ปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์ ใน ตัว เลือก ใด กล่าว ไม่ ถูก ต้อง

ปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์ ใน ตัว เลือก ใด กล่าว ไม่ ถูก ต้อง

ปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์ ใน ตัว เลือก ใด กล่าว ไม่ ถูก ต้อง
ความหมาย
อุปสงค์ (Demand) หมายถึง ความต้องการซื้อสินค้าหรือบริการชนิดใดชนิดหนึ่งของผู้บริโภค ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง โดยมีอานาจซื้อหรือมีความสามารถในการตอบสนองความต้องการนั้น ๆ

 ประเภทอุปสงค์ เราสามารถกล่าวถึงอุปสงค์ประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้
 1) อุปสงค์ที่เกิดขึ้นจริง (Effective demand) หมายถึง ความต้องการซื้อสินค้าที่เกิดขึ้นจริง ๆ อันเนื่องจากปัจจัยต่อไปนี้
1. ความเต็มใจที่จะซื้อ (Willingness to buy)
2. ความสามารถที่จะซื้อ (Ability topay)
3. สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
 2) อุปสงค์ศักยภาพ (Potential demand) หมายถึง ความต้องการซื้อสินค้าที่เป็นไปตามศักยภาพหรือความสามารถในการซื้อ คือการที่มีอำนาจซื้อแต่ยังไม่ซื้อในขณะนี้
 3) อุปสงค์ทางตรง (Direct demand) หมายถึง ความต้องการซื้อสินค้าขั้นสุดท้าย (Final product) ของผู้บริโภค เช่น อุปสงค์ในขนม อุปสงค์ที่มีต่อเสื้อผ้าสาเร็จรูป เป็นต้น
  4) อุปสงค์สืบเนื่อง (Derived demand) หมายถึง ความต้องการซื้อวัตถุดิบไปผลิตสินค้าที่ผู้บริโภคมีความต้องการ เช่น เมื่อผู้บริโภคมีความต้องการซื้อขนม ทาให้ผู้ผลิตขนมมีความต้องการซื้อไข่ไก่ น้าตาลทราย เพื่อไปทำขนมขาย ความต้องการ ไข่ไก่ และน้าตาลทรายจึงจัดเป็น อุปสงค์สืบเนื่อง มิใช่อุปสงค์ทางตรงที่ผู้บริโภคมีต่อขนม
5) อุปสงค์ส่วนบุคคล (Individual demand) เป็นความต้องการซื้อสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งของผู้บริโภคแต่ละคน ณ ระดับราคาใดราคาหนึ่ง เช่นถ้าขณะนั้นเสื้อเชิร์ตราคาตัวละ 300 บาท นาย ก.ต้องการซื้อจานวน 2 ตัว นาย ข. ต้องการซื้อ 1 ตัว นาย ค. ต้องการซื้อ 5 ตัว ความต้องการซื้อเสื้อเชิร์ตของนาย ก. หรือนาย ข. หรือนาย ค. เรียกอุปสงค์ของผู้บริโภคแต่ละรายหรือ อุปสงค์ส่วนบุคคล
 6) อุปสงค์ของตลาด (Market demand) เป็นความต้องการซื้อสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งของผู้บริโภคในตลาดรวมกัน ณ ระดับราคาใดราคาหนึ่ง ตัวอย่างเช่น เสื้อเชิร์ตตัวละ 300 บาท ถ้าทั้งตลาดมีผู้ซื้อเพียง 3 ราย คือ นาย ก. นาย ข. และนาย ค. ดังนั้นอุปสงค์ของตลาดเสื้อเชิร์ตในขณะนั้นคือ 2+1+5=8 ตัว
 7) อุปสงค์ที่มีต่อหน่วยธุรกิจ (Firm demand) เป็นความต้องการซื้อสินค้าในตลาดที่ผลิตโดยบริษัทใดบริษัทหนึ่ง ตัวอย่างเช่น อุปสงค์ของเสื้อเชิร์ตในตลาดจำนวน 800 ตัว เป็นอุปสงค์ที่มีต่อเสื้อของบริษัท A จำนวน 200 ตัว บริษัท B จำนวน 500 ตัวและบริษัท C จำนวน 100 ตัว เป็นต้น

 ปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์
อุปสงค์ที่ผู้บริโภคมีต่อสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่ง จะถูกกำหนดโดยปัจจัยต่างๆ ได้แก่
1. ราคาสินค้าชนิดนั้น
2. ราคาสินค้าชนิดอื่นที่เกี่ยวข้อง
3. รสนิยม
4. รายได้
5. จำนวนประชากร
6. การโฆษณาประชาสัมพันธ์
7. อื่น ๆ

ฟังก์ชั่นอุปสงค์ (Demand function)
หมายถึง สมการที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณความต้องการซื้อสินค้าและบริการ กับปัจจัยต่าง ๆ ที่กำหนดความต้องการซื้อ
อุปสงค์ที่มีต่อสินค้าA = f (ราคาสินค้า A, ราคาสินค้าB, รสนิยม, รายได้,
จำนวนประชากร, ค่าใช้จ่ายในการโฆษณาประชาสัมพันธ์)
DA = f (PA , PB, T , Y , Pop , Ad )
ปัจจัยที่กำหนดความต้องการซื้อสินค้าAในที่นี้คือราคาสินค้า A ราคา สินค้า B รสนิยม รายได้ จานวนประชากร และค่าใช้จ่ายในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ การนาปัจจัยที่เกี่ยวข้องเหล่านี้ทุกตัวมาพิจารณาพร้อม ๆ กันนั้น การศึกษาจะต้องเป็นไปในรูปของการวิเคราะห์ทุกส่วน (General analysis) ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยุ่งยากมากสาหรับการศึกษาในระดับนี้ โดยทั่วไปในขั้นนี้จะเป็นการวิเคราะห์เฉพาะส่วน (Partial analysis) เท่านั้น เช่น การศึกษาความสัมพันธ์ของความต้องการซื้อสินค้ากับปัจจัยใดปัจ จัยหนึ่งทีละตัวโดยกำหนดให้ปัจจัยอื่น ๆ คงที่ ในกรณีที่เป็นความสัมพันธ์ของปริมาณความต้องการซื้อกับราคาสินค้าชนิดนั้น เรียก อุปสงค์ต่อราคา ถ้าเป็นความสัมพันธ์ของปริมาณความต้องการซื้อกับรายได้ เรียก อุปสงค์ต่อรายได้ ถ้าเป็นความสัมพันธ์ของปริมาณความต้องการซื้อกับราคาสินค้าชนิดอื่นที่เกี่ยวข้อง เรียก อุปสงค์ไขว้
ฟังก์ชั่นอุปสงค์ต่อราคา DA = f(PA)
ฟังก์ชั่นอุปสงค์ต่อรายได้ DA = f(Y)
ฟังก์ชั่นอุปสงค์ไขว้ DA = f(PB)

กฎของอุปสงค์ (Law of demand)
กฏของอุปสงค์ หมายถึงกฏที่ว่าด้วยระบบความสัมพันธ์ระหว่างราคาสินค้ากับปริมาณความต้องการซื้อสินค้านั้น ซึ่งกฏนี้กล่าวไว้ว่า"ราคาและปริมาณความต้องการซื้อสินค้าจะมีความสัมพันธ์กันในทิศทางตรงกันข้าม" คือ เมื่อราคาสินค้าสูงขึ้นปริมาณความต้องการซื้อจะลดต่าลง และในทางตรงกันข้าม เมื่อราคาสินค้าลดลง ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าจะเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้เพราะเมื่อราคาสินค้าเปลี่ยนแปลงไปจะก่อให้เกิดผลสองประการ คือ ผลทางรายได้ (Income effect) กล่าวคือเมื่อราคาสินค้าสูงขึ้น แม้ว่ารายได้ที่เป็นตัวเงินไม่เปลี่ยนแปลงไป แต่รายได้ที่แท้จริงลดลง ทาให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าน้อยลง หรือเมื่อราคาสินค้าลดลงย่อมมีผลให้รายได้ที่แท้จริงสูงขึ้น ผู้บริโภคจะซื้อสินค้ามากขึ้น ผลอีกประการก็คือ ผลจากการทดแทนกัน กล่าวคือ เมื่อราคาสินค้าชนิดนั้นสูงขึ้น จะทาให้ผู้บริโภคหันไปซื้อสินค้าอื่นที่ราคาไม่สูงมากนักแต่สามารถใช้ทดแทนกันได้ ทำให้ปริมาณการซื้อสินค้าชนิดนั้นลดลง ในทานองตรงกันข้ามเมื่อราคาสินค้าลดลง ผู้ที่เคยใช้สินค้าอื่นที่สามารถทดแทนกันได้ จะหันมาซื้อสินค้าที่ราคาลดลง ทำให้ปริมาณการซื้อสูงขึ้น

ลักษณะของเส้นอุปสงค์
เส้นอุปสงค์ (Demand Curve) จะมีลักษณะเป็นเส้นตรงลาดลงจากซ้ายมาขวา ความชัน (slope) ของเส้นเป็นลบ เนื่องจากราคาและปริมาณความต้องการซื้อมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม

ปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์ ใน ตัว เลือก ใด กล่าว ไม่ ถูก ต้อง

ปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์ ใน ตัว เลือก ใด กล่าว ไม่ ถูก ต้อง

http://www.cvc-cha.ac.th/eco/p1.htm

ปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์ ใน ตัว เลือก ใด กล่าว ไม่ ถูก ต้อง