ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการ เข้า ร่วม โครงการ

          เป็นโครงการที่ต้องสามารถติดตามและจะประเมินผลได้ว่าผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการนั้น มีความเหมือนหรือแตกต่างกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้มากน้อยเพียงใด ดังนั้น ในแต่ละโครงการควรกำหนดผลลัพธ์ที่สามารถวัดผลได้จริง ซึ่งจะเป็นสิ่งบ่งบอกผลสัมฤทธิ์ของโครงการ

แนวคิดการสื่อสาร : การเลือกรับสื่อ social media อย่างมีวิจารณญาณของวัยรุ่นในการเสพสื่อจากสื่อออนไลน์ในปัจจุบัน

รูปแบบการผลิตสื่อ : Twitter (https://twitter.com/influfailure)


(บทสัมภาษณ์)

อาณกร ตันสุริยวงศ์

นักศึกษาสาขานิเทศศาสตร์ เอกลูกค้าสัมพันธ์

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร

แนวทางการสร้างสรรค์สื่อ

กลุ่มเราทำในหัวข้อของสื่อสร้างสรรค์ โดยมีชื่อผลงานว่าINFLUFAILUREเกิดจากที่ปัจจุบันมีการเกิดขึ้นของInfluencerเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็น Blogger Youtuber เป็นผู้นำทางความคิดที่เกิดขึ้นใหม่ที่ชักจูงแฟนคลับให้เชื่อในสิ่งที่เขาพูดได้ ในขณะที่มีทั้งดีและแย่ ในปัจจุบันแค่มีกล้องกับคอมพิวเตอร์ก็สามารถเป็นได้แล้ว การเกิดขึ้นก็จะมีทั้งมีคุณภาพและไม่มีคุณภาพ

โดยวิธีการทำงานของเราทำเพื่อที่จะทำการทดลองเชิงสังคม โดยสร้าง Twitter (https://twitter.com/influfailure)ขึ้นมา 2 Account ที่เลือก Twitter เพราะว่าวัยรุ่นให้ความสนใจมาก เป็นช่องทางที่วัยรุ่นใช้อย่างแพร่หลายและส่งต่ออย่างรวดเร็ว ใน Account แรกวางคาแรกเตอร์ให้ตรงกับสิ่งที่หวังที่วัยรุ่นชื่นชอบ แสดงความคิดเห็นต่อข่าวที่มีกระแสสังคมเข้ามา ด้วยคำพูดที่ตรงๆ เน้นอารมณ์ เน้นถ้อยคำที่จิกกัด รวดเร็ว เสียดสี ใส่ความคิดเห็นของตัวเอง ส่วนอีก Account จะเป็นฝั่งที่แสดงความคิดเห็นด้วยเหตุผลและใช้ข้อเท็จจริงในการแสดงความคิดเห็นซึ่งผลที่ออกมาคือยอดคนเห็นและทวีตทั้งหมด ในเวลา 3 เดือน ทวิตเตอร์ที่ใช้เหตุผลในการพูดมีคนเห็น 20,000 กว่าคน ส่วนทวิตเตอร์ที่ใช้ข้อความเสียดสีมีคนเห็นถึง 200,000 กว่าคน ซึ่งเป็น 10 เท่าของอีกฝั่งหนึ่ง ซึ่งเป็นปัญหาที่ผู้รับสารขาดการใช้วิจารณญาณในการรับสาร ยอดตัวเลขที่ได้มาจากการทดลองเป็นยอดจริง และมีอีกผลงานที่เราทำออกมา เป็นผลงานที่มีข้อความสีแดงและสีฟ้าที่วางทับซ้อนกัน โดยเรามีประเด็นสังคมที่เป็น ตัวอย่างให้เขาอ่าน แล้วตัดสินใจเลือกว่าทวิตเตอร์เอหรือทวิตเตอร์บี ที่เหมาะจะเป็นInfluencer ของเขา และจะมีแผ่นพลาสติกสีน้ำเงินและสีแดงวางอยู่ให้เลือกตามนั้น เขาก็จะเห็นผลของการเลือกที่จะเชื่อInfluencer เหล่านั้น นี่ก็คือ ผลงานที่จะตั้งที่นี่

ส่วนที่ทำเพิ่มเติมในทวิตเตอร์ที่เราเคยใช้ทดลอง เราก็ลองทวีตเพิ่มเติมเนื้อหาและเปลี่ยนชื่อ Account ให้เป็นคำว่า Influencer และเพิ่มข้อมูลลงไปใน ออนไลน์ คอนเทนท์จะเป็นเรื่อง เช่น การเถียงกันหรือกระแสดาราต่างๆ เป็นกระแสที่มาแรงในตอนนั้น และแฮชแท็กให้คนอื่นเข้ามาเห็น ทำในเวลาที่รวดเร็ว เพื่อให้คนได้เข้าถึงรวดเร็ว คอนเทนท์ที่เด่นๆ ก็เช่นเรื่องของโป๊บ ที่มีข่าวกับผู้หญิง มียอดรีทวีตเยอะที่สุด สิ่งที่ทำให้เราตกใจและทำให้เรามีความสุข เพราะเราทำไปสักพักกระแสเริ่มซาลงแล้ว เรากลับมาเก็บตัวเลข ทวีตที่เราเคยโต้ตอบกับคน แล้วเขากลับไปลบออก เหมือนกับมันเกิด effect กับสังคมจริงๆ ว่าเขาเกิดฉุกคิดได้ว่าเขาควรลบข้อความนั้นออก

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเข้าร่วมโครงการ

สิ่งที่ได้เรียนรู้ก็คือการพัฒนาตัวเอง พอเราได้มาทำในหัวข้อนี้ เราก็ต้องคิดวิเคราะห์มากขึ้น เพราะงานดีต้องจับประเด็นสังคมและตอบกลับอย่างรวดเร็ว ทำให้เราได้ฝึกคิด วิเคราะห์ และมีตรรกะที่ดีขึ้น ได้พัฒนาภูมิคุ้มกันของตัวเองด้วย

ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการ

ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการนี้ในเรื่องของการเรียนคือเราเรียนในสายของนิเทศศาสตร์ ทำให้เราจะคลุกคลีกับสื่อมากขึ้น และเข้าใจในหน้าที่ของสื่อในช่องทางต่างๆ มากขึ้น ว่าสามารถทำหน้าที่ได้อย่างไร ถ้าเราเข้าใจทุกแพลตฟอร์มจะทำให้เราเข้าใจธรรมชาติของทุกแพลตฟอร์มได้มากขึ้น ประโยชน์ที่ได้จากโครงการ UNC ที่จะติดตัวเราไปก็คือเรื่องของทักษะการทำงาน เพราะเป็นกระบวนการงานกลุ่ม ทักษะการสื่อสาร รู้จักหน้าที่ การควบคุมงาน สามารถนำไปใช้ในตอนทำงานในอนาคตได้ต่อไป

สิ่งที่ทำแล้วรู้สึกว่าเกินความคาดหมาย คือการตอบรับของคนทั่วไปกับงานของเรา เราเริ่มจากศูนย์ และกลายเป็นว่าพอทำงานแล้วมีคนมาติดตามเราเยอะ แล้วเขาสามารถตระหนักได้ ก็เลยรู้สึกว่าเกินความคาดหมาย

อยากจะฝากว่าตอนนี้เรามีกล้องและคอมพิวเตอร์ใครก็สามารถสร้างคอนเทนท์ได้ อยากให้จะคิดถึงสิ่งที่เรากำลังจะส่งสื่อออกไป ถ้าเราจะสร้างคอนเทนท์แย่ออกไปก็จะทำให้สังคมแย่ลง อยากให้ทุกคนมีจรรยาบรรณและใช้วิจารณญาณในการทำสื่อ เพราะเดี๋ยวนี้ผู้คนที่เสพสื่อเขาไว้ใจเราทุกอย่าง ตัวช่วยในการตัดสินใจเขาน้อยลง เราควรเป็นตัวกรองที่ดีให้ผู้รับสาร

ผลงานสร้างสรรค์สื่อสะท้อนปัญหาสังคม ภายใต้โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมไทยที่น่าอยู่ ปี 5 (ปี 2561) ดำเนินงานโดยเครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคม (University Network For Change : UNC) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ สภาคณบดีทางศิลปะแห่งประเทศไทย องค์กรภาคี ภาคประชาสังคม มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

6. ขาดการประสานงานและร่วมมือจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โครงการบางโครงการจำเป็นที่จะต้องมีการประสานงานกับองค์กรหรือหน่วยงานอื่นๆ เพื่อให้โครงการที่ทำอยู่บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โครงการที่จะสำเร็จได้จะต้องได้รับความร่วมมือจากองค์กรหรือหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิบัติตามโครงการด้วย หากขาดการประสานงานและร่วมมือจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องแล้วก็จะทำให้เกิดปัญหาในการทำโครงการ โครงการดังกล่าวก็บรรลุวัตถุประสงค์ได้ยากหรืออาจจะไม่บรรลุวัตถุประสงค์ก็ได้