อาชีพรับจ้างแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

ประเภทของอาชีพ

มิ.ย. 26

Posted by kruree2014


ประเภทของอาชีพ แบ่งออกเป็น
1. อาชีพอิสระ
มีลักษณะเป็นเจ้าของกิจการ บริหารจัดการด้วยตนเอง อาจเป็นกิจการขนาดเล็ก หรือเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน อาชีพอิสระแยกย่อยออกไปเป็น 2 ประเภท ดังนี้
• อาชีพอิสระด้านการผลิต การแปรรูปผลผลิตเป็นสินค้า นำไปจำหน่ายในท้องตลาดเป็นการขายปลีกและขายส่ง เช่น อาหารไทย ขนมไทย ผักผลไม้
• อาชีพอิสระด้านการให้บริการ เป็นอาชีพที่นิยมกันแพร่หลาย เนื่องจากมีความเสี่ยงน้อย การลงทุนต่ำ เช่น บริการทำความสะอาด ทำนายโชคชะตา การนวดแผนไทย บริการซักรีดเสื้อผ้า ช่างซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอื่น ๆ
2. อาชีพรับจ้าง
เป็นการทำงานที่มีเจ้านายมอบหมาย ได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือน/ค่าจ้าง เช่น งานก่อสร้าง พนักงานในบริษัท ห้างร้านและโรงงาน
3. อาชีพงานฝีมือ
เป็นอาชีพที่ปฏิบัติงานโดยใช้ประสบการณ์และความชำนาญเฉพาะด้าน เช่น งานศิลปะ
งานหัตถกรรม งานประติมากรรม
4. อาชีพรับราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมทั้งพนักงานรัฐวิสาหกิจ
เป็นอาชีพที่ให้บริการแก่ประชาชนให้ได้รับความสะดวกสบาย เช่นตำรวจดูแลทุกข์สุขของ
ประชาชนและความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ ทหารมีหน้าที่รักษาดินแดน ป้องกันการรุกรานจากศัตรูของประเทศ แพทย์ พยาบาล ดูแลเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยของประชาชน ครู-อาจารย์ให้ความรู้แก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป กระทรวงมหาดไทย กรมการปกครองที่มีปลัดอำเภอ นายอำเภอและผู้ว่าราชการจังหวัด ทำหน้าที่ให้การดูแลเอาใจใส่ประชาชนการรับเรื่องร้องเรียน พร้อมทั้งให้บริการในด้านต่าง ๆ เช่น การทำบัตรประจำตัวประชาชน การจดทะเบียนสมรส เป็นต้น การทำงานมุ่งผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก มีวันทำการที่แน่นอน รายได้หรือค่าตอบแทนที่ได้รับเป็นเงินเดือนประจำ

Advertisement

แบ่งปันสิ่งนี้:

  • Twitter
  • Print
  • Facebook

Like this:

ถูกใจ กำลังโหลด...

อาชีพ หมายถึง การทำกิจกรรม การทำงาน การประกอบการที่ไม่เป็นโทษแก่สังคม และมีรายได้ตอบแทน โดยอาศัยแรงงาน ความรู้ ทักษะ อุปกรณ์ เครื่องมือ วิธีการ แตกต่างกันไป

กลุ่มอาชีพตามลักษณะการประกอบอาชีพ มี 2 ลักษณะ คือ อาชีพอิสระ และอาชีพรับจ้าง

1. อาชีพอิสระ หมายถึง อาชีพทุกประเภทที่ผู้ประกอบการดำเนินการด้วยตนเอง แต่เพียงผู้เดียวหรือเป็นกลุ่ม อาชีพอิสระเป็นอาชีพที่ไม่ต้องใช้คนจำนวนมาก แต่หากมีความจำเป็นอาจมีการจ้างคนอื่นมาช่วยงานได้ เจ้าของกิจการเป็นผู้ลงทุน และจำหน่ายเอง คิดและตัดสินใจด้วยตนเองทุกเรื่อง ซึ่งช่วยให้การพัฒนางานอาชีพ เป็นไปอย่างรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ การประกอบอาชีพอิสระ เช่น ขายอาหาร ขายของชำ ซ่อมรถจักรยานยนต์ ฯลฯ ในการประกอบอาชีพอิสระ ผู้ประกอบการจะต้องมีความรู้ ความสามารถในเรื่อง การบริหาร การจัดการ เช่น การตลาด ทำเลที่ตั้ง เงินทุน การตรวจสอบ และประเมินผล เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องมีความอดทนต่องานหนัก ไม่ถ้อถอยต่อ ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ และมองเห็นภาพการดำเนินงาน ของตนเองได้ทะลุปรุโปร่ง 2. อาชีพรับจ้าง หมายถึง อาชีพที่มีผู้อื่นเป็นเจ้าของกิจการ โดยตัวเองเป็นผู้รับจ้าง ทำงานให้ และได้รับค่าตอบแทนเป็นค่าจ้าง หรือเงินเดือน อาชีพรับจ้างประกอบด้วย บุคคล 2 ฝ่าย ซึ่งได้ตกลงว่าจ้างกัน บุคคลฝ่ายแรกเรียกว่า "นายจ้าง" หรือผู้ว่าจ้าง บุคคลฝ่ายหลังเรียกว่า "ลูกจ้าง" หรือผู้รับจ้าง มีค่าตอบแทนที่ผู้ว่าจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ ผู้รับจ้างเรียกว่า "ค่าจ้าง" การประกอบอาชีพรับจ้าง โดยทั่วไปมีลักษณะ เป็นการรับจ้างทำงานในสถาน ประกอบการหรือโรงงาน เป็นการรับจ้างในลักษณะการขายแรงงาน โดยได้รับค่าตอบ แทนเป็นเงินเดือน หรือค่าตอบแทนที่คิดตามชิ้นงานที่ทำได้ อัตราค่าจ้างขึ้นอยู่กับการกำหนด ของเจ้าของสถานประกอบการ หรือนายจ้าง การทำงานผู้รับจ้างจะทำอยู่ภายในโรงงาน ตามเวลาที่นายจ้างกำหนด การประกอบอาชีพรับจ้างในลักษณะนี้มีข้อดีคือ ไม่ต้องเสี่ยง กับการลงทุน เพราะลูกจ้างจะใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ที่นายจ้างจัดไว้ให้ทำงานตามที่นายจ้าง กำหนด แต่มีข้อเสีย คือ มักจะเป็นงานที่ทำซ้ำ ๆ เหมือนกันทุกวัน และต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบของนายจ้าง ในการประกอบอาชีพรับจ้างนั้น มีปัจจัยหลายอย่างที่เอื้ออำนวยให้ผู้ประกอบอาชีพ รับจ้างมีความเจริญก้าวหน้าได้ เช่น ความรู้ ความชำนาญในงาน มีนิสัยการทำงานที่ดี มีความกระตือรือร้น มานะ อดทน ในการทำงาน ยอมรับกฎเกณฑ์และเชื่อฟังคำสั่ง มีความซื่อสัตย์ สุจริต ความขยันหมั่นเพียร รับผิดชอบ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี รวมทั้ง สุขภาพอนามัยที่ดี อาชีพต่าง ๆ ในโลกมีมากมาย หลากหลายอาชีพ ซึ่งบุคคลสามารถจะเลือกประกอบ อาชีพได้ตามความถนัด ความต้องการ ความชอบ และความสนใจ ไม่ว่าจะเป็นอาชีพ ประเภทใด จะเป็นอาชีพอิสระ หรืออาชีพรับจ้าง ถ้าหากเป็นอาชีพที่สุจริตย่อมจะทำให้ เกิดรายได้มาสู่ตนเอง และครอบครัว ถ้าบุคคลผู้นั้นมีความมุ่งมั่น ขยัน อดทน ตลอดจน มีความรู้ ข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพต่าง ๆ จะทำให้มองเห็นโอกาสในการเข้าสู่อาชีพ และพัฒนา อาชีพใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นอยู่เสมอ

3.อาชืพพนักงานบริษัท เป็นกลุ่มอาชีพที่ทำงานภายใต้บริษัทที่ตนเองทำงาน พนักงานบริษัทจะได้รับค่าตอบแทนจากการทำงานเป็นเงินเดือนหรือค่าจ้าง ซึ่งได้จากผลกำไรจากการประกอบการบริษัท และมีระยะเวลาในการทำงานที่แน่นอน การประกอบอาชีพพนักงานบริษัทส่วนใหญ่จะมีการคัดเลือกบุคลลที่จะเข้ามาทำงานโดยทำแบบทดสอบและการสัมภาษณ์เพื่อดูความสามารถและทัสนะคติเกี่ยวกับงาน

4. อาชีพรับจ้างที่ทำงานเป็นกลุ่ม เป็นกลุ่มอาชีพที่ทำงานตามคำสั่งของผู้ว่าจ้าง ซึ่งทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม เช่น กรรมกรก่อสร้าง พนักงานบริการอาหาร โดยมีลักษณะและในการทำงานแตกต่างกันขึ้นอยู่กับผู้ว่าจ้างแต่ละอาชีพเช่น กรรมกรก่อสร้างต้องทำงานทุกวันตั้งแต่ 08.00-17.00 น 

5.อาชีพรับจ้างที่ทำงานคนเดียว เป้นกลุ่มอาชีพที่ทำงานตามคำสั่งของผู้ว่าจ้าง ซึ่งทำงานคนเดียว เช่น พนักงานทำความสะอาด พนักงานรักษาความปลอดภัย ลูกจ้างร้านค้าทั่วไปเป็นต้น 

การประกอบอาชีพรับจ้างมีลักษณะอย่างไร

๒. อาชีพรับจ้าง หมายถึง เป็นอาชีพที่มีผู้อื่นเป็นเจ้าของกิจการหรือนายจ้าง โดย ตัวเองเป็นผู้รับจ้าง ทำงานให้ และได้รับค่าตอบแทนเป็นค่าจ้าง หรือเงินเดือน อาชีพรับจ้าง ประกอบด้วย บุคคล 2 ฝ่าย ซึ่งได้ตกลงว่าจ้างกัน บุคคลฝ่ายแรกเรียกว่า "นายจ้าง" หรือผู้ว่า จ้าง บุคคลฝ่ายหลังเรียกว่า "ลูกจ้าง" หรือผู้รับจ้าง มีค่าตอบแทนที่ ...

การประกอบอาชีพมีกี่ลักษณะ

เราได้แบ่งประเภทของอาชีพตามลักษณะได้ 2 ลักษณะ คือ แบ่งตามเนื้อหาวิชา ของอาชีพ ได้แก่ อาชีพเกษตรกรรม อาชีพอุตสาหกรรม อาชีพพาณิชยกรรมและบริการ อาชีพคหกรรม อาชีพ หัตถกรรม และอาชีพศิลปกรรม การแบ่งตามลักษณะของการ ประกอบอาชีพ ได้แก่ อาชีพอิสระ และ อาชีพรับจ้าง

อาชีพรับจ้างที่มีฝีมือ มีอะไรบ้าง

1. กลุ่มอาชีพรับจ้างที่มีฝีมือ หรือ อาชีพที่ใช้ทักษะ คือ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความรู้ใน วิชาชีพ มีความสามารถเฉพาะด้าน มีทักษะและประสบการณ์ หรือลูกจ้างที่ใช้กาลังความคิดในการสร้างสรรค์งาน การจัดการ และการบริหารงาน ตัวอย่างกลุ่มอาชีพรับจ้างที่มีฝีมือ หรือ อาชีพที่ใช้ทักษะ ได้แก่ อาชีพรับ ราชการ เช่น แพทย์ ครู ตารวจ ...

การประกอบอาชีพรับจ้างคืออะไร

อาชีพรับจ้าง หมายถึง อาชีพที่มีเจ้าของกิจการและมีผู้รับจ้างทำงานให้และได้รับค่าตอบแทนเป็น ค่าจ้างและเงินเดือน อาชีพรับจ้างประกอบด้วยบุคคล 2 ฝ่าย ซึ่งได้ตกลงว่าจ้างกัน บุคคลฝ่ายแรกเรียกว่า “นายจ้างหรือผู้ว่าจ้าง” บุคคลอีกฝ่าย เรียกว่า “ลูกจ้างหรือผู้รับจ้าง อาชีพรับจ้างแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังต่อไปนี้