ใบงานอาหารและสารอาหาร ป.6 ppt

งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 1 อาหารกับการดำรงชีวิต"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 1 อาหารกับการดำรงชีวิต
ปฏิการ นาครอด

2 อาหารและสารอาหารแตกต่างกันอย่างไร ?
1.1 อาหารและสารอาหาร อาหารและสารอาหารแตกต่างกันอย่างไร…. ? อาหาร คือ สิ่งที่รับประทานได้ไม่เป็นพิษและก่อให้เกิดประโยชน์ ต่อร่างกาย ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตแข็งแรงต้านทานโรค สารอาหาร คือ สารเคมีที่เป็นส่วนประกอบของอาหารเป็นสิ่งที่กิน เข้าไปแล้วมีประโยชน์ต่อร่างกายใช้เผาผลาญเป็นพลังงาน ใช้ใน การเจริญเติบโตและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและใช้ในกิจกรรม ต่างๆของสิ่งมีชีวิต มี 5 ชนิด คือ คาร์โบโฮเดรต โปรตีน ไขมัน แร่ธาตุ วิตามินและน้ำ อาหารและสารอาหารแตกต่างกันอย่างไร ?

3 อาหารหลัก 5 หมู่

4 ทบทวนอาหารหลัก 5 หมู่ หมู่ที่ 1 นม ไข่ เนื้อสัตว์ต่างๆ ถั่วเมล็ดแห้ง และงานให้สารอาหารโปรตีน ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ หมู่ที่ 2 ข้าว แป้ง เผือก มัน น้ำตาล ให้สารอาหารคาร์โบไฮเดรตเพื่อให้พลังงานแก่ร่างกาย หมู่ที่ 3 พืชผักต่างๆ ให้สารอาหารวิตามินและแร่ธาตุเพื่อเสริมสร้างการทำงานของร่างกายให้ปกติ หมู่ที่ 4 ผลไม้ต่างๆ ให้สารอาหารและประโยชน์เหมือนหมู่ที่ 3 หมู่ที่ 5 น้ำมันและไขมันจากพืชและสัตว์ ให้สารอาหารไขมันเพื่อให้พลังงานและความอบอุ่นแก่ร่างกาย

5 สารอาหารแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
สารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน สารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน ได้แก่ วิตามิน แร่ธาตุ และน้ำ

6 1. สารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน

7 คาร์โบไฮเดรต เป็นสารอาหารหลังที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย ส่วนใหญ่มนุษย์ได้รับคาร์โบไฮเดรตจากอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล อาหารที่ให้คาร์โบไฮเดรตซึ้งคนไทยบริโภคเป็นอาหารหลักคือข้าว คาร์โบไฮเดรต ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน หน่วยย่อยของคาร์โบไฮเดรต คือ น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว

8 คาร์โบไฮเดรต - พบในแป้งและน้ำตาล
- เมื่อย่อยแล้วได้โมเลกุลที่เล็กที่สุด คือ กลูโคส - ให้พลังงาน 4 kcal/g - ถ้าร่างกายได้รับในปริมาณมากคาร์โบไฮเดรตจะเปลี่ยนเป็นไขมันและสะสมไว้ - เป็นแหล่งพลังงานซึ่งสะสมไว้ที่กล้ามเนื้อและตับทั้งแป้งและไกลโคเจนจะถู เปลี่ยนเป็นกลูโคสเพื่อใช้เผาผลาญพลังงานในยามที่เราต้องการ - ปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ร่างกายควรได้รับขึ้นอยู่กับการใช้พลังงานของแต่ละบุคคล กล่าวคือพลังงาน 50-60% ได้มาจากคาร์โบไฮเดรต ประโยชน์ของคาร์โบไฮเดรต 1.ให้พลังงานแก่ร่างกาย 2.ช่วยทำให้ไขมันเผาผลาญได้สมบูรณ์ 3.เก็บสะสมไว้ในร่างกาย เพื่อนำไปใช้เวลาขาดแคลน ผลของการขาดคาร์โบไฮเดรต จะทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย ตาลาย

9 ข้อความรู้เกี่ยวกับน้ำตาลโมเลกุลเดียวและน้ำตาลโมเลกุลคู่
น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว หรือ โมโนแซ็กคาไรด์ (Monosaccharide) เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลเล็กที่สุด ซึ่งร่างกายไม่เมื่อรับประทานเข้าไปไม่ต้องผ่านการย่อย ได้แก่ - กลูโคส เป็นน้ำตาลที่มีอยู่ในอาหาร ทั่วไป พบมากในผักและผลไม้สุก นอกจากนี้ยังพบ กลูโคส ในกระแสเลือด คนปกติจะมีกลูโคสประมาณ 100 mg ในเลือด 100 cm3 - ฟรักโทส เป็นน้ำตาลที่มีรสหวาน มากกว่าน้ำตาลชนิดอื่น พบในเกสรเกสรดอกไม้ ผลไม้ ผัก น้ำผึ้ง น้ำตาลทรายและกากน้ำตาล ในธรรมชาติมักปน อยู่กับกลูโคสใน ร่างกายได้จากการย่อยน้ำตาลทราย - กาแล็กโทส ไม่เกิดอิสระในธรรมชาติ ในร่างกายได้จากการย่อยแล็กโทส หรือน้ำตาลที่ มีอยู่ใน นม ซึ่งมีอยู่ในอาหารพวกนมและผลิตผลของนมทั่วไป แกแล็กโทสในน้ำนม มีความสำคัญ โดยรวมกับไขมัน เป็น ส่วนประกอบของเซลล์ประสาท

10 น้ำตาลโมเลกุลคู่ หรือ ไดแซ็คคาไรด์ (Disaccharide)  หมายถึงคาร์โบไฮเดรตที่แตก
ตัวให้โมโนแซ็ก- คาไรด์จำนวน  2  โมเลกุล ซูโครส หรือ น้ำตาลทราย ละลายน้ำได้ดี พบในอ้อย ตาล มะพร้าว น้ำผึ้ง เป็นต้น เมื่อ แตกตัวหรือย่อยซูโคสด้วยน้ำย่อยซูเครส ได้กลูโคสและฟรักโทส    ซูโครส + น้ำ ----> กลูโคส + ฟรักโตส      - มอลโทส ละลายน้ำได้ค่อนข้างดี   เช่น  ในเมล็ด ธัญพืชที่กำลังงอกหรือในข้าวมอลต์หรือ ข้าวบาร์เลย์ที่นำมา ผลิตเบียร์     มอลโตส + น้ำ ----> กลูโคส + กลูโคส แล็กโทส พบในน้ำนมของสัตว์เลี้ยงลูก ด้วยนมทุกชนิด ละลายน้ำได้ไม่ดี มีความหวาน น้อยมากเมื่อเทียบกับซูโครส   เมื่อแตกตัวจะได้กลูโคสและกาแล็กโทสอย่างละ 1 โมเลกุล    ใช้เป็น ส่วนประกอบของยาเม็ดบางชนิด แล็กโตส + น้ำ ----> กลูโคส + กาแล็กโตส

11  ไขมัน  เป็นสารอาหารที่ให้กรดไขมันที่จำเป็นสำหรับร่างกาย  และให้พลังงานสำหรับร่างกายสำหรับกิจกรรมต่างๆของเซลล์ ร่างกายจะสะสมไขมันในบริเวณใต้ผิวและรอบอวัยวะภายในต่างๆ เพื่อให้มีแหล่งพลังงานไว้ใช้ในยามต้องการ ไขมันเป็นฉนวนป้องกันการสูญเสียความร้อนจากร่างกายและปกป้องอวัยวะภายในจากการกระทบกระเทือน  นอกจากนั้นยังช่วยในการดูดซึมวิตามินบางชนิด ไขมันเป็นสารอาหารที่ให้พลังงานงานแก่ร่างกายสูงกว่าคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนกว่าเท่าตัวการกินอาหารที่ให้พลังงานมากเกินไป  จะทำให้เกิดโรคอ้วนได้  และเสียงต่อการเกิดโรคอื่นๆอีกหลายโรค

12 โปรตีน เป็นส่วนประกอบสำคัญของทุกเซลล์  ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโต และซ่อมแซมเซลล์ต่างๆ ของร่างกาย 
โปรตีนหลายชนิดเป็นเอนไซม์ที่มีหน้าที่เฉพาะ  คือ ช่วยเร่งและควบคุมระบบต่างๆให้ทำงานได้เป็นปกตินอกจากนั้นร่างกายยังสามารถได้รับพลังงานจากการสลายโปรตีนได้อีกด้วย อาหารที่มีโปรตีนมากได้แก่ เนื้อสัตว์  ไข่  นม 

13 โปรตีน - พบในกลุ่ม เนื้อสัตว์ นม ไข่ ถั่ว - เมื่อย่อยแล้วได้กรดอะมิโน
- ให้พลังงาน 4 kcal/g - ร่างกายเปลี่ยนโปรตีนเป็นคาร์โบไฮเดรตและไขมัน - กรดอะมิโนมีอยู่ 8 ชนิดที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นเองไม่ได้ และจำเป็นต้องได้รับจาก อาหารเรียกว่า กรดอะมิโนจำเป็น - ปริมาณของโปรตีนที่ร่างกายควรได้รับ เด็ก ปริมาณ 2 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ผู้ใหญ่ ปริมาณ 1 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ประโยชน์ของโปรตีน 1.ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ 2.เป็นองค์ประกอบของสาระสำคัญต่างๆในการสร้างเอนไซม์ ฮอร์โมนและสาร ภูมิคุ้มกัน ผลของการขาดโปรตีน เด็ก ถ้าหากขาดโปรตีนอย่างมากจะทำให้เกิดโรคคะวาซิออร์กอร์(kwashiokor) มีอาการอ่อนเพลีย บวม ตับโตผู้ใหญ่ ซูบผอม ไม่มีเรี่ยวแรง ฟื้นจากโรคได้ช้า

14 โรคขาดโปรตีนเป็นโรคเกิดจากร่างกายได้กำลังงานโปรตีนไม่พอ เป็นโรคที่พบบ่อยในเด็กที่อายุต่ำกว่า ๖ ปี ลักษณะอาการของโรคที่เห็นแตกต่างกันชัดเจน คือ เด็กมีอาการบวมเห็นได้ชัดที่ขา ๒ ข้าง เส้นผมมีลักษณะบางเปราะและร่วงหลุดง่าย ตับโต มีอาการซึม และดูเศร้า ไม่สนใจต่อสิ่งแวดล้อม ผิวหนังบางและลอกหลุด

15 ไขมัน พบในน้ำมันจากพืชและสัตว์
ไขมันมี 2 ประเภทคือ ไขมันธรรมดา ได้แก่ ไขมันสัตว์และน้ำมันพืช และไขมันพิเศษ เช่น ไข่แดง เมื่อย่อยแล้วได้กรดไขมันกับกลีเซอรอล ให้พลังงาน 9 kcal/g ช่วยละลายวิตามิน A D E และ K คอเลสเตอรอล เป็นไขมันพิเศษที่ตับสร้างขึ้นได้เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในร่างกาย แต่ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง เนื่องจากจะทำให้ไปสะสมอยู่ตามหลอดเลือด เป็นสาเหตุให้เกิดโรคหลอดเลือดตีบตัน ถ้ารับประทานไขมันในปริมาณมากจะทำให้เกิดโรคอ้วนและความดันโลหิตสูงได้ ประโยชน์ของไขมัน 1.เป็นแหล่งพลังงานของร่างกาย 2.ไขมันที่สะสมไว้ใต้ผิวหนังเป็นฉนวนป้องกันความร้อนไม่ให้สูญเสียออกจากร่างกาย 3.เป็นส่วนประกอบของเซลล์ประสาทเยื่อหุ้มเซลล์ ผลของการขาดไขมัน 1.ผิวหนังแห้งแตกเป็นแผล และเป็นโรคผิวหนังได้ง่าย 2.ทำให้อาหารไม่อยู่ท้อง คือ หิวง่าย ไขมัน

16 น้ำนมถัวเหลืองมีสารอาหารประเภทใด ?
ฉลากอาหาร น้ำนมถัวเหลืองมีสารอาหารประเภทใด ?

17 อาหารต่อไปนี้มีสารอาหารประเภทใดบ้าง ?
โปรตีน และไขมันอิ่มตัว คาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามิน ไขมัน

18 ถ้าต้องการทราบว่าอาหารเหล่านี้มี แป้ง น้ำตาล โปรตีน และไขมันเป็นส่วนประกอบหรือไม่ต้องทำอย่างไร ?

19 การทดสอบน้ำตาล สารละลายเบเนดิกต์มีสีฟ้า ทดสอบน้ำตาล
ถ้านำไปทดสอบสารใดใดแล้วเปลี่ยนจากสีฟ้าเป็นสี ส้ม สีแดงอิฐ แสดงว่าสารนั้นมีน้ำตาล

20 การทดสอบคาร์โบไฮเดรต
สารละลายไอโอดีนมี สีน้ำตาลเหลือง ทดสอบแป้ง ถ้านำไปทดสอบสารใดใดแล้วเปลี่ยนจากสีน้ำตาลเหลือง เป็นสีน้ำเงินเข้ม แสดงว่ามีแป้ง

21 การทดสอบโปรตีน สารละลายใบยูเร็ต ประกอบด้วย สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) และ สารละลายคอเปอร์(II)ซัลเฟต (CuSO4) ทดสอบโปรตีนมีสีฟ้าอ่อนถ้านำไปทดสอบสารใดใดแล้วเปลี่ยนจากสีฟ้าอ่อนเป็นสี ม่วง แสดงว่าสารนั้นมีโปรตีนอยู่

22 การทดสอบไขมัน

23 กิจกรรมที่ 1.1 การตรวจสอบสารอาหาร
จุดประสงค์ของกิจกรรม 1. ทดสอบและอธิบายวิธีการทดสอบแป้ง น้ำตาล โปรตีน และไขมัน 2. อธิบายได้ว่าอาหารประกอบด้วยสารอาหารหลายชนิด วัสดุอุปกรณ์ รายการ จำนาน/กลุ่ม 1.หลอดทดลองขนาดกลาง 2.บิกเกอร์ 250 cm3 3.น้ำมันพืช 4.อาหารที่นำมาทดลอง 9 หลอด 1ใบ 5 cm3 ชนิดละ 3 กรัม หนังสือหน้า 3

24 5.หลอดหยด 4 อัน 6.กระบอกตวง หลอดฉีดยา 7.ชุดตะเกียงแอลกอฮอลล์ 8.ไม้ขีด 9.ที่ตั้งหลอดทดลอง 10.กระดาษ ทดสอบไขมัน 11.แป้งสุก 12.สารละลายกลูโคส 13.สารละลายไอโอดีน 14.ไข่ขาวดิบ 15.สารละลายเบเนดิกต์ 16.สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) และ สารละลายคอเปอร์(II)ซันเฟส (CuSo4) 17.น้ำกลั่น 3 อัน 1 ชุด 1 กลัด 1 อัน 1 แผ่น 10 cm3 3 cm3 5 cm3

25 ตอนที่ 1 วิธีการตรวจสอบสารอาหาร
1.การตรวจสอบแป้งและน้ำตาล 1.1 นำหลอดทดลองขนาดกลางมา 6 หลอด หยดสารละลายไอโอดีน หลอดที่ หยดสารละลายเบเนดิกต์ หลอดที่ 1 2 6 3 5 4 นำหลอดที่ ไปต้มน้ำเดือด ประมาณ 3 นาที น้ำแป้งสุก สารละลายน้ำตาลกลูโคส น้ำ

26 ใบยูเร็ต 2. การตรวจสอบโปรตีน
2.1 นำหลอดทดสองขนาดกลางมา 2 หลอด ใส่ไข่ขาวที่เตรียมไว้ลงไปทั้ง หลอดทำให้เจือจางด้วยการเติมน้ำในหลอดทดลองแล้วเขย่าให้เข้ากัน 2.2 หยดสารสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) 3 หยด และ สารละลายคอเปอร์(II)ซัลเฟต (CuSO4) 5 หยด ลงในหลอดทดลอง เขย่าเบ่าๆ สังเกตและบันทึกผล 2.3 ทำซ้ำข้อ 2.1 และ 2.2 โดยใช้น้ำแทนไข่ขาว 6 7 ใบยูเร็ต ใส่ไข่ขาว น้ำ

27 ตารางบันทึกผลการทดลอง ตอนที่ 1
หลอดที่ ส่วนประกอบ ผลการสังเกต 1 น้ำแป้งสุก+สารละลายไอโอดีน 2 น้ำแป้งสุก+สารละลายเบเนดิกต์ 3 สารละลายน้ำตาลกลูโคส+สารละลายไอโอดีน 4 สารละลายน้ำตาลกลูโคส+สารละลายเบเนดิกต์ 5 น้ำ+สารละลายไอโอดีน 6 น้ำ+สารละลายเบเนดิกต์ 7 ไข่ขาวดิบ+น้ำ+สารละลายCuCo4 + สารละลายNaoH 8 น้ำ+สารละลายCuSO4 + สารละลายNaoH เปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่เปลี่ยนแปลง พบตะกอนสีแดงอิฐ ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่เปลี่ยนแปลง เปลี่ยนเป็นสีม่วง ไม่เปลี่ยนแปลง

28 3. การตรวจสอบไขมัน 3.1 หยดน้ำมันพืช 2 หยดลงบนกระดาษ แล้วเกลี่ยหยดน้ำมันให้กระจาย 3.2 หยดน้ำ 2 หยดลงบนกระดาษชนิดเดียวกันอีกแผ่นหนึ่ง เกลี่ยให้กระจาย 3.3 รอจนกระดาษแห้ง ยกขึ้นให้แส่งส่องผ่านกระดาษ สังเกตกระดาษบริเวณที่หยดน้ำมัน และบริเวณที่หยดน้ำ และบันทึกผล

29 การตรวจสอบไขมัน กระดาษที่หยดไขมัน ปรากฏเป็นรอย โปร่งแสง
กระดาษที่หยดไขมัน ปรากฏเป็นรอย โปร่งแสง กระดาษที่หยดน้ำ ปรากฏเป็นรอย ไม่โปร่งแสง

30 ตารางบันทึกผลของกิจกรรม ตอนที่ 2
อาหาร ผลการทดสอบสารอาหารโดยวิธีการต่างๆ เติมสารละลายไอโอดีน เติมสารละลายเบเนดิกต์และให้ความร้อน เติมสารละลาย ไบยูเรต วางบนกระดาษ 1.ข้าวสุก สีน้ำเงินอมม่วง ไม่เปลี่ยนแปลง สีชมพูอ่อน ไม่โปร่งแสง 2.นมถั่วเหลือง สีเหลือง สีม่วง 3.เนย ไมเปลี่ยนแปลง โปร่งแสง 4.ถั่วลิสงดิบ 5.เนื้อสัตว์

31 สรุปผลการทดลอง ตอนที่ 1
การทดสอบแป้ง :ใช้สารละลายไอโอดีน ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน การทดสอบน้ำตาล :ใช้สารละลายเบเนดิกต์ ซึ่งเมื่อให้ความร้อนจะเกิด ตะกอนสีแดงอิฐ การทดสอบโปรตีน :ใช้สารละลายคอปเปอร์ (II) ซังเฟสและสารละลาย โซเดียมไฮดรอกไซด์ ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสีม่วง การทดสอบไขมัน :ใช้การหยดบนกระดาษจะเปลี่ยนแปลงโดยมีลักษณะ โปร่งแสง

32 2.สารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน
ได้แก่ วิตามิน แร่ธาตุ และน้ำ

33 2. สารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน
สารอาหารอีกประเภทหนึ่ง เป็นสารอาหารที่ไม่ให้พลังงานแก่ร่างกาย แต่ร่างกายขาดไม่ได้ เพราะร่างกายต้องนำสารอาหารเหล่านี้ไปเป็นส่วนประกอบของร่างกาย และช่วยควบคุมการทำงานของระบบต่างๆให้ทำหน้าที่ได้ตามปกติ ได้แก่ วิตามิน แร่ธาตุ และน้ำ เราจะพบวิตามิน แร่ธาตุต่าง ๆ และในอาหารหลากหลายชนิด 

34 นักเรียนจะตรวจสอบวิตามินบางชนิดได้อย่างไร ?

35 สิ่งที่ต้องเตรียมมาก่อนการทดลอง
กลุ่มที่ 1 มะเขือเทศ กลุ่มที่ 2 มะนาว กลุ่มที่ 3 ส้ม กลุ่มที่ 4 สับปรด กลุ่มที่ 5 มะละกอสุก กลุ่มที่ 6 แตงโม หนังสือหน้า 12

36 กิจกรรมที่ 1.2 ตรวจสอบวิตามินซี
จุดประสงค์การเรียนรู้ นักเรียนสามารถตรวจสอบและเปรียบเทียบปริมาณวิตามินซีในผลไม้ได้ รายการ จำนวน/กลุ่ม 1. หลอดทดลองขนาดกลาง 6 หลอด 2. หลอดหยด 2 อัน 3. กระบอกตวง 1 อัน 4. ที่ตั้งหลอดทดลอง 5. น้ำแป้งสุก 12 cm3 6. สารละลายไอโอดีน 5 cm3 7. น้ำผลไม้ต่างๆ ที่ต้องการทดสอบ 8. สารละลายวิตามินซี

37 ตอนที่ 1 วิธีการตรวจสอบวิตามินซี
นับจำนวนหยดจนกว่าสารละลานน้ำแป้งสุขจะเปลี่ยนสี สารละลายวิตามินซี 0.01% น้ำแป้งสุก + สารละลายไอโอดีน

38 ตอนที่ 2 วิธีการตรวจสอบวิตามินซีในน้ำผลไม้
อย่าลืมนับจำนวนหยดจนกว่าจะใสแล้วบันทึกผลการทดลองนะครับ

39 บันทึกผลการทดลอง ตอนที่ 1 วิธีการตรวจสอบวิตามินซี
บันทึกผลการทดลอง ตอนที่ 1 วิธีการตรวจสอบวิตามินซี เมื่อหยดสารละลายไอโอดีนลงในน้ำแป้งสุก น้ำแป้งเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินและต้องใช้สารละลายวิตามินซี 0.01% ประมาณ 7 หยด จึงจะทำให้น้ำแป้งเปลี่ยนจากสีน้ำเงินเป็นไม่มีสี

40 บันทึกผลการทดลอง ตอนที่ 2 วิธีการตรวจสอบวิตามินซีในผักผลไม้
บันทึกผลการทดลอง ตอนที่ 2 วิธีการตรวจสอบวิตามินซีในผักผลไม้ ชนิดของน้ำผักและผลไม้ จำนวนหยดที่ใช้ 1. มะเขือเทศ 5 2. มะนาว 17 3. ส้ม 11 4. สับปะรด 82 5. มะละกอสุก 9 6. แตงโม 109 7. น้ำฝรั่ง 15 8. น้ำผักคะน้า 20 9. น้ำกะหล่ำปลี 120

41 ถ้าสีน้ำเงินในสารผสมระหว่างน้ำแป้งสุกและสารละลายไอโอดีนจางหายไป แสดงว่าสารนั้นมีวิตามินซี      ดังนั้น ถ้าใช้น้ำผลไม้จำนวนหยดน้อย แล้วทำให้สีน้ำเงินในน้ำแป้งจางหายไปหมด แสดงว่าผลไม้ชนิดนั้นทีมีปริมาณวิตามินซีมาก ในทางตรงกันข้ามถ้าน้ำผลไม้นั้นมีจำนวนหยดมาก ในการเปลี่ยนสีของน้ำแป้งผสมกับไอโอดีนแสดงว่าในผลไม้นั้นมีวิตามินซีอยู่น้อยตามลำดับ      ซึ่งจะพบว่าในน้ำผมไม้จะมีจำนวนหยดไม่เท่ากัน เพราะฉะนั้นผลไม่ทุกชนิดก็จะมีปริมาณวิตามินซีไม่เท่ากันอีกด้วย

42 สรุปผลการทดลอง 1. ในการทดลองวิตามินอย่างง่ายใช้วิตามินซีทำปฏิกิริยากับน้ำแป้งสุกผสมกับสารละลายไอโอดีนจากสีน้ำเงินของสารละลายน้ำแป้งสุกจนเปลี่ยนเป็นไม่มีสี 2. การหาปริมาณมากน้อยของวิตามินซี ทำได้โดยเทียบจำนวนหยดของสารนั้นที่เปลี่ยนสีน้ำเงินของน้ำแป้งสุกเป็นไม่มีสีกับสารละลายวิตามินซี 0.01% 3. ผลการเปรียบเทียบจำนวนหยดของน้ำผลไม้กับวิตามินซี 0.01% พบว่า น้ำมะเขือเทศมีวิตามินซีมากกว่า 0.01%ส่วนน้ำผลไม้ชนิดอื่น เรียงลำดับจากมีวิตามินซีมากไปยังวิตามินซีน้อยมีดังนี้ มะละกอสุก>น้ำส้ม>น้ำมะนาว>น้ำสับปะรด>น้ำแตงโม

43 วิตามิน (Vitamin)   คือสารอาหารที่มีสมบัติเป็นสารอินทรีย์ที่จำเป็นต่อร่างกาย ของสิ่งมีชีวิต แต่ต้องการในปริมาณน้อยแต่ขาดไม่ได้ มีหน้าที่ เกี่ยวกับกระบวนการเมแทบอลิซึมของร่างกาย โดยเป็นสารตั้งต้นที่จะนำไปสร้างเป็นโคเอนไซม์ ซึ่งเป็นปัจจัยร่วมของเอนไซม์ในการเร่งปฏิกิริยาต่างๆ ทำให้การย่อยสลายการดูดซึม การใช้และการสร้าง คาร์โบไฮเดรต โปรตีนและเกลือแร่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

44 ประเภทของวิตามิน วิตามินแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. วิตามินที่ละลายในน้ำ ได้แก่ วิตามิน B1 วิตามิน B2 วิตามิน B3 วิตามิน B6 วิตามิน C วิตามิน B12 2. วิตามินที่ละลายได้ในไขมัน ได้แก่ A D E K วิตามินมีอยู่มากมายหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดจะมีความสำคัญต่อร่างกายแตกต่างกัน และมีอยู่ในอาหารหลายชนิดในปริมาณที่แตกต่างกัน

45 แหล่งอาหาร ความสำคัญ และผลจากการขาดวิตามินชนิดต่างๆ
หน้าที่และประโยชน์ อาการเมื่อขาด เอ ตับ นม น้ำมันตับปลาไข่แดง ผักและผลไม้ สร้างโปรตีนในเด็ก และรักษาเนื้อเยื่อ เช่นบำรุงสายตา ไม่สามารถมองเห็น ได้ในที่สลัว นัยน์ตา แห้ง ดี นม ไข่ ตับ กุ้งทะเล น้ำมันตับปลา ปลาทะเล ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัส สร้างกระดูกและฟัน โรงกระดูดอ่อน ฟันผุและชัก อี ผักใบเขียวไขมันจากพืช เช่น ข้าวโพด ถั่วลิสง มะพร้าว ดอกคำฝอย นม ไข่ เนื้อสัตว์ ทำให้เม็ดเลือดแดงแข็งแรง ไม่เป็นหมัน เป็นหมัน เป็นโรค โลหิตจางในเด็กชาย อายุ 2 ถึง 6 ขวบ

46 แหล่งอาหาร อาการเมื่อขาด
วิตามิน แหล่งอาหาร หน้าที่และประโยชน์ อาการเมื่อขาด เค มะเขือเทศ กะหล่ำดอก ผักโขม คะน้า ตับ เนื้อวัว ช่วยในการแข็งตัวของเลือด เลือดเป็นลิ่มช้าทำให้เลือดหยุดไหลยาก บี1 ข้าวซ้อมมือ ตับ ถั่ว ไข่ รำข้าว ยีสต์ นม เนื้อหมู หัวใจ ช่วยในกรบวนการเมตาโบลิซึมของคาร์โบไฮเดรต บำรุงประสาท การทำงานของหัวใจ โรคเหน็บชาเบื่ออาหาร การเจริญ เติบโตหยุดชะงัก บี2 ไข่ หมู เนื้อวัว ถั่ว ยีสต์ เนื้อสัตว์ ช่วยในการเจริญเติบโต โรคปากนกกระจอก ซี (กรดแอส คอบิก) ผลไม้จำพวกส้ม มะนาว มะละกอ มะเขือเทศ ช่วยรักษาสุขภาพของเหงือกและฟันร่างกายมีภูมิต้านทานโรค โรคลักปิดลักเปิด ทำให้เลือดออกตามไรฟันเป็นหวัดได้ง่าย

47 ผลจากการขาดวิตามินชนิดต่างๆ
เลือดออกตามไรตามไรฟัน ขาดวิตามิน C โรคปากนกกระจอกผิวหนังแห้งแตก ลิ้นอักเสบ ขาดวิตามิน B2 โรคเหน็บชา ขาดวิตามิน B1

48 แร่ธาตุ แร่ธาตุ เป็นสารอาหารอีกประเภทหนึ่งที่ร่างกายต้องการและขาดไม่ได้ เพราะแร่ธาตุบางชนิดเป็นส่วนประกอบของอวัยวะและกล้ามเนื้อบางอย่าง เช่น กระดูก ฟัน เลือด บางชนิดเป็นส่วนของสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโตในร่างกาย เช่น ฮอร์โมน เฮโมโกลบิน เอนไซม์ เป็นต้น นอกจากนี้แร่ธาตุยังช่วยในการควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายให้ทำหน้าที่ปกติ เช่น ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาท การแข็งตัวของเลือด และช่วยควบคุมสมดุลของน้ำในการไหลเวียนของของเหลวในร่างกาย เป็นต้น

49 ตาราง แสดงแหล่งอาหารที่ให้ธาตุ ประโยชน์ และโรคหรืออาการเมื่อขาดธาตุ
ตาราง แสดงแหล่งอาหารที่ให้ธาตุ ประโยชน์ และโรคหรืออาการเมื่อขาดธาตุ แร่ธาตุ แหล่งอาหาร หน้าที่/ประโยชน์ โรค/อาการเมื่อขาดแร่ธาตุ แคลเซียม เนื้อ นม ไข่ ปลากินได้ทั้งกระดูก กุ้งฝอย และผักสีเขียวเข้ม 1.เป็นส่วนประกอบของกระดูกและฟัน2.ควบคุมการทำงานของหัวใจกล้ามเนื้อ3.ช่วยใน การแข็งตัวของเลือด 1.โรคกระดูกอ่อนและฟันผุ 2.เลือดออกง่ายและแข็งตัวช้า ฟอสฟอรัส เนื้อ นม ไข่ ปลากินได้ทั้งกระดูก กุ้งฝอย และผักต่างๆ 1.เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกระดูกและฟัน 2.ช่วยสร้างเอนไซม์ 3.ช่วยสร้างเซลล์สมองและประสาท 2.การเจริญเติบโตช้า

50 โพแทสเซียม เนื้อสัตว์ นม ไข่ งา ข้าว เห็ดผักสีเขียวและผลไม้บางชนิด 1.ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจระบบประสาท รักษาปริมาณน้ำคงที่ 1.ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนเพลียและหัวใจวาย กำมะถัน เนื้อสัตว์นมไข่ 1.สร้างโปรตีนในร่างกาย 2.สร้างกล้ามเนื้อส่วน ยังไม่ทราบแน่ชัด โซเดียม เกลือแกง อาหารทะเล อาหารหมักดอง ไข่ นม เนย แข็ง ผักสีเขียว 1.ควบคุมการทำงาระบบประสาทรักษาปริมาณน้ำในเซลล์ให้คงที่ 3.รักษาความเป็นกรด - ด่างของร่างกายให้อยู่ในสภาพสมดุล 1.โรคประสาทเสื่อม 2.กล้ามเนื้ออ่อนเพลีย

51 เนื้อสัตว์ตับ เครื่องในไข่แดงและผักสีเขียว
เหล็ก เนื้อสัตว์ตับ เครื่องในไข่แดงและผักสีเขียว 1.เป็นส่วนประกอบของเฮโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง 1.โรคโลหิตจาง 2.เล็บเปราะหักง่าย 3.อ่อนเพลีย ซึม แมงกานีส กระดูก ตับ สันหลัง ธัญญาพืช กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ 1.ทำให้เป็นอัมพาตได้ อาการชักในเด็ก ทองแดง เรื่องในสัตว์ ไก่ หอยนางรม พืชผักและผลไม 1.ช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก2.ช่วยสร้างเฮโมโกบิลในเม็ดเลือดแดง 3.เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์บางชนิด มักพบในทารกที่คลอดก่อนกำหนด และมีน้ำหนักแรกคลอดกว่า กรัมจะเกิดภาวะโลหิตจาง อ่อนเพลีย หายใจผิดปกติ ไอโอดีน อาหารทะเล เกลือสมุทร เกลืออนามัย อยู่ในต่อมไทรอยด์ป้องกันโรคคอพอก 1.โรคคอพอก 2.ร่างกายแคระแกร็น

52 น้ำ เป็นสารที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดใน
ร่างกายของเรามีน้ำเป็นองค์ประกอบอยู่ 2 ใน 3 ส่วนของน้ำหนัก ตัวน้ำจึงมีความสำคัญต่อร่างกาย  ดังนี้   1.  เป็นองค์ประกอบของอวัยวะต่างร่างกาย เช่น เลือด ตับ ไต ลำไส้ หัวใจ เป็นต้น   2.  ช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ 3.  ช่วยให้กลไกการเกิดปฏิกิริยาเคมีในร่างกายเป็นไปตามปกติ 4.  ช่วยกำจัดของเสียออกจากร่างกายทางเหงื่อและปัสสาวะร่างกายจะได้รับน้ำโดยตรงจากการดื่มน้ำสะอาดและได้จากอาหารที่รับประทานเข้าไป  ซึ่งมีปริมาณน้ำเป็นองค์ประกอบในปริมาณที่แตกต่างกัน

53 รูป แสดงส่วนประกอบภายในของบอมบ์แคลอริมิเตอร์
เครื่องมือที่ใช้วัดค่าพลังงานความร้อนจากสารอาหารเราเรียกว่า บอมบ์แคลอริมิเตอร์ ( Bomb Calorimeter ) บอมบ์แคลอริมิเตอร์ เป็นภาชนะปิดสนิท มีเทอร์มอมิเตอร์วัดอุณหภูมิภายใน อาหารจะถูกบรรจุไว้ในภาชนะที่มีก๊าซออกซิเจนหุ้มด้วยถังน้ำ ใช้ไฟฟ้าจุดไฟเผาอาหารและวัดอุณหภูมิของน้ำที่เพิ่มขึ้น รูป แสดงส่วนประกอบภายในของบอมบ์แคลอริมิเตอร์

54 หน่วยของพลังงานความร้อน
พลังงานความร้อนมีหน่วยเป็นจูล(J)หรือกิโลจูล(KJ)ในอาหารนิยมวัดค่าของพลังงานความร้อนเป็น แคลอรี (cal) หรือ กิโลแคลอรี (Kcal) ในการคำนวณหาพลังงานความร้อนจากอาหารจะคำนวณจากพลังงานความร้อนของอาหารที่ให้กับน้ำ 1(Kcal)= 1000 (cal) 1 cal = 4.2 J 1 kJ = 1000 J การเปลี่ยนหน่วยพลังงานความร้อน ปริมาณความร้อน 1 แคลอรี = 4.2 จูน

55 ความหมายของปริมาณความร้อน 1 แคลอรี
ปริมาณความร้อน 1 แคลอรี หมายถึง ปริมาณความร้อนที่ทำให้น้ำ 1 กรัม มีอุณหภูมิสูงขึ้น 1 ๐C สูตรการคำนวณหาค่าพลังงานความร้อนที่น้ำได้รับ คือ พลังงานความร้อนที่น้ำได้รับ = mc t หรือ Q = mc t

56 เมื่อ Q = พลังงานความร้อนที่น้ำได้รับ มีหน่วยเป็นแคลอรี
m = มวลของน้ำ มีหน่วยเป็นกรัม c = ความจุความร้อนจำเพาะของน้ำ = cal/g ๐C t = อุณหภูมิของน้ำที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มีหน่วยเป็นองศาเซลเซียส จดลงไปในสมุดด้วยนะค่ะ เตรียมตัวคำนวณเรื่อง พลังงานนักเรียนจะต้องจำสูตรให้ได้ก่อน

57 ตัวอย่าง ถ้าต้มน้ำ 100 กรัม ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส ให้มีอุณหภูมิ เป็น 50 องศาเซลเซียส น้ำจะได้รับพลังงานความร้อนเท่าไร วิธีทำ จากสูตร Q = mc t = 100 x 1 x (50 -30) = 100 x 1 x 20 = 2,000 แคลอรี เพราะฉะนั้น น้ำได้รับพลังงานความร้อน 2,000 แคลอรี

58 ลองทำดู สิจ๊ะ ถ้าต้มน้ำ 100 กรัม ที่อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส ให้มีอุณหภูมิเป็น 45 องศาเซลเซียส น้ำจะได้รับพลังงานความร้อนเท่าไร วิธีทำ จากสูตร Q = mc t = x 1 x (45 -15) = x 1 x 30 = 3,000 แคลอรี เพราะฉะนั้น น้ำได้รับพลังงานความร้อน 3,000 แคลอรี

59 จารการศึกษาเปรียบเทียบตัวอย่างอาหารชนิดต่างๆโดยใช้แคลอรีมิเตอร์ทำให้ทราบว่าสารอาหารแต่ละชนิดให้พลังงานต่างกันความต้องการพลังงานของแต่ละเพศ  แต่ละวัย  แตกต่างกันอย่างไร ให้ดูจากตาราง

60 ใยอาหาร  เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างของพืช ได้แก่ ผัก ผลไม้ เมล็ดธัญพืช ถั่วต่างๆ จัดอยู่ในประเภทคาร์โบไฮเดรตที่ไม่สามารถย่อยได้โดยระบบย่อยอาหารของมนุษย์ ช่วยเพิ่มกากอาหาร ทำให้ขับถ่ายได้ดี คนที่รับประทานอาหารที่มีใยอาหารสูงสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคบางอย่างได้อีกด้วย ได้แก่ โรคมะเร็งลำไส้ โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคหัวใจ และโรคที่ก่อให้เกิดความผิดปรกติของทางเดินอาหารต่างๆ เช่น ท้องผูก ริดสีดวงทวาร ลำไส้โป่งพอง และมะเร็งลำไส้ใหญ่

61 ใยอาหาร

62 1. ความต้องการอาหารของคนแต่ละวัย
อาหารในชีวิตประจำวัน 1. ความต้องการอาหารของคนแต่ละวัย 2. หญิงมีครรภ์และหญิงให้นมบุตร ต้องการอาหารที่มีประโยชน์มากเป็นพิเศษ 3. วันเด็ก ต้องทานอาหารประเภทไข่ เนื้อสัตว์ นม ผัก และผลไม้ 4. วัยรุ่น ต้องทานอาหารที่มีประโยชน์ 5. วัยผู้ใหญ่และวัยสูงอายุ ทานโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมันให้น้อยลง ผักผลไม้ให้มากขึ้น หนังสือหน้า 24-25

63 การเลือกบริโภค จากข้อมูลปริมาณสารอาหารและพลังงานที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวัน  ซึ่งระบุปริมาณโดยเฉพาะจง  ข้อมูลสัดส่วนอาหารที่ควรได้รับบริโภคในแต่ละวันนำเสนอในรูปแบบธงโภชนาการ ดังภาพ                                      

64 ตาราง ปริมาณของอาหารที่คนไทยควรรับประทานใน 1 วัน
หนังสือหน้า 26

65

66 นักเรียนคิดว่ากิจกรรมใดใช้พลังงานมากที่สุดที่สุด
จากกิจกรรมต่อไปนี้…? นักเรียนคิดว่ากิจกรรมใดใช้พลังงานมากที่สุดที่สุด

67 พลังงานที่ใช้ในการทำกิจกรรม ( Kcal )
ตาราง แสดงพลังงานที่ใช้ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในเวลา 1 ชั่วโมงต่อน้ำหนักของร่างกาย 1 กิโลกรัม กิจกรรมที่ทำ พลังงานที่ใช้ในการทำกิจกรรม ( Kcal ) ชาย หญิง นอนหลับ นั่งพักอ่าน หนังสือ นั่งเขียนหนังสือ ขับรถ เย็บผ้าด้วยจักรเย็บผ้า ล้างจาน ปัดฝุ่น อาบน้ำแปรงฟัน ล้างรถ ถูพื้น เลื่อยไม้ 1.05 1.26 1.47 2.42 2.63 2.84 3.05 3.68 3.89 0.97 1.16 1.36 2.23 2.43 2.62 2.81 3.40 3.59

68 ทำความสะอาดหน้าต่าง,ตีปิงปอง
ว่ายน้ำ เล่นเทนนิส ขุดดิน ยกน้ำหนัก เล่นบาสเกตบอล ฟุตบอล ชกมวย ว่ายน้ำอย่างเร็ว ปีนทางชันและขรุขระ 4.20 4.73 6.30 7.35 7.88 9.43 10.50 3.88 4.37 5.82 6.79 7.28 8.73 9.70

69 จำสูตรให้ได้ก่อน เราจะไปคำนวณกันแล้ว
การคำนวณหาค่าพลังงานที่ใช้ในกิจกรรม การคิดคำนวณหาค่าพลังงานที่ใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ อาจทำได้ โดยใช้สูตรต่อไปนี้ พลังงานที่ใช้ = น้ำหนักตัว X พลังงานที่ใช้ในการทำกิจกรรมใน 1 ชั่วโมงต่อน้ำหนักร่างกาย 1 กิโลกรัม จำสูตรให้ได้ก่อน เราจะไปคำนวณกันแล้ว

70 ตัวอย่างที่ 1 เด็กชายนิรันดร์หนัก 50 กิโลกรัม ล้างรถเป็นเวลา 1 ชั่วโมง อยากทราบว่านิรันดร์จะใช้พลังงานเท่าไร วิธีทำ จากข้อมูลในตาราง ชายหนัก 1 กิโลกรัม ล้างรถเป็นเวลา 1 ชั่วโมง ใช้พลังงาน = กิโลแคลอรี เมื่อนิรันดร์หนัก 50 กิโลกรัม ล้างรถเป็นเวลา 1 ชั่วโมง ใช้พลังงาน = X 3.68 = กิโลแคลอรี เด็กชายนิรันดร์ล้างรถเป็นเวลา 1 ชั่วโมง จะใช้พลังงานเท่ากับ กิโแคลอรี

71 ตัวอย่างที่ ด ญ วัชรีหนัก 40 กิโลกรัม นอนหลับเป็นเวลา 1 ชั่วโมง
แล้วตื่นขึ้นมาเล่นเทนนิสเป็นเวลา 3 ชั่วโมง อยากทราบว่าวัชรีใช้พลังงาน ทั้งหมดเท่าไร วิธีทำ จากข้อมูลในตาราง หญิงหนัก 1 กิโลกรัม นอนหลับเป็นเวลา 1 ชั่วโมง ใช้พลังงาน = กิโลแคลอรี เมื่อวัชรีหนัก 40 กิโลกรัม นอนหลับเป็นเวลา 1 ชั่วโมง ใช้พลังงาน = X กิโลแคลอรี = กิโลแคลอรี หญิงหนัก 1 กิโลกรัม เล่นเทนนิสเป็นเวลา 1 ชั่วโมง ใช้พลังงาน = กิโลแคลอรี 

72 เมื่อวัชรีหนัก 40 กิโลกรัม เล่นเทนนิสเป็นเวลา 3 ชั่วโมง ใช้พลังงาน
= X X 3 = กิโลแคลอรี วัชรีนอนหลับเป็นเวลา 1 ชั่วโมง และเล่นเทนนิสเป็นเวลา 3 ชั่วโมง จะ ใช้พลังงานทั้งหมด = = กิโลแคลอรี

73 ลองทำดู นายนทีมีน้ำหนัก 40 กิโลกรัม ว่ายน้ำ 3 ชั่วโมง แล้วขับรถยนต์กลับบ้าน 1 ชั่วโมง นทีต้องใช้พลังงานในการทำกิจกรรมรวมทั้งสิ้นเท่าไร วิธีทำ หาพลังงานที่ใช้ว่ายน้ำ นทีหนัก 40 กิโลกรัม ว่ายน้ำ 3 ชั่วโมง = 4.73 = 4.73 x40x3 kcal พลังงานที่ใช้ว่ายน้ำ = kcal หาพลังงานที่ใช้ขับรถ นทีหนัก 40 กิโลกรัม ขับรถ 1 ชั่งโมง = 2.42 kcal = 2.42x40x1 kcal พลังงานที่ใช้ขับรถ = 96.8 kcal นทีใช้พลังงานในการว่ายน้ำและขับรถกลับบ้านรวมกัน = = kcal

74 สารปนเปื้อนในอาหาร เป็นสารพิษที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติและจากการกระทำของมนุษย์  ซึ่งมี ผลทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายจนถึงเสียชีวิตได้  สารปนเปื้อนใน อาหารแบ่งตามลักษณะการเกิดได้ 2 ประเภทคือ 1.  สารพิษที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ  แบ่งออกตามชนิดของสารพิษได้ดังนี้ 1.1  สารพิษจากเชื้อจุลินทรีย์ เช่น  สารอะฟลาทอกซิน  (aflagoxin) ซึ่งเป็นสารสร้างจากเชื้อราพวกแอสเพอร์จิลลัส  (aspergillus spp) รานี้เจริญได้ดีในถั่วลิสงและเมล้ดพืชที่ชื้น  ซึ่งความร้อนสูงไม่สามารถทำลายสารอะฟลาทอกซินได้ส่วนใหญ่สารนี้จะตกค้างที่ตับทำให้เกิดเป็นมะเร็งตับ 1.2  สารพิษจากเห็ดบางชิด  ทำให้เมา  มีอาการคลื่นไส้  และอาเจียน 1.3 สารพิษในพืชผัก   สีผสมอาหาร    เชื้อจุลินทรีย์      ภาชนะบรรจุอาหาร

75 เห็ดพิษ เห็ดในสกุลอะมานิตา เห็ดหมึก เห็ดระโงกมีทั้งชนิดกินได้และเป็นพิษ

76 เชื้อราอะฟลาทอกซิน กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เตือนภัยสารพิษจากเชื้อราอะฟลาทอกซินปนเปื้อนในถั่วลิสง ข้าวโพดเครื่องเทศ และธัญพืช อะฟลาทอกซินคือสารพิษจากเชื้อรา ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง ทนความร้อนได้ถึง 260 องศาเซลเซียส

77 2.  สารพิษที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์  ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากความเจริญทางด้าน
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เรานำมาใช้ใน ชีวิตประจำวัน  มีดังนี้ 2.1  สารตกค้างจากการเกษตร  เช่น  ดีดีที  ปุ๋ย  ยาปราบศัตรูพืช  ซึ่งอาจสะสมใน อาหาร  เมื่อรับประทานเข้าไปจะเกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต 2.2  สิ่งเจือปนในอาหาร  แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ     1.  สารกันอาหารเสีย  เป็นสารที่ช่วยให้อาหารคงสภาพ  รส  กลิ่น  เหมือนเมื่อแรกผลิต และเก็บไว้ได้นาน  เช่น  สารกันบูด  สารกันหืด  เป็นต้น     2. สารแต่งกลิ่นหรือรส  เป็นสารที่ช่วยให้อาหารมีรสและกลิ่นถูกผู้บริโภค  หรือใช้แต่ง กลิ่นรส  ผู้บริโภคเข้าใจคิดผิดว่าเป็นของแท้ หรือมีส่วนผสมอยู่มากหรือน้อยทั้งที่ เป็นของเทียน สารเหล่านี้ได้แก่  บอแรกซ์  สารเคมี เครื่องเทศ สารกลิ่นผลไม้สารรส หวานประเภทน้ำตาลเทียม 3. สีผสมอาหาร  เป็นสีที่ใส่เพื่อจะช่วยแต่งเติมให้อาหารน่ารับประทานยิ่งขึ้น  มีทั้งสีจาก ธรรมชาติซึ่งเป็นสีที่ได้จากพืชและสัตว์ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต  เช่น  สีดำจากถ่าน สีแดงจากครั่ง  เป็นต้น และ สีสังเคราะหส่วนมากจะเป็นสารพิษที่ร้ายแรงต่อร่างกาย มัก มีตะกั่วและโครเมียมอยู่ เช่น สีย้อมผ้า                                

78 สีผสมอาหาร

79                            สีธรรมชาติ  ซึ่งมักเป็นสีที่ผลิตจากพืชหรือสัตว์ เช่น สีจากอัญชันกระเจี๊ยบ และสีจากการสังเคราะห์ซึ่งเป็นสีที่สังเคราะห์จากสารเคมีต่างๆ  สีจากธรรมชาติเป็นสีที่ปลอดภัยที่สุดส่วนสีสังเคราะห์ที่อนุญาตให้ใช้ในอาหารได้นั้นหากบริโภคในปริมาณน้อยก็ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

80 สารปรุงแต่งสี สารปรุงแต่งสี  หมายถึง  วัตถุที่ใช้ในการปรุงแต่งสีของอาหารให้สวยงาม 
น่ารับประทาน  เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค  อันตรายจากสีผสมอาหาร อันตรายที่เกิดจากสีผสมอาหารมี  2  สาเหตุ  คือ อันตรายจากตัวสี ตัวสี  คือ  สารหรือวัตถุที่มีคุณสมบัติยอมหรือไม่ยอมให้แสงสะท้อน  ดูดกลืนหรือทะลุผ่านได้  อันตรายที่เกิดจากตัวสีอาจทำให้เกิดผืนตามผิวหนัง  หน้าบวม  ท้องเดน  อาเจียน  อ่อนแรงคล้ายเป็นอัมพาต  การทำงานของระบบทางเดินอาหาร  ไต  ตับทำงานบกพร่อง  และอาจทำให้เกิดโรคมะเร็งได้ อันตรายที่เกิดจากมีโลหะหนักเจือปน อันตรายที่เกิดจากโลหะหนักเจือปน  ขึ้นอยู่กับชนิด  และปริมาณของโลหะหนักที่เจือปนอยู่ในสี พวกสีย้อมผ้าสีย้อมหระดาษ เป็นต้น เช่น ปรอท สารหนู ตะกั่ว โครเมียมมีผลต่อระบบประสาท สมอง กล้ามเนื้อ ชีพจร

81 สารตกค้างจากการเกษตร
1.ผลกระทบต่อสุขภาพจากยาฆ่าแมลง  ได้มีการประเมินว่าคนอเมริกัน 1 ใน 20 คน  แพ้ยาฆ่าแมลงเพราะเคยได้รับยาฆ่าแมลงมาก่อน  จากยาฆ่าแมลงได้ส่งผลกระทบต่าง ๆ ในมุมกว้างและบางทีทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้อย่างง่ายๆ 2.ผลจากการได้รับยาฆ่าแมลง ก็คือทำให้เกิด โรคมะเร็ง  โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว  พันธุกรรมบกพร่อง เป็นหมัน  ตับถูกทำลาย โรคผิดปกติของต่อมไทรอยด์  โรคเบาหวาน โรคไต  เป็นต้น นอกจากนั้นยังส่งผลถึง ดิน น้ำและสัตว์ต่างๆอีกด้วย

82 อาหารการป๋อง อาหารก่อมะเร็ง
การเลือกซื้อเนื้อหมูมารับประทานไม่ควรเลือกที่แดงเกินไปเพราะมีความเป็นไปได้สูงที่จะปนเปื้อนสารเร่งเนื้อแดง                     การเลือกซื้อเนื้อหมูมารับประทานไม่ควรเลือกที่แดงเกินไปเพราะมีความเป็นไปได้สูงที่จะปนเปื้อนสารเร่งเนื้อแดง อาหารการป๋อง อาหารก่อมะเร็ง การล้างผักที่ถูกต้อง ควรปล่อยให้น้ำไหลผ่านสัก 4-5 น้ำเพื่อความปลอดภัย

83 อันตรายจากสารกันบูด นพ
อันตรายจากสารกันบูด           นพ.เอี่ยม วิมุติสุนทร ผู้อำนวยการสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมการผลิตอาหารมีการนำสารเคมีชนิดต่างๆ มาใช้ปรุงแต่งอาหาร และสารกันบูดก็เป็นสารเคมีอีกชนิดหนึ่งที่นิยมใส่ในอาหาร เพื่อช่วยป้องกันหรือช่วยทำลายเชื้อจุลินทรีย์ไม่ให้เจริญเติบโตทำให้อาหารนั้นอยู่ได้นาน           การใช้สารกันบูดอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้ เช่น สารกันบูดในกลุ่มของดินประสิว ซึ่งนิยมนำมาใช้กับอาหารประเภทเนื้อสัตว์ หากใช้ในปริมาณที่เกินกำหนด จะมีผลทำให้ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ ในรายที่มีอาการรุนแรงจะทำให้เม็ดเลือดแดงหมดสภาพในการพาออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย จะเกิดอาการตัวเขียวหายใจไม่ออก และอาจถึงตายได้ นอกจากนี้ดินประสิวยังเป็นสารก่อมะเร็งอีกด้วย 

84 บอแรกซ์ หรือในชื่อเรียกอื่นๆ เช่น น้ำประสานทอง เผ่งเซ ผงกรอบ หรือแป้งกรอบ เป็นสารเคมีสังเคราะห์ที่ถูกนำมาอย่างไม่ถูกต้อง โดยการนำมาผสมอาหาร เพื่อทำให้อาหารมีความเหนียว หรือกรุบกรอบ ทำให้อาหารชวนรับประทาน แต่ในความจริงแล้วการบริโภคบอแรกซ์ทำให้เกิดอันตรายได้อย่างมาก อาหารที่มักพบว่า มีบอแรกซ์ผสม เช่น ลูกชิ้น หมูยอ อาหารชุบแป้งทอด พวกกล้วยทอด มันทอด ผัก/ผลไม้ดอง เป็นต้น ปัจจุบันยังตรวจพบว่า มีการนำบอแรกซ์มาผสมน้ำ ใช้รดผัก หรืออาหารทะเล ก่อนวางจำหน่าย โดยเชื่อกันว่า จะทำให้อาหารดูสดชื่น และกรอบน่ารับประทาน ลักษณะของบอแรกซ์

85 สารฟอร์มาลิน      สารฟอร์มาลิน หรือสารละลายฟอร์มาลดีไฮด์ มักใช้เป็นน้ำยาฆ่าเชื้อโรค หรือใช้เป็นน้ำยาดองศพ ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเคมีภัณฑ์พลาสติกสิ่งทอ ฟอร์มาลินเป็นสารอันตราย จึงถือเป็นสารเคมีที่ห้ามใช้ในอาหาร ความเป็นพิษ : การบริโภคสารละลายนี้โดยตรง จะเกิดอาหารเป็นพิษโดยเฉียบพลัน ซึ่งอาการมีตั้งแต่ ปวดท้องอย่างรุนแรง อาเจียน อุจจาระร่วง หมดสติ และตายในที่สุด มีผลต่อการทำงานของไต หัวใจและสมองเสื่อม และก่อให้เกิดอาการปวดแสบ ลักษณะสังเกตได้ : อาหารที่ควรจะเน่าเสียง่าย แต่กลับไม่เน่าเสีย ถ้ามีการใช้ฟอร์มาลินมากจะมีกลิ่นฉุน แสบจมูก ควรเลือกซื้ออาหารที่มี ความปลอดภัย จากร้านที่มีป้ายอาหารปลอดภัย (ป้ายทอง)

86 กินอาหารอย่างไรให้ปลอดภัย
เลือกซื้ออาหารที่ปลอดภัย ควรเลือกซื้ออาหารที่ผลิตหรือจำหน่ายจากแหล่งผลิตที่สะอาด การปรุงอาหารด้วยความร้อนให้สุกอย่างทั่วถึง อาหารดิบเช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ ไข่และอาหารทะเล เพราะมีเชื้อโรคอยู่ รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ อาหารที่ปรุงสุกด้วยความร้อนแล้ว ถ้าปล่อยให้เย็นนานๆจะทำให้มีเชื้อโรคได้ เก็บอาหารปรุงสุกให้เหมาะสม เช่นในตู้เย็นที่มีอุณหภูมิที่เหมาะสม แล้วน้ำมาให้ความร้อนที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงไม่ให้อาหารดิบสัมผัสกับอาหารสุกแล้ว ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ทุกครั้งก่อนเตรียม/เตรียมอาหาร ล้างผัก ผลไม้ให้สะอาจจะได้ไม่มีสารพิษตกค้าง

87 มีสัญลักษณ์แสดงหมายเลขทะเบียนของคณะกรรมการอาหารและยา