ถูก ฟ้อง ล้มละลาย ทํา งาน ได้ ไหม

คุณสมบัติข้าราชการ

ข้าราชการล้มละลาย

คําถาม  ข้าราชการที่ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย จะต้องพ้นจากตําแหน่งราชการหรือไม่

คําตอบ มาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 กําหนดคุณสมบัติทั่วไปไว้โดย (6) กําหนดว่าต้องไม่เป็นบุคคลล้มละลาย  ดังนั้นข้าราชการผู้ใดถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายจึงเป็นผู้ขาดคุณสมบัติทั่วไปของข้าราชการพลเรือน ตามมาตรา 36(6) ซึ่ งมาตรา 110(3) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้ผู้มีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 มีอํานาจสั่งให้ข้าราชการผู้นั้นออกจากราชการเพื่อรับบําเหน็จบํานาญตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการได้

คําถาม  ข้าราชการไปค้ำประกันแล้วถูกฟ้องล้มละลาย จะมีผลต่อการรับราชการหรือไม่ อย่างไร

คําตอบ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 36 กําหนดคุณสมบัติของข้าราชการพลเรือนสามัญไว้ว่า ต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ตาม ข.(6) คือต้องไม่เป็นบุคคลล้มละลาย ดังนั้นหากข้าราชการผู้ใดถูกฟ้องล้มละลายแล้วศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายจึงเป็นผู้ขาดคุณสมบัติทั่วไปของข้าราชการพลเรือน ตามมาตรา 36 ข.(6) ซึ่งมาตรา 110 (3) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติให้ผู้มีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 มีอํานาจสั่งให้ข้าราชการผู้นั้นออกจากราชการเพื่อรับบําเหน็จบํานาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการได้ แต่ ในกรณีที่อยู่ระหว่างถูกฟ้องล้มละลาย ยังไม่เข้าลักษณะต้องห้ามดังกล่าว และถ้าขณะมีคําสั่งสั่งให้ออกจากราชการผู้นั้นพ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลายแล้วผู้บังคับบัญชาก็ไม่อาจสั่งให้ออกจากราชการเพราะเป็นบุคคลล้มละลายได้

คำถาม ข้าราชการต้องปฏิบัติราชการโดยมิให้เป็นการกระทําการข้ามผู้บังคับบัญชา จะร้องเรียนผู้บังคับบัญชา ทําได้หรือไม่

คําตอบ  การร้องเรียนเกี่ยวกับกรณีกล่าวหาว่ากระทําผิดวินัย  ให้ร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาของข้าราชการพลเรือนผู้นั้น หรือต่อผู้บังคับบัญชาในลําดับเหนือขึ้นไป โดยไม่ถือเป็นการกระทําการข้ามผู้บังคับบัญชา เพราะไม่ใช่การปฏิบัติหน้าที่ราชการ แต่จะต้องไม่เป็นการร้องเรียนเท็จ

การเลื่อนเงินเดือน

คําถาม  ระหว่างถูกสอบสวนทางวินัย จะถูกงดการเลื่อนเงินเดือนหรือไม่

คําตอบ กฎ ก.พ.ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือน พ.ศ. 2552 ข้อ 12  ได้กําหนดให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอํานาจสั่งเลื่อนเงินเดือนจะนําเอาเหตุที่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถูกแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนในกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรงหรือถูกฟ้องคดีอาญา มาเป็นเหตุในการไม่พิจารณาเลื่อนเงินเดือนให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นไม่ได้

คําถาม  การไม่ขึ้นเงินเดือน ถือเป็นการลงโทษทางวินัยหรือไม่

คําตอบ มาตรา 88 แห่งพระราชบัญญัติระเบียนข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 กําหนดโทษทางวินัยไว้ 5 สถาน คือ ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน ลดเงินเดือน ปลดออก ไล่ออก ดังนั้นการไม่เลื่อนเงินเดือน จึงไม่ใช่โทษทางวินัย แต่กฎ ก.พ. ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือน พ.ศ. 2552 ข้อ 8 กําหนดว่า ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งจะได้รับการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนในแต่ละครั้งต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้..(2) ในครึ่งปีที่แล้วมาต้องไม่ถูกลงโทษทางวินัยที่หนักกว่าโทษภาคทัณฑ์ และ..(4) ในครึ่งปีที่แล้วมาต้องไม่ขาดราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ส่วนการจะอนุญาตให้ลาป่วยหรือไม่นั้น สําหรับข้าราชการพลเรือนสามัญ ระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555 กําหนดให้เป็นดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาที่จะพิจารณาว่าสมควรอนุญาตหรือไม่

คําถาม  ขาดราชการ 6 วัน(ไม่ทําให้หน่วยงานเสียหาย) เป็นเหตุ ให้ไม่ได้รับการพิจารณาขั้นเงินเดือนเป็นข้อพิจารณาได้หรือไม่

คําตอบ  กฎ ก.พ. ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือน พ.ศ. 2552 ได้กําหนดหลักเกณฑ์ของข้าราชการพลเรือนสามัญที่จะได้รับการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนในแต่ละครั้งไว้โดยข้อ 8 (4) กําหนดว่าจะต้องไม่ขาดราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร และข้อ 9 กําหนดว่าให้นําข้อมูลการลา พฤติกรรมการมาทํางาน การรักษาวินัย การปฏิบัติตนเหมาะสมกับการเป็นข้าราชการ และข้อควรพิจารณาอื่นมาประกอบการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนด้วย

คําถาม  ลาป่วยกี่ครั้งจึงจะไม่สามารถทําเรื่องขอเลื่อนเงินเดือนได้

คําตอบ  กฎ ก.พ. ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือน พ.ศ. 2552 ข้อ 8  กําหนดว่า ข้าราชการซึ่งจะได้รับการพิจาณาเลื่อนขั้นเงินเดือนครึ่งขั้นในแต่ละครั้งต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ข้อ 8 (9) ในครึ่งปีที่แล้วมาต้องมีเวลาปฏิบัติราชการ โดยมีวันลาไม่เกินยี่สิบสามวัน แต่ไม่รวมถึง (ค) ซึ่งกําหนดว่า การลาป่วยซึ่งจําเป็นต้องรักษาตัวเป็นเวลานานไม่ว่าคราวเดียวหรือหลายคราวรวมกันไม่เกินหกสิบวันทําการ (ง) ลาป่วยเพราะประสบอันตรายในขณะปฏิบัติราชการตามหน้าที่หรือในขณะเดินทางไปหรือกลับจากปฏิบัติราชการตามหน้าที่ อย่างไรก็ตาม การพิจารณาเลื่อนขึ้นเงินเดือนของข้าราชการ ผู้บังคับบัญชา จะต้องพิจารณาถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการ ประกอบกับข้อมูลการลา พฤติกรรมการมาทํางาน การรักษาวินัย การปฏิบัติตนเหมาะสมกับการเป็นข้าราชการ และข้อควรพิจารณาอื่นๆ ของผู้นั้นประกอบกันด้วย

ก่อนหน้า                                                                                                                                         หน้าถัดไป