ผลของการอพยพเข้ามาของชาวจีน

จีนโพ้นทะเล คือ ชาวจีนผู้อพยพออกนอกประเทศจีนเพื่อหนีภัยสงครามและความอดอยาก กระจัดกระจายไปอยู่ตามประเทศต่างๆในหลายภูมิภาค เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 19-20  พบว่าโดยส่วนใหญ่ยังคงมีความผูกพันกับแผ่นดินจีนด้วยสายใยของแซ่ตระกูล และมีบทบาทสนับสนุนการปฏิวัติจีน รวมทั้งการฟื้นฟูพัฒนาแผ่นดินแม่ในเวลาต่อๆมา
 

ชาวจีนเป็นกลุ่มประชากรที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก  ประกอบด้วย 56 ชาติพันธุ์  แต่ชาติพันธุ์ที่มีจำนวนมากที่สุดคือ ชนชาติฮั่น  คือมี 1,300 ล้านคนทั่วโลก  ชาวฮั่นเป็นส่วนใหญ่ของประชากรที่อาศัยอยู่ในประเทศจีน(คิดเป็น 90%) รวมทั้งในฮ่องกงและสิงคโปร์(80%).
 
ในกลุ่มประชากรชาวจีนฮั่น มีกลุ่มย่อยที่สำคัญอยู่ 7-8 กลุ่ม ส่วนหนึ่งในนั้นได้แก่ จีนแคะ (ฮากกา) จีนแต้จิ๋ว จีนฮกเกี้ยน จีนไหหลำและจีนกวางตุ้ง ในเมืองไทยเราก็คุ้นเคยกับคนจีนในเชื้อสายเหล่านี้
 

กล่าวกันว่า แคะ แต้จิ๋วและกวางตุ้ง เป็นสามกลุ่มชาติพันธุ์ย่อยที่ยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีจีนโบราณไว้ได้อย่างเหนียวแน่นที่สุด จากอดีตจนถึงปัจจุบัน คนจีนในประเทศไทยที่อพยพมาจากแผ่นดินใหญ่ส่วนมากก็มีแต่ แคะ แต้จิ๋วและกวางตุ้ง นี่แหละ

การศึกษาเพื่อทำความเข้าใจชาวจีนอพยพใหม่ในไทยจากที่กล่าวมานี้ทำให้เห็นว่า การคิดคำนึงใคร่ครวญปัญหาเกี่ยวกับชาวจีนอพยพมีประเด็นที่เป็นทั้งเชิงบวกและเชิงลบ

บางกรณีก็สามารถแยกเชิงบวกกับเชิงลบให้เห็นได้อย่างชัดเจน

แต่บางกรณีดูเหมือนว่าเชิงบวกกับเชิงลบทับซ้อนกันอยู่

ในที่นี้จะนำเสนอข้อที่พึงพินิจพิจารณาเป็นภาพรวมโดยแยกเป็นประเด็น

ดังนี้

 

ประการแรก การอพยพเข้ามายังไทยเพื่อแสวงหาชีวิตที่ดีกว่าของชาวจีนเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งรวมถึงการไม่อาจหลีกเลี่ยงการอพยพเข้ามายังไทยของชนชาติอื่นที่มิใช่จีน

ที่เป็นเช่นนี้ก็ด้วยเหตุที่ไทยมีนโยบายที่เปิดรับไม่ต่างกับอีกหลายประเทศ และเหตุผลที่เปิดรับมีทั้งเพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและเพื่อมนุษยธรรม

เหตุฉะนั้น ไม่ว่าจะอย่างไร ชาวจีนอพยพจะเป็นปรากฏการณ์ที่ไทยต้องเผชิญต่อไป ตราบเท่าที่ยังไม่มีเหตุการณ์ใดที่จะทำให้ไทยเปลี่ยนนโยบายไปจากเดิม

เมื่อเป็นเช่นนี้ชาวไทยจึงพึงทำความเข้าใจชาวจีนอพยพเพื่อที่จะให้อยู่ร่วมกันได้ และเพื่อให้การอยู่ร่วมกันนี้มีปัญหาน้อยที่สุดเท่าที่จะน้อยได้

 

ประการที่สอง กล่าวในแง่แรงงานแล้ว ชาวจีนอพยพเป็นแรงงานที่มีทักษะและยังเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานไทย

จากการศึกษาในที่นี้พบว่า ยังมีแรงงานแฝงที่ผิดกฎหมายปรากฏอยู่ ซึ่งแน่นอนว่า การใช้มาตรการทางกฎหมายแก้ปัญหานี้ย่อมเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

แต่ในอีกทางหนึ่งไทยเองก็ควรมีวิธีบริหารจัดการแรงงานเหล่านี้อย่างถูกต้อง ดังที่มีกับแรงงานไร้ทักษะจากประเทศเพื่อนบ้าน เพราะหากมีการบริหารจัดการที่ดีและถูกต้องแล้ว ไทยจะเป็นฝ่ายที่ได้ประโยชน์ ส่วนแรงงานจีนก็ได้ประโยชน์ในเรื่องของค่าแรงและสวัสดิการที่เป็นธรรม

อย่างไรก็ตาม การแสวงหาแนวทางการบริหารจัดการนี้จะดียิ่งขึ้นหากร่วมหารือกับภาคเอกชน เพราะเป็นภาคที่เข้าถึงหรือต้องการแรงงานที่มีทักษะ อีกทั้งยังเป็นผู้ได้รับประโยชน์โดยตรง

หากขาดความร่วมมือกับภาคเอกชนแล้วก็ยากที่จะสร้างระบบการบริหารจัดการที่ดีได้

 

ประการที่สาม การเข้ามาทำการค้าการลงทุนในไทยของชาวจีนมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นการเข้ามาตามกฎกติกาการค้าเสรีและกฎหมายไทย แต่ด้วยเหตุที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นจึงทำให้เกิดภาพว่า ชาวจีนกำลังเข้ามาครอบงำเศรษฐกิจไทย

ปัญหานี้มีที่มาจากเหตุสองประการ

ประการแรก เป็นเพราะชาวจีนเข้ามาเป็นจำนวนมากกว่าชาติอื่นๆ ภาพที่ว่าจึงเกิดขึ้น

ประการต่อมา เป็นเพราะชาวจีนเป็นชนชาติที่มีความสามารถและทักษะในทางธุรกิจการค้า อีกทั้งทุนก็มากกว่า ชาวจีนจึงเข้ามาซื้อกิจการจากชาวไทยหรือไม่ก็ลงทุนโดยตรงได้ง่ายกว่าชาวไทย ภาพที่ว่าจึงเกิดขึ้น

แต่ภาพที่เกิดขึ้นนี้เป็นภาพที่ไทยไม่ได้คาดคิดมาก่อนว่าจะมีจำนวนมากเช่นนี้ อีกทั้งการเข้ามาก็ยังเป็นไปตามกฎหมาย จึงเป็นการยากที่จะห้าม

ถึงกระนั้น ไทยก็ควรหาแนวทางในการแก้ปัญหาเพื่อมิให้ภาพการครอบงำที่ว่าเกิดขึ้นจริง

โดยแนวทางการแก้ปัญหานี้จะต้องไม่นำไปสู่ข้อกล่าวหาที่ว่าไทยกีดกันทางการค้าเช่นกัน ปัญหานี้จึงมีความละเอียดอ่อน เพราะเป็นปัญหาที่มีปมทางความรู้สึกเข้ามารวมอยู่ด้วย

 

ประการที่สี่ กรณีที่ชาวจีนให้ชาวไทยเป็นตัวแทน (nominee) ในการถือหุ้น และซื้อที่ดินหรือบ้านพักอาศัยอย่างผิดกฎหมายนั้น ในเบื้องต้นพึงยอมรับก่อนว่า หากชาวไทยไม่ร่วมมือด้วย การกระทำดังกล่าวก็มิอาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งเข้าทำนองที่ว่า ปรบมือข้างเดียวไม่ดัง

ส่วนในเบื้องปลายก็เห็นได้ว่า การกระทำดังกล่าวก็มีความเสี่ยง แม้ชาวจีนจะไว้วางใจชาวไทยก็ตาม แต่ความไว้วางใจนี้มีหลักประกันน้อยมาก โดยเฉพาะในระยะยาว

เหตุดังนั้น การแก้ปัญหาในเบื้องต้นจึงคือ ทำอย่างไรมิให้ชาวไทยยอมเป็นตัวแทน ทั้งนี้ โดยชี้ให้เห็นถึงผลเสียที่จะตามมาทั้งต่อเจ้าตัวและต่อประเทศชาติ ส่วนการแก้ปัญหาเบื้องปลายในระยะยาวนั้น ไทยจักต้องคงกฎหมายการถือครองหุ้นและบ้านกับที่ดินในปัจจุบันเอาไว้

การแก้กฎหมายนี้มิใช่ทางออกที่ถูกต้อง และรังแต่จะส่งผลเสียทางเศรษฐกิจและสังคมส่วนรวม โดยเฉพาะการสร้างให้เกิดความขัดแย้งทางเชื้อชาติในอนาคต

 

ประการที่ห้า กรณีการซื้อห้องพักในอาคารชุด (condominium) ของชาวจีนโดยทั่วไปยังเป็นไปตามกฎหมาย แต่พึงควบคุมมิให้มีการซื้อโดยตัวแทนในสัดส่วนที่เกินกว่ากฎหมายกำหนด หาไม่แล้วจะเป็นปัญหาดังประการที่สี่

ในทางกลับกันการถือครองห้องพักอาคารชุดโดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องเวลาดังในประเทศจีนนั้น จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจอาคารชุด ถ้าหากธุรกิจนี้สามารถทำให้ชาวจีนซื้อห้องพักของตนได้มากขึ้น

เพราะการถือครองที่ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องเวลานับเป็นความใฝ่ฝันหนึ่งของชาวจีน

 

ประการที่หก แม้ชาวจีนอพยพใหม่จะมีความขยันขันแข็ง และต้องทำงานแข่งขันกับคนรอบข้างโดยต้องตื่นตัวอยู่เสมอนั้น เป็นความจริงของชีวิตขณะอยู่ที่จีน

แต่เมื่อมายังไทยแล้วพบว่า ชีวิตที่ไม่ต้องตื่นตัวอยู่เสมอกลับลดทอนความกดดันได้มาก และน่าจะเป็นชีวิตที่ดีต่อสุขภาพจิตนั้น ทำให้ชาวจีนบางคนบางกลุ่มเปลี่ยนทัศนคติของตนมาเป็นดังชาวไทยบ้าง

กรณีนี้ทำให้เห็นว่าชาวจีนเองมีความคิดในเชิงเปรียบเทียบกับชาวไทยอยู่ตลอดเวลา และสามารถพิจารณาแยกแยะด้วยการนำเอาส่วนที่ดีมาใช้กับตัวเอง กรณีตัวอย่างนี้น่าจะเป็นประโยชน์ไม่น้อย หากชาวไทยสามารถโน้มน้าวให้ชาวจีนเห็นข้อดีในรีตของไทย และถือปฏิบัติในรีตของไทยในบางด้าน

หากทำได้จะช่วยลดทอนวัฒนธรรมพันทางของชาวจีนลงได้ และจะทำให้การอยู่ร่วมกันระหว่างชาวไทยกับชาวจีนเป็นไปในทางที่ดีมากขึ้น

 

ประการที่เจ็ด เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า รัฐบาลจีนส่งเสริมให้ประชาชนของตนไปทำการค้าการลงทุนยังต่างประเทศมานานนับสิบปีแล้ว จากเหตุนี้ กระแสการหลั่งไหลออกนอกประเทศของชาวจีนจึงจะยังคงมีอยู่ต่อไป และจะทำให้จำนวนชาวจีนอพยพในหลายประเทศเพิ่มมากขึ้น ซึ่งรวมทั้งไทยด้วย

ไทยจึงควรคิดเตรียมการเกี่ยวกับปัญหาชาวจีนที่จะเข้ามายังไทยเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะต้นทุนที่ชาวจีนแต่ละคนจะเข้าถึงบริการบางด้านของรัฐหรือเอกชนไทย

ข้อเสนอเพื่อพินิจพิจารณานี้อาจยังไม่ครอบคลุมรอบด้านและเป็นไปโดยกว้าง ซึ่งในทางปฏิบัติยังมีรายละเอียดที่จะต้องนำมาศึกษาประกอบอยู่อีกไม่น้อย โดยรายละเอียดดังกล่าวนี้ได้ปรากฏในงานศึกษานี้โดยตลอดแล้ว

 

ปัจฉิมความ

ตลอด ค.ศ.2019 คณะผู้วิจัยได้ใช้เวลาในการลงพื้นที่ตามจังหวัดต่างๆ ทั้งสี่ภาคของไทยเพื่อสัมภาษณ์ชาวจีนอพยพใหม่ การสัมภาษณ์ที่ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีนี้มักจะมาพร้อมกับการเดินสำรวจเมืองในยามว่าง

และสิ่งที่พบต้องตรงกับการวิจัยก็คือ นักท่องเที่ยวจีนจำนวนมากกับธุรกิจที่มีชาวจีนเป็นผู้ลงทุนหรือเป็นหุ้นส่วน บางพื้นที่อย่างเช่นภูเก็ตมีนักท่องเที่ยวจีนรวมตัวกันเดินอย่างหนาแน่นเป็นคลื่นมนุษย์ จนคณะผู้วิจัยซึ่งอยู่ปะปนไปกับคลื่นมนุษย์นั้นแทบไม่ต้องเดิน เพราะคลื่นมนุษย์เหล่านี้ต่างหนุนเนื่องผลักดันพาไป

เวลานั้นภาพเหล่านี้ทำให้คณะผู้วิจัยตระหนักว่า ชาวจีนมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างมาก

ต้น ค.ศ.2020 ได้เกิดการระบาดของโรคโควิด-19 ขึ้นทั่วโลก ขณะที่โรคนี้เริ่มระบาดในจีน ไทยจัดเป็นประเทศที่มีจำนวนผู้ได้รับเชื้อจากโรคนี้เป็นอันดับสองรองจากจีนที่อยู่อันดับหนึ่ง

หลังจากนั้นอีกหลายเดือนต่อมา ทั้งจีนและไทยก็สามารถสกัดกั้นการระบาดของโรคได้ในระดับที่สูงมาก จนอันดับของสองประเทศนี้ถอยร่นไปอยู่ท้ายๆ ในขณะที่หลายส่วนของโลกไม่เพียงไม่มีทีท่าว่าการระบาดจะลดน้อยถอยลงเท่านั้น

หากแต่ยังเพิ่มสูงขึ้นจนน่าตกใจในแต่ละวัน

หมายเหตุ : บทความชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของผลงานวิจัยเรื่อง ชาวจีนอพยพใหม่ในประเทศไทย โดยได้รับทุนอุดหนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ความเห็นในรายงานผลการวิจัยเป็นของผู้วิจัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป

การอพยพเข้ามาของชาวจีนส่งผลกระทบต่อไทยอย่างไร

เมื่อชาวจีนอพยพเข้ามาอยู่ในไทย ก็ได้นำวัฒนธรรมความเชื่อ ชีวิตความเป็นอยู่ ประเพณี วัฒนธรรมติดมาด้วย แม้ว่าชาวจีนมีความยึดมั่นในประเพณีจีนมาก แต่เมื่อพวกเขาเข้ามาอาศัยในผืนแผ่นดินไทย ไปมาหาสู่กับชาวไทยมาตลอด ประกอบกับปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้น การผสมผสานระหว่างชาวจีนและไทยจึงมีอยู่หลายด้าน ดังนี้ เยาวราชในอดีต

ชาวจีนที่อพยพเข้ามาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นส่วนใหญ่อพยพมาจากที่ใด * คำตอบของคุณ

1. ชาวจีนที่อพยพเข้ามาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นส่วนใหญ่อพยพมาจากที่ใด มณฑลฝูเจี้ยน/ฮกเกี้ยน และมณฑลกวางตง/กวางตุ้ง ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีน 2. ปัจจัยใดดึงดูดให้คนจีนอพยพเข้ามาในไทย ความอุดมสมบูรณ์ และความสงบสุขของแผ่นดินไทย

ทำไมคนจีนต้องอพยพ

จีนโพ้นทะเล คือ ชาวจีนผู้อพยพออกนอกประเทศจีนเพื่อหนีภัยสงครามและความอดอยาก กระจัดกระจายไปอยู่ตามประเทศต่างๆในหลายภูมิภาค เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 19-20 พบว่าโดยส่วนใหญ่ยังคงมีความผูกพันกับแผ่นดินจีนด้วยสายใยของแซ่ตระกูล และมีบทบาทสนับสนุนการปฏิวัติจีน รวมทั้งการฟื้นฟูพัฒนาแผ่นดินแม่ในเวลาต่อๆมา

ชาวจีนเข้ามามีบทบาทใดบ้างในสังคม

ประเทศไทยมีประชากรชาวไทยเชื้อสายจีนอยู่เป็นจำานวนมาก ชาวจีนเข้ามาตั้งรกรากถิ่นฐานในดินแดน ที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบันมาตั้งแต่ก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และชาวจีนมีส่วนสำาคัญใน การขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของไทยมาตั้งแต่โบราณ ไม่ว่าจะเป็นในด้านการติดต่อต่อค้าขาย เกษตรกรรม เทคโนโลยีการหล่อโลหะ รวมไปถึง ...