังต่างประเทศ

ซึ่งเงินได้ที่มาจากแหล่งต่างประเทศเหล่านี้ จะมีการกำหนดเอาไว้ด้วยว่า เงินที่ได้จากการทำงานในต่างประเทศ,เงินจากกิจการที่ตั้งอยู่ต่างประเทศ และทรัพย์สินอื่นๆที่อยู่ต่างประเทศ จะต้องเสียภาษีก็ต่อเมื่อผู้มีรายได้ พำนักอยู่ในประเทศไทยเป็นระยะเวลาตั้งแต่ 180 วันขึ้นไป และนำเงินรายได้ที่ได้รับ เข้ามาในประเทศไทยในปีภาษีเดียวกันกับที่เกิดรายได้ หากไม่เข้าเกณฑ์ดังกล่าวก็ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้

อย่างเช่น นาย T เป็นนักกีฬาอาชีพ สามารถทำรายได้จากการแข่งขันในปี พ.ศ. 2558 จำนวนหนึ่ง ซึ่งหากนาย T นำเงินเข้ามาในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2558 ที่ตนเองพักอาศัยอยู่ในประเทศเกิน 180 วัน นาย T ก็ต้องเสียภาษี ตามอัตราที่กำหนด


อนุสัญญาภาษีซ้อน

การเก็บภาษีเงินได้จากต่างประเทศนั้น มีข้อตกลงทางภาษีระหว่างประเทศอย่างหนึ่งก็คือ อนุสัญญาภาษีซ้อน ที่ผู้มีรายได้จากต่างประเทศต้องทำความเข้าใจให้ดี  เพราะเป็นข้อตกลงเพื่อป้องกันการเก็บภาษีซ้ำซ้อนที่เป็นการเพิ่มภาระให้แก่ผู้มีรายได้มากกว่าปกติ

อนุสัญญาภาษีซ้อนเป็นสัญญาทวิภาคีที่มีผลบังคับใช้ในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งอนุสัญญานี้จะช่วยลดการจ่ายภาษีซ้ำซ้อน และเป็นหลักประกันในการจ่ายภาษีที่ชัดเจน ลดการหลีกเลี่ยงภาษีระหว่างประเทศ อีกทั้งยังส่งเสริมการค้าการลงทุน ช่วยให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศกันได้มากยิ่งขึ้น

ตัวอย่างของการใช้อนุสัญญาภาษีซ้ำซ้อนที่ทำให้เห็นภาพมากขึ้น มีดังต่อไปนี้

นาง A ซึ่งเป็นชาวเดนมาร์ก ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่เข้าร่วมอนุสัญญาภาษีซ้อน เดินทางมาพำนักในประเทศไทยกับลูกชายและลูกสะใภ้ในปี พ.ศ. 2558 โดยไปๆมาๆระหว่างไทยกับเดนมาร์ก ซึ่งเมื่อรวมระยะเวลาที่อยู่ในประเทศไทย แล้วปรากฏว่านาง A อยู่ในไทย เป็นเวลา 8 เดือน และจะกลับไปยัง เดนมาร์กเพื่อพักผ่อนในช่วงหน้าร้อน  ซึ่งในปี พ.ศ. 2558 นาง A ได้รับเงินปันผลที่จากบริษัทที่ลงทุนไว้ในเดนมาร์กเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัวในระหว่างพักอยู่ในประเทศไทย

จากข้อมูลข้างต้น เมื่อพิจารณาถึงระยะเวลาที่นาง A พำนักอยู่ในประเทศไทยเกิน 180 วัน ดังนั้นจึงเข้าเกณฑ์ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 41 วรรค 3 ซึ่งหากนาง A ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายที่เดนมาร์กมาแล้ว นาง A ก็สามารถนำเงินภาษีที่ได้ชำระแล้วดังกล่าว มาหักลบจากจำนวนภาษีที่ต้องชำระในประเทศไทยตามเกณฑ์ที่กำหนด ดังนั้นนาง A จึงไม่ต้องเสียภาษีซ้อนซึ่งเป็นการลดภาระทางภาษีลง