ถ้าไม่จ่าย หนี้สินเชื่อ ส่วน บุคคล

ก่อนตัดสินใจกู้เงิน นอกจากต้องดูคุณสมบัติต่างๆ ของเราเพื่อให้มั่นใจว่าสามารถกู้ผ่านแล้ว ประเด็นสำคัญหนึ่งที่ต้องถามตัวเอง คือ จ่ายไหวหรือเปล่า เพราะเมื่อกู้เงินแล้วก็ต้องอยู่ในฐานะ “ลูกหนี้” และต้องจ่ายหนี้ ซึ่งเป็นกฏเหล็กของลูกหนี้ที่ต้องปฏิบัติ แต่เมื่อถึงเวลาจ่ายหนี้แล้ว ลูกหนี้กลับไม่ยอมจ่าย เจ้าหนี้ก็มีสิทธิที่จะทวงเงินคืนหรือจ้างตัวแทนที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจทวงหนี้


แน่นอนว่าไม่มีลูกหนี้คนไหนที่อยากเบี้ยวหนี้ เพราะนอกจากจะเสียประวัติเรื่องเครดิต อาจจะโดนตามทวงหนี้ด้วยวิธีการต่างๆ อย่างไรก็ตาม หากเป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แม้ว่าจะเป็นลูกหนี้ที่ค้างชำระ ก็มีสิทธิได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสม เช่น เจ้าหนี้ต้องทวงหนี้เฉพาะเวลาที่กำหนด คือ วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลาแปดโมงเช้าถึงสองทุ่มเท่านั้น


นอกจากนี้ ผู้ที่มีหน้าที่ทวงหนี้ต้องใช้วิธีการและพูดด้วยคำสุภาพ แสดงตัวเมื่อติดตามทวงถามหนี้ ห้ามใช้คำข่มขู่ ใช้กำลัง หรือทวงหนี้ในลักษณะที่ไม่เป็นธรรม เช่น เรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายเกินกว่าอัตราที่กำหนด เป็นต้น


สำหรับฝ่ายลูกหนี้ ถ้ารู้ตัวว่ากำลังเริ่มจ่ายหนี้ไม่ไหวและมีโอกาสโดนทวงหนี้ ก่อนอื่นต้องตั้งสติ และท่องให้ขึ้นใจว่า “ต้องเป็นลูกหนี้ที่ดี” 

ถ้าไม่จ่าย หนี้สินเชื่อ ส่วน บุคคล

1. อย่ากลัวการทวงหนี้

เมื่อฝ่ายติดตามทวงถามหนี้โทรศัพท์มาทวงหนี้ ฝ่ายลูกหนี้อย่าพูดคุยด้วยเสียงสั่นเครือ หรือใช้น้ำเสียงจนทำให้อีกฝ่ายรู้สึกว่ากำลังหวาดกลัว แต่ต้องกล้าคุย เพื่อแสดงความมั่นใจ พร้อมรับมือ เพราะอย่าลืมว่าการเป็นหนี้เป็นคดีแพ่ง ไม่ใช่คดีอาญา


ถ้าลูกหนี้ถูกฝ่ายติดตามทวงหนี้ข่มขู่ว่า “ถ้าไม่จ่ายหนี้จะจับเข้าคุก” ก็ให้ตอบกลับไปว่า “หนี้สินเป็นคดีแพ่ง ไม่ใช่คดีอาญา” นั่นหมายความว่า ฝ่ายเจ้าหนี้ไม่สามารถพาตำรวจมาจับได้ แสดงให้ฝ่ายติดตามหนี้เข้าใจว่าฝ่ายลูกหนี้รู้กฎหมายดี ทำให้เวลาจะพูดอะไรต้องอยู่ในกรอบของกฎหมาย


2. ถามให้ชัดเจน

ปฏิเสธไม่ได้ว่าเมื่อลูกหนี้ได้รับโทรศัพท์จากฝ่ายติดตามทวงหนี้ก็จะรอตอบคำถาม แต่ความจริงแล้วลูกหนี้ต้องเป็นฝ่ายตั้งคำถามก่อน เริ่มจากถามชื่อนามสกุล สถานที่ทำงานและเบอร์โทรศัพท์ของผู้ติดตามทวงหนี้


จากนั้นให้ตั้งคำถามลึกลงไป เช่น ตอนนี้ทราบหรือไม่ว่าลูกหนี้ได้จ่ายหนี้ไปแล้วเท่าไหร่ ยังมีหนี้คงเหลืออยู่เท่าไหร่ คิดดอกเบี้ยอย่างไร ถ้าจ่ายตอนนี้จะโดนปรับดอกเบี้ยร้อยเท่าไรต่อปี เป็นต้น


การตั้งคำถามลักษณะนี้จะทำให้ฝ่ายติดตามทวงหนี้รู้สึกว่าลูกหนี้รู้ลึกรู้จริงและเข้าใจกฎกติกามารยาทในการทวงหนี้ ที่สำคัญไม่ทำให้เกิดการข่มขู่หรือใช้ถ้อยคำรุนแรงในการทวงหนี้ 

ถ้าไม่จ่าย หนี้สินเชื่อ ส่วน บุคคล

3. บันทึกเสียง

ก่อนลูกหนี้จะตอบคำถามฝ่ายติดตามทวงหนี้ อย่าลืมขออนุญาตบันทึกเสียงด้วยคำพูดสุภาพ เพราะหากมีปัญหา เช่น โดนข่มขู่ก็สามารถใช้เสียงที่บันทึกให้เป็นประโยชน์ในการตรวจสอบได้


4. รับโทรศัพท์ทุกครั้ง

 เป็นเรื่องปกติที่ลูกหนี้มักไม่ชอบให้ฝ่ายเจ้าหนี้โทรศัพท์มาทวงถามหนี้ หรือเมื่อเจ้าหนี้โทรมาก็ไม่รับหรือรับแล้วก็บอกว่ายังไม่สะดวก เดี๋ยวโทรกลับ แต่สุดท้ายก็เงียบหาย


ความจริงแล้ว ถ้าลูกหนี้ต้องการแสดงความจริงใจ ควรรับโทรศัพท์ฝ่ายเจ้าหนี้ทุกครั้ง ขณะเดียวกันต้องอธิบายด้วยเหตุผลและบอกความจริงถึงปัญหาที่ไม่สามารถจ่ายหนี้ได้ตามกำหนด หากทำแบบนี้จะนำไปสู่การหาทางออกร่วมกันได้    


5. ชิงโทรศัพท์ไปหาเจ้าหนี้ก่อน

เมื่อมีสัญญาณว่าจะไม่สามารถจ่ายหนี้ได้ตามกำหนด เพื่อแสดงความจริงใจก็ควรติดต่อไปหาเจ้าหนี้พร้อมอธิบายเหตุผลและสัญญาว่าจะจ่ายหนี้วันไหน วิธีการนี้นอกจากจะแสดงออกถึงความรับผิดชอบแล้วยังเป็นการสร้างสัมพันธ์ที่ดี อาจทำให้เจ้าหนี้ผ่อนผันการชำระหนี้ได้อีกด้วย


เมื่อโดนทวงตามหนี้ ทางออกของลูกหนี้ คือ การเจรจาประนอมหนี้ ซึ่งก็มีหลายวิธีขึ้นอยู่กับนโยบายของเจ้าหนี้ เช่น ขอลดยอดหนี้ลงบางส่วน, ขอขยายระยะเวลาจ่ายหนี้ (เช่น 1 ปี, 2 ปี), ขอลดวงเงินที่ต้องผ่อนแต่ละงวดลง (เช่น จาก 10,000 บาท ลดลงเป็น 7,000 บาท), ขอหยุดคิดดอกเบี้ยระหว่างผ่อนชำระ, ขอไม่คิดค่าธรรมเนียมระหว่างผ่อนชำระ หรือขอใช้หลักประกันเพื่อจ่ายหนี้ เป็นต้น


ไม่มีใครอยากเป็นหนี้แต่เมื่อก่อหนี้จนจ่ายไม่ไหว นอกจากจะโดนปรับดอกเบี้ย เสียประวัติด้านการเงินแล้ว ก็อาจเจอกับการถูกตามหนี้ไม่เว้นแต่ละวัน ดังนั้น ถ้าคิดจะก่อหนี้ต้องท่องคาถา “ก่อหนี้เท่าที่จำเป็นและจ่ายไหว” เอาไว้ขึ้นใจ

การมีบัตรกดเงินสดไว้ ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะเมื่อเกิดเหตุจำเป็นในยามฉุกเฉินที่ต้องใช้เงินอย่างเร่งด่วน ก็สามารถกดเงินได้ทันทีจากทุกตู้เอทีเอ็มสะดวก รวดเร็ว ในทุกสถานการณ์คับขัน แต่ถ้ากดออกมาแล้ว ไม่จ่ายตรงตามกำหนดนั้นหมายความว่า คุณผิดนัดการชำระนั่นเอง ซึ่งอาจจะมีผลกระทบต่อตัวผู้ถือบัตรกดเงินสดได้ ซึ่งจะมีอะไรบ้างนั้น วันนี้ Rabbit Care มีข้อมูลให้ระแวดระวังกัน เพื่อที่ว่าจะไม่เสียประวัติเครดิตของเราในอนาคต 

ถ้าไม่จ่าย หนี้สินเชื่อ ส่วน บุคคล

ผิดชำระบัตรกดเงินสดต้องเจอกับอะไรบ้าง 

1.อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่ม

ในการกู้ยืมเงินจากบัตรกดเงินสดมาใช้ก่อนนั้น ให้พึงระลึกอยู่เสมอว่า เราต้องมีวินัยในการชำระหนี้ให้ตรงเวลา เพราะถ้าเราชำระหนี้ล่าช้าหรือการไม่ชำระหนี้ อาจจะส่งผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นแบบทบต้นทบดอก ซึ่งอาจจะถูกปรับด้วยอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระสูงถึง 18 – 28% โดยทางสถาบันการเงินจะเรียกเก็บในรอบบิลในรอบบิลของเดือนถัดไป เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงอัตราดอกเบี้ยในส่วนของการจ่ายล่าช้า ผู้ถือบัตรกดเงินสดที่กดเงินสดออกมาควรจ่ายให้ตรงตามวันเวลา หรือจ่ายก่อนกำหนดได้ เนื่องจากว่าเมื่อกดเงินสดมาแล้ว นั่นหมายความว่าดอกเบี้ยจะเริ่มวิ่งทุก ๆ วันจนกว่าเราจะชำระนั้นเอง 

2.โทรศัทพ์ติดตามทวงหนี้ 

เมื่อผู้ใช้บัตรกดเงินสดเพื่อกดเงินสดออกมาแล้ว และไม่ได้ชำระคืน หรือทำการผิดนัดชำระนานเป็นเวลาเกินกว่า 2 เดือน จะมีเจ้าหน้าCall Center  จากสถาบันการเงินที่เราทำการขอเปิดบัตรกดเงิน โทรเข้าหาผู้ที่ถือบัตรกดเงินสดเข้ามาเพื่อสอบถามการชำระเงิน ว่าแท้ที่จริงแล้วเราค้างชำระจริงหรือไม่ หรือได้มีการชำระเข้ามาแล้วกับทางธนาคารแต่เกินความขัดข้องของระบบที่ไม่ได้รับเงินกันแน่ ซึงถ้าอยู่ในกรณีแรกที่ค้างชำระ ไม่ได้มีการชำระเข้ามาแต่อย่างใด เจ้าหน้าที่ Call Center จะโทรมาเพื่อติดตามหนี้สิน ซึ่งก็จะมีค้างใช้จ่ายที่เราต้องเสียด้วย เป็นค่าติดตามทวงหนี้นั่นเอง  

ถ้าไม่จ่าย หนี้สินเชื่อ ส่วน บุคคล

3.มีจดหมายเตือนถึงผู้ถือบัตรกดเงินสด 

เมื่อมีการติดตามทวงถามการผิดชำระหนี้ผ่านทางเจ้าหน้าที่ Call Center แล้ว หลังจากนั้นจะมีการแจ้งเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรผ่านมาทางจดหมายเพื่อทำการชี้แจ้งในรายละเอียดอีกครั้ง เพราะสถาบันการเงินต้องการที่จะป้องกันปัญหาหนี้เสียที่อาจมียอดเพิ่มขึ้นได้ จึงต้องการให้ผู้บัตรกดเงินสดนั้นได้ทำความเข้าใจและรีบเข้ามาชำระหนี้โดยเร็ว และอาจจะต้องโดยดำเนินคดีทางกฎหมายในขั้นตอนต่อไปได้ และระหว่างที่รอผิดชำระหนี้และได้มีการแจ้งเตือนจาก Call Center และจดหมายแล้ว ผู้ถือบัตรกดเงินสดจะไม่สามารถทำการกดเงินสดได้อีกจนกว่าจะชำระจนหมดสิ้น 

4.ธนาคารยื่นฟ้องและดำเนินคดี 

หลังจากที่ได้ดำเนินการตามระเบียบในการทวงถามหนี้คืนจากสถาบันการเงินแล้ว ไม่ว่าจะเป็น เจ้าหน้าที่ Call Center และจดหมายในการทวงถามหนี้แล้ว แต่เจ้าของบัตรกดเงินสดยังไม่มีการชำระหนี้เข้ามาแต่อย่างใด ทางสถาบันการเงินจึงต้องทำการดำเนินการในขั้นตอนต่อไป คือยื่นฟ้องเรื่องเพื่อให้ดำเนินคดีแก่ผู้ถือบัตรกดเงินสดที่ไม่ได้รับการชำระหนี้เข้ามา ซึ่งเมื่อทางสถาบันการเงินยื่นดำเนินคดีแล้ว นั่นหมายความว่า ค่าใช้จ่ายในการติดตามทวงหนี้ และการแจ้งเตือนในการเป็นหนี้ รวมถึงยอดค้างชำระหนี้ ผู้ถือบัตรกดเงินสดจะต้องเป็นผู้จ่ายให้กับทางสถาบันการเงินทั้งสิ้น  

ถ้าไม่จ่าย หนี้สินเชื่อ ส่วน บุคคล

5.บันทึกติดเครดิตบูโร

เมื่อทำตามขั้นตอนในการติดตามทวงหนี้ครบทุกข้้นตอนแล้ว และไม่ได้รับการตอบกลับในการชำระหนี้จากผู้ที่ถือบัตรกดงินสดแม้แต่อย่างใด ผู้ที่ถือบัตรกดเงินสดรายนั้นที่ผิดชำระหนี้จะต้องโดนถูกบันทึกให้ติดแบล็คลิส หรือติดเครดิตบูโร โดยจะไม่สามารถทำธุรกรรมต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นการขอสินเชื่อประเภทอื่น ๆ หรือ การซื้อรถยนต์ การซื้อบ้าน การทำบัตรเครดิต เป็นต้น เพราะถือว่าเป็นความผิดร้ายแรงเพราะมีประวัติที่ไม่ดี แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าต้องการล้างประวัติไม่ให้ติดเครดิตบูโรก็ต้องทำการชำระหนี้ หรือจ่ายหนี้เข้ามาให้ให้เรียบร้อย ก็เป็นการล้างประวัติในการติดเครดิตบูโร แลจะกลับมาทำธุรกรรมต่าง ๆ ได้เหมือนเดิม 

ถ้าไม่จ่าย หนี้สินเชื่อ ส่วน บุคคล

สามารถชำระบัตรกดเงินสดมีที่ไหนบ้าง 

หากผู้ที่ถือบัตรกดเงินไม่อยากค้างชำระหนี้ แต่ต้องการจ่ายเงินก้อนที่กดออกมาจากบัตรกดเงินสด และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียประวัติของเราสามารถทำการจ่ายได้ที่ 

  •  ชำระด้วยเงินสดผ่านทางเคาน์เตอร์ธนาคาร จุดบริการต่างๆ ค่าบริการขึ้นอยู่กับจุดบริการนั้นๆ หรือผ่านตู้ ATM ทั่วประเทศของธนาคารต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นไปตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของธนาคาร
  • ชำระผ่านระบบโทรศัพท์ หรือระบบ Internet-Banking
  • ชำระด้วยเช็ค/แคชเชียร์เช็ค ผ่านช่องทางเคาน์เตอร์ธนาคาร
  • ชำระด้วยบาร์โค้ด ผ่าน LINE Application สะดวก ไม่ต้องมีใบแจ้งยอด 
  • ชำระผ่านจุดบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิสที่ เซเว่น อีเลฟเว่น ทุกสาขา
  • ชำระผ่านได้ที่ Wallet สะดวกสบายในการทำธุรกรรมทางการเงิน

หากคุณสนใจทำบัตรกดเงินสด ไว้ใช้ติดตัวในยามฉุกเฉินได้ตลอด 24 ชั่วโมง สามารถคลิกเข้ามาสมัครได้ที่ Rabbit Care ช่องทางออนไลน์ที่มีขั้นตอนไม่ยุ่งยาก ได้รับการอนุมัติรวดเร็วทันใจ