คณะ บริหารธุรกิจ ธรรมศาสตร์ สาขา

คณะ บริหารธุรกิจ ธรรมศาสตร์ สาขา
ปริญญาโท

MBA พาณิชยศาสตร์และการบัญชี สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดีไหม?

เน้น Business Simulation

การเรียนเน้นใช้แบบจำลองสถานการณ์ธุรกิจ Business Simulation ที่เหมือนกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกใช้...รูปแบบน่าสนใจทีเดียวครับ

คณะ บริหารธุรกิจ ธรรมศาสตร์ สาขา

chetpipat pipat

บุคคลทั่วไป

27 ก.ย. 59 17:21 น.

หลักสูตรที่คนรอบข้างพูดถึงเยอะมาก

เป็นหลักสูตรที่น่าสนใจมากเลยค่ะ ได้ยินคนรู้จักพูดถึงเยอะเหมือนกัน ชักอยากเรียนขึ้นมาละซิ

คณะ บริหารธุรกิจ ธรรมศาสตร์ สาขา

ธนัชพร จรัสวรชิต

บุคคลทั่วไป

12 ก.ย. 59 16:26 น.

ได้ชื่อว่า ธรรมศาสตร์ เปิดโอกาสให้ทุกคนจริงๆ

ไม่จำกัดสาขาที่จบปริญญาตรี ไม่จำกัดเกรดเฉลี่ยรวมด้วย ธรรมศาสตร์นี่ดีไปอีกค่ะ ดีและน่าสนใจมาก...ขอลองสอบให้ได้ก่อนนะคะ

คณะ บริหารธุรกิจ ธรรมศาสตร์ สาขา

ศศิธร ชนาเดช

บุคคลทั่วไป

12 ก.ย. 59 16:08 น.

ป.โท พาณิชยศาสตร์และการบัญชี ก็น่าจะไม่ยากเหมือนที่คิดไว้

มีให้เลือกถึง2หลักสูตร ทั้งวันธรรมดาและเสาร์อาทิต เรียนแล้วน่าจะได้คอนเนคชั่นดีเลยก็ว่าได้ การเรียนการสอนน่าจะไม่ยากเกินความสามารถแถมยังได้ไปดูงานตปท.บ่อยๆด้วย

คณะ บริหารธุรกิจ ธรรมศาสตร์ สาขา

โยษิตา ปิยโภค

บุคคลทั่วไป

12 ก.ย. 59 15:59 น.

พี่ EDUGEN แอบกระซิบบอกก่อนเลยว่าการเรียนในคณะนี้ น้อง ๆ จะถูกเน้นในเรื่องของการพัฒนาความรู้พื้นฐานด้านการจัดการธุรกิจแบบครบทุกด้าน ก่อนจะให้น้อง ๆ เลือกเรียนในสาขาวิชาเอกที่มีอยู่ 8 สาขาวิชา จะมีสาขาไหนบ้างนั้น ไปดูกันเลย 

สาขาการบัญชี

น้อง ๆ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ภาควิชาการบัญชี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สาขาการเงิน

น้อง ๆ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ >> https://www.tbs.tu.ac.th/fn-home/

สาขาการตลาด

น้อง ๆ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ >> https://www.tbs.tu.ac.th/mk-home/ 

สาขาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

น้อง ๆ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ >> https://www.tbs.tu.ac.th/mis-home/

สาขาการบริหารองค์การ การประกอบการ และทรัพยากรมนุษย์

น้อง ๆ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ >> https://www.tbs.tu.ac.th/moeh-home/

สาขาบริหารการปฏิบัติการ

น้อง ๆ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ >> https://www.tbs.tu.ac.th/om-home/

สาขาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ โลจิสติกส์ และการขนส่ง

น้อง ๆ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ >> https://www.tbs.tu.ac.th/iblt-home/

สาขาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

น้อง ๆ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ >> https://www.tbs.tu.ac.th/re-home/


สำหรับน้องๆ ที่อยากมีตัวช่วยในการทบทวนบทเรียนหรือเตรียมตัวสอบเข้ามาดูคอร์สเรียน

หรือลองวางแผนการเรียนกับพี่ EDUGEN ได้เลยที่

คณะ บริหารธุรกิจ ธรรมศาสตร์ สาขา

หรือ พูดคุยกับพี่ EDUGEN ได้ที่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คณะ บริหารธุรกิจ ธรรมศาสตร์ สาขา
ชื่ออังกฤษThammasat Business School
ที่อยู่ศูนย์ท่าพระจันทร์
2 ถนนพระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง
เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
ศูนย์รังสิต
99 หมู่ 18 ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง
อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
วันก่อตั้ง23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 (84 ปี)
คณบดีรศ.ดร.สมชาย สุภัทรกุล
วารสารJournal of Business Administration
Journal of Accounting Profession
สีประจําคณะ         สีฟ้า-สีขาว
สัญลักษณ์เรือใบ
เว็บไซต์www.tbs.tu.ac.th

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นส่วนราชการไทยระดับคณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กระทรวงศึกษาธิการ โดยเป็นคณะวิชาที่จัดตั้งขึ้นเป็นอันดับ 2 ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 ภายในการนำของหลวงดำริอิสรานุวรรตน์

ในระยะเริ่มแรกได้ก่อตั้งเป็น “แผนกวิชาการบัญชี” โดยเปิดสอน 2 หลักสูตร คือ

  1. หลักสูตร 4 ปี ได้รับประกาศนียบัตรทางการบัญชี เทียบเท่าปริญญาตรี
  2. หลักสูตร 5 ปี ได้รับประกาศนียบัตรชั้นสูงทางการบัญชี เทียบเท่าปริญญาโท

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี (Thammasat Business School) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีอายุครบ 80 ปีในวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ปัจจุบันการจัดการเรียนการสอน มีครบทั้ง 3 ระดับ คือ ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก มีทั้งหลักสูตรภาษาไทย และหลักสูตรนานาชาติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นคณะที่มีอัตราการแข่งขันค่อนข้างสูงทั้งในระบบแอดมิดชั่นและรับตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลักสูตรนานาชาติหรือ BBA ปัจจุบันได้ผลิตบัณฑิตรุ่นใหม่รับใช้สังคมในทุกหน่วยงานอันเป็นผู้นำในการสร้างการเปลี่ยนแปลงในแวดวงธุรกิจเป็นจำนวนมากอีกทั้งศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงทั้งในวงการธุรกิจไม่ว่าจะเป็นทั้งระดับไทยและนานาชาติ

ประวัติ[แก้]

คณะ บริหารธุรกิจ ธรรมศาสตร์ สาขา

อาคารเรียนคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต (ขวา)

  • พ.ศ. 2478วิชาการบัญชีได้เข้ามามีบทบาทสำคัญ โดยเป็นวิชาหนึ่งในหลักสูตรปริญญาโททางเศรษฐศาสตร์ และมีหลวงดำริอิศรานุวรรตน์เป็นผู้สอน ในสมัยนั้นการบัญชียังไม่แพร่หลาย ยังมิได้มีการบันทึกบัญชีเป็นกิจจะลักษณะ ผู้มีความรู้ทางบัญชีจริง ๆ มีน้อยมากเพียง 3-4 คนเท่านั้น และหนึ่งในจำนวนนั้นเป็นผู้มีบทบาทในการก่อตั้ง และพัฒนาวิชาการบัญชี ซึ่งก็คือ หลวงดำริอิศรานุวรรตน์ โดยท่านเป็นผู้ริเริ่มให้มีกฎหมายรับรองการจัดตั้งสภาบัญชีขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมวิชาชีพสอบบัญชี และเพื่อเป็นองค์การให้รัฐบาลในการดำเนินการทดสอบความชำนาญงานทางบัญชี เพื่อออกประกาศนียบัตรวิชาชีพรับรองว่า ผู้นั้นเป็นผู้ที่มีความรู้ทางการบัญชีดีพอ ที่จะเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตอิสระได้
  • พ.ศ. 2481 เนื่องจากรัฐบาลในสมัยนั้นพิจารณาเห็นว่ายังไม่สมควรที่จะจัดตั้งสภาบัญชี เนื่องจากมีผู้ที่มีความรู้ทางบัญชีน้อยมาก จึงเห็นว่าควรจะส่งเสริมในการให้วิชาความรู้ทางการบัญชี เพื่อให้แพร่หลายดังนั้นหลวงดำริอิศรานุวรรตน์ จึงได้ขอให้รัฐบาลรับนโยบายอนุมัติ ให้มีการศึกษาวิชาการบัญชีที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง โดยระยะแรกได้ก่อตั้ง "แผนกวิชาการบัญชี" เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 วิชาการบัญชีที่เปิดสอนแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ หลักสูตร 3 ปี และหลักสูตร 5 ปี ผู้ที่สำเร็จการศึกษาปีที่ 3 จะได้รับประกาศนียบัตรทางการบัญชีซึ่งเทียบเท่าปริญญาตรี สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาปีที่ 5 จะได้รับประกาศนียบัตรชั้นสูงทางการบัญชีเทียบเท่าปริญญาโท
  • พ.ศ. 2492 หลังจากแผนกวิชาได้ดำเนินการสอนมา 10 ปี ก็ได้รับการสถาปนาเป็นคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2492 และมีการเพิ่มแผนกพาณิชยศาสตร์เข้าไปด้วยอีกแผนกนึง โดย ศาสตราจารย์ ดร.เดือน บุนนาค ได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณบดีคนแรกของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2492
  • พ.ศ. 2499 ได้ยกเลิกการศึกษาแบบประกาศนียบัตร แล้วจัดหลักสูตรการศึกษาใหม่เป็นแบบปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี และเปิดสอนระดับปริญญาโทภาคกลางวัน
  • พ.ศ. 2505 แผนกพาณิชยศาสตร์ในระดับปริญญาตรีได้แบ่งออกเป็น 3 สาขาวิชา ประกอบด้วย สาขาการบริหารการเงินและการธนาคาร, สาขาการตลาด, สาขาการบริหารทั่วไป
  • พ.ศ. 2513 เพื่อให้เป็นไปตามหลักสูตรสากล ได้มีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรจากการศึกษาในระบบเดิมมาเป็นระบบหน่วยกิตพร้อมทั้งได้มีการแบ่งหลักสูตรออกเป็นวิชาเอก 4 สาขาวิชาได้แก่ สาขาการบัญชี, สาขาการบริหารการเงินและการธนาคาร, สาขาการตลาด, สาขาการบริหารทั่วไป
  • พ.ศ. 2518 ได้มีการพัฒนาหลักสูตรระดับปริญญาตรีของคณะฯ ให้สอดคล้องกับการพัฒนาของคณะฯ ซึ่งมีการแบ่งสาขาวิชาเอกออกเป็น 5 สาขาวิชาดังนี้ สาขาการบัญชี, สาขาการบริหารการเงินและการธนาคาร, สาขาการตลาด, สาขาเทคนิคการบริหาร, สาขาการบริหารบุคคล
  • พ.ศ. 2523 ได้เปลี่ยนชื่อสาขา จากสาขาเทคนิคการบริหารเป็นสาขาบริหารอุตสาหการ
  • พ.ศ. 2525 เปิดโครงการพัฒนาผู้บริหาร (Executive Development Programme – Mini MBA) เป็นแห่งแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2526 ได้เพิ่ม สาขาการพาณิชยนาวีขึ้นมาอีก 1 สาขาวิชาเพื่อสนองนโยบายของรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนธุรกิจพาณิชยนาวี
  • พ.ศ. 2528 เปิดโครงการ Executive MBA เป็นแห่งแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2531 เปิดโครงการ MIM ซึ่งเป็น International Programme ทางการตลาดแห่งแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2533 คณะฯ ได้มีการปรับปรุงหลักสูตร พ.ศ. 2526 จากหลักสูตรการบัญชีบัณฑิตและพาณิชยศาสตร์ เป็นหลักสูตร ฉบับ พ.ศ. 2533 หลักสูตรบัญชีบัณฑิตและบริหารธุรกิจบัณฑิต และเปลี่ยนชื่อปริญญาด้านพาณิชยศาสตรบัณฑิต (พณ.บ) เป็นบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.) สำหรับปริญญาด้านการบัญชีเหมือนเดิม คือ บัญชีบัณฑิต (บช.บ.) โดยหลักสูตร พ.ศ. 2533 ได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 6 สาขาวิชาเอก เช่นเดียวกับ พ.ศ. 2526 แต่มีการปรับเปลี่ยนชื่อสาขาวิชาในหลักสูตรบริหารธุรกิจ 2 สาขาวิชา คือ สาขาการบัญชี, สาขาการบริหารการเงินและการธนาคาร, สาขาการตลาด, สาขาการบริหารอุตสาหการ, สาขาการการบริหารทรัพยากรมนุษย์และองค์การ(เดิมชื่อสาขาการบริหารบุคคล), สาขาการบริหารการขนส่งระหว่างประเทศ(เดิมชื่อสาขาวิชาการพาณิชยนาวี)และในปีเดียวกันนี้เอง คณะฯ ได้เพิ่ม สาขาวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ในแผนกบริหารธุรกิจขึ้นมาอีก อีกทั้งยังได้เปิดหลักสูตรด้านบริหารธุรกิจกิจและการบัญชีหลักสูตรนานาชาติแห่งแรกของประเทศไทย ที่รู้จักในชื่อของ BBA TU โดยศึกษาที่ศูนย์ท่าพระจันทร์
  • พ.ศ. 2535 คณะฯ ได้ลงนามความร่วมมือกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ จัดตั้งโครงการร่วมผลิตบัณฑิตระดับปริญญาเอกร่วม สาขาบริหารธุรกิจ (The Joint Doctoral Program in Business Administration)
  • พ.ศ. 2540 คณะฯ ได้ปรับปรุงหลักสูตร ฉบับปี พ.ศ. 2533 เป็นหลักสูตรฉบับ พ.ศ. 2540 ในหลักสูตรยังคงกำหนดให้มี 7 สาขาวิชา เช่นเดียวกับหลักสูตร พ.ศ. 2533 แต่ได้มีการปรับเปลี่ยนสาขาวิชา 2 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร เป็น สาขาวิชาการเงิน, สาขาวิชาบริหารอุตสาหการ เป็น สาขาบริหารอุตสาหกรรมและปฏิบัติการ นอกนั้นยังคงใช้ชื่อเดิม คือ สาขาการบัญชี, สาขาการตลาด, สาขาการการบริหารทรัพยากรมนุษย์และองค์การ, สาขาการบริหารการขนส่งระหว่างประเทศ, สาขาวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
  • พ.ศ. 2540 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ได้เริ่มวิธีการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี ภาคภาษาไทย ซึ่งจะเป็นการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในปีการศึกษา 2540 นอกเหนือจากวิธีการคัดเลือกเดิมซึ่งดำเนินการโดยทบวงมหาวิทยาลัย โครงการสอบคัดเลือกนักศึกษาเข้าตรง คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี เป็นโครงการที่เกิดขึ้นเพื่อคัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ ความถนัด และความตั้งใจที่จะเข้าศึกษาในคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อย่างแท้จริงต่อมารู้จักกันในชื่อของ SMART-I
  • พ.ศ. 2541 คณะฯ ได้เปิดสอนวิชาเพิ่มในระดับปริญญาโท คือ ปริญญาโททางวิชาชีพการบัญชี (Master in Professional Accounting) และเปิดหลักสูตรระดับปริญญาเอกหลักสูตรแรกของคณะฯ คือ ปริญญาเอก สาขาการตลาด(ภาคภาษาอังกฤษ)
  • พ.ศ. 2543 คณะฯ ได้เปิดสาขาวิชาเพิ่มใหม่ในระดับปริญญาตรี ได้แก่ สาขาวิชาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
  • พ.ศ. 2547 คณะฯ ได้รับอนุมัติให้บรรจุหลักสูตรระดับปริญญาตรี 2 สาขาวิชาไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 9 ได้แก่ หลักสูตรวิชาธุรกิจระหว่างประเทศและหลักสูตรสาขาวิชาการบริหารโลจิสติกส์ โดยได้มีการปรับเปลี่ยนชื่อสาขาวิชา 1 สาขาวิชาคือ สาขาการบริหารการขนส่งระหว่างประเทศ เป็น สาขาวิชาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ โลจิสติกส์และการขนส่ง
  • พ.ศ. 2549 ได้รับอนุมัติให้เปิดหลักสูตรควบบัญชีบัณฑิตและบัญชีมหาบัณฑิต (บูรณาการ) และหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิตควบวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการแบบบูรณาการ) โดยจัดการเรียนการสอน ชั้นปีที่ 1-5 ที่ท่าพระจันทร์ สำหรับหลักสูตรภาษาไทย คณะฯ ได้จัดการเรียนการสอนในภาค 1/2549 ที่ศูนย์รังสิต โดยคณะฯ ได้ปรับปรุงกายภาพ อาคารเรียนของคณะฯ ศูนย์รังสิต ซึ่งเป็นอาคาร 9 ชั้น มีพื้นที่รวม 6,900 ศูนย์รังสิต โดยใช้งบประมาณในการปรับปรุง 53,553,619.67 ล้านบาท ในปีเดียวกันนี้ คณะฯ ได้ปรับปรุงหลักสูตรใหม่คือ หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ และหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงกลยุทธ์ ซึ่งเริ่มใช้ในปีการศึกษา 2550 ในโครงการปริญญาโทสำหรับผู้บริหาร (XMBA)
  • พ.ศ. 2551 คณะฯ ได้ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาเอกทางการตลาด (Doctoral Program in Marketing) ซึ่งดำเนินการสอนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 ให้มีความกว้างขวางครอบคลุมทางด้านการบริหารธุรกิจครบทุกแขนง เป็นหลักสูตรปริญญาเอกทางธุรกิจ (Doctoral Program in Business: DPB)
  • พ.ศ. 2552 คณะฯ ได้ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาตรี ฉบับปี พ.ศ. 2547 เป็นหลักสูตรฉบับ พ.ศ. 2552 ในหลักสูตรยังคงกำหนดให้มี 8 สาขาวิชา แต่ได้ปรับลดจำนวนหน่วยกิตลง และได้มีการปรับเปลี่ยนชื่อสาขาวิชา 1 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาสาขาบริหารอุตสาหกรรมและปฏิบัติการ เป็น สาขาบริหารการปฏิบัติการ
  • พ.ศ. 2554 คณะฯ ได้ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาเอกร่วมเดิม (JDBA) ที่เป็นความร่วมมือกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เป็นโครงการปริญญาเอกบริหารธุรกิจ (Doctor of Business Administration: DBA)

สัญลักษณ์[แก้]

  • สัญลักษณ์ประจำคณะ

สัญลักษณ์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คือ เรือสำเภา

  • สีประจำคณะ

         สีฟ้า-สีขาว

หลักสูตรการศึกษา[แก้]

ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก

หลักสูตร 4 ปี ศึกษาที่ศูนย์รังสิต[ลิงก์เสีย]

หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (บช.บ.) 1 สาขาวิชา

  1. สาขาวิชาการบัญชี

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.) 7 สาขาวิชา

  1. สาขาวิชาการเงิน
  2. สาขาวิชาการตลาด
  3. สาขาวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
  4. สาขาวิชาบริหารทรัพยากรมนุษย์และองค์การ
  5. สาขาวิชาการบริหารการปฏิบัติการ
  6. สาขาวิชาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ โลจิสติกส์และการขนส่ง
  7. สาขาวิชาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

หลักสูตร 4 ปี นานาชาติ (BBA) ศึกษาที่ท่าพระจันทร์

  1. สาขาวิชาการบัญชี
  2. สาขาวิชาการเงิน
  3. สาขาวิชาการตลาด

หลักสูตรบูรณาการปริญญาตรี-โท 5 ปี (IBMP) ศึกษาที่ท่าพระจันทร์ เก็บถาวร 2016-04-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

  1. สาขาวิชาบูรณาการบัญชี
  2. สาขาวิชาบูรณาการบริหารธุรกิจ

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต : MBA

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสำหรับผู้บริหาร สาขาวิชาการจัดการธุรกิจสากล : XMBA

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต เน้นการบริหารทรัพยากรมนุษย์และองค์การ : MBA – HRM

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ : MRE

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ : MSMIS

หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต (หลักสูตรสองภาษา) : MAP

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด (หลักสูตรนานาชาติ) : MIM

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเงิน (หลักสูตรนานาชาติ) : MIF

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจสากล (หลักสูตรนานาชาติ) : GEMBA

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ (หลักสูตรนานาชาติ) : PhD

จำนวนนักศึกษาและอาจารย์[แก้]

จำนวนนักศึกษาในแต่ละชั้นปีรวมทั้งสิ้น 4,064 คน (ข้อมูลภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2554) ประกอบด้วย

  • นักศึกษาระดับปริญญาตรี 2,275 คน
  • นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต 81 คน
  • นักศึกษาระดับปริญญาโท 1,688 คน
  • นักศึกษาระดับปริญญาเอก 20 คน

จำนวนอาจารย์ 110 คน ประกอบด้วย

  • อาจารย์ประจำ 103 คน
  • อาจารย์ชาวต่างประเทศ 7 คน

การรับรองมาตรฐานการศึกษา[แก้]

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับการรับรองวิทยฐานะ European Quality Improvement System (EQUIS) อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งเป็นโครงการประกันคุณภาพระดับโลกของมูลนิธิ เพื่อพัฒนาด้านการจัดการแห่งยุโรป หรือ European Foundation for Management Development (EFMD) โดยการรับรองวิทยฐานะ EQUIS ครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็นสถาบันการศึกษาด้านบริหารธุรกิจแห่งแรกในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานทั้งระดับปริญญาตรี-ปริญญาโท-และปริญญาเอกจากกรรมการผู้ประเมินคุณภาพ EQUIS Review Committee ในการรับรองมาตรฐาน ได้มีการตรวจเข้มโดยใช้มาตรฐานเดียวกับมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับนานาชาติในทุก ๆ ด้าน อาทิ

  • ด้านคุณภาพของอาจารย์และนักศึกษา
  • ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนที่มีความทันสมัย
  • ด้านงานวิจัยมีมาตรฐานที่ดีซึ่งพิสูจน์จากการได้รับการตีพิมพ์ในวารสารชั้นนำระดับนานาชาติ
  • ด้านคุณภาพของการบริหารจัดการที่มีมาตรฐานในระดับสากล
  • ด้านความสัมพันธ์กับองค์กรภายนอกและนักศึกษาเก่า

ทั้งนี้ EFMD ได้มีการรับรองวิทยฐานะ EQUIS ให้กับสถาบันด้านบริหารธุรกิจชั้นนำทั่วโลกรวมถึง INSEAD (France), London Business School (UK), Cambridge Business School (UK), Melbourne Business School (Australia), Tsinghua University School of Economics and Management (China), NUS Business School (Singapore) เป็นต้น

ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2560 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานการศึกษาจาก The Association to Advance Collegiate Schools of Business (AACSB) จากประเทศสหรัฐอเมริกา ให้เป็นหนึ่งในคณะบริหารธุรกิจชั้นนำของโลก ทั้งทางด้านวิชาการ ระบบการจัดการ งานวิจัย และ การพัฒนานวัตกรรม มาตรฐานการรับรอง จาก AACSB เป็นการรับรองที่มีคุณค่ายิ่ง เนื่องจากมีไม่ถึง 5 เปอร์เซนต์ของคณะบริหารธุรกิจทั่วโลก ที่จะได้รับมาตรฐานนี้ การได้รับคัดเลือกจาก AACSB เป็นหนึ่งในความสำเร็จ ที่ยิ่งใหญ่ของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพราะมีเพียง 4 มหาวิทยาลัยในสองประเทศแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ในสิงคโปร์คือ NUS, SMU, NANYANG) ที่ได้รับคัดเลือกให้ผ่านมาตรฐานจากทั้ง AACSB และ EQUIS ในทุกระดับชั้น ตั้งแต่ปริญญาตรี โท และ เอก

ในวันที่ 14 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2561 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานการศึกษาจาก The Association of MBAs (AMBA) จากประเทศสหราชอาณาจักร (United Kingdom) โดยเฉพาะหลักสูตรและนวัตกรรมการศึกษาทางด้านบริหารธุรกิจในระดับบัณฑิตศึกษา (ในระดับปริญญาโทบริหารธุริจ MBA)

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นสถาบันการศึกษาทางด้านบริหารธุรกิจแห่งแรกและแห่งเดียวในปัจจุบัน ในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานการศึกษาครบถ้วน (Triple Crown accreditation) จากทั้ง 3 สถาบันรับรองคุณภาพการศึกษาทางด้านบริหารธุรกิจ AACSB, AMBA, และ EQUIS ที่มีชื่อเสียงที่สุดและเป็นที่ยอมรับที่สุดทั่วโลก มีสถาบันการศึกษาทางด้านบริหารธุรกิจไม่ถึง 100 แห่งทั่วโลก ที่ได้รับรองคุณภาพมาตรฐานการศึกษาครบถ้วน (Triple Crown accreditation) จากทั้ง 3 สถาบันนี้

บุคคลสำคัญ[แก้]

  • ศ.คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี (ศิษย์เก่า,อดีตอาจารย์) อดีตคณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตนายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • พนัส สิมะเสถียร (ศิษย์เก่า) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง, อดีตปลัดกระทรวงการคลัง
  • ศ.สังเวียน อินทรวิชัย (ศิษย์เก่า,อดีตอาจารย์)อดีตคณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ผู้ก่อตั้งโครงการ Executive MBA อดีตประธานคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  • เสนาะ อูนากูล (ศิษย์เก่า) อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
  • ศ.เกริกเกียรติ พิพัฒนเสรีธรรม (ศิษย์เก่า,คณบดี, อธิการบดี, ศาสตราจารย์เกียรติคุณ) อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • ศ.ดร.ธเนตร นรภูมิพิภัชน์ (อดีตอาจารย์) อดีตศาสตราจารย์ประจำคณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • รศ.เกศินี วิฑูรชาติ (ศิษย์เก่า,อาจารย์, อธิการบดี) คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี กรรมการธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) รองศาสตราจารย์ประจำคณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ผศ.ดร.การดี ปรีชานนท์ (อาจารย์) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ,พิธีกรรายการข่าว
  • ผศ.ดร.วุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์ (อดีตอาจารย์) ผู้อำนวยการสถาบันสหัสวรรต
  • ดร.วีรวัฒน์ กาญจนดุล (ศิษย์เก่า) นักธุรกิจ,กรรมการสภามหาวิทยาลัย
  • บุญชู โรจนเสถียร (ศิษย์เก่า) อดีตผู้บริหารธนาคารกรุงเทพ อดีครองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นักธุรกิจ
  • บุษยา รังสี (ศิษย์เก่า) ชื่อการแสดง, นักร้องวงดนตรีสุนทราภรณ์ ชื่อจริง มานี ทัพพะรังสี
  • อุไรวรรณ เทียนทอง (ศิษย์เก่า) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นักการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
  • ธวัชชัย วิไลลักษณ์ (ศิษย์เก่า) ผู้บริหารบริษัทเครือสามารถและ I-mobile
  • ประยูร จินดาประดิษฐ์ (ศิษย์เก่า) อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารทหารไทย จำกัด(มหาชน)
  • ชัยรัตน์ คำนวณ (ศิษย์เก่า) อดีตผู้บริหารธนาคารกรุงเทพ จำกัด
  • สม จาตุศรีพิทักษ์ (ศิษย์เก่า) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ อดีตผู้บริหารธนาคารนครหลวงไทย จำกัด
  • สมเจตน์ หมู่ศิริเลิศ (ศิษย์เก่า) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
  • ชาลอต โทณวณิก (ศิษย์เก่าปริญญาโท) ผู้บริหารธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด ประธานบริษัทมีเดียออฟมีเดีย
  • ไพศาล นันทาภิวัฒน์ (ศิษย์เก่า) ผู้ก้อตั้งธนาคารแหลมทอง จำกัด
  • ฉัตรชัย ดุริยประณีต (ศิษย์เก่า) นักแต่งเพลง นักดนตรี สมาชิกวงเฉลียง
  • ชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ (ศิษย์เก่า) นักการเมือง
  • กิติวุฒิ เจริญศิริวัฒน์ (ศิษย์เก่า) (อ.ปิง) อาจารย์สอนพิเศษ เจ้าของโรงเรียน Da'vance
  • สันติ ลุนเผ่ (ศิษย์เก่า) ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล) ประจำปี พ.ศ. 2558 และเป็นนักร้องประจำคณะดุริยางค์แห่งกองทัพไทย
  • พาทิศ พิสิฐกุล (ศิษย์เก่า) นักแสดง
  • รังสิต ศิรนานนท์ (ศิษย์เก่า) นักแสดง
  • นันทิดา แก้วบัวสาย (ศิษย์เก่า) นักร้อง
  • ศัลย์ อิทธิสุขนันท์ (ศิษย์เก่า) พิธีกร
  • อรจิรา แหลมวิไล (ศิษย์เก่า) ภาคภาษาอังกฤษ นักแสดง
  • ยุวนาถ อาระยานิมิตสกุล (ศิษย์เก่า)ภาคภาษาอังกฤษ นักแสดง
  • วิมล ศิริไพบูลย์ (ศิษย์เก่า) นักเขียนนิยายนามปากกา "ทมยันตี"
  • ดร.กฤษติกา คงสมพงษ์ (อาจารย์) อาจารย์พิเศษคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี (ภาคภาษาอังกฤษ) พิธีกรรายการ กำจัดจุดอ่อน
  • ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ อดีตอาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • สุภา ปิยะจิตติ (ศิษย์เก่า) ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ, อดีตรองปลัดกระทรวงการคลัง
  • วินัย วิทวัสการเวช (ศิษย์เก่า) อธิบดีกรมสรรพากร
  • เบญจา หลุยเจริญ (ศิษย์เก่า) รองปลัดกระทรวงการคลัง
  • ศุภชัย พิศิษฐวานิช (ศิษย์เก่า) อดีตปลัดกระทรวงการคลัง
  • ธนา ลิมปยารยะ (ศิษย์เก่า) นักร้อง, นักแสดง
  • พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (ศิษย์เก่า) การเงินการธนาคาร ภาคภาษาอังกฤษ นักธุรกิจ

คณบดี[แก้]

คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
รองศาสตราจารย์ เกศินี วิทูรชาติ พ.ศ. 2549 - 2553
รองศาสตราจารย์ ดร.กุลภัทรา สิโรดม พ.ศ. 2553 - 2556
ศาสตราจารย์ ดร.ศิริลักษณ์ โรจนกิจอำนวย พ.ศ. 2556 - 2559
รองศาสตราจารย์ ดร.พิภพ อุดร พ.ศ. 2559 - 2562
ศาสตราจารย์ ดร.รุธิร์ พนมยงค์ พ.ศ. 2562 - 2565
รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย สุภัทรกุล พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • Thammasat University
  • Thammasat Business School
  • หลักสูตรบูรณาการทางด้านการบัญชี และการบริหารธุรกิจ (หลักสูตรปริญญาตรี-โท 5 ปี) ศึกษาที่ท่าพระจันทร์ : IBMP
  • หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ 4 ปี) ศึกษาที่ท่าพระจันทร์ : BBA
  • หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต : MBA
  • หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสำหรับผู้บริหาร สาขาวิชาการจัดการธุรกิจสากล : XMBA
  • หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต เน้นการบริหารทรัพยากรมนุษย์และองค์การ : MBA – HRM
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ : MRE
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ : MSMIS
  • หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต (หลักสูตรสองภาษา) : MAP
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด (หลักสูตรนานาชาติ) : MIM
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเงิน (หลักสูตรนานาชาติ) : MIF
  • หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจสากล (หลักสูตรนานาชาติ) : GEMBA
  • หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ : PhD

ดูเพิ่ม[แก้]

  • รายชื่อคณะบริหารธุรกิจในประเทศไทย
  • รายชื่อคณะเศรษฐศาสตร์ในประเทศไทย

ธรรมศาสตร์มีคณะบริหารไหม

บริหารธุรกิจ ชื่อหลักสูตร 1.บธ.บ.สาขาวิชาการจัดการธุกิจแบบบูรณาการ (ศึกษาที่ มธ.ท่าพระจันทร์) (ภาษาไทย ปกติ) วิทยาเขต ท่าพระจันทร์ 2.บริหารธุรกิจบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) (ศึกษาที่ มธ.ท่าพระจันทร์) (BBA) (นานาชาติ) วิทยาเขต ท่าพระจันทร์

ม.ธรรมศาสตร์ มีคณะอะไรบ้าง

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
คณะนิติศาสตร์.
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี.
คณะรัฐศาสตร์.
คณะเศรษฐศาสตร์.
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์.
คณะศิลปศาสตร์.
วิทยาลัยนวัตกรรม.
วิทยาลัยสหวิทยาการ.

คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีสาขาอะไรบ้าง

หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต(ภาคบัณฑิต).
กฎหมายเอกชน (Private Law).
กฎหมายธุรกิจ (Business Law).
กฎหมายระหว่างประเทศ (International Law).
กฎหมายอาญา (Criminal Law).
กฎหมายมหาชน (Public Law).
กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ (International Trade Law).
กฎหมายภาษี (Tax Law).

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ มีสาขาอะไรบ้าง

หลักสูตร.
สาขาวิชาสถิติ.
สาขาวิชาคณิตศาสตร์.
สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์.
สาขาวิชาคณิตศาสตร์ (คณิตศาสตร์การเงิน).
สาขาเคมี.
สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร.
สาขาวิชาเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนายั่งยืน.
สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ.