ภาษาอังกฤษเพื่อการ สื่อสาร ม. 5

มาตรฐานการเรียนรู้

มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน
สาระที่ ๑ ภาษาเพื่อการสื่อสาร
มาตรฐาน ต ๑.๑ เข้าใจกระบวนการฟังและการอ่าน สามารถตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่าง ๆ และนำความรู้มาใช้อย่างมีวิจารณญาณ
มาตรฐาน ต ๑.๒ มีทักษะในการสื่อสารทางภาษา แลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร แสดงความรู้สึก และความคิดเห็น โดยใช้เทคโนโลยีและการจัดการที่เหมาะสม เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
มาตรฐาน ต ๑.๓ เข้าใจกระบวนการพูด การเขียน และสื่อสารข้อมูล ความคิดเห็น และความคิดรวบยอดในเรื่องต่างๆได้อย่างสร้างสรรค์ มีประสิทธิภาพและมีสุนทรียภาพ

สาระที่ ๒ ภาษาและวัฒนธรรม
มาตรฐาน ต ๒.๑ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา และนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ
มาตรฐาน ต ๒.๒ เข้าใจความเหมือนและความแตกต่างระหว่างภาษา และวัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับภาษาและวัฒนธรรมไทย และนำมาใช้อย่างมีวิจารณญาณ

สาระที่ ๓ ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
มาตรฐาน ต ๓.๑ ใช้ภาษาต่างประเทศในการเชื่อมโยงความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นและเป็น พื้นฐานในการพัฒนาและเปิดโลกทัศน์ของตน
สาระที่ ๔ ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก
มาตรฐาน ต ๔.๑ สามารถใช้ภาษาต่างประเทศ ตามสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในสถานศึกษา ชุมชน และสังคม
มาตรฐาน ต ๔.๒ สามารถใช้ภาษาต่างประเทศเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ การศึกษาต่อ
การประกอบอาชีพ การสร้างความร่วมมือ และการอยู่ร่วมกันในสังคม

ตัวชี้วัด

  1. ฟังบทสนทนาแล้วสามารถบอกความรู้สึกของผู้พูด และตอบคำถามได้  ( ต. 1.1-1 )
  2. ฟังข้อความ ข้อมูล ข่าวสารแล้วสามารถแสดงความคิดเห็นได้ ( ต.1.1-3,4 )
  3. พูดสื่อสารเพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ตามมารยาททางสังคมและเพื่อการทำงาน สมัครงานและประกอบอาชีพ ( ต. 1.2 –5, 13 ต.4.2-24,25,26,27 )
  4. พูดสื่อสารแสดงความคิดเห็น แสดงความต้องการ เสนอบริการเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์แก่ผู้อื่น เจรจาต่อรอง วางแผนในการเรียน ( ต. 1.2-6,28 )
  5. พูดสื่อสารเพื่อขอและให้ข้อมูล อธิบาย แลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับประเด็นปัญหา เหตุการณ์ต่างๆในชุมชนและสังคม(ต. 1.1-7, ต 3.1-22)
  6. พูดสื่อสารเพื่อแสดงความรู้สึกของตนเกี่ยวกับเหตุการณ์ทั้งในปัจจุบัน อดีตและอนาคตได้( ต. 1.2-8)
  7. อ่านออกเสียงบทอ่านได้ถูกต้องตามหลักการอ่าน อ่านออกเสียงได้เหมาะสมกับเนื้อหาที่อ่าน ( ต. 1.1-2)
  8. อ่านสื่อที่เป็นความเรียงและไม่ใช่ความเรียงในรูปแบบต่างๆ แล้วสามารถตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นได้(ต. 1.1-3)
  9. อ่านข้อความ ข้อมูล ข่าวสาร บทความ สารคดี บันเทิงคดีจากสื่อสิ่งพิมพ์ แล้วสามารถตีความ วิเคราะห์ และแสดงความคิดเห็นได้ (ต. 1.1-4, ต. 2.1-14, ต 2.2-16, ต. 3.1-20, 21)

  10. เขียนเรื่องราว รายงานเกี่ยวกับประสบการณ์ เหตุการณ์ต่างๆ หรือเรื่องทั่วไปได้ ( ต. 1.3-9, 23)
  11. เขียนเพื่อแสดงความคิดเห็น ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ หรือเรื่องทั่วไปได้ (ต. 1.3-10, 11)

  12. เขียนคำ วลี สำนวน ประโยค ข้อความที่ซับซ้อนเพื่อแสดงความแตกต่างระหว่างภาษาไทย-ภาษาอังกฤษ และใช้ภาษาอังกฤษในการแสวงหาความรู้และเข้าสู่สังคมและอาชีพ (ต. 2.2-15, 17)
  13. แสดงบทบาทสมมุติจากบทกวี หรือละครโดยใช้เค้าโครงตามแนวคิดของเจ้าของภาษาได้ (ต. 1.3-12)

  14. นำเสนอกิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรมตามความสนใจเพื่อให้นักเรียนตระหนักในคุณค่าของภาษาและวัฒนธรรม (ต. 2.2-18, 19) 

เนื้อหา

  • ความสำคัญของภาษาอังกฤษ

    ภาษาอังกฤษเพื่อการ สื่อสาร ม. 5

    ความสำคัญของภาษาอังกฤษภาษาอังกฤษได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตของคนไทย และคนทั่วโลกไปแล้ว มนุษยชาติทุกวันนี้สื่อสารกันด้วยภาษาอังกฤษ ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสารกันโดยตรง การใช้อินเตอร์เน็ต การดูทีวี การดูภาพยนตร์ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หนังสือคู่มือทางด้านวิชาการต่างๆ ฯลฯ บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาออกมาในปัจจุบัน ถ้ามีความรู้ภาษาอังกฤษทั้งพูดและเขียนเสริมเข้าไปด้วยอีก โอกาสที่จะหางานก็จะไม่จำกัดแค่ในประเทศไทย เท่านั้น ถ้าท่านเป็นคนหนึ่งที่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ ท่านคงจะไม่ปฏิเสธได้ถึงสิทธิพิเศษที่ท่านมีเหนือคนอื่นที่ไม่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ ด้วยเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ทำให้โลกของเราแคบลงไปถนัดตา ทุกวันนี้ท่านสามารถรับรู้ข่าวสาร หรือติดต่อกับเพื่อนต่างชาติได้ภายในเสี้ยววินาที ท่านจะไม่เข้าถึงสิทธิพิเศษเหล่านี้เลย ถ้าท่านไม่รู้ภาษาอังกฤษ ระบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนของไทยหลายท่านอาจจะบอกว่า ประเทศไทยเราก็ให้ความสำคัญกับการเรียนภาษาอังกฤษมาตั้งนานแล้ว แต่ทำไมคนไทยถึงพูดภาษาอังกฤษสู้คนฟิลิปปินส์ไม่ได้เลย นั่นก็เพราะว่าหลักสูตรภาษาอังกฤษของกระทรวงศึกษาธิการของเรายังไม่ได้เน้นการพูดภาษาอังกฤษ จะเน้นแต่หลักไวยากรณ์ คำแปล และการอ่านเพื่อความเข้าใจและให้สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้เป็นส่วนใหญ่ สิ่งที่จะต้องปรับปรุงอย่างมากในระบบการเรียนภาษาอังกฤษของไทยเราคือ การเน้นการพูดออกเสียง ไม่ว่าจะเป็นการออกเสียงพยัญชนะแต่ละตัว การเน้นเสียงหนักเบา ซึ่งจะต้องมีสื่อช่วยสอนที่เป็นมัลติมีเดีย คือ มีทั้งภาพ เสียง และตัวหนังสือ ให้ด้วย แทนระบบเก่าที่มีแต่ตัวหนังสือเท่านั้น ทำให้การออกเสียงตามคำอ่านที่เขียนในตำราหรือพจนานุกรมที่ผิดๆ เช่นคำว่า cat ในพจนานุกรมอังกฤษไทยจะเขียนคำอ่านเป็น แค้ท ซึ่งแปลมาจากคำอ่านพจนานุกรมอังกฤษเป็นอังกฤษ ทำให้คนไทยเข้าใจว่า ไม่ต้องออกเสียงตัว t ที่อยู่ตอนท้ายด้วย น่าจะเขียนคำอ่านเป็น แค่ท-ถึ (ออกเสียง ถึ เบาๆ) แต่ถ้าเราจัดทำสื่อการเรียนการสอนแบบมัลติมีเดีย เด็กก็จะได้ยินทั้งเสียงที่ถูกต้อง ได้เห็นภาพ และตัวหนังสือด้วย ซึ่งทำได้ไม่ยาก และต้นทุนก็ไม่มาก การเรียนของเด็กก็จะมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

  • ความสำคัญของการสื่อสารภาษาต่างประเทศ
    ในภาวะปัจจุบันที่อิทธิพลของโลกาภิวัฒน์ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง และยังจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ นั้นการเรียนรู้ภาษาของประเทศอื่นย่อมได้เปรียบในการทำกิจการต่างๆ เพราะคงไม่มีใครจะติดต่อสื่อสารและรู้เรื่องได้ดีเท่ากับการพูดภาษาเดียวกัน เคยมีเรื่องเล่ากันเล่นว่าประเทศไทยที่ค้าขายสิงคโปร์ มาเลย์ ฮ่องกง ใต้หวัน ไม่ได้ก็เพราะว่ามาติดต่อกับประเทศไทยแล้วสื่อสารกันยังไม่ชัดเจนจึงต้องผ่านตัวแทนที่รู้ภาษาดีกว่าเช่นสิงค์โป มาเลย์ ฮ่องกง ใต้หวัน หรือแม้แต่ฟิลิบปินก็ตาม  ซึ่งเราจะเห็นว่าประเทศเหล่านั้นล้วนแล้วแต่ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาที่อาจคิดได้ว่าเป็นภาษาสากล หลายประเทศประกาศให้เป็นภาษาราชการอีกภาษาหนึ่ง นอกจากภาษาของตัวเอง