โครงการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม ใน ไทย

ด้านป้องกัน

1. ภาระกิจปกป้องผืนป่ากุยบุรีและพื้นที่ป่าต้นน้ำของจังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ ร่วมกับหน่วยงานในเครือข่ายองค์กรอนุรักษ์สัตว์ป่ากุยบุรีเป็นภาระกิจที่ต้องดำเนินการลาดตระเวนทุกเดือน โดยมีหน่วยงานร่วมดำเนินภาระกิจลาดตระเวน ดังนี้

  • อุทยานแห่งชาติกุยบุรี 
  • โครงการอนุรักษ์สัตว์ป่ากุยบุรี WWF ประเทศไทย
  • หน่วยเฉพาะกิจจงอางศึก กองกำลังสุรสีห์ กรมทหารราบที่ 29
  • กรมทหารพรานที่ 14
  • ชุดประสานงานโครงการพระราชดำริฯ ป่ากุยบุรี (ร.11 พัน. 3 รอ.)
  • กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 145

2. สนับสนุนอุปกรณ์บางส่วนในการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่เพิ่มเติมจากงบประมาณหลักของหน่วยงานต้นสังกัด และสนับสนุนเสบียงอาหารในการปฏิบัติภาระกิจลาดตระเวนร่วมประจำเดือนของเจ้าหน้าที่

ด้านการมีส่วนร่วม

     

เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งของคนกับช้างที่ออกมาทำลายพืชผลทางการเกษตรในพื้นให้น้อยลงและช่วยให้ชาวบ้านมีทัศนะคติที่ดีต่อช้างป่า ทำให้คนกับช้างอยูร่วมกันได้
     สนับสนุนการเฝ้าระวังช้างป่าและผลักดันช้างป่ากลับเข้าพื้นที่อาศัยของสัตว์ป่า โดยมีการสนับสนุนทุกเดือนให้กับหน่วยงานร่วมภายใต้ องค์กรอนุรักษ์สัตว์ป่ากุยบุรีเพื่อเฝ้าระวังช้างป่าออกมารบกวนพืชผล ทางการเกษตรของชาวบ้านตามข้อตกลงที่ชาวบ้าน อุทยานแห่งชาติกุยบุรี องค์การบริหารส่วนตำบลหาดขาม และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ลงนาม ร่วมกันในการเฝ้าระวังช้างป่าออกมาทำลายพืชผลทางการเกษตรและได้ ปฏิบัติร่วมกันมา อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
     ร่วมส่งเสริมให้ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่าออกมาทำลายพืชผลทางการเกษตร มีรายได้ทางเลือกจากกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สัตว์ป่ากุยบุรี

ด้านการปรับปรุงแหล่งอาหารและแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า

     

ปรับปรุงแปลงหญ้าแหล่งอาหารสัตว์ป่าที่โครงการได้รับมอบหมาย เพื่อปรับปรุงดูแลอย่างต่อเนื่องทุกปีและมีการดำเนินการเพาะกล้าไม้พืชอาหารช้าง อีกทั้งมีกิจกรรมเสริมโป่งเทียมและเติมน้ำในกระทะน้ำให้กับสัตว์ป่าในพื้นที่

ด้านงานวิจัย

     

ดำเนินงานโครงการศึกษาจำนวนประชากรช้างป่าในพื้นที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ด้วยการจำแนกเอกลักษณ์ส่วนตัวของช้าง โดยวิธีตรวจสารพันธุกรรมจากมูลช้าง             
      ผลจาการดำเนินงานร่วมกันจากหลายภาคส่วนได้ผลการวิเคราะห์พบว่าการจำแนกตัวอย่างช้างป่าโดยวิธีการตรวจสารพันธุกรรมจากมูลช้าง จำแนกได้ 237 ตัว แยกเป็นเพศผู้ 69 ตัว เพศเมีย 168 ตัว

ความก้าวหน้าของโครงการ

ความก้าวหน้าการดำเนินงานในภาพรวมของเครือข่ายองค์กรอนุรักษ์สัตว์ป่ากุยบุรีโดยมีโครงการอนุรักษ์ช้างป่าและต่อต้านล่าสัตว์ป่ากุยบุรี WWF ประเทศไทย ทำหน้าที่ประสานงานและเสริมสร้างความร่วมมือการดำเนินงานของเครือข่าย สามารถระบุผลภาพรวมดำเนินงาน ดังนี้

  • 1 ส.ค. 52 - หน่วยงานภาครัฐ,องค์กรพัฒนาเอกชน,ภาคเอกชนและประชาชน
  • ในการอนุรักษ์ช้างป่ามีการลงนามในบันทึกข้อตกลงร่วมกันในการเฝ้าระวังให้ความปลอดภัยต่อช้างป่า
  • 2552 - 2553 - จำนวนประชากรช้างป่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเพิ่ม 30 ตัวในช่วงปี 2553
  • 2554 - ชุมชนท้องถิ่นมีการรับรู้ถึงปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าในเชิงบวกมากขึ้น , ความคิดในการต้องการทำร้ายช้างป่าลดลงและประชาชนในพื้นที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  • 2555 - พบกระทิงไม่ต่ำกว่า 150 ตัวและวัวแดง 4 ตัว , พบสัตว์ป่าสงวน 4 ชนิดคือ สมเสร็จ , แมวลายหินอ่อน , เลียงผาและเก้งหม้อ , พบสัตว์ป่าใกล้สูญพันธ์ของโลกคือ วัวแดง , เสือโคร่ง , เสือดาวและเสือดำ
  • 2556 - ปริมาณนักท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติกุยบุรีเพิ่มขึ้น 146.54% เมื่อเทียบกับปี 2551 , ประชาชนในพื้นที่มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการให้บริการด้านการท่องเที่ยว , การศึกษาดูงานและบำเพ็ญประโยชน์ในการสร้างแหล่งอาหารและแหล่งน้ำให้กับช้างและสัตว์ป่าเพิ่มขึ้น , สื่อมวลชนระดับประเทศและต่างประเทศในสื่อทุกแขนงถ่ายทอดประเด็นความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าเพิ่มมากขึ้น
  • 17 ก.ค. 56 - เอกอัครราชฑูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยเยือนอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ชื่นชมการดำเนินงานปกป้องสัตว์ป่าและการลาดตระเวนอุทยานแห่งชาติกุยบุรีที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
  • 8 ส.ค. 56 - นายกรัฐมนตรี น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรยกย่องกุยบุรีโมเดลเป็นต้นแบบการจัดการความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าที่ดีที่สุดของประเทศไทย

โครงการอนุรักษ์สภาพป่าไม้ในพื้นที่อำเภออมก๋อย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ความเป็นมา

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  โครงการนี้สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้มีพระราชดำริ ในครั้งที่เสด็จเยี่ยมเยียนราษฎรบ้านหล่อดูก ตำบลแม่ตื่น อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่  4  มีนาคม  พ.ศ.  2534  กองราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าฯ  พระบรมราชินีนาถ ได้มีหนังสือที่ รล 0007/3419  ลงวันที่  22  เมษายน   พ.ศ.  2534  ถึงกองทัพภาคที่ 3  ให้เข้าร่วมดำเนินการ 
เพิ่มเติม

ที่ตั้งโครงการและข้อมูลพื้นฐาน

   ชื่อโครงการ  โครงการอนุรักษ์สภาพป่าในพื้นที่อำเภออมก๋อย  จังหวัดเชียงใหม่  อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

   สถานที่ดำเนินการ  ตำบลม่อนจอง  อำเภออมก๋อย    จังหวัดเชียงใหม่

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1.  เพื่อรักษาสภาพป่าที่ยังคงสมบูรณ์อยู่ไม่ให้ถูกทำลายต่อไป ตลอดจนอนุรักษ์สัตว์ป่า และรักษาสภาพแวดล้อม
2.  เพื่อฟื้นฟูสภาพป่าที่ถูกทำลาย จนเสื่อมโทรมให้คืนสู่สภาพป่าที่สมบูรณ์ดังเดิม โดยให้มีทั้งไม้ป่าธรรมชาติและไม้ป่าใช้สอย
3. พัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรให้ดีขึ้น ให้มีอาชีพ มีที่ทำกินเป็นหลักแหล่ง และอยู่ร่วมอาศัยกับทรัพยากรป่าไม้อย่างสมดุล

เป้าหมายโครงการ

                                1.  ป้องกันรักษาป่าไม้ที่มีสภาพอุดมสมบูรณ์เนื้อที่  1,688,535 ไร่  ให้คงสภาพสมบูรณ์ต่อไปโดยชุมชนมีส่วนร่วม
2. ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เนื้อที่ 765,000  ไร่ (รวมอยู่ในเขตป้องกันรักษาป่าไม้    
ที่สมบูรณ์ตามข้อ 1) ให้เน้นการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม และระบบนิเวศน์ที่เหมาะสม สำหรับการอยู่อาศัยรวมทั้งการขยายพันธุ์ของสัตว์ป่า
3. ฟื้นฟู ปรับปรุง  และพัฒนาสภาพป่าไม้ที่เสื่อมโทรมจำนวนประมาณ 136,325  ไร่  โดยแยกตามศักยภาพของพื้นที่เป็นหลัก

  • ฟื้นฟูสภาพป่าไม้ที่เสื่อมโทรม จำนวนประมาณ 48,000  ไร่  โดยใช้     ศักยภาพในการฟื้นฟูป่าตามธรรมชาติเป็นหลักรวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับผิดชอบการฟื้นฟู และรักษาป่าไม้ให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ตลอดจนสร้างจิตสำนึกต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้ และ    สิ่งแวดล้อมด้วย
  • พื้นที่ที่เหลือจากการฟื้นฟูสภาพป่าไม้ที่เหมาะสมให้จัดระเบียบชุมชนและสิทธิทำกินให้แก่ราษฎร 6 ตำบล รวมถึงการส่งเสริมและพัฒนาพื้นที่ป่าไม้เสื่อมโทรมบางส่วนให้เป็นป่าไม้แบบเอนกประสงค์เพื่อราษฎรได้มีแหล่งไม้ใช้สอย ไม้เศรษฐกิจเพื่อใช้ประโยชน์ ในชุมชนต่อไป
  • พัฒนาและส่งเสริมอาชีพที่เหมาะสมทั้งด้านการเกษตรศิลปหัตถกรรมและอื่น ๆ เพื่อให้ราษฎรมีระดับการครองชีพที่ดีขึ้น

งบประมาณ

-

แผนการดำเนินงาน

1.  ปลูกป่าทั่วไป                                                                 500         ไร่
2.  ปรับปรุงระบบนิเวศต้นน้ำ                                                   800         ไร่
3.  เพาะชำกล้าไม้ทั่วไป                                                        50,000   กล้า
4.  เพาะชำกล้าหวาย                                                             30,000   กล้า
5.  เพาะชำกล้าไม้มีค่า                                                           70,000   กล้า
6.  บำรุงรักษาสวนเดิมอายุ 2-6 ปี                                             900         ไร่
7.  บำรุงป่าไม้ใช้สอย                                                             500         ไร่
8.  บำรุงสวนป่าเพื่อการสาธิตและวิจัย                                         150         ไร่
9.  ปรับปรุงระบบนิเวศต้นน้ำ ปีที่ 2-6                                          600         ไร่
10.  ปรับปรุงระบบนิเวศต้นน้ำ ปีที่ 7-10                                       1,000      ไร่
11.  แนวกันไฟ                                                                      20           กม.
12.  ฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน                                                   140         แห่ง
13.  งานอำนวยการและบริหารศูนย์ปฏิบัติการนางนอน                    1              งาน
14.  งานปรับปรุงภูมิทัศน์และเตรียมการรับเสด็จ                            1              งาน
15.  งานส่งเสริมการเลี้ยงเก้งระดับครัวเรือน                                  1              งาน
16.  งานสถานีพัฒนาป่าไม้บ้านนาไคร้                                         1              งาน
17.  งานสถานีพัฒนาป่าไม้บ้านห้วยปูลิง                                       1              งาน
18.  งานสถานีพัฒนาป่าไม้บ้านแม่ตื่นน้อย                                    1              งาน
19.  งานพัฒนาแหล่งกล้วยไม้เพื่อการอนุรักษ์และการท่องเที่ยว         1              งาน
20.  งานธนาคารอาหารชุมชน (2 พื้นที่)                                        1              งาน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.  สภาพป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์อยู่จำนวน  1,688,535  ไร่ จะคงสภาพที่สมบูรณ์อยู่ได้ตลอดไป
2.  ราษฎรท้องที่  3  ตำบล  ตำบลม่อนจอง   ตำบลยางเปียง  และตำบลแม่ตื่น จะได้รับการจัดที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินให้เป็นหลักแหล่ง
3.  ราษฎรจำนวน  15  หมู่บ้าน จะมีอาชีพเสริมและมีแหล่งไม้ใช้สอย 2,500  ไร่
4.  สัตว์ป่าจะได้รับการอนุรักษ์และคุ้มครองมิให้ถูกรบกวนหรือสูญพันธุ์ต่อไป
5.  สภาพป่าที่เสื่อมโทรมจะได้รับการปลูกฟื้นฟูให้กลับคืนสู่สภาพป่า จำนวน  22,750 ไร่
6.  สภาพป่าโดยธรรมชาติจะได้รับการป้องกันไฟป่า ทำให้ลดการสูญเสียลูกไม้ พันธุ์ไม้ตามสภาพธรรมชาติ และมีโอกาสเจริญเติบโตทดแทน ทำให้ฟื้นสภาพป่าได้เร็วยิ่งขึ้น
7.  ราษฎรจะได้รับการฝึกอบรม ปลูกฝังสร้างจิตสำนึกต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

ผลการดำเนินงาน

ผลการดำเนินงาน

ปัญหาอุปสรรค

1. ด้านการบริหารจัดการ
1.1 ด้านบุคลากร
- บุคลากรผู้ปฏิบัติงาน มีภารกิจที่ต้องรับผิดชอบหลายหน้าที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่งได้อย่างเต็มที่และสมบูรณ์ ส่งผลให้งานไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
- บุคลากรขาดวิสัยทัศน์ที่ดีในการปฏิบัติงาน
1.2 ด้านงบประมาณ
- โครงการใหม่จะมีปัญหาด้านงบประมาณไม่ต่อเนื่องในปีที่ 2 เพราะสมเด็จพระนาง เจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพื้นที่ภาคเหนือหลังกำหนดเวลาเสนองบประมาณแล้วทุกปี
- โครงการเดิมงบประมาณจะลดลงไม่เป็นไปตามแผนแม่บท
1.3 ด้านชุมชน
- ชุมชนส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกล และทุรกันดารไม่สะดวกต่อการปฏิบัติงาน
- การสื่อภาษาไม่เข้าใจกันระหว่างเจ้าหน้าที่กับราษฎร ต้องอาศัยล่ามเป็นผู้ช่วยสื่อภาษา
- ราษฎรขาดความรู้ความเข้าใจในการภาพรวมของโครงการอีกทั้งความรู้ความเข้าใจในเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการตระหนักและจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- การปฏิบัติงานร่วมกับชุมชน ได้แก่ โครงการอบรมราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า (รส ทป.) ยังติขัดอยู่บ้างทั้งในระดับนโยบาย และภาคการปฏิบัติ
2. พื้นที่โครงการใหม่แต่ละแห่ง ห่างไกลทุรกันดาร แต่ไม่ได้รับการสนับสนุน ยานพาหนะที่มีสมรรถนะ

แนวทางแก้ไข

1. ด้านการบริหารโครงการ หรือนโยบายควรปรับปรุงกลยุทธ์ในการดำเนินงานให้เกิด ประสิทธิภาพให้มากยิ่งขึ้น
2. พัฒนาศักยภาพของบุคลากรในการดำเนินงาน
3. จ้างบุคคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการสื่อภาษากับราษฎรได้ให้เข้ามาช่วยงาน ประชาสัมพันธ์ และสร้างจิตสำนึกให้เกิดกับราษฎร
4. เน้นหนักการดำเนินงานร่วมกับชุมชน โดยเปิดโอกาสให้ได้มีบทบาทในการป้องกันรักษาป่า การฟื้นฟูป่า และการพัฒนาอาชีพ เพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

หน่วยงานหลัก/ผู้ประสานงาน

สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16
นายวิทยา สิทธิพจน์ ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารงานป่าไม้ 7 สังกัด กลุ่มประสานงานโครงการพระราชดำริ

หน่วยงานร่วมโครงการ

1.  กรมวิชาการเกษตร  กรมการข้าว สถาบันวิจัยข้าวเชียงใหม่
2.  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดเชียงใหม่เขต 5
3.  มณฑลทหารบกที่ 33 (ค่ายกาวิละ)
4.  กรมประมง  โดยสถานีประมงจังหวัดเชียงใหม่
5.  สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่
6.  กรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน
7.  กรมชลประทาน
8.  อำเภออมก๋อย