อธิบาย ความ หมาย ของการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบ ไฟล์

ถาม-ตอบ เกี่ยวกับ Open Data

1. Open Data คืออะไร

ข้อมูลเปิดที่ทุกคนสามารถนำไปใช้ได้โดยอิสระ เช่นการนำไปใช้ การนำกลับมาใช้ใหม่ หรือนำไปเผยแพร่ได้โดยใครก็ตาม ซึ่งข้อมูลทั้งหมดที่อยู่บนเว็บไซต์ data.go.th นี้ เป็นข้อมูลเปิดของภาครัฐ (Open Government Data)

2. หัวใจสำคัญของ Open Data คืออะไร

หัวใจของ Open Data นั้นแบ่งเป็น 3 ประการคือ
1. Availability and Access คือ ข้อมูลที่เปิดเผยต้องสามารถใช้งานได้ทั้งหมดและกรณีที่มีค่าใช้จ่ายจะต้องไม่มากไปกว่าการทำสำเนา สำหรับการเผยแพร่จะต้องอยู่ในรูปแบบที่ง่ายต่อการใช้งานและสามารถแก้ไขได้ สามารถดาวน์โหลดฟรีผ่านอินเตอร์เน็ต
2. Re-use and Redistribution คือ ข้อมูลที่เผยแพร่ต้องถูกจัดเตรียมภายใต้เงื่อนไข การอนุญาตให้นำมาใช้ใหม่และเผยแพร่ได้ รวมถึงการใช้ชุดข้อมูลร่วมกับชุดข้อมูลอื่น ๆ
3. Universal Participation คือ ทุกคนสามารถที่จะใช้ข้อมูลได้ ไม่ว่าจะเป็นการนำไปใช้ การใช้ซ้ำ การเผยแพร่ โดยไม่ติดเรื่องข้อจำกัดใดๆ แต่ทั้งนี้จะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของเจ้าข้อมูลนั้นๆ เช่น หากเป็นข้อมูลที่ไม่อนุญาตให้ใช้งานเชิงพาณิชย์ (non-commercial) จะไม่สามารถนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ หรือข้อมูลนั้นอาจมีข้อจำกัดในการใช้งานเพื่อวัตถุประสงค์บางอย่างเช่น ใช้ในการศึกษาเท่านั้น ก็จะไม่สามารถนำไปใช้ได้

**ซึ่งหัวใจสำคัญทั้ง 3 ประการนี้เป็นความสำคัญที่สนับสนุนให้เกิดการทำงานร่วมกัน (interoperability) อย่างเป็นรูปธรรม

3. ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ Open Data มีอะไรบ้าง

- Transparency เป็นการเปิดเผยข้อมูลของภาครัฐให้ประชาชนและภาคประชาสังคมเข้าถึงข้อมูลและสามารถตรวจสอบการดำเนินของภาครัฐตามนโยบายที่ประกาศให้ไว้กับประชาชน
- Releasing social and commercial value ในยุคดิจิตอลข้อมูลเป็นทรัพยากรที่สำคัญสำหรับสร้างนวัตกรรม การเปิดเผยข้อมูลของภาครัฐเป็นแหล่งข้อมูลหนึ่งที่ช่วยผลักดันการสร้างนวัตกรรมและบริการใหม่ๆเผยแพร่สู่สังคมและเชิงพาณิชย์
- Participation and engagement ประชาชนซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นต่อการดำเนินงานของภาครัฐ ที่มีผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ รวมทั้งนำความคิดเห็นดังกล่าวไปประกอบการพิจารณากำหนดนโยบายและการตัดสินใจของภาครัฐเป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์ กับประชาชนมากขึ้น

4. ประเภทของ License ข้อมูลที่อยู่บนเว็บไซต์ data.go.th คืออะไร

ในปัจจุบันข้อมูล ที่อยู่บนเว็บไซต์ data.go.th จัดอยู่ในประเภทของ Non-exclusive licence เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถใช้สิทธิในงานนั้นเอง และอนุญาตให้บุคคลอื่นใช้สิทธิในงานนั้นได้อีก

5. ใครสามารถนำ Open Data ไปใช้ได้บ้าง

ทุกคนในประเทศไทยสามารถนำข้อมูล Open Data ไปใช้งานได้ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ หรือภาคเอกชน ตลอดจนการนำข้อมูลเหล่านี้ไปทำการวิจัยค้นคว้าเชิงข้อมูลก็สามารถทำได้ไม่ติดข้อจำกัดใดๆ

6. จะใช้งาน Open Data ต้องทำอย่างไร

ผู้ใช้งานสามารถดาวน์โหลดไฟล์ชุดข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ตามที่ต้องการในแต่ละหัวข้อที่ปรากฏบนเว็บไซต์ได้ด้วยตนเอง

7. การนำ Open License มาใช้ (การเปิดกว้างในทางกฎหมาย) ต้องทำอย่างไร

ในขอบเขตอำนาจศาลส่วนใหญ่ จะมีเรื่องของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาในข้อมูลที่ป้องกันบุคคลที่สามจากการใช้งาน การนำกลับมาใช้ใหม่ และการแจกจ่ายข้อมูลโดยไม่ได้รับการอนุญาตที่ชัดเจน ดังนั้น การที่จะทำให้ข้อมูลของหน่วยงานสามารถให้ผู้อื่นนำไปใช้ได้ จะต้องใส่ license เข้าไปที่ข้อมูลเหล่านั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการใช้งานที่ผิดวัตถุประสงค์ของชุดข้อมูล
License ที่หน่วยงานสามารถใช้ได้นั้นสำหรับข้อมูลที่ “เปิดเผย” สามารถใช้ license ที่สอดคล้องกับ Open Definition และทำการระบุว่าเหมาะสมสำหรับข้อมูลรายการที่ว่านี้ (พร้อมกับวิธีการใช้งาน) สามารถหาได้ที่ //opendefinition.org/licenses/

8. ลักษณะของชุดข้อมูลที่เหมาะสมในการนำขึ้นเผยแพร่ มีอะไรบ้าง

ลักษณะของชุดข้อมูลที่เหมาะสมในการนำขึ้นเผยแพร่มีดังนี้

1. รูปแบบชุดข้อมูลควรอยู่ในรูปแบบเป็นตารางหรือรูปแบบที่มีโครงสร้าง เช่น CSV, XLS, XLSX, XML, JSON ทั้งนี้เพื่อให้ข้อมูลที่เผยแพร่ได้มีการนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ โดยท่านสามารถศึกษารายละเอียดในการจัดเตรียมข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบ Machine Readable ได้ที่หน้า “เอกสารเผยแพร่” //data.go.th/pages

2. เนื้อหาข้อมูลควรมีลักษณะเป็นตัวเลขสถิติ ตัวอย่างเช่น

- จำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ประจำวัน - //data.go.th/dataset/covid-19-daily

- ข้อมูลปริมาณขยะมูลฝอย - //data.go.th/dataset/garbage

- ปริมาณน้ำฝนรายเดือน - //data.go.th/dataset/monthly-rainfall

- ข้อมูลผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน จากระบบบูรณาการข้อมูลการตายจากอุบัติเหตุทางถนน (3 ฐาน) - //data.go.th/dataset/rtddi

ซึ่งสามารถสังเกตได้ว่าข้อมูลที่ยกตัวอย่างจะมีการเก็บข้อมูลในลักษณะตาราง หรือเป็นข้อมูลที่เป็น Transaction หรือเป็นรายการ ซึ่งเป็นชุดข้อมูลที่เหมาะสมสำหรับการนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้อย่างเสรี

3. การเปิดเผยข้อมูลที่มีลักษณะเป็น URL ควรเป็น URL ที่ลิงค์ตรงไปยังข้อมูล ไม่ควรเป็นเว็บไซต์ของหน่วยงานหรือ Facebook Page เนื่องด้วยไม่ได้เป็นข้อมูลในรูปแบบที่เหมาะสมในการเผยแพร่บนระบบ ตัวอย่างเช่น

- ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศรายไตรมาส - //data.go.th/dataset/seksan-thaisuwan

ทั้งนี้การเลือกชุดข้อมูลควรคำนึงถึงการนำไปใช้ประโยชน์เป็นสำคัญ และเนื้อหาข้อมูลต้องไม่มีข้อมูลส่วนบุคคลอันขัดต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA)

9. การทำให้ข้อมูลพร้อมใช้งาน (การเปิดกว้างในทางเทคนิค) ต้องทำอย่างไร

Open data จำเป็นที่จะต้องเปิดกว้างในทางเทคนิคเช่นเดียวกับในทางกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อมูลจะต้องมีความพร้อมในการใช้งานในรูปแบบที่เครื่องสามารถอ่านได้ โดยยังพิจารณาใน 3 ประเด็นหลักคือ
1. ความพร้อมใช้งาน - ข้อมูลควรจะมีราคาไม่มากกว่าค่าใช้จ่ายในการทำสำเนาข้อมูล ซึ่งควรจะเป็นการให้ดาวน์โหลดฟรีจากอินเตอร์เน็ต ทำให้หน่วยงานไม่มีภาระค่าใช้จ่ายใดๆในการจัดเตรียมข้อมูลไว้ให้ใช้งาน
2. กลุ่มข้อมูล - ข้อมูลควรอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ เช่น ข้อมูลทะเบียนที่ถูกเก็บรวบรวมภายใต้กฎข้อบังคับทั้งหมดนั้นควรจะมีพร้อมสำหรับดาวน์โหลดได้ ส่วน web API หรือ service ที่คล้ายๆ กันนั้นอาจมีประโยชน์มาก แต่ไม่ใช่ตัวแทนของการเข้าถึงกลุ่มข้อมูล
3. อยู่ในรูปแบบที่เปิดและเครื่องสามารถอ่านได้ - การนำข้อมูลที่ถือครองโดยภาครัฐมาใช้ไม่ควรจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับข้อจำกัดด้านสิทธิบัตร และที่สำคัญต้องแน่ใจได้ว่าสามารถจัดเตรียมข้อมูลในรูปแบบที่เครื่องสามารถอ่านได้สำหรับการนำไปใช้งานในวงกว้าง เช่นรายงานทางสถิติที่ตีพิมพ์เป็นเอกสาร PDF (Portable Document Format) ซึ่งมีความยากมากสำหรับคอมพิวเตอร์ในการนำข้อมูลในรูปของ PDF ไปใช้งานต่อ

10. ประเภทของชุดข้อมูลที่ปรากฏอยู่บน เว็บไซต์ data.go.th มีอะไรบ้าง

1. CSV: comma-separated values คือ Text File สำหรับเก็บข้อมูลแบบตาราง โดยใช้จุลภาค (,) แบ่งข้อมูลในแต่ละหลัก (Column) และใช้การเว้นบรรทัดแทนการแบ่งแถว (Row)
2. XLS: (ไฟล์เอกสาร Microsoft Excel) คือ ไฟล์ประเภทสเปรดชีต (spreadsheet) หรือตารางคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้ในการเก็บบันทึกข้อมูลในลักษณะต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเก็บข้อมูลประเภทคำนวณ โดยเก็บข้อมูลลงในตารางสี่เหลี่ยมที่เรียกว่า เซล (Cell) ที่สามารถนำเอาเซลมาอ้างอิงใส่ในสูตร เพื่อให้โปรแกรมคำนวณหาผลลัพธ์จากข้อมูลที่บันทึกไว้ได้
3. PDF: Portable Document Format (PDF) คือไฟล์ที่ถูกสร้างจากโปรแกรม Adobe Acrobat หรือโปรแกรมประเภท PDF Creator เหมาะสำหรับการทำเอกสารตัวอย่าง, ใบเสนอราคา, Manual, Sample Picture หรือเอกสารอื่นๆ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่นิยมอย่างมากในการทำ e-Document หรือ e-Paper ต่างๆ เนื่องจากไฟล์ที่ได้นั้นจะมีคุณภาพสูง ไม่ผิดเพี้ยนจากต้นฉบับ และผู้ที่นำไฟล์ PDF ไปใช้งานไม่สามารถแก้ไขต้นฉบับได้ เนื่องจากเอกสารลักษณะนี้ มีรูปแบบ , ขนาดไฟล์ไม่ใหญ่มาก และสามารถทำงานข้ามระบบ (Cross Platform) ได้ ทำให้เอกสาร)ประเภท PDF เป็นอิสระจากซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และระบบปฏิบัติการ (OS) สามารถสร้างได้ทั้งจากเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบ Macintosh และ PC Computer และยังรองรับการอ่านข้อมูลผ่านทาง web page
4. DOC: (ไฟล์เอกสาร Microsoft Word) คือ ไฟล์เอกสารประเภทข้อความ ที่อยู่ในรูปแบบไฟล์ไบนารีและประกอบด้วยพื้นของกรอบและบันทึกที่มุ่งเน้นข้อความ, การจัดรูปแบบหน้า กราฟแผนภูมิ ตารางภาพ และเอกสารอื่น ๆ ที่มีเนื้อหาที่ถูกสร้างขึ้นและแก้ไขเนื้อหาของเอกสารได้ ทั้งยังสามารถพิมพ์ในขนาดต่างๆและมีความสามารถในการแสดงบนอุปกรณ์ที่แตกต่างกัน ให้ระบบปฏิบัติการสามารถอ่านไฟล์ DOC รูปแบบไบนารีของไฟล์ Word
5. XML: Extensible Markup Language (XML) คือ ภาษาที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูล หากเปรียบเทียบกับภาษา HTML จะแตกต่างกันที่ HTML ถูกออกแบบมาเพื่อการแสดงผลอย่างเดียวเท่านั้น เช่นให้แสดงผลตัวเล็ก ตัวหนา ตัวเอียง แต่ภาษา XML นั้นถูกออกแบบมาเพื่อเก็บข้อมูล โดยทั้งข้อมูลและโครงสร้างของข้อมูลนั้นๆไว้ด้วยกัน ส่วนการแสดงผลก็จะใช้ภาษาเฉพาะซึ่งก็คือ XSL (Extensible Stylesheet Language)
6. RDF: Resource Description Framework (RDF) ตามที่ W3C ได้บอกไว้ คือการอธิบายถึงทรัพยากรของเว็บ เช่น ชื่อไตเติ้ล ผู้เขียน วันที่ปรับปรุง และข้อมูลลิขสิทธิ์ของเว็บเพจ ไฟล์ประเภท RDF ได้รับการออกแบบขึ้นมาเพื่อให้คอมพิวเตอร์ หรือ แอพพลิเคชันของคอมพิวเตอร์ อ่านและเข้าใจ แต่ไม่ได้รับการออกแบบให้แสดงผลผ่านเว็บแก่ผู้ใช้ ต้องใช้ภาษา XML ซึ่งเมื่อมีการนำ XML มาใช้โดย RDF จะเรียกว่า RDF/XML
7. KML: Keyhole Markup Language คือไวยากรณ์และรูปแบบไฟล์ XML สำหรับการทำโมเดลและการจัดเก็บคุณลักษณะทางภูมิศาสตร์ เช่น จุด เส้น ภาพ รูปหลายเหลี่ยม เช่นเดียวกับโมเดลที่แสดงใน Google Earth, Google Maps และแอปพลิเคชันอื่นๆ โดยสามารถใช้ KML เพื่อเผยแพร่สถานที่และข้อมูลกับผู้ใช้แอปพลิเคชันรายอื่นๆ ซึ่งไฟล์ KML ได้รับการประมวลผลโดย Google Earth ด้วยวิธีเดียวกับที่ไฟล์ HTML และ XML ได้รับการประมวลผลโดยเว็บเบราว์เซอร์ มีโครงสร้างพื้นฐานเป็นแท็ก ที่มีชื่อและแอตทริบิวต์ที่ใช้เฉพาะสำหรับการแสดงผล
8. SHP: Esri Shape file คือ ไฟล์ที่ประกอบด้วยข้อมูลเวคเตอร์แต่ละประเภท ซึ่งแต่ละเวคเตอร์ประกอบ จะประกอบเป็น Shape File ที่อ้างอิงพิกัด UTM สำหรับ Shape file นั้นหมายถึง ข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ประเภทหนึ่งที่เก็บข้อมูลอยู่ในรูปของเวคเตอร์ (Vector) ใน 3 ลักษณะ คือ จุด (Point) เส้น (Line) และรูปปิด (Polygon) มีการแยกเก็บออกเป็นแต่ละชั้นข้อมูล (Layer) โดยที่ Shape File หนึ่งจะประกอบด้วยไฟล์อย่างน้อย 3 ไฟล์ที่มีการอ้างถึงกันและกันและไม่สามารถขาดไฟล์ใดไฟล์หนึ่งไปได้
9. ODS: The Open Document Format for Office Applications (ODF), คือ ไฟล์งานตารางคำนวณ ในรูปแบบ XML based สำหรับ spreadsheets ซึ่งมีลักษณะการทำงานเหมือนกับไฟล์ EXCEL เป็นโปรแกรมโอเพ่นสอร์สออฟฟิศ
10. KMZ: (KML-Zipped) คือ ไฟล์ KML ที่ถูกบีบอัด (ZIP) ไว้ ซึ่งภายใน KMZ จะประกอบไปด้วย ไฟล์ KML และไฟล์รูปภาพ และอาจจะมีไฟล์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น COLLADA model file และ Texture file ซึ่งจุดเด่นของไฟล์ KMZ คือ เมื่อบีบอัดไฟล์ KML แล้วจะมีขนาดที่เล็กลงมาก ทำให้สามารถใส่รูปภาพได้มากขึ้น
11. JSON: JavaScript Object คือ ฟอร์แมตสำหรับแลกเปลี่ยนข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งฟอร์แมต JSON อยู่ในรูปข้อความธรรมดา (plain text) ที่ทั้งมนุษย์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์สามารถอ่านเข้าใจได้
12. TXT คือ ไฟล์เอกสารต่าง ๆ ที่มีแต่ตัวอักษร ใช้โปรแกรม notepad หรือโปรแกรม text editor อื่น ๆ ในการเปิดใช้งาน
13. HTML: Hypertext Markup Language (HTML) คือ ไฟล์ข้อความที่เก็บแท็ก markup (markup tag) ขนาดเล็ก สามารถใช้ในการรวมคุณลักษณะการจัดรูปแบบบางอย่างและข้อกำหนดรูปแบบในเนื้อหาของหน้าเว็บเพจได้ แต่ไฟล์ประเภท HTML ไม่สามารถใช้ทำเว็บอร์ด, register form หรืออะไรที่มันต้องเก็บข้อมูลได้ โดยไฟล์ HTML ใช้สำหรับการดู web site ผ่าน Browser ต่าง ๆ เช่น Netscape, IE, Opera และ Browser อื่นๆ รวมทั้งโปรแกรม Text Editor ทั่วไป
14. TIFF: Tagged-Image File Format คือ รูปแบบไฟล์ที่มีการจัดเก็บแบบ Bitmap เหมาะสำหรับการจัดเก็บภาพที่นิยมในอุตสาหกรรมการพิมพ์และช่างภาพ ซึ่งมีขนาดไฟล์ที่ใหญ่กว่า JPG แต่สามารถเก็บข้อมูลภาพ ที่มีความลึกสี (bit depth) ได้หลายแบบ อาทิ 8-bit หรือ 16-bit หรือแม้แต่ 24-bit ทำให้สามารถนำไฟล์ไปใช้งานกับ สิ่งพิมพ์ หรืองานที่ต้องการคุณภาพมากๆได้
15. JPEG: Joint Photographic Experts Group คือ ไฟล์ JPG เป็นไฟล์ภาพที่ถูกนำมาใช้สำหรับการจัดเก็บภาพถ่ายดิจิตอล เนื่องจากมีความละเอียดภาพสูงและไฟล์มีขนาดเล็ก สามารถเก็บภาพสีได้หลากหลายระดับความแม่นยำของสี (Bit Depth) ซึ่งความสามารถในการย่อขนาดไฟล์ของแฟ้ม JPEG นั้นเกิดจากการใช้เทคนิคการย่อขนาดภาพแบบการบีบอัดคงข้อมูลหลัก (Lossy Compression) หรือการบีบอัดแบบมีความสูญเสียทำให้ไม่นิยมใช้กับภาพที่เป็นลายเส้นหรือไอคอนต่าง ๆ

11. Open Government Data เหมือนหรือแตกต่างจาก พรบ.ข้อมูลข่าวสารฯ อย่างไร

  พรบ.ข้อมูลข่าวสารฯ 2540 Open Government Data
วัตถุประสงค์ เปิดเผยข้อมูลทั่วไป ตามมาตรา 7 และมาตรา 9 เป็นลักษณะการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนทราบ เปิดเผยข้อมูลที่ไม่เฉพาะเจาะจง แต่ข้อมูลนั้นจะต้องสามารถนำไปใช้สร้างประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้ เช่น ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน พัฒนารูปแบบธุรกิจ สินค้า และบริการใหม่ๆ ได้
ประโยชน์ - สร้างความโปร่งใสให้กับหน่วยงาน
- ประชาชนเข้าถึงข้อมูลของหน่วยงานได้
- สร้างความโปร่งใสและความเป็นประชาธิปไตย
- เพิ่มประสิทธิภาพของบริการภาครัฐ
- สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน
- พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการแบบใหม่ๆ ที่ดีขึ้น
- สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ
ตัวอย่างชุดข้อมูล เปิดเผยตามมาตรา 7 และ 9 - ตามกฎหมายกำหนด เช่น ข้อมูลจัดซื้อจัดจ้าง ข้อมูลการใช้จ่ายงบประมาณ เป็นต้น
- ตามภารกิจของหน่วยงาน เช่น ข้อมูลการเก็บสถิติต่างๆ ข้อมูลปริมาณน้ำฝน ข้อมูลการระบาดของโรค ข้อมูลการจดทะเบียนนิติบุคคล เป็นต้น
- เปิดเผยข้อมูลที่เป็นที่ต้องการของผู้ใช้งานในวงกว้าง เช่น ข้อมูลการจราจร (แบบ Real Time) ข้อมูลแผนที่ พิกัด ที่ตั้ง เป็นต้น
รูปแบบข้อมูล เปิดเผยในรูปแบบใดๆ ก็ได้ รูปแบบของ Excel (XLS) เป็นอย่างน้อย หรือในรูปแบบ Comma-Separated Value (CSV) หรือ Open Document Spreadsheet (ODS)

12. รูปแบบข้อมูล (Data format) ที่เป็นไปตามหลักการของ Open Data คืออะไร

Data.go.th ได้มีการกำหนดระดับการเปิดเผยข้อมูล เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถพิจารณาถึงการนำไปใช้ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น เรียงลำดับจาก 1 - 5 ดาว ซึ่งระดับ 5 ดาวนั้นอยู่ในระดับการเปิดเผยข้อมูลแบบสูงสุด ดังนี้

ระดับการเปิดเผย (Openness) รายละเอียด
★☆☆☆☆ (1 ดาว) เผยแพร่ข้อมูลในทุกรูปแบบบนเว็บไซต์ และอยู่ภายใต้เงื่อนไขและข้อกำหนดของสัญญาอนุญาต Open License
★★☆☆☆ (2 ดาว) เผยแพร่ข้อมูลในรูปแบบ Structured data ที่เครื่องสามารถอ่านได้ (Machine-readable) เช่น ข้อมูลอยู่ในรูปแบบไฟล์ Excel
★★★☆☆ (3 ดาว) เผยแพร่ข้อมูลในรูปแบบ Non-proprietary format เช่น ข้อมูลในรูปแบบ CSV แทนรูปแบบ Excel
★★★★☆ (4 ดาว) ใช้ URI (Uniform Resource Identifier) ในการระบุตัวตนของข้อมูล และชี้ไปยังตำแหน่งของข้อมูลนั้น
★★★★★ (5 ดาว) ข้อมูลมีการเชื่อมโยงไปสู่แหล่งข้อมูลอื่นๆ ในบริบทที่เกี่ยวข้องกันได้


การเผยแพร่ชุดข้อมูลบน Data.go.th ควรจะกำหนดรูปแบบข้อมูลที่จะเผยแพร่อย่างน้อยระดับ 3 ดาว ซึ่งหมายถึง ข้อมูลจะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขและข้อกำหนดของสัญญาอนุญาต Open License เครื่องสามารถอ่านได้ (Machine-readable) และไม่มีผู้ใดถือครองกรรมสิทธิ์ (Non-proprietary) นั่นคือรูปแบบของ Comma-Separated Value (CSV) หรือ Open Document Spreadsheet (ODS) เป็นอย่างน้อย
ประเภทข้อมูลที่มีการจัดระดับการเปิดเผย (ระดับ 5 ดาวนั้นอยู่ในระดับการเปิดเผยข้อมูลแบบสูงสุด) มีดังนี้

ประเภทข้อมูล ระดับการเปิดเผยข้อมูล
PDF, DOC, TXT, TIFF, JPEG ★☆☆☆☆ (1 ดาว)
XLS ★★☆☆☆ (2 ดาว)
CSV, ODS, XML, JSON, KML, SHP, KMZ ★★★☆☆ (3 ดาว)
RDF (URIs) ★★★★☆ (4 ดาว)
RDF (Linked Data) ★★★★★ (5 ดาว)

13. ขั้นตอนและกระบวนการเผยแพร่ข้อมูล ต้องทำอย่างไร

หน่วยงานเจ้าของข้อมูล
1. คัดเลือกชุดข้อมูล
หน่วยงานจะต้องพิจารณาคัดเลือกชุดข้อมูลสำหรับเผยแพร่ ต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ รวมถึงความเป็นส่วนตัว (Privacy) และการรักษาความมั่นคงปลอดภัย (Security)
2. จัดเตรียมข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่มาตรฐานกำหนด
ต้องมีการจัดเตรียมหรือแปลงชุดข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่มาตรฐานกำหนด รวมถึงการจัดทำคำอธิบายชุดข้อมูลนั้นๆ เพื่อให้ผู้ใช้ข้อมูลสามารถเข้าใจเกี่ยวกับบริบทของข้อมูล เช่น วัตถุประสงค์ ขอบเขต วันที่เผยแพร่ ความถี่ในการปรับปรุงและเผยแพร่ แหล่งที่มาของข้อมูล เป็นต้น
3. นำชุดข้อมูลขึ้นเผยแพร่
หน่วยงานจะต้องกำหนดผู้รับผิดชอบหลัก ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานทำหน้าที่นำชุดข้อมูลขึ้นเผยแพร่สู่สาธารณะ โดยทำการสมัครเป็นสมาชิกของศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลระบบของหน่วยงานของตนเองผ่านระบบ Open Data Platform โดยใช้ Mailgothai หรือ OpenID (กรณีไม่มี Mailgothai) และได้รับการอนุมัติเป็นผู้ดูแลข้อมูลของหน่วยงานจากผู้บริหารสูงสุดขององค์กร ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงผู้รับผิดชอบหลักหรือผู้ดูแลระบบของหน่วยงาน ให้แจ้งกลับมายังศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐเพื่อดำเนินการลบหรือระงับบัญชีในทันที

14. การนำชุดข้อมูลเผยแพร่บนระบบ data.go.th จำเป็นต้องดำเนินการจัดทำตามหลักการธรรมาภิบาลภาครัฐ (Data governance) ให้เสร็จก่อนหรือไม่

ไม่จำเป็น สามารถพิจารณาการจัดเตรียมเนื้อหาข้อมูลในการจัดทำของชุดข้อมูลสำหรับเผยแพร่ ที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ เช่น พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ(Classification) รวมถึงความเป็นส่วนตัว (Privacy) และการรักษาความมั่นคงปลอดภัย (Security)

15. การทำ Classification ต้องทำให้เสร็จก่อนหรือไม่

ไม่จำเป็น หน่วยงานจะต้องดำเนินงานจัดทำหมวดหมู่ตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ เพื่อจำแนกข้อมูล ขอเพียงระบุชุดข้อมูลออกมาได้ สามารถนำมาเปิดเผยได้

16. หลักการธรรมาภิบาลภาครัฐมีส่วนส่งเสริมการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐอย่างไร

การนำหลักการธรรมาภิบาลภาครัฐมาใช้ในจัดการหรือกำกับดูแลข้อมูลของหน่วยงานอย่างถูกต้องเหมาะสมช่วยให้หน่วยงานสามารถบริหารจัดการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้รับข้อมูลที่มีคุณภาพ รวมทั้งสอดคล้องกับระเบียบ กฎหมายส่งผลที่ดีต้องการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐ

17. Data privacy ควรทำก่อนเปิดเผย บนระบบ data.go.th หรือไม่

ควรทำเพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวหรือข้อมูลที่มีความอ่อนไหว โดยใช้กลไกการปกป้องข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการเข้ารหัส/ถอดรหัสข้อมูล (Data Encryption/Decryption) การสลับข้อมูล (Data Shuffling) หรือการปกปิดหรือปิดบังข้อมูล (Data Masking, Pseudonymize or Anonymize) สามารถทำความเข้าใจได้ผ่านลิงค์ด้านล่าง //www.youtube.com/watch?v=68sdzIuIfAU

18. จะพัฒนา Data Catalog Service ของหน่วยงานควรเริ่มอย่างไร

Data Catalog Service เป็นบริการออนไลน์ สำหรับใช้วืบค้นหาข้อมูลของหน่วยงาน  โดยต้องมีการเตรียมคำอธิบายข้อมูล และ เนื้อข้อมูลเป็นไฟล์สำหรับนำมาวางไว้บน Server ซึ่งติดตั้งซอฟต์แวร์ CKAN ไว้ทำงาน  ซึ่งจะได้หน้าเว็บคล้าย Google หรือ สมุดหน้าเหลืองสำหรับให้มาพิมพ์ค้นหาข้อมูลที่ต้องการ

หน่วยงานที่ต้องการพัฒนา Data Catalog Service ของตนเองสามารถดาวน์โหลด TOR Template ของ สพร. ไปใช้ตั้งต้นได้ตามลิงค์ที่จัดเตรียมไว้ด้านล่าง (ไม่สงวนลิขสิทธิ์) ดัดแปลง แก้ไข ทำซ้ำได้
ใน TOR จะระบุงวดงาน ประมาณการและแจกแจงงบประมาณที่ต้องใช้ พร้อมคุณลักษณะต่าง ๆ ของระบบที่จะพัฒนาขึ้นมา  อย่างไรก็ตาม หน่วยงานสามารถนำไปปรับแต่งได้ตามความเหมาะสม

มี 2 รูปแบบให้เลือก
1. แบบที่ต้องการใช้ CKAN เวอร์ชั่นที่ปรับปรุงเพิ่มเติมโดย สพร. (with DGA extension)
2. แบบที่หน่วยงานต้องการพัฒนาจาก CKAN เวอร์ชั่นต้นฉบับ ด้วยตนเอง (without DGA extension)

1. ขอบเขตการจ้างพัฒนาระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ (Government Data Catalog Portal) โดยใช้ส่วนเสริม (extension) ของระบบ CKAN จาก สพร. เป็นฐานการพัฒนา
//data.go.th/uploads/page_images/2021-06-21-113649.785695TORCKAN-for-Data-Catalog-with-DGA-Extension.docx

2. ขอบเขตการจ้างพัฒนาระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ (Government Data Catalog Portal) โดยใช้ซอฟต์แวร์แบบเปิดเผยรหัส (Open Source) CKAN เป็นฐานการพัฒนา
//data.go.th/uploads/page_images/2021-06-21-114518.708809TORCKAN-for-Data-Catalog-without-DGA-Extension.docx

ตัวซอฟต์แวร์ Data Catalog Service CKAN เวอร์ชั่นที่ปรับปรุงเพิ่มเติมโดย สพร. เผยแพร่เป็น Open Source ตามลิงค์ด้านล่าง
//gitlab.nectec.or.th/opend/installing-ckan/-/blob/master/from-source.md?fbclid=IwAR10Fw3PRXAvsW6YEMcN08r8bdDySv2BjNaRpaALq5tpnAinTb3PMkxXI3Q

คลิบสอนการติดตั้งซอฟต์แวร์ดังกล่าว ดูได้ที่
//www.youtube.com/watch?v=mkfSTWVzUjY

19. จะนำข้อมูลขึ้นเปิดเผยบน data.go.th ต้องทำอย่างไร

ท่านสามารถเข้าไปสมัครเป็น admin ของหน่วยงานได้ที่หน้าเว็บไซต์ data.go.th หรือคลิกที่ลิงค์ //data.go.th/opend โดยสามารถศึกษารายละเอียดคู่มือการใช้งานได้ที่ลิงค์ //data.go.th/pages/data-go-th-manual-doc ซึ่งขั้นตอนการลงทะเบียนเพื่อขอใช้บริการจะอยู่ในหน้าที่ 40 และขั้นตอนการสร้างข้อมูลจะอยู่ในหน้าที่ 36 โดยคำแนะนำการนำข้อมูลขึ้นระบบศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ (Open Government Data) ตามรายละเอียดในข้อ 8

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด