ขึ้นทะเบียน นายจ้าง ประกันสังคม 2564

นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป มีหน้าที่ขึ้นทะเบียนนายจ้างและขึ้นทะเบียนลูกจ้างภายใน 30 วัน นับตั้งแต่มีการจ้างงาน
กรณีไม่ขึ้นทะเบียนนายจ้างในเวลาและเงื่อนไข ที่กฏหมายกำหนด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับเป็นเงินไม่เกิน 20,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
เป็นหน้าที่ของนายจ้างที่ต้องปฏิบัติตามเพื่อให้ลูกจ้างได้รับสิทธิประโยชน์จากประกันสังคม

Show

การขึ้นทะเบียนนายจ้าง(ให้ไปติดต่อประกันสังคมในเขตพื้นที่) เอกสารที่ต้องใช้มีดังนี้
1.แบบขึ้นทะเบียนนายจ้าง (สปส.1-01)
2.สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลพร้อมวัตถุประสงค์ (ไม่เกิน6เดือน)
3.สำเนารับรองใบจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) หรือ (ภ.พ.09)
4.แผนที่ตั้งของสถานประกอบการ
5.สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน(นายจ้าง)
6.รูปถ่ายที่เห็นป้ายชื่อกิจการ
7.หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่หรือสัญญาเช่า
8.หนังสือมอบอำนาจ,สำเนาบัตรประชาชน,สำเนาทะเบียนบ้าน ผู้รับมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจ)

สมาชิกที่มีรายได้และจ่ายเงิน สมทบเข้ากองทุนประกันสังคม เพื่อรับผิดชอบในการเฉลี่ยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพและว่างงาน เพื่อให้ได้รับการรักษาพยาบาลและมีรายได้อย่างต่อเนื่อง


 


ผู้ประกอบการ ต้องไป ขึ้นทะเบียนประกันสังคม หรือไม่? และ ขึ้นเมื่อใด ?



นายจ้าง (ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคล) ที่ มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป


ต้องขึ้นทะเบียนนายจ้าง พร้อมกับขึ้นทะเบียนลูกจ้างเป็นผู้ประกันตน ภายใน 30 วัน



และ เมื่อมีการรับลูกจ้างใหม่เพิ่มขึ้น ต้องแจ้งขึ้นทะเบียนลูกจ้างใหม่ภายใน 30 วัน เช่นกัน


เมื่อมีลูกจ้างลาออกจากงาน ให้นายจ้างแจ้งการออกจากงานโดยระบุสาเหตุการออกจากงานโดยใช้หน้งสือแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน (สปส.6-09) ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป


 


หากไม่ขึ้นทะเบียนประกันสังคม จะมีความผิดหรือไม่ ?




ตามกฎหมายประกันสังคม นายจ้าง จะถือว่า "มีความผิด"


ความผิดระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ


 

หลังขึ้นทะเบียนประกันสังคมแล้ว ต้องทำอะไรบ้าง ?



หลังจากขึ้นประกันสังคมแล้ว นายจ้าง ต้องนำส่งเงินสมทบประกันสังคมทุกเดือน ให้กับ ประกันสังคมในพื้นที่ที่นายจ้างขึ้นทะเบียน โดย แบ่งเงินสมทบ เป็น 2 ส่วน คือ


ส่วนที่ 1 ส่วนเงินสมทบที่ หักจากเงินเดือนของลูกจ้าง


ส่วนที่ 2 ส่วนเงินสมทบที่ นายจ้างนำเงินมาสมทบ เท่ากับส่วนที่ 1


โดยนายจ้างจะจัดทำแบบ สปส.1-10 นำส่งแบบ พร้อมกับ เงินสมทบ (รวมส่วนที่ 1 +2) ที่ประกันสังคมในพื้นที่ ไม่เกินวันที่ 15 ของเดือนถัดไป


 

นายจ้าง ไม่ส่งเงินสมทบ ให้แก่ลูกจ้าง จะมีความผิดหรือไม่ ?


ถ้านายจ้าง ส่งเงินสมทบไม่ทัน หรือ ส่งไม่ครบ จะต้องรับผิดชอบ จ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน ของจำนวนเงินที่ไม่ได้ส่ง หรือ จำนวนเงินที่ขาดอยู่


โดยต้องนำส่งด้วยตัวเองที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่หรือสำนักงาน ประกันสังคมจังหวัดเท่านั้น


แต่หากนายจ้างกรอกแบบแสดงการส่งเงินสมทบ (สปส.1-10) ไม่ถูกต้อง เจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจจะสั่งให้นายจ้างกรอกแบบฟอร์มให้ถูกต้อง


หากยังไม่ปฏิบัติให้ถูกต้อง จะ มีโทษต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 


นายจ้าง สามารถยื่น ขอเป็นผู้ประกันตน (ลูกจ้าง) (มาตร33) ได้หรือไม่ ?


ในสถานะของนายจ้าง จะไม่สามารถยื่นเรื่องเข้าประกันสังคม ภายใต้กิจการตัวเองได้ (มาตรา33) ยกตัวอย่าง เช่น กรรมการผู้มีอำนาจลงนามแทนบริษัท หรือ หุ้นส่วนผู้จัดการที่ลงนามแทนห้างหุ้นส่วน จะไม่สามารถเป็นผู้ประกันตนภายใต้ลูกจ้างของกิจการได้


ยกเว้นกรณี หุ้นส่วนที่ไม่มีอำนาจ ลงนามแทนนิติบุคคล กรณีได้รับเงินเดือน จะยังคงถือเป็นลูกจ้าย ขึ้นประกันสังคมภายใต้กิจการได้