พลังงาน สิ้น เปลือง พลังงานหมุนเวียน

ประเภทของพลังงาน

พลังงานตามลักษณะของการสูญเสีย แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ

  1. พลังงาน (power) ที่ใช้แล้วหมดไป หรือที่เรียกว่าพลังงานสิ้นเปลือง เช่น น้ำมันดิบที่ได้จากการขุดเจาะ รวมทั้งหินน้ำมัน ทรายน้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ พลังงานประเภทนี้ใช้แล้วหมดไป เพราะต้องใช้เวลานานนับล้านปีในการเกิดขึ้นไม่ทันการใช้ พลังงานพวกนี้ปกติแล้วจะอยู่ใต้ดิน
  2. พลังงาน (power) ใช้ไม่หมด / พลังงานหมุนเวียน พลังงานทดแทน เช่น ไม้ ชีวมวล น้ำ แสงอาทิตย์ ลม และคลื่น ที่ว่าใช้ไม่หมดก็เพราะสามารถหามาทดแทนหรือผลิตขึ้นใหม่ได้ในเวลาไม่นาน

1. แหล่งพลังงานที่ใช้แล้วหมดไป

1.1 พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล

พลังงาน สิ้น เปลือง พลังงานหมุนเวียน

ภาพจาก https://th.wikipedia.org

เชื้อเพลิงฟอสซิลคือ เชื้อเพลิงที่เกิดจากซากพืชซากสัตว์ที่ตายทับถมกันนับล้านปีใต้ท้องทะเลหรือพื้นดินลึ เชื้อเพลิงฟอสซิล ได้แก่ ถ่านหิน น้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติ พลังงานเคมีจะถูกสะสมในโครงสร้างอะตอมของเชื้อเพลิงเหล่าน เมื่อเกิดปฏิกิริยาเคมี เช่น การเผาไหม้ก็จะทำให้เกิดพลังงานความร้อนออกมา เชื้อเพลิงฟอสซิสที่ใช้อยู่ทั่วไปในสภาพอณุหภูมิปกติ

1.2พลังงานความร้อนใต้พิภพ

พลังงาน สิ้น เปลือง พลังงานหมุนเวียน

พลังงานความร้อนใต้พิภพ หมายถึง พลังงานความร้อนตามธรรมชาติที่ได้จากแหล่งความร้อนภายใต้ผิวโลก ภายในใจกลางของโลก จะมีแหล่งพลังงานความร้อนมหาศาลอยู่และมีแรงดันสูงมาก มักพบในบริเวณที่เรียกว่าจุดร้อน (hot spots) โดยบริเวณนั้นจะมีค่าการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิตามความลึก มีบริเวณที่มีการไหล หรือแผ่กระจาย ของความร้อน จากภายใต้ผิวโลกขึ้นมาสู่ผิวดิน (geothermal gradient) มากกว่าปกติประมาณ1.5-5 เท่า

2. พลังงานใช้ไม่หมด / พลังงานหมุนเวียน พลังงานทดแทน

2.1 พลังงานแสงอาทิตย์

พลังงาน สิ้น เปลือง พลังงานหมุนเวียน

ภาพจาก https://pantip.com/topic/36525049

พลังงานแสงอาทิตย์ คือ แสงสว่าง และความร้อน ที่ถูกสร้างขึ้นโดยดวงอาทิตย์ ทุกๆวันดวงอาทิตย์จะผลิตพลังงานได้เป็นจำนวนมหาศาล รวมทั้งแหล่งผลิตพลังงานแสงอาทิตย์นั้น ไม่มีวันหมดอีกด้วย นอกจากนี้ พลังงานแสงอาทิตย์ยังถือเป็นพลังงานสะอาด และเป็นพลังงานทางเลือกสำหรับมนุษย์ใช้แทนที่พลังงานจากฟอสซิล อีกด้วย

2.2 พลังงานน้ำ

พลังงาน สิ้น เปลือง พลังงานหมุนเวียน

พลังงานน้ำจะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ต้องมีการกักเก็บน้ำไว้ เพื่อเป็นการสะสมกำลัง โดยการก่อสร้างเขื่อนหรือฝายปิดลำน้ำที่มีระดับความสูงเป็นพลังงานศักย์ และผันน้ำเข้าท่อไปยังเครื่องกังหันน้ำขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังน้ำ

2.3 พลังงานลม

พลังงาน สิ้น เปลือง พลังงานหมุนเวียน

พลังงานลม ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก เป็นเทคโนโลยีที่เป็นการออกแบบด้านการเคลื่อนไหวของอากาศ พลังงานจะถูกส่งถ่ายจากการหมุน เพื่อขับเคลื่อนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 

2.4 พลังงานชีวมวล

พลังงาน สิ้น เปลือง พลังงานหมุนเวียน

ภาพจาก http://biomass.sut.ac.th

พลังงานชีวมวล (Bio-energy)หมายถึง พลังงานที่ได้จากชีวมวลชนิดต่างๆ โดยกระบวนการแปรรูปชีวมวลไปเป็นพลังงานรูปแบบต่างๆ

2.5 พลังงานนิวเคลียร์

พลังงาน สิ้น เปลือง พลังงานหมุนเวียน

    พลังงานนิวเคลียร์ เป็นพลังงานรูปหนึ่งที่นักวิทยาศาสตร์ชาวผรั่งเศสชื่อ อังรีเบกเคอเรล ได้ค้นพบโดยบังเอิญ เมื่อ พ.ศ. 2439 แต่คนทั่วไปเริ่มรู้จักพลังงานนิวเคลียร์เมื่อ พ.ศ. 2488 ในช่วงปลายสงครามโลก ครั้งที่สอง ในปัจจุบัน มีหลายประเทศ นำพลังงานนิวเคลียร์ไปใช้ ในการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะทางด้านการแพทย์ เกษตร และอุตสาหกรรม จนปัจจุบันพลังงานนิวเคลียร์ได้เข้าไป มีบทบาท ในชีวิตประจำวันมากขึ้นทุกที ในสินค้าบางชนิด เช่น กระดาษ ปูนซิเมนต์ กระเบื้อง ยาสีฟัน อาจผลิตโดยใช้ เทคโนโลยีนิวเคลียร์ในการควบคุมคุณภาพ สำลี ผ้าก๊อซ พลาสเตอร์ปิดแผล เข็ม หลอดฉีดยา เหล่านี้เป็นเวชภัณฑ์ ที่ทำให้ปลอดเชื้อ โดยใช้รังสี ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของพลังงานนิวเคลียร์ การใช้พลังงานนิวเคลียร์ ปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้พลังงานนิวเคลียร์ ในกิจการต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง

(ในที่นี้จะเป็นข้อมูลกระชับให้พอเข้าใจ ท่านสามารถอ่านรายละเอียด ได้ที่ http://ict.sci.psu.ac.th )