ด้านเศรษฐกิจในอดีตและปัจจุบัน

สหรัฐอเมริกามีระบบเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุด และมีอำนาจทางเศรษฐกิจในด้านเทคโนโลยีมากที่สุดในโลก ซึ่งผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของสหรัฐฯ โดยเฉลี่ยต่อบุคคลคิดเป็นจำนวน 63,543.6 ดอลลาร์สหรัฐ (ข้อมูลจาก World Bank ปี 2563) ในระบบเศรษฐกิจเสรีทางการตลาดนี้ ทั้งปัจเจกบุคคลและบริษัทมีอำนาจในการตัดสินใจทางเศรษฐกิจด้วยตนเอง โดยรัฐบาลกลางจะจัดซื้อสินค้าและบริการจากภาคเอกชน บริษัทในสหรัฐฯ จึงสามาถใช้สิทธิ์ทางด้านธุรกิจอย่างเต็มที่มากกว่ากลุ่มบริษัทที่ตั้งในประเทศคู่ค้าดังเช่นยุโรปตะวันตกและญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นในด้านการตัดสินใจในทางธุรกิจ การวางรกรากทางการลงทุน การปลดลูกจ้างพนักงาน และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ แต่ทั้งนี้ผู้ประกอบธุรกิจในสหรัฐฯ มีข้อเสียเปรียบคือต้องเผชิญกับอุปสรรคทางด้านกำแพงการค้าซึ่งกีดขวางการเข้าสู่ตลาดของคู่ต่อสู้

นับตั้งแต่สมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐฯ เป็นผู้นำและมีข้อได้เปรียบทางธุรกิจในเวทีเศรษฐกิจโลกเสมอมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ เวชภัณฑ์ อวกาศ และยุทโธปกรณ์ แต่อย่างไรก็ดี ในช่วงหลังจากที่สหรัฐฯ ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ (Great Recession) ระหว่างปี 2550-2552 อันเนื่องมาจากภาวะฟองสบู่แตกของตลาดอสังหาริมทรัพย์ ส่งผลให้มีการยุบตัวลงของสถาบันการเงินต่างๆ และบริษัทผลิตรถยนต์รายใหญ่ของสหรัฐฯ ซึ่งสภาวะเศรษฐกิจถดถอยในครั้งนี้ที่ถึงแม้ว่าจะสิ้นสุดลงไปแล้วก็ตามยังคงส่งผลกระทบระยะยาวต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ ของสหรัฐฯ มาจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการว่างงานที่เรื้อรัง ปัญหาหนี้สาธารณะ ปัญหารายได้ประชาชาติที่ลดลงในกลุ่มชนชั้นล่างและกลาง และปัญหาหนี้สินส่วนบุคคลของกลุ่มวัยทำงานจากการกู้ยืมเงินทางการศึกษา เป็นต้น

นโยบายทางเศรษฐกิจ

ด้านเศรษฐกิจในอดีตและปัจจุบัน
ด้านเศรษฐกิจในอดีตและปัจจุบัน

ปี 2564 ประธานาธิบดีโจ ไบเดน และรองประธานาธิบดีคามาลา แฮร์ริส ได้ประกาศแนวทางการฟื้นฟูและส่งเสริมด้านเศรษฐกิจสหรัฐฯ ภายใต้ 3 แผนงานที่สำคัญ ได้แก่

เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในช่วงระหว่างปี 2563-2564 ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้มีชาวสหรัฐฯ จำนวน 4 ล้านคนต้องตกอยู่ในสภาวะการว่างงานเป็นระยะเวลานานหลายเดือน ชาวสหรัฐฯ จำนวน 15 ล้านคนไม่สามารถจ่ายค่าเช่าที่อยู่อาศัยได้ และมีประชากรทั้งเด็กและผู้ใหญ่อีกกว่า 30 ล้านคนต้องประสบกับสภาวะขาดแคลนอาหาร โดยแผนงาน American Rescue Plan จะมุ่งเน้นการให้ความช่วยเหลือประชากรชาวสหรัฐฯ ในด้านต่าง ๆ อาทิ

  • การให้เงินช่วยเหลือทางตรงแก่ครัวเรือนชาวสหรัฐฯ
  • การขยายระยะเวลาการให้สวัสดิการจากการว่างงาน
  • การให้ความช่วยเหลือด้านที่อยู่อาศัย
  • การให้ความช่วยเหลือด้านอาหาร
  • การให้คืนเครดิตภาษีสำหรับผู้ที่มีบุตร
  • การให้ความช่วยเหลือด้านการเลี้ยงดูบุตร

“American Jobs Plan” มีเป้าหมายในการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของสหรัฐฯ การสร้างงาน และการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันทางเศรษฐกิจในระดับโลก โดยแบ่งการปฏิรูปออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่

  • โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง
  • โครงสร้างพื้นฐานสำหรับที่พักอาศัย
  • โครงสร้างการบริการและการจ้างงานด้านการดูแลเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
  • การส่งเสริมการลงทุนเพื่อนการวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยี การผลิต ธุรกิจขนาดย่อม และแรงงาน

นอกจากนี้ ประธานาธิบดีไบเดน ยังได้เสนอแผนปฏิรูปโครงสร้างภาษีควบคู่ไปกับแผนเศรษฐกิจ เพื่อสนับสนุนงบประมาณสำหรับการดำเนินตามแผนงานด้วย

“American Families Plan” มีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนครอบครัวชาวอเมริกัน โดยเฉพาะครัวเรือนระดับชนชั้นกลาง ในด้านการศึกษา สาธารณสุข และการปฏิรูประบบภาษี โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลัก ได้แก่


ด้านเศรษฐกิจในอดีตและปัจจุบัน

หัวเรื่อง : วิกฤตเศรษฐกิจและวิกฤตการทางการเมืองในประเทศไทยในอดีตและปัจจุบัน

ผู้แต่ง - ศาสตราจารย์ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ
จำนวนหน้า - 104 หน้า
จัดพิมพ์โดย - ส เจริญ การพิมพ์

ISBN : 978-974-4495-112
ราคา - 54 บาท
บอกเล่าเรื่องราว"วิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540"ว่าเกิดอะไรขึ้นและมีความเป็นมาอย่างไร บอกถึงปัญหาของกฎหมายที่เกิดจากมาตรการแก้วิกฤตเศรษฐกิจปี2540และปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในปี2551ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไรและการแก้ปัญหาควรไปในทางใดและมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไรบ้างเพื่อให้ในอนาคตจะไม่เกิดเหตุการณ์นี้อีก

จัดพิมพ์โดย
สถาบันพระปกเกล้า ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ อาคารบี ชั้น 5 (โซนทิศใต้)
เลขที่ 120 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
โทรศัพท์ 02 - 141-9600 โทรสาร 02-143-8175

เนื้อหา - วิกฤตเศรษฐกิจและวิกฤตทางการเมืองในประเทศไทยในอดีตและปัจจุบัน (224 ครั้ง) ดาวน์โหลด


Share :
ด้านเศรษฐกิจในอดีตและปัจจุบัน
ด้านเศรษฐกิจในอดีตและปัจจุบัน

กลับไปหน้าหลัก

เราอาจจะเคยได้ยินคำว่า “ทุกวิกฤติย่อมมีโอกาส” แต่มีสองสิ่งที่เขาไม่เคยบอกกันก็คือ เราไม่มีทางรู้ว่าเมื่อไหร่จะมีวิกฤติ และ หากเราพังไปพร้อมวิกฤติเราก็แทบจะไม่มีโอกาสเหลืออยู่เลย เพราะฉะนั้นในบทความนี้ของ ZIPMEX จะมาแชร์ Case Study ย้อนหลังของวิกฤติเศรษฐกิจเพื่อให้ทุกคนได้เรียนรู้ ศึกษา และเตรียมรับมือกับวิกฤติในครั้งหน้าที่อาจจะเกิดขึ้นครับ

Asian Financial Crisis (ต้มยำกุ้ง)

สาเหตุหลัก ๆ ที่นักวิชาการสรุปออกมามี 4 สาเหตุดังนี้ครับ

1. การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ประเทศไทยประสบปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดถึง 14,350 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สืบเนื่องจากการพัฒนาเศรษฐกิจที่เนินการผลิตเพื่อการส่งออกเป็นสำคัญในช่วงก่อนหน้านั้น

2. ปัญหาหนี้ต่างประเทศ หนี้ต่างประเทศของไทยเพิ่มขึ้นในระดับสูงถึง 109,276 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเฉพาะหนี้ต่างประเทศระยะสั้นที่มีสัดส่วนถึง 65% ของหนี้ต่างประเทศรวม

3. การลงทุนเกินตัวและฟองสบู่ในอสังหาริมทรัพย์ ราคาอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทำให้เกิดความต้องการเก็งกำไร ซึ่งได้ดึงดูดให้มีผู้เข้ามาลงทุนในธุรกิจอย่างมาก จนกลายเป็นภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่

4. การโจมตีค่าเงินบาท เพราะปัญหาเศรษฐกิจที่สั่งสมมานาน ทำให้นักลงทุนต่างชาติถือโอกาสโจมตีค่าเงินบาทของไทย จาก 25 ดอลล่าร์สหรัฐ ฯ ขยับไปอ่อนค่ากว่า 50 ดอลล่าร์สหรัฐ ฯ ภายในระยะเวลาสั้น ๆ

Dot Com Crisis (ฟองสบู่ดอทคอม)

ในช่วง 1995 นักลงทุนในตลาดคาดหวังเกี่ยวกับหุ้นเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก ว่าผลประกอบการจะออกมาดีต่อเนื่องและเติบโตถึงที่สุด เวลานั้นหุ้นเทคโนโลยีเข้ามา IPO เป็นจำนวนมาก ผู้คนต่าง Make Money จากหุ้นเหล่านี้ได้อย่างมหาศาล ทำให้หุ้นเทคโนโลยีถูกซื้อขายกันที่ P/E สูงกว่า 100 เท่า ส่งผลให้ดัชนี NASDAQ เพิ่มขึ้นจาก 800 จุดในปี 1995 ไปอยู่ที่ 5,000 จุดในปี 2000 แต่เมื่อทุกอย่างเริ่มโอเวอร์เกินกว่าที่ควรจะเป็น ฟองสบู่ที่เคยพองก็เริ่มระเบิดออกทีละลูก และเกิดการเทขายหุ้นทำให้ดัชนี NASDAQ ปรับตัวลงสู่จุดต่ำสุดในปี 2002 ที่ 1,100 จุดกว่าๆ นับเป็นผลขาดทุน 78% จากจุดสูงสุดเมื่อต้นปี 2000 ที่ 5,132 จุด

Subprime Mortgage Crisis (วิกฤติสินเชื่อซับไพรม์)

วิกฤติเศรษฐกิจในสหรัฐ เริ่มต้นขึ้นในช่วงกลางปี 2007 เกิดจากปัญหาการบริหารจัดการสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ (Sub-Prime Mortgage) ผิดพลาด และผลของการกำกับดูแลกลุ่มวาณิชธนกิจ (Investment Banking) ไม่รัดกุม จนทำให้เกิดปัญหาขาดสภาพคล่องและคุกคามความมั่นคงของสถาบันการเงิน ทำให้บริษัทใหญ่หลายบริษัทในสหรัฐอเมริกาต้องล้มละลายปิดกิจการ ส่งผลให้อำนาจและความน่าเชื่อถือของสหรัฐอเมริกาและกลุ่มประเทศตะวันตกลดลง โดยเฉพาะชื่อเสียงของสหรัฐอเมริกาในฐานะผู้นำโลกลดลงด้วย ซึ่งนี่คือจุดกำเนิดของเรื่องราวของสิ่งที่เรียกว่า “สินทรัพย์ดิจิทัล”

Covid-19 Crisis (โรคระบาดโควิด 19)

วิกฤติโรคระบาดที่นับว่ายิ่งใหญ่และสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจมากที่สุดครั้งหนึ่ง เพราะทำให้ทั่วโลกหลุดชะงักไปกว่า 1 ไตรมาส และหลายฝ่ายคาดว่ามันได้ฝากบทเรียนและเปลี่ยนวิถีชีวิตของคนไปเลยทีเดียว

วิกฤติ Covid-19 แตกต่างจากวิกฤติครั้งก่อนในหลายมิติ ดังนี้

1. ความลึก หรือความรุนแรงของการหดตัวที่มากกว่าในอดีต เพราะการปิดประเทศทั่วโลกทำให้ตัวเลข GDP ไตรมาสที่ 1 และ 2 หดตัวทั่วโลก อย่างจีนเองตัวเลข GDP หดตัวครั้งแรกในรอบ 28 ปี การว่างงานก็สูงขึ้น

2. ความเร็ว หรือความเร็วในการฟื้นตัวที่ช้ากว่าในอดีต เนื่องจากวิกฤติครั้งนี้กระทบเศรษฐกิจ การเงินการลงทุน รวมทั้งยังกระทบจิตใจของผู้คนทำให้การดำเนินชีวิตต่อจากนี้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง นักวิชาการจึงเชื่อมั่นว่า การฟื้นตัวในครั้งนี้จะไม่เร็วเท่าครั้งอื่น ๆ อย่างน้อยก็ต้อง 2-3 ปี

3. ระดับ หรือศักยภาพของเศรษฐกิจที่อาจปรับลดลง เมื่อสิ่งที่เกิดขึ้นทำให้ผู้คนตระหนักมากขึ้น คำว่า New Normal จึงเป็นสิ่งที่ทุกคนพูดถึง เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนสภาพเศรษฐกิจก็เปลี่ยน ไม่ว่าจะอุตสาหกรรมไหนก็ตาม ท่องเที่ยว สายการบิน โรงแรม ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า ทุกคนต้องปรับตัวกันหมดเพื่อให้ธุรกิจตัวเองยังคงประคองตัวต่อไปได้

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากทุกวิกฤติและการปรับตัวเพื่อรองรับวิกฤติครั้งต่อไป “ที่เกิดขึ้นอีกแน่นอน”

สรุปอย่างง่ายที่สุดเกี่ยวกับวิกฤติทุกครั้งที่เคยเกิดขึ้น จะเกิดจากการทำอะไรบางอย่างที่เกินตัวไม่ว่าจะจากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคครัวเรือน เมื่อวันหนึ่งที่มีปัญหาจากจุดไหนก็ตาม Key Point คือสภาพคล่องจากทั่วโลกจะถูกดึงกลับอย่างรวดเร็ว สภาพคล่องหรือเงินในระบบคือสิ่งที่หล่อเลี้ยงให้ทุกสิ่ง “ยังคงดำเนินต่อไป” เมื่อมันถูกดึงกลับ ทุก Flow ก็ชะงัก

ยกตัวอย่างเช่น ผมทำธุรกิจร้านกาแฟโดยใช้เงินกู้ 100 % จากธนาคาร มาตกแต่งร้าน มาเป็นกระแสเงินสดจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าพนักงาน ในช่วงเริ่มต้น แต่เมื่อเกิดปัญหาจากภาพรวม จู่ ๆ ธนาคารผู้ใจดีขอเรียกคืนเงินกู้ (กรณีสมมตินะครับ) ผมซึ่งลงทุนไปแล้ว กำไรก็ยังไม่เห็น ต้นทุนก็ยังดำเนินต่อไป เมื่อไม่มีเงินไปคืนเขา ก็ต้องหยุดกิจการนั้นลง รายได้ผมขาด พนักงานผมตกงาน พ่อแม่พี่น้องก็ต้องดูแล หนี้สินที่ก่อเอาไว้ก่อนหน้านี้ เพราะคิดว่าเราเอาอยู่ ผ่อนไหว ก็เริ่มผ่อนไม่ไหว และทุกอย่างก็พังลง และผมก็คิดได้ว่าเรามีเงินที่เก็บเอาไว้ในหุ้นนี่นา รีบขายเอาเงินมาใช้จ่ายดีกว่า อาจจะอยู่ได้หลายเดือนหน่อย พอเปิดเข้าไปดูพอร์ตเท่านั้นแหละ แทบช็อก!!! เพราะหุ้นที่ถืออยู่ก่อนหน้านี้ขาดทุนไปแล้วกว่า 50 % แต่ก็ไม่มีทางเลือกนี่นา ขายก็ขาย ฮึบ!! ราคาต่ำสุดเลยของรอบนั้นเลยจ้า….

ความจริงที่โหดร้ายแบบนี้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก เหมือนเดิมไม่มีเปลี่ยนแตกต่างกันแค่สาเหตุของปัญหา แต่ผลกระทบเหมือนเดิมแทบทุกรอบครับ ทุกคนเสียหายกับเรื่องเดิม เสียเงิน เสียน้ำตา เสียกำลังใจ

สำหรับวิกฤติในครั้งต่อไปอยากให้ทุกคนเตรียมตัววางแผนใน 3 เรื่องเหล่านี้ครับ

1. อย่ามีรายได้ทางเดียว แปลว่า อย่ามีทักษะแค่อย่างใดอย่างหนึ่ง ก่อนหน้าเรามักจะคิดว่าเราควรมีทักษะในลักษณะตัว T คือรู้กว้างในหลายเรื่อง และมีเพียงเรื่องเดียวที่เรารู้ดีมากที่สุด แต่ในยุคที่เทคโนโลยีเปลี่ยนรวดเร็วขนาดนี้ การเรียนรู้และฝึกฝนทักษะของเราควรเป็นแบบตัว Y คือรู้กว้างในหลายเรื่อง และมีสิ่งที่รู้ลึกมากกว่าหนึ่งเรื่อง รวมถึงมีเรื่องหนึ่งที่เป็น The Best ของเราเลย เพราะเมื่อมีบางสิ่งเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ทักษะที่เรารู้อย่างลึกซึ้งอาจจะใช้งานไม่ได้อีกแล้วในวันข้างหน้า เราก็สามารถขยับไปเรื่องอื่น ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ผลลัพธ์ก็คือ เราจะมีรายได้หลายทางมากขึ้น เหมือนเป็นการกระจายความเสี่ยงไปในตัวนั่นแหละครับ

2. บริหาร D/E Ratio ให้อยู่ในสัดส่วนที่เหมาะสม หลายคนน่าจะคุ้นเคยกับ D/E Ratio กันมาบ้าง มันก็คือ Debt-to-Equity Ratio หรือ อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ซึ่งเป็นสูตรที่ใช้วิเคราะห์และพิจารณากันเป็นอย่างมากในเรื่องของการลงทุน แต่ผมอยากจะชวนให้คิดในมุมของการเงินส่วนบุคคลมากกว่า อยากให้คิดกันว่าในวันทุกนี้เรามีหนี้สินคิดเป็นสัดส่วนเท่าไหร่ เทียบกับเงินสดที่มี สินทรัพย์ที่ถือครอง หรือแม้กระทั่งรายได้ที่เราสามารถทำได้ ถ้า Ratio นี้มีตัวเลขยิ่งมาก ยิ่งไม่ดี แปลว่าคุณมีหนี้สินมากเกินไปเมื่อเทียบกับสิ่งที่คุณมีอยู่ และเมื่อทุกอย่างไม่เป็นดังหวัง ส่วนของ E อาจจะลดลง แต่ Debt ไม่เคยลด มันจะทำให้ Debt กลืนทุกสิ่งทุกอย่างที่คุณสร้างขึ้นมาได้ในทันที

3. Control Risk ในทุก ๆ สิ่งของชีวิตคุณ ทุกวิกฤติย่อมมีโอกาส แต่มีสองสิ่งที่เขาไม่เคยบอกกันก็คือ เราไม่มีทางรู้ว่าเมื่อไหร่จะมีวิกฤติ และ หากเราพังไปพร้อมวิกฤติเราก็แทบจะไม่มีโอกาสเหลืออยู่เลย เพราะฉะนั้นคุณจะต้องดำเนินชีวิตอย่างรอบคอบ ไม่ประมาทและพร้อมรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ที่เข้ามา อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญมาก ๆ คือเรื่องของสภาพคล่องของตัวคุณเอง เมื่อยามปกติสภาพคล่องคือความปลอดภัย แต่เมื่อยามวิกฤติมาถึงอีกครั้ง สภาพคล่องที่คุณมีจะเป็น “อำนาจในการต่อรอง” อย่างมหาศาลครับ การเรียนรู้อดีตเพื่อเตรียมการรับมือกับอนาคตเพราะเมื่อวันนั้นมาถึง คุณอาจจะเปลี่ยนชีวิตตัวเองได้จากคำแนะนำเล็ก ๆ ของผมก็ได้ครับ