ระบบส่งจ่ายไฟฟ้าในประเทศไทย

Show

การเดินทางของพลังงานไฟฟ้า

และระบบส่งจ่ายไฟฟ้า

ระบบส่งจ่ายไฟฟ้าในประเทศไทย

ไฟฟ้าที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้ส่งมาถึงบ้านเราได้ยังไงนะ? แล้วสายไฟฟ้าที่ใช้ในการส่งพลังงานไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าต้นทางมาจนถึงปลายทางผู้ใช้งาน ใช้สายไฟฟ้าชนิดใดบ้าง?

วันนี้ เฟ้ลปส์ ดอด์จ ผู้นำการผลิตสายไฟฟ้าและสายเคเบิล จะมาอธิบายการเดินทางของพลังงานไฟฟ้าและสายไฟฟ้าที่ใช้ในระบบส่งจ่ายไฟฟ้าของเรา

โดยการเดินทางระยะไกลของพลังงานไฟฟ้าระดับหลายร้อยหลายพันเมกกะวัตต์จากโรงผลิตไฟฟ้ามีรายละเอียดการเดินทาง ดังนี้

1. เริ่มต้นจากการเพิ่มระดับแรงดันไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโรงไฟฟ้า 10 – 40 กิโลโวลต์ให้สูงขึ้นถึงระดับ 230 หรือ 500 กิโลโวลต์ เพื่อลดความสูญเสียในสายส่ง แล้วส่งไฟฟ้าผ่านสายส่งแรงดันสูง (Transmission line) ที่เป็นตัวนำอลูมิเนียมเปลือยเสริมแกนเหล็กชนิด ACSR (Aluminium Conductor Steel Reinforced) ติดตั้งบนเสาสูงโครงสร้างโลหะ เดินทางข้ามจังหวัดเป็นระยะทางไกลจากโรงไฟฟ้ามาถึงเขตชุมชนเมือง

2.จากนั้นสถานีไฟฟ้าในแต่ละพื้นที่จะแปลงแรงดันไฟฟ้าให้ต่ำลงเป็นไฟฟ้าแรงดันสูง 115 หรือ 69 กิโลโวลต์ แล้วส่งจ่ายไฟฟ้าต่อไปโดยใช้สายตัวนำอลูมิเนียมเปลือย AAC (All Aluminum Stranded Conductor) ติดตั้งบนเสาไฟฟ้าคอนกรีต

3.เมื่อถึงสถานีไฟฟ้าย่อยจะแปลงไฟฟ้าแรงดันสูงเป็นแรงดันปานกลาง 22, 24 หรือ 33 กิโลโวลต์ (ขึ้นอยู่กับระบบการจ่ายไฟฟ้าในแต่ละพื้นที่) แล้วส่งผ่านสายอลูมิเนียมหุ้มฉนวนและเปลือกชนิด SAC (Spaced Aerial Cable) ซึ่งติดตั้งบนเสาไฟฟ้าคอนกรีต

4.เมื่อใกล้ถึงผู้ใช้งานก็จะแปลงแรงดันไฟฟ้าลงอีกครั้งเป็นไฟฟ้าแรงดันต่ำแล้วจ่ายผ่านสายอลูมิเนียมหุ้มฉนวนชนิด WPC (Weather Proof Cable) ส่งมาที่อาคารบ้านเรือนของเราค่ะ

สำหรับลูกค้าที่ใช้ไฟฟ้าปริมาณมาก เช่น โรงงานอุตสาหกรรม อาคารสำนักงาน หรือห้างสรรพสินค้า จะซื้อไฟฟ้าแรงดันสูง 115 หรือ 69 กิโลโวลต์ หรือแรงดันปานกลาง 22, 24 หรือ 33 กิโลโวลต์จากการไฟฟ้าโดยตรงโดยมีหม้อแปลงของตัวเองสำหรับแปลงเป็นไฟฟ้าแรงดันต่ำเพื่อใช้งานภายใน

ที่กล่าวมานั้นเป็นการส่งจ่ายไฟฟ้าผ่านระบบสายอากาศ คือส่งผ่านสายไฟฟ้าที่ติดตั้งแขวนลอยในอากาศบนเสาไฟฟ้าซึ่งเป็นวิธีหลักที่ใช้ส่งจ่ายไฟฟ้าในบ้านเราและสามารถพบเห็นได้ทั่วไป

แต่นอกจากนี้แล้วยังมีการส่งจ่ายไฟฟ้าผ่านระบบสายใต้ดิน ซึ่งปัจจุบันมีใช้ในบางพื้นที่ของกรุงเทพมหานครและเมืองใหญ่หรือเมืองท่องเที่ยวที่ต้องการปรับปรุงภูมิทัศน์ให้สวยงามปราศจากเสาและสายไฟฟ้าที่รกรุงรัง

โดยสายไฟฟ้าใต้ดินจะเป็นสายไฟตัวนำทองแดงหุ้มฉนวน XLPE (Cross-linked Polyethylene) มีชิลด์โลหะสำหรับสายไฟแรงดันปานกลางและสายไฟแรงดันสูง มีชั้นของวัสดุกันน้ำกันความชื้น และมีเปลือกชั้นนอกที่ทำจาก PE (Polyethylene) หรือ PVC (Polyvinyl Chloride) ซึ่งทำให้สายไฟฟ้าใต้ดินมีความปลอดภัยสูง มีความแข็งแรง กันน้ำและความชื้นได้ดี สามารถติดตั้งในท่อร้อยสายที่ฝังใต้ดินหรือฝังดินได้โดยตรง

โดยสายไฟฟ้าใต้ดินนี้สามารถผลิตให้ครอบคลุมการใช้งานได้ทั้งระดับแรงดันสูง แรงดันปานกลาง และแรงดันต่ำ Phelps Dodge สามารถผลิตสายใต้ดินได้ถึงระดับแรงดัน 245 กิโลโวลต์ และ Phelps Dodge ยังมีห้องทดสอบแรงดันฟ้าผ่า (Lightning Impulse Voltage Test) ที่สามารถสร้างแรงดันทดสอบได้สูงถึง 1050 กิโลโวลต์

ทุกการเดินทางของพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย สายไฟฟ้าเฟ้ลปส์ ดอด์จ มีส่วนร่วมในหน้าที่ที่สำคัญนี้มายาวนานกว่า 50 ปี  สายไฟฟ้า เฟ้ลปส์ ดอด์จ จึงเป็นอุปกรณ์สำคัญในการส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้า จากระบบสายส่งไฟฟ้าแรงดันสูงครอบคลุมไปจนถึงสายไฟฟ้าในระบบจำหน่ายแรงดันปานกลางและแรงดันต่ำที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรม พาณิชย์และครัวเรือน

ในทุกๆ จุดของการเดินทางของพลังงานไฟฟ้าที่แสนไกลนั้น สายไฟฟ้ามีส่วนสำคัญอย่างมากในการทำหน้าที่เป็นตัวส่งผ่านพลังงานไปสู่ผู้ใช้ไฟฟ้าในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ

เพราะฉะนั้น สายไฟฟ้ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเลือกใช้สายไฟฟ้าที่มีการออกแบบและผลิตได้มาตรฐาน มีประสิทธิภาพสูงสุดตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งาน มีความแข็งแรง ทนทาน และมี ความปลอดภัยสูงสุด

ดังนั้นสายไฟฟ้า เฟ้ลปส์ ดอด์จ จึงเลือกใช้วัตถุดิบคุณภาพสูงในการผลิตสายไฟฟ้า อาทิเช่น ทองแดงบริสุทธิ์เกรด A ที่มีความบริสุทธิ์ไม่น้อยกว่า 99.99% เพื่อให้สายไฟฟ้านำกระแสไฟฟ้าได้ดีที่สุด

ฉนวนและเปลือกสายไฟฟ้าผลิตจากเม็ดพลาสติกคุณภาพสูงจากผู้ผลิตชั้นนำ และเราใช้วัตถุดิบที่เป็นของใหม่ทั้งหมดโดยไม่มีส่วนผสมของวัสดุรีไซเคิลเพื่อให้แน่ใจว่าสายไฟ เฟ้ลปส์ ดอด์จ ทุกเส้นมีคุณภาพและความปลอดภัยสูงสุด

เพราะฉะนั้นการเลือกใช้สายไฟฟ้าจึงไม่ใช่อะไรก็ได้ เนื่องจาก สายไฟฟ้าเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเราตลอดเวลาคุณภาพและมาตรฐานความปลอดภัยจึงเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรกในการเลือกใช้สายไฟฟ้า เพื่อความมั่นใจในความปลอดภัยของชีวิตเราตลอดจนผู้คนที่อยู่รอบข้างและคนที่เรารักค่ะ

แล้วสายไฟฟ้าที่เดินอยู่ที่บ้านของคุณใช้สายไฟฟ้าเฟ้ลปส์ ดอด์จ อยู่หรือเปล่า

สอบถามและสั่งซื้อสินค้า

Tel. ‭02 680 5800‬

ระบบส่งไฟฟ้า

  • ระบบส่งจ่ายไฟฟ้าในประเทศไทย

ปัจจุบัน “พลังงานไฟฟ้า” เป็นสิ่งจำเป็นระดับต้นๆของวิถีชีวิตปัจจุบัน นอกจากนี้พัฒนาการด้านพลังงานไฟฟ้ายังมีส่วนผลักดันในการเปลี่ยนแปลงมิติอื่น ๆ ทั้งด้านอุตสาหกรรม การแพทย์สาธารณสุข  การคมนาคม  การศึกษา การท่องเที่ยว และการสื่อสาร เป็นต้น

โดยเส้นทางแห่งการพัฒนาพลังงานไฟฟ้า ยังคงก้าวไปด้วยกลไกแห่งการสร้างสรรค์คุณภาพ ที่พร้อมส่องแสงอันสว่างไสวจากแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้าที่หลากหลายเชื้อเพลิง เชื่อมโยงผ่านด้วยสายใยของ “ระบบส่งไฟฟ้า”

ระบบส่งไฟฟ้าจึงมีส่วนสำคัญในการส่งพลังงานไฟฟ้าจากผู้ผลิตมาสู่ผู้ใช้ไฟ ทำให้ประชาชนเข้าถึงสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง ระบบส่งสร้างความเจริญสู่ทุกภูมิภาคของประเทศ ก่อให้เกิดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ นำไปสู่ความเชื่อถือในการลงทุนในทุกภาคส่วน

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่จัดหา ผลิต ควบคุมระบบไฟฟ้าและส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าผ่านระบบเครือข่ายสายส่งไฟฟ้าของ กฟผ.ทั่วประเทศ โดยการเชื่อมโยงจากแหล่งผลิตไฟฟ้าไปยังระบบจำหน่ายของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ซึ่งจะปรับแรงดันไฟฟ้าก่อนส่งถึงผู้ใช้ไฟฟ้าทุกภาคส่วนอย่างเหมาะสม

รู้จักระบบส่งไฟฟ้า

  • ระบบส่งจ่ายไฟฟ้าในประเทศไทย
    สายส่งไฟฟ้าแรงสูง (Tranmission Line)

สายส่งไฟฟ้าแรงสูง (Tranmission Line)
สายส่งไฟฟ้าแรงสูงของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ของระบบไฟฟ้าไทย ที่ต้องได้รับการดูแลบำรุงรักษาให้มีความมั่นคงและมีความพร้อมที่จะสร้างแสงสว่างแก่คนไทยทั่วทุกพื้นที่ หากขาดหรือชำรุดไปเพียงหนึ่งจุด อาจทำให้เกิดไฟฟ้าตกหรือดับเป็นวงกว้างได้

ดังนั้น “สายส่งไฟฟ้าแรงสูง”จึงเป็นส่วนประกอบสำคัญของระบบไฟฟ้า ทำหน้าที่ส่งพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโรงไฟฟ้าไปยังศูนย์กลางใช้ไฟฟ้า และเชื่อมโยงระบบส่งไฟฟ้าหลายๆระบบเข้าด้วยกัน เพื่อส่งไฟฟ้าจากระบบหนึ่งไปยังอีกระบบหนึ่ง หรือถ่ายเทพลังงานไฟฟ้าระหว่างระบบให้แก่กันในกรณีฉุกเฉิน และกรณีที่บางระบบมีช่วงเวลาของการใช้ไฟฟ้าสูงสุดไม่ตรงกัน เสาและสายส่งไฟฟ้าแรงสูงจึงจำเป็นต้องอยู่ในสภาพดีและพร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา

  • ระบบส่งจ่ายไฟฟ้าในประเทศไทย
    สถานีไฟฟ้าย่อย (Substation)

สถานีไฟฟ้าย่อย (Substation)
ด้วยเหตุที่โรงไฟฟ้าส่วนใหญ่สร้างไว้ในที่ห่างไกลชุมชน การส่งกระแสไฟฟ้าจากที่ไกลๆ จะประสบปัญหาแรงดันไฟตก การสูญเสียสูง และส่งไฟฟ้าได้ในปริมาณน้อย ในทางตรงกันข้าม หากมีการส่งจ่ายไฟฟ้าด้วยแรงดันยิ่งสูง การสูญเสียก็จะยิ่งต่ำ ส่งไฟฟ้าได้ปริมาณมาก ดังนั้นการมีสถานีไฟฟ้าเพื่อเปลี่ยนแรงดัน จึงเป็นสิ่งจำเป็นทั้งในด้านการลดการสูญเสียด้วยการเพิ่มแรงดันให้สูงมากๆ จะสามารถส่งไฟฟ้าไปได้ในระยะทางไกลๆ และได้ปริมาณมากๆ ขณะเดียวกันเมื่อกระแสไฟฟ้าเข้ามาสู่ตัวเมืองก็ต้องมีสถานีไฟฟ้า เพื่อลดแรงดันกลับลงมาให้เกิดความสะดวกและความปลอดภัยในการใช้งาน

สถานีไฟฟ้าย่อย (Substation) คือ สถานที่ตั้งอุปกรณ์ตัดตอนไฟฟ้า และอุปกรณ์แปลงแรงดันไฟฟ้า เป็นสถานที่ติดตั้งอุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมการไหลของพลังงานไฟฟ้า เป็นจุดที่เชื่อมโยงระหว่างสายส่งไฟฟ้าจากจุดต่างๆถึงกัน และมีอุปปกรณ์สำหรับป้องกันระบบติดตั้งไว้เพื่อตัดสายส่งที่มีปัญหาลัดวงจรออกจากการจ่ายไฟฟ้า

  • ระบบส่งจ่ายไฟฟ้าในประเทศไทย
    ลานไกไฟฟ้า (Switchyard)

ลานไกไฟฟ้า (Switchyard) ทำหน้าที่แปลงแรงดันที่ผลิตจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้สูงขึ้นเพื่อส่งต่อไปยังสถานีไฟฟ้าที่อยู่ห่างไกล ลดความสูญเสียในระบบ ซึ่งประกอบด้วยหม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง ที่ทำหน้าที่่เพิ่มแรงดัน และระบบป้องกันทางไฟฟ้า

  • ระบบส่งจ่ายไฟฟ้าในประเทศไทย
    ลูกถ้วย (Insulator)

ลูกถ้วย (Insulator)
เนื่องจากสายไฟฟ้าแรงสูงมีระยะอันตรายที่ไฟฟ้าจะกระโดดข้ามได้ ดังนั้นจึงต้องมีการจับยึดสายไฟฟ้า ด้วยวัสดุที่เป็นฉนวนไฟฟ้า ที่เรียกว่า “ลูกถ้วย” ในจำนวนที่พอเหมาะกับไฟฟ้าแรงสูงนั้น ซึ่งจำนวนชั้นของลูกถ้วย จะบ่งบอกถึงระดับแรงดันไฟฟ้าด้วย

ลูกถ้วย (Insulator) คือ อุปกรณ์ที่ใช้รองรับสายไฟฟ้าแรงสูง มีคุณสมบัติเป็นฉนวนไฟฟ้า ป้องกันกระแสไฟฟ้าไหลจากตัวนำไปสู่โครงสร้างเสาส่ง หรือไหลลงดิน โดยลูกถ้วยของ กฟผ.ทำจากกระเบื้องเคลือบหรือแก้ว มีคุณสมบัติพิเศษคือมีความเป็นฉนวนมาก แข็งแรง ทนทาน  แต่เมื่อใช้ไปนานๆ สัมผัสกับอากาศนานเข้าจะมีฝุ่นละอองมาเกาะทำให้เกิดการนำไฟฟ้าได้ จึงต้องมีการทำความสะอาดลูกถ้วยอย่าสม่ำเสมอ

ประเภทของเสาส่งไฟฟ้าแรงสูง

  • ระบบส่งจ่ายไฟฟ้าในประเทศไทย

เราเคยลองสังเกตไหมว่า เมื่อเราเดินทางผ่านตามถนนต่างๆในเมือง หรือต่างจังหวัด เรามักจะเห็นเสาส่งไฟฟ้าแรงสูงที่มีรูปร่าง ขนาด ที่แตกต่างกันออกไป นั่นก็เพราะว่าเสาส่งไฟฟ้าแรงสูงแต่ละประเภทมีลักษณะการใช้งานแยกตามระดับแรงดันไฟฟ้า จำนวนสายที่ใช้ในระบบ และพื้นที่ที่ตั้งเสาที่แตกต่างกันไป เพื่อให้การส่งจ่ายไฟฟ้ามีความมั่นคง ก่อให้เกิดเสถียรภาพในระบบไฟฟ้า ไม่ทำให้เกิดไฟตก ไฟดับ นั่นเอง

การที่ระบบไฟฟ้ามีแรงดันไฟฟ้าสูง จะช่วยส่งกระแสไฟฟ้าไปยังระยะทางไกล ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เนื่องจากไฟฟ้าแรงสูงมีแรงดันไฟฟ้าที่สูงมากเมื่อเทียบกับที่ใช้กันทั่วไปตามบ้านเรือน และอาคารต่าง ๆ  (220 โวลต์) ไฟฟ้าแรงสูงจึงสามารถกระโดดข้ามอากาศเข้าหาวัตถุหรือสิ่งมีชีวิตได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีการสัมผัสกับสายไฟเลย (เราจึงอาจจะเห็นนกที่ถูกไฟดูด โดยไม่จำเป็นต้องเกาะบนสายไฟ) ยิ่งถ้าไฟฟ้ามีแรงดันสูงมากเท่าไร ก็ยิ่งทำให้เกิดการกระโดดข้ามได้ไกลมากยิ่งขึ้น 

ปัจจุบันเสาส่งไฟฟ้าแรงสูงของ กฟผ. ใช้ระดับแรงดันไฟฟ้า คือ 69 กิโลโวลต์ (ปัจจุบันใช้อยู่น้อยมาก) 115 กิโลโวลต์ 230 กิโลโวลต์ และ 500 กิโลโวลต์ ซึ่งถือเป็นไฟฟ้าแรงสูงทั้งหมด และในอนาคตหากมีความต้องการพลังงานไฟฟ้ามากขึ้นและต้องส่งพลังงานไฟฟ้าในระยะไกลมากขึ้น อาจจะมีระดับแรงดันไฟฟ้าที่มากกว่า 500 กิโลโวลต์

ชนิดของเสาไฟฟ้าถูกออกแบบเป็นประเภทต่างๆ เพื่อให้เหมาะสมกับแรงดันไฟฟ้าและจำนวนสายที่ใช้ในระบบของ กฟผ. โดยปัจจุบันมีเสาไฟฟ้าที่ใช้งานอยู่ 3 ชนิด คือ เสาคอนกรีต เสาโครงเหล็ก และเสาชนิด Monopole ซึ่งการใช้งานขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและความเหมาะสมของสภาพพื้นที่ที่ตั้งเสาไฟฟ้า

ศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้า

  • ระบบส่งจ่ายไฟฟ้าในประเทศไทย
    ศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าแห่งชาติ

ระบบไฟฟ้าประกอบด้วยโรงไฟฟ้าประเภทต่างๆ สายส่งไฟฟ้าระดับแรงดันต่างๆ และสถานีไฟฟ้าแรงสูง ซึ่งตั้งกระจายอยู่ทั่วไปตามจังหวัดต่างๆ จึงจำเป็นต้องมีหน่วยงานกลางเพื่อให้โรงไฟฟ้า สถานีไฟฟ้าแรงสูง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติงานเป็นหนึ่งเดียวกัน ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด หน่วยงานดังกล่าวคือ “ศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าแห่งชาติ”

การดำเนินงานของศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าแห่งชาติ คำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้าเป็นหลัก โดยมุ่งเน้นด้านความมั่นคง เชื่อถือได้ และมีคุณภาพเพียงพอต่อเนื่องของระบบไฟฟ้า ประสิทธิภาพและต้นทุนการผลิตเป็นสำคัญ โดยมิได้คำนึงว่าเป็นโรงไฟฟ้าของ กฟผ. หรือโรงไฟฟ้าเอกชน เพื่อบรรลุตามภารกิจดังกล่าว ศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าแห่งชาติ ต้องสั่งการด้วยความเป็นธรรมต่อผู้ผลิตไฟฟ้าทุกภาคส่วน ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 87 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 ที่กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตที่มีศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้า ต้องสั่งให้ผู้ผลิตไฟฟ้าดำเนินการผลิตไฟฟ้าอย่างเป็นธรรมและจะเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมมิได้ โดยมีคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เป็นผู้กำกับดูแล

ศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้า มีความสำคัญต่อการผลิตและจ่ายกระแสไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าต่างๆ ให้แก่ผู้ใช้พลังงานไฟฟ้าทั่วประเทศ และยังเป็นหน่วยงานกลาง ซึ่งทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้การดำเนินงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นไปอย่างประหยัด มั่นคง ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทุกฝ่าย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มีภารกิจหลักต้องรับผิดชอบในเรื่องดังกล่าวฉันใด ศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าก็มีความสำคัญควบคู่กันไปด้วย

ข้อกำหนดเพื่อความปลอดภัยในเขตเดินสายไฟฟ้า

เขตเดินสายไฟฟ้าเป็นพื้นที่รอบๆแนวสายส่งไฟฟ้าแรงสูง โดยประกาศเป็นระยะทางจากแนวศูนย์กลางสายส่งไฟฟ้าแรงสูงออกไปเป็นระยะทางต่างๆกัน

กฟผ. อาศัยอำนาจตาม พระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511 และ พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 ประกาศและกำหนดเขตระบบโครงข่ายไฟฟ้าสำหรับดำเนินการก่อสร้างและบำรุงรักษา เพื่อประโยชน์แห่งความปลอดภัยในการส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้า โดยการจำกัดสิทธิบางประการในการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตระบบโครงข่ายไฟฟ้า และเป็นการป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อร่างกาย ชีวิต และทรัพย์สิน

ประกาศการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เรื่อง ข้อกำหนดเพื่อความปลอดภัยในเขตเดินสายไฟฟ้า

  1. ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด อันอาจเป็นอันตรายแก่ระบบไฟฟ้า เช่น ห้ามนำวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักรกล เช่น รถเครน รถยก รถตัก รถขุด เข้าใกล้สายไฟฟ้า แรงสูงอย่างน้อย 4.00 เมตร หรือ ห้ามเผาไร่อ้อย นาข้าว ป่าพง หรือ วัสดุอื่นใดในแนวเขตเดินสายไฟฟ้า
  2. ห้ามปลูกสร้างอาคาร บ้านเรือน หรือ สิ่งปลูกสร้างอื่นทุกชนิด ในเขตเดินสายไฟฟ้า
  3. ห้ามปลูกต้นไม้หรือพืชผล ในเขตเดินสายไฟฟ้า ดังนี้
    • บริเวณพื้นที่ ที่ตั้งเสา และพื้นที่โดยรอบโคนเสา ภายในระยะห่างจากแนวขาเสา 4 เมตร ห้ามปลูกต้นไม้หรือพืชผลทุกชนิด
    • บริเวณพื้นที่ในเขตเดินสายไฟฟ้านอกจากข้อ 3.1 ห้ามปลูกต้นไม้หรือพืชผล ซึ่งเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้วมีความสูงเกินกว่า 3 เมตร
    • บริเวณพื้นที่ในเขตเดินสายไฟฟ้าของสายส่งไฟฟ้าระดับแรงดัน 500,000 โวลต์ ห้ามปลูกอ้อย
  4. การกระทำใดๆ เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นดินบริเวณพื้นที่ในเขตเดินสายไฟฟ้า เช่น การปรับ สภาพพื้นดินในสูงขึ้น การขุดดินหรือขุดบ่อ การก่อสร้างถนน จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกฟผ.ก่อน โรงเรือนหรือสิ่งอื่น ที่สร้างขึ้นหรือทำขึ้น ต้นไม้หรือพืชผล ที่ปลูกขึ้น โดยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข หรือไม่ได้รับอนุญาตจาก กฟผ. ให้ กฟผ. มีอำนาจรื้อถอน ทำลาย หรือตัดฟัน ตามควรแก่กรณีโดยไม่ต้องจ่ายค่าทดแทน

ข้อกำหนดความกว้างเขตเดินสายไฟฟ้า

ขนาด (กิโลโวลต์) ระยะห้ามจากจุดกึ่งกลางเสาออกไปด้านละ รวมเขตเดินสายไฟฟ้า
69 9 เมตร 18 เมตร
115 12-25 เมตร 24-50 เมตร
230 20-25 เมตร 40-50 เมตร
500 35-40 เมตร 70-80 เมตร

เมื่อมีความประสงค์จะติดต่อขออนุญาตกระทำการก่อสร้าง ปรับพื้นที่ในเขตเดินสายไฟฟ้า หรือมีข้อสงสัยใดๆ หรือ พบการกระทำใดๆ อันอาจเป็นอันตรายต่อระบบการส่งจ่ายกำลังไฟฟ้า อันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของชาติ โปรดแจ้งให้เจ้าหน้าที่ของการไฟฟ้าผลิตแห่งประเทศไทย ที่ใกล้ที่สุด หรือศูนย์บริการข้อมูล กฟผ. 1416

เอกสารอ้างอิง

ที่มา :
หนังสือระบบส่งไฟฟ้า เส้นเลือดใหญ่แห่งพลังงานไทย
หนังสือคำศัพท์น่ารู้ กฟผ.

การส่งจ่ายกำลังไฟฟ้าในประเทศไทยมีกี่ระบบ

วงจรระบบส่งและจ่ายพลังไฟฟ้ามีรูปแบบวงจรพื้นฐาน 3 แบบ คือ ระบบเรเดียล (radial system) ระบบลูป (loop system)และระบบเน็ตเวิร์ก (network system) รายละเอียดดังนี้

ประเทศไทยที่มีการผลิตและส่งจ่ายไฟฟ้ามีกี่แห่ง

ประเทศไทยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบ และเกี่ยวข้องกับระบบการผลิตและจ่ายไฟฟ้า กำลังใหญ่ๆ รวม 3 หน่วยงาน - การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, กฟน. (Electricity Generating Authority of Thailand, EGAT) - การไฟฟ้านครหลวง, กฟน. (Metropolitan Electricity Authority, MEA)

ระบบการส่งจ่ายไฟฟ้า คือ อะไร

ระบบจ่ายกำลังไฟฟ้า คือ ระบบที่ทำหน้าที่จ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับระบบอื่นๆ ซึ่งรวมไปถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทต่างๆ พลังงานสูญเสียสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกส่วนของระบบจ่ายกำลังไฟฟ้า ซึ่งถือเป็นส่วนหลักของระบบไฟฟ้า การหาวิธีเพื่อลดพลังงานสูญเสียในระบบจะทำให้ระบบจ่ายกำลังไฟฟ้ามี ประสิทธิภาพสูงขึ้น

อุปกรณ์ในระบบส่งจ่ายไฟฟ้ามีอะไรบ้าง

7 ส่วนประกอบของระบบส่งและจ่ายไฟฟ้า โรงไฟฟ้า/โรงต้นกำลัง (Power Plant) หม้อแปลงไฟฟ้าแรงดันไฟฟ้าสูง (high Volt Transformer) สายส่งไฟฟ้าแรงสูง (Transmission Line) สถานีแรงสูงของ กฟผ. (Substation) สถานีควบคุมการจำหน่ายไฟฟ้าของ กฟภ. หม้อแปลงระบบจำหน่ายไฟฟ้าแรงดันต่ำ (Distribution Transformer)