ออกกำลัง กาย 1 เดือน น้ำหนักไม่ลด

หนึ่งในคำถามเกี่ยวกับการลดน้ำหนักที่หลายคนสงสัยกันมาก คือ ทำไมตั้งใจลดน้ำหนักแล้วน้ำหนักไม่ลด แถมบางทียังเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ นั่นเป็นเพราะวิธีการลดน้ำหนักที่กำลังทำอยู่นั้นอาจไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง ดังนั้นถ้าอยากให้สุขภาพแข็งแรง น้ำหนักบนตราชั่งเป็นตัวเลขที่น่าพอใจ และไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด การเข้าใจต้นเหตุของน้ำหนักที่เพิ่มและรู้จักวิธีลดน้ำหนักที่ถูกต้องคือสิ่งสำคัญที่จะช่วยรักษาน้ำหนักที่ดีให้คงที่ในระยะยาว


 

ทำไมคุมอาหารแต่น้ำหนักไม่ลง

กลุ่มที่ควบคุมอาหาร แต่น้ำหนักไม่ลดลงนั้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  1. คุมอาหารผิดวิธี แต่คิดว่าถูกวิธี หลายคนเข้าใจว่าการควบคุมอาหารที่ถูกต้องคือการลดปริมาณอาหารที่รับประทานให้น้อยลง ทั้งที่ความจริงแล้วปริมาณไม่ได้สำคัญเท่ากับพลังงานจากอาหารที่ร่างกายได้รับเข้าไป จะเห็นได้ว่าบางคนลดข้าว บางคนทานน้อยมาก บางคนทานเฉพาะโปรตีน แต่น้ำหนักไม่ลดลง นั่นเป็นเพราะอาหารที่ทานเข้าไปให้พลังงานสูง อย่างของทอด ของมัน ของหวานที่มีน้ำตาลสูง เป็นต้น
  2. ระบบเผาผลาญพลังงานต่ำ มักพบในผู้ที่มีกล้ามเนื้อน้อย ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย ทำให้กล้ามเนื้อลดลงในขณะที่ไขมันเพิ่มขึ้น ผู้หญิงบางคนมีอัตราการเผาผลาญอยู่ที่ 1,200 กิโลแคลอรี่เท่านั้น หรือผู้ชายบางคนมีอัตราการเผาผลาญอยู่ที่ 1,500 แคลอรี่เท่านั้น ซึ่งถือว่าค่อนข้างต่ำ ในกลุ่มที่ระบบเผาผลาญพลังงานต่ำ การควบคุมอาหาร แต่ไม่มีการใช้พลังงานในร่างกายเพิ่มขึ้น ส่งผลให้น้ำหนักไม่ลด หรือลดได้เพียงช่วงเวลาสั้น ๆ แล้วกลับมาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากน้ำหนักที่ลดคือกล้ามเนื้อในร่างกายที่สลายมาเป็นพลังงาน

 

หลักการลดน้ำหนักที่ถูกต้อง

หัวใจสำคัญของการลดน้ำหนักที่ถูกต้องคือ การทานอาหารให้พอดีกับที่ร่างกายต้องการและออกกำลังกายเพื่อกำจัดส่วนเกินในร่างกายออกไป โดยแบ่งผู้ที่ลดน้ำหนักออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

  1. ผู้ที่มีระบบเผาผลาญพลังงานปกติ หากควบคุมอาหารได้ถูกวิธี ออกกำลังกายตามความเหมาะสม น้ำหนักจะลดลงตามที่ตั้งใจ
  2. ผู้ที่ระบบเผาผลาญพลังงานต่ำ นอกจากต้องควบคุมอาหารให้ถูกต้อง ไม่ให้ร่างกายขาดสารอาหาร ต้องเน้นการออกกำลังกายเพื่อสร้างกล้ามเนื้อ โดยเน้นการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ (Cardio) ขยับร่างกายให้อัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้น เช่น แอโรบิก ว่ายน้ำ วิ่ง ปั่นจักรยาน เป็นต้น

สำหรับการเลือกรูปแบบการออกกำลังกายนั้น ปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณาควบคู่ไปด้วยคือ โรคประจำตัว หากผู้ที่มีปัญหาข้อเข่า ต้องเลือกชนิดการออกกำลังกายที่ไม่เกิดแรงกระแทกมากนัก เช่น ว่ายน้ำ เป็นต้น หรือในผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก หัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นต้น ควรปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการด้านหัวใจเพื่อรับคำแนะนำด้านการออกกำลังกายที่เหมาะสม

ออกกำลัง กาย 1 เดือน น้ำหนักไม่ลด

ออกกำลัง กาย 1 เดือน น้ำหนักไม่ลด

11 ก.ย. 2021 · โดย Porkanpich

เป็นปัญหาหนักใจของใครหลาย ๆ คน ที่เริ่มหันมาออกกำลังกายควบคุมอาหาร เพราะอยากจะลดน้ำหนัก แต่ผลที่ได้กลับไม่เป็นอย่างที่คิด! เมื่อลดน้ำหนักไม่ลงเลย รู้หรือไม่ว่าเราอาจจะตกอยู่ใน สภาวะน้ำหนักนิ่ง อาการที่คนส่วนใหญ่มักจะเป็นกัน เพราะฉะนั้นเรามารู้วิธีแก้ปัญหาอาการนี้กันเถอะ

สภาวะน้ำหนักนิ่ง (Hit the plateau) ปัญหาใหญ่! ของคนที่อยากลดน้ำหนัก

ออกกำลัง กาย 1 เดือน น้ำหนักไม่ลด


เป็นอาการลดน้ำหนักเท่าไรก็ไม่ลงสักที! แม้จะกินเท่าเดิม ออกกำลังกายเท่าเดิม ควบคุมแคลอรีเหมือนเดิม เราเรียกสภาวะนี้ว่า Hit the Plateau หรือคนในวงการเรียกกันติดปากว่า สภาวะ “ หิดปลาทู ” ใครที่เจอแบบนี้คงหมดกำลังใจที่อยากจะลดน้ำหนัก จนอาจเกิดอาการท้อเอาได้ง่าย ๆ เลย 

สาเหตุของ สภาวะน้ำหนักนิ่ง เกิดจาก?

ออกกำลัง กาย 1 เดือน น้ำหนักไม่ลด


เกิดจากการที่ร่างกายคุ้นชินกับกิจกรรมการลดน้ำหนักแบบเดิม เช่น ควบคุมอาหารเหมือนเดิม จำกัดแคลอรีเหมือนเดิม และออกกำลังกายเหมือนเดิม เมื่อร่างกายคุ้นชินกับกิจกรรมเหล่านี้ ก็จะเริ่มเข้าสู่การสงวนพลังงาน เป็นการที่ร่างกายหยุดเผาผลาญพลังงานหรือเผาผลาญให้น้อยที่สุด ทำให้น้ำหนักของเราไม่ลดลง นั่นคือสาเหตุของอาการ น้ำหนักนิ่ง นั่นเอง

รู้จักวิธีการแก้ไข สภาวะน้ำหนักนิ่ง (Hit the plateau)

ออกกำลัง กาย 1 เดือน น้ำหนักไม่ลด

วิธีการแก้ไขร่างกายที่เข้าสู่ภาวะน้ำหนักนิ่ง ให้สามารถเผาผลาญพลังงานเพื่อที่จะได้ลดน้ำหนักได้อย่างต่อเนื่อง คือการค่อย ๆ เพิ่มการเผาผลาญให้กลับมาทำงานได้ดีเหมือนเดิม โดยวิธีการเพิ่มระบบเผาผลาญให้กลับมาทำงานได้เหมือนเดิม สามารถทำได้ด้วยวิธีง่าย ๆ ตามนี้

กินเพิ่มเพื่อการเผาผลาญที่ดีขึ้น

ปรับการกินอาหารให้มากขึ้นสัปดาห์ละ 5-10% เน้นอาหารที่มีประโยชน์ ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูงและไขมันสูงหลังจากการปรับแผนการกินเพิ่ม อาจจะมีภาวะน้ำหนักดีดตัวขึ้นบ้างเป็นระยะ แต่เมื่อทำได้แล้วร่างกายจะเริ่มเข้าสู่ภาวะลดน้ำหนักได้ตามเดิม

ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ

เมื่อเพิ่มปริมาณการกิน ก็ควรพยายามคงการออกกำลังกายให้ได้เหมือนเดิม ทำตามแผนที่เคยทำ เพื่อเป็นการควบคุมตัวแปรไม่ให้ส่งผลถึงการปรับเพิ่มปริมาณอาหาร และเป็นการช่วยให้ระบบการออกกำลังกายและอาหารค่อย ๆ ปรับสมดุลการเผาผลาญให้สอดคล้องกับการกิน

ไม่คิดเรื่องอ้วน ไม่ท้อต่อการลดน้ำหนัก

ไม่ยึดติดกับเรื่องน้ำหนักตัว พยายามผ่อนคลายไม่เครียด ในช่วงของการกู้ระบบการเผาผลาญนั้น น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นและหยุดนิ่งเป็นระยะ อาจมีคนทักว่าอ้วนขึ้น ซึ่งคำพูดเหล่านี้จะเป็นตัวทำให้เกิดความกังวล ทำให้หลายคนล้มเลิกได้ง่าย ขอให้เราอย่าท้อ เพื่อทำให้เป้าหมายสำเร็จได้ด้วยดี