ตัวอย่างรายการค้า 30 รายการ


วิดีโอ YouTube

  1. รายการค้าและการวิเคราะห์รายการค้า

   3.1  เอกสารประกอบการบันทึกบัญชี

              ส่วนประกอบที่สำคัญของรายการค้าก็คือ  เอกสารประกอบการบันทึกบัญชี ( Document )  ซึ่งใช้เป็นหลักฐานที่เชื่อถือได้สำหรับผู้ทำบัญชี  เอกสารประกอบการบันทึกบัญชีแบ่งออกเป็น 2  ลักษณะคือ

3.1.1 เอกสารภายใน  (Internal  Document ) หมายถึงเอกสารหลักฐานที่หน่วยงานภายในกิจการเป็นผู้ออกเอกสาร ได้แก่  ใบเสร็จรับเงิน  ใบสำคัญรับเงิน  ใบสำคัญจ่ายเงิน  ใบเบิกวัสดุ  ใบสำคัญยืมเงิน   ใบสั่งซื้อ เป็นต้น

3.1.2 เอกสารภายนอก  (External  Document ) หมายถึงเอกสารหลักฐานที่หน่วยงานภายนอกกิจการเป็นผู้ออกเอกสาร ได้แก่  ใบเสร็จรับเงิน  ใบกำกับภาษี  ใบรับสินค้า  ใบกำกับสินค้า   ใบส่งของ  เป็นต้น

3.2  รายการค้า

                  รายการค้า ( Business  Transaciion )       หมายถึงการดำเนินงานในทางการค้า  ที่ก่อให้เกิดการโอนเงินหรือสิ่งของ  ที่มีมูลค่าเป็นตัวเงินระหว่างร้านค้ากับบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง  หน่วยงานธุรกิจส่วนใหญ่มักมีรายการค้าดังต่อไปนี้

รายการที่มิใช่รายการค้า หมายถึงการดำเนินงานในทางการค้า  ที่ไม่ก่อให้เกิดการโอนเงินหรือสิ่งของ  ที่มีมูลค่าเป็นตัวเงินระหว่างร้านค้ากับบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง

ตัวอย่างรายการค้าและรายการที่มิใช่รายการค้า

รายการค้า รายการที่มิใช่รายการค้า
1.  จ่ายค่ารับรองลูกค้า2.  จ่ายค่าแรงงาน3.  กู้เงินจากธนาคาร

4.  รับชำระหนี้จากลูกหนี้

5.  ซื้อเครื่องใช้สำนักงาน

6.  จ่ายค่าสาธารณูปโภค

7.  ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเงินเชื่อ

8.  เจ้าของกิจการถอนเงินไปใช้ส่วนตัว

9.  นำเงินสดมาลงทุน

1.  จัดตกแต่งร้านให้สวยงาม2.  โทรศัพท์ทวงเงินจากลูกค้า3.  ทำความสะอาดสำนักงาน

4.  ส่งแคตตาล็อคไปให้ลูกค้า

5.  ส่งจดหมายไปผลัดผ่อนหนี้

6.  ส่งโทรสารไปให้ลูกค้า

7.  รับสมัครพนักงาน

8.  อบรมพนักงานขาย  ต้อนรับลูกค้า

9.  พบปะสังสรรค์กับลูกค้า

        3.3  การวิเคราะห์รายการค้า  (Business Transaction Analysis)  คือ  การพิจารณารายการค้าที่เกิดขึ้นเพื่อให้ทราบว่า รายการค้านั้นมีผลทำให้  สินทรัพย์  หนี้สิน  หรือส่วนของเจ้าของ  (ทุน)  เพิ่มขึ้นหรือลดลง  เป็นจำนวนเท่าใด  โดยยึดสมการบัญชีเป็นหลัก

3.4 หลักการวิเคราะห์รายการค้า การวิเคราะห์รายการค้าที่มีผลต่อสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของนั้นจะต้องใช้หลักการวิเคราะห์รายการค้าดังนี้

หลักการวิเคราะห์รายการค้า ตัวอย่าง
1.  สินทรัพย์เพิ่ม  หนี้สินเพิ่ม 1.  ซื้อเครื่องจักรเป็นเงินเชื่อ
2.  สินทรัพย์ลด  หนี้สินลด 2.  จ่ายเงินชำระหนี้ให้เจ้าหนี้
3.  สินทรัพย์เพิ่ม  สินทรัพย์ลด 3.  ซื้อเครื่องใช้สำนักงานเป็นเงินสด
4.  สินทรัพย์เพิ่ม  ส่วนของเจ้าของ(ทุน)เพิ่ม 4.  นำเงินสดหรือเงินฝากธนาคารมาลงทุน
5.  สินทรัพย์ลด  ส่วนของเจ้าของ(ทุน)ลด 5.  ถอนเงินสดไปใช้ส่วนตัว

             3.5 หลักบัญชีคู่  (Double Entry Accounting)   หมายถึง  การบันทึกบัญชีสองด้านคือด้านเดบิตและด้านเครดิตด้วยจำนวนเงินที่เท่ากันมี  2  กรณีคือ

3.5.1  รายการค้าใดที่บันทึกบัญชีด้านเดบิต  1  บัญชี  และบันทึกบัญชีด้านเครดิต  1  บัญชี  ด้วยจำนวนเงินด้านเดบิต  เท่ากับ  จำนวนเงินด้านเครดิต  เรียกว่า  Single  Jornal  Entry

3.5.2  รายการค้าใดที่บันทึกบัญชีด้านเดบิต  และบันทึกบัญชีด้านเครดิต มากกว่า  1  บัญชี   ด้วยจำนวนเงินรวมด้านเดบิต  เท่ากับ  จำนวนเงินรวมด้านเครดิต  เรียกว่า  Compound  Jornal  Entry

เดบิต  ( Debit )หมายถึง  เป็นหนี้  หรือ  การบันทึกบัญชีด้านซ้ายของบัญชีแยกประเภททั่วไป เขียนตัวย่อว่า  Dr.

เครดิต  ( Credit )   หมายถึง  เชื่อถือ  หรือการบันทึกบัญชีด้านขวาของบัญชีแยกประเภททั่วไป

เขียนตัวย่อว่า  Cr.

3.6  การแบ่งประเภทของบัญชี   บัญชีมีทั้งหมด  3  ประเภท  คือ

  1.   สินทรัพย์                    2.  หนี้สิน                  3.  ส่วนของเจ้าของ  (ทุน)

        3.7  ผังบัญชี  (Chart of Accounts)  หมายถึง  โครงสร้างที่แสดงชื่อและเลขที่บัญชีที่ใช้ในระบบบัญชี  5  หมวดคือ

หมวดที่ 1  สินทรัพย์  ขึ้นต้นด้วยหมายเลข  1

หมวดที่  2  หนี้สิน  ขึ้นต้นด้วยหมายเลข  2

หมวดที่  3  ส่วนของเจ้าของ  (ทุน)  ขึ้นต้นด้วยหมายเลข  3

หมวดที่  4  รายได้  ขึ้นต้นด้วยหมายเลข  4

หมวดที่  5  ค่าใช้จ่าย  ขึ้นต้นด้วยหมายเลข  5

ตัวอย่าง  ผังบัญชีของร้านค้าแห่งหนึ่ง

หมวดบัญชี ชื่อบัญชี เลขที่บัญชีกิจการขนาดเล็ก เลขที่บัญชีกิจการขนาดใหญ่
1.  สินทรัพย์ เงินสดเงินฝากธนาคารลูกหนี้การค้า

วัสดุสำนักงาน

วัสดุสื้นเปลือง

เครื่องใช้สำนักงาน

อุปกรณ์สำนักงาน

111213

14

15

16

17

101102103

104

105

106

107

2.  หนี้สิน เจ้าหนี้  –  นาย  กเจ้าหนี้  –  การค้าเจ้าหนี้  –  เงินกู้

ค่าแรงงานค้างจ่าย

รายได้ค่าบริการรับล่วงหน้า

212223

24

25

201202203

204

205

3.  ส่วนของเจ้าของ(ทุน) ทุน  –  นาย  กถอนใช้ส่วนตัวสรุปผลกำไรขาดทุน 313233 301302303
4.  รายได้ รายได้ค่าบริการรายได้ค่านายหน้ารายได้อื่น  ๆ 414243 401402403
5.  ค่าใช้จ่าย ค่าเช่าค่าแรงงานค่าน้ำ  ค่าไฟฟ้า

ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด

ค่าสาธารณูปโภค

515253

54

55

501502503

504

505

  • ขั้นตอนการวิเคราะห์รายการค้า มี  3  ขั้นตอน  คือ 
  1. วิเคราะห์รายการค้าตามหลักการวิเคราะห์รายการค้า
หลักการวิเคราะห์รายการค้า ตัวอย่าง
1.  สินทรัพย์เพิ่ม  หนี้สินเพิ่ม 1.  ซื้อเครื่องจักรเป็นเงินเชื่อ
2.  สินทรัพย์ลด  หนี้สินลด 2.  จ่ายเงินชำระหนี้ให้เจ้าหนี้
3.  สินทรัพย์เพิ่ม  สินทรัพย์ลด 3.  ซื้อเครื่องใช้สำนักงานเป็นเงินสด
4.  สินทรัพย์เพิ่ม  ส่วนของเจ้าของ(ทุน)เพิ่ม 4.  นำเงินสดหรือเงินฝากธนาคารมาลงทุน
5.  สินทรัพย์ลด  ส่วนของเจ้าของ(ทุน)ลด 5.  ถอนเงินสดไปใช้ส่วนตัว
  1.   วิเคราะห์ชื่อบัญชีเดบิต  วิเคราะห์ชื่อบัญชีเครดิต
  2.   สรุปผลการวิเคราะห์รายการค้าตามหลักบัญชีคู่  คือ   เดบิตบัญชีอะไร  เครดิตบัญชีอะไร   ด้วยจำนวนเงินเท่าใด  ซึ่งจำนวนเงินรวมด้านเดบิตจะเท่าจำนวนเงินรวมด้านเครดิตเสมอ