โรคเสื่อมสมรรถภาพ รักษาที่ไหน pantip

ปัญหาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ปัจจุบันสามารถรักษาหลายวิธีตามความเหมาะสมและความต้องการของคนไข้แต่ละคน

วิธีรักษาหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

  1. การให้คำแนะนำปรึกษา เข้าใจเหตุและผลของปัญหา การปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง โดยเฉพาะการหลีกเลี่ยงหรือกำจัดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ

  2. การใช้ยา ปัจจุบันมียากินที่รักษาโรคนี้ได้ผลดีพอควร กินง่าย ไม่ค่อยมีภาวะแทรกซ้อน แต่ก็มีข้อควรระวังและข้อห้ามใช้บางประการจึงควรใช้เมื่อจำเป็นและอย่างถูกต้องภายใต้การดูแลและแนะนำของแพทย์ โดยแพทย์จะให้ยารับประทานชนิดที่มีฮอร์โมนเพศชาย หรือ “เทสโทสเตอโรน” เสริมเข้าไปก่อน สำหรับคนไข้กลุ่มที่อายุยังไม่ถึง 50 ปี แต่ถ้ายังไม่ได้ผล แพทย์จะให้ยาช่วยเรื่องการแข็งตัวขององคชาตเพิ่มเข้าไป แต่ในคนไข้ที่อายุตั้งแต่ 50 – 60 ปีขึ้นไป กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่ฮอร์โมนเพศชายต่ำ มีเส้นเลือดตีบและเส้นประสาทเสื่อม แพทย์จะให้ทั้งฮอร์โมนเพศชายและยาช่วยเรื่องการแข็งตัวไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งยารับประทานนี้มีผลข้างเคียงค่อนข้างต่ำ คือ มีอาการปวดศีรษะและร้อนวูบวาบบ้าง โดยใช้ 1 เม็ดต่อการมีเซ็กส์ 1 ครั้ง ที่สำคัญห้ามรับประทานยาชนิดนี้ร่วมกับกลุ่มยาสำหรับโรคหัวใจขาดเลือด หรือยากลุ่มไนเตรท เพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ 

  3. ปั๊มสุญญากาศ เป็นกระบอกพลาสติกสวมครอบอวัยวะเพศ เมื่อดูดลมในกระบอกออกจนเป็นสูญญากาศ เลือดจะวิ่งเข้ามาในอวัยวะเพศแทน ทำให้อวัยวะเพศแข็งตัวได้ แต่จะให้คงแข็งใช้งานต่อไปได้ หลังเอากระบอกออกต้องใช้ยางรัดที่โคนอวัยวะเพศเพื่อกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับเข้าสู่ร่างกาย วิธีนี้ไม่เจ็บตัว ไม่ต้องเสี่ยงกับการใช้ยา และได้ผลกว้างขวางไม่ว่าเกิดจากสาเหตุใด

  4. ยาฉีด ใช้หลอดและเข็มเล็ก ๆ เหมือนที่ใช้ฉีดอินซูลินในคนไข้เบาหวาน โดยฉีดเข้าที่อวัยวะเพศโดยตรง ยามีฤทธิ์ทำให้หลอดเลือดที่อวัยวะเพศขยายตัว และแข็งได้นานครึ่งถึง 1 ชั่วโมง ข้อดีคือประสิทธิภาพสูง ข้อเสียคืออาจมีภาวะแทรกซ้อนได้

  5. ยาสอด ตัวยาเช่นเดียวกับยาฉีด แต่ใช้สอดเม็ดยาเล็ก ๆ เข้าทางท่อปัสสาวะ หลังจากคลึงอวัยวะเพศประมาณ 5 – 10 นาที ยาจะซึมเข้าไปในอวัยวะเพศและทำให้แข็งตัวขึ้นมาได้

  6. การผ่าตัดแก้ไขเส้นเลือดแดงหรือดำที่มีปัญหา วิธีเหล่านี้ได้ผลน้อย จึงทำเฉพาะกรณีที่จำเป็นและเหมาะสมเท่านั้น

  7. การใส่แกนอวัยวะเพศเทียม เป็นวิธีสุดท้าย เมื่อใช้อย่างอื่นไม่ได้ผลแล้ว แกนอวัยวะเพศเทียมค่อนข้างแพงมาก และศัลยแพทย์ระบบปัสสาวะบางคนเท่านั้นที่สามารถทำผ่าตัดชนิดนี้ได้

ป้องกันเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

การป้องกันไม่ให้เป็นโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ (ED) สามารถทำได้โดย

  1. หลีกเลี่ยงเหตุปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ โดยเฉพาะเหล้า บุหรี่ และอาหารไขมันสูง

  2. ควบคุมโรคที่เป็นอยู่แต่เนิ่น ๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น

  3. บำรุงร่างกายและจิตใจให้ผ่องใส แข็งแรง

  4. รักษาชีวิตครอบครัวให้เป็นสุข 

รู้ทันยาไวอากร้า

ข้อควรรู้เกี่ยวกับยาไวอากร้า (VIAGRA) ได้แก่

  1. ใช้เฉพาะชายที่มีปัญหาการแข็งตัวของอวัยวะเพศเท่านั้น 

  2. ยานี้ได้ผลประมาณ 7 ใน 10 คน และไม่ช่วยให้พลังทางเพศสูงขึ้น

  3. ต้องใช้ให้ถูกวิธี เพราะมีอันตรายถึงเสียชีวิตได้ คนที่กินยากลุ่มไนเตรต เช่น ไอซอดิล (Isordil) ไนโตรกลีเซอรีน (Nitroglycerin) ห้ามใช้ยานี้เด็ดขาด 

  4. กินครั้งละ 1 เม็ด ประมาณ 1 ชั่วโมง ก่อนจะมีเพศสัมพันธ์ ยาจะออกฤทธิ์ได้เมื่อมีการกระตุ้นทางเพศเท่านั้น และจะใช้งานได้นานประมาณ 30 นาที

  5. กำจัดปัจจัยเสี่ยง โดยเฉพาะเหล้าและบุหรี่ เสริมสร้างสุขภาพกาย สุขภาพใจ และความรักความผูกผันในครอบครัว จะทำให้ประสิทธิภาพของยาดีขึ้น และมีโอกาสเลิกหรือลดยาได้ในที่สุด

  1. หน้าหลัก
  2. บทความสุขภาพ
  3. ทำยังไง ถ้านกเขาไม่ขัน (ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ)

ทำยังไง ถ้านกเขาไม่ขัน (ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ)

โรคเสื่อมสมรรถภาพ รักษาที่ไหน pantip

สุขภาพท่านชาย เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

HIGHLIGHTS:

  • ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ พบได้ถึง 50 % ในผู้ชายอายุมากกว่า 40 ปี แต่ในปัจจุบันพบว่าปัญหานี้กลับพบในช่วงอายุที่น้อยลงเรื่อย ๆ  
  • โรคความดันโลหิตสูง ทำให้เกิดภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ได้ร้อยละ 62 เมื่อเทียบกับคนที่ไม่มีความดันโลหิตสูง และพบ 8 – 10% ของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นความดันโลหิตสูงภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ร่วมอยู่แล้ว
  • การรักษาด้วย shockwave เป็นเทคโนโลยีล่าสุดในการรักษาภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ โดยไม่ต้องใช้ยา เป็นการใช้คลื่นเสียงที่มีความเข้มต่ำแบบแรงกระแทกจากภายนอก พบว่าผู้ที่เข้ารับการรักษาหลังจากครั้งที่ 3 – 4 จะมีความสามารถในการแข็งตัวของอวัยวะเพศดีขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนการรักษา

ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ แม้จะเป็นภาวะหรือความผิดปกติที่พบได้ทั่วไปสำหรับผู้ชายที่อายุมากขึ้น แต่ในปัจจุบันพบว่าปัญหานี้กลับพบมากขึ้นอย่างมาก รวมถึงพบในช่วงอายุที่น้อยลงเรื่อย ๆ

ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศคืออะไร

ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศในเพศชาย หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ “erectile dysfunction”  นั้นมีคำจำกัดความทางแพทย์ว่า ภาวะที่อวัยวะเพศไม่สามารถแข็งตัวได้อย่างเพียงพอ หรือไม่สามารถคงการแข็งตัวไว้ได้นานขณะมีเพศสัมพันธ์ หรือไม่สามารถมีเพศสัมพันธ์จนเสร็จกิจได้  

ภาวะนี้ แม้จะไม่อันตรายถึงแก่ชีวิต แต่ก็เป็นสัญญานบ่งชี้ถึงปัญหาสุขภาพทางกายโดยรวม โดยเฉพาะโรคที่มีสาเหตุเกิดจากความผิดปกติของระบบไหลเวียนโลหิตและหลอดเลือด เช่น โรคเส้นเลือดสมองอุดตัน โรคหัวใจขาดเลือด ซึ่งล้วนมีปัญหาจากเลือดไปเลี้ยงอวัยวะนั้นไม่เพียงพอนั่นเอง  

นอกจากนี้ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ยังอาจส่งผลถึงสัมพันธภาพกับคู่สมรสจนอาจทำให้มีปัญหาในครอบครัวตามมาได้

ผู้ชายจะเสื่อมสมรรถภาพเมื่ออายุเท่าไหร่

  • ชายอายุต่ำกว่า 40 ปี – พบประมาณ 5 %
  • ผู้ชายอายุมากกว่า 40 ปี - พบประมาณ 50 %

โดยธรรมชาติแล้ว การแข็งตัวขององคชาต เป็นการทำงานร่วมกันของระบบประสาทและหลอดเลือด (neurovascular) ภายใต้การควบคุมของฮอร์โมน การแข็งตัวขององคชาตต้องอาศัยการทำงานที่ปกติของ 4 ปัจจัยคือ  

  1. เส้นประสาทที่มาเลี้ยง (intact neuronal innervations)  
  2. เลือดที่มาเลี้ยง (intact arterial supply)  
  3. กล้ามเนื้อเรียบที่ copora (appropriately responsive corporal smooth muscle)  
  4. การอุดตันของหลอดเลือดดำ (intact veno-occlusive mechanics)   

ในภาวะปกติองคชาตจะมีลักษณะอ่อนตัว และจะมีการตอบสนองเมื่อได้รับการกระตุ้นทางเพศ

เสื่อมสมรรถภาพทางเพศแบ่งได้เป็น 3 ระดับ

ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศจะสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ

  • อาการน้อย คือ สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้สำเร็จเกือบทุกครั้ง  
  • อาการปานกลาง คือ สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้สำเร็จประมาณครึ่งหนึ่ง
  • อาการรุนแรง คือ แทบจะไม่สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้สำเร็จเลย

ถ้ามีการแข็งตัวได้ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ ถือว่าปกติ ซึ่งสาเหตุของภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศส่วนใหญ่มักเกิดร่วมกันระหว่างโรคทางกายและและปัญหาทางด้านจิตใจ โดยพบว่าสาเหตุหลักๆ ก็คือ การที่เลือดไปเลี้ยงอวัยวะเพศได้ไม่เพียงพอ ซึ่งจำเป็นที่จะต้องมีการซักประวัติ ตรวจร่างกายและตรวจเพิ่มเติมพิเศษอื่น ๆ  

ใครบ้างที่เสี่ยงต่อภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

  1. อายุ เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญและหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่ออายุสูงขึ้น โอกาสที่จะเกิดภาวะ ED ก็จะเพิ่มมากขึ้นด้วย
  2. สังคมและเศรษฐกิจ พบภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศมากขึ้นในกลุ่มคนที่ฐานะ/สถานะทางเศรษฐกิจสังคมที่ไม่ค่อยดี
  3. โรคประจำตัวหรือโรคเรื้อรัง
    • โรคหัวใจและหลอดเลือด พบว่าโรคหัวใจมีผลมากที่สุดที่ทำให้เกิดภาวะ ED ระดับสูง ถึงร้อยละ 13.2
    • โรคความดันโลหิตสูง ทำให้เกิดภาวะ ED ได้ร้อยละ 62 เมื่อเทียบกับคนที่ไม่มีความดันโลหิตสูง และพบ 8 – 10% ของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นความดันโลหิตสูงมีภาวะ ED ร่วมอยู่แล้ว
    • โรคเบาหวาน ทำให้เกิดภาวะ ED ได้ร้อยละ 74.7  เมื่อเทียบกับคนที่ไม่มีเบาหวาน
      ถ้าพบว่ามีโรคทั้ง 3 ร่วมกัน จะมีภาวะ ED ร่วมทุกราย
  4. เคยได้รับการผ่าตัดมาก่อน เช่น การผ่าตัดในอุ้งเชิงกราน การผ่าตัดผ่านทางท่อปัสสาวะ ได้รับอุบัติเหตุบริเวณอุ้งเชิงกราน อุบัติเหตุที่ไขสันหลัง  
  5. ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย  
  6. การรับประทานยาบางชนิด
  7. พฤติกรรมอื่น ๆ เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การออกกำลังกาย พฤติกรรมทางเพศ
  8. ภาวะทางจิตใจ โดยเฉพาะภาวะซึมเศร้า จากการศึกษาพบว่าคนที่มีภาวะซึมเศร้ามีภาวะ ED ร้อยละ 50 – 90

การป้องกันภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

ควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงทั้งทางกายและจิตใจ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ

การรักษาภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

ทั้งแบบไม่ใช้ยาและการใช้ยาหรือใช้อุปกรณ์ช่วย ซึ่งมีวิธีการรักษาหลักอยู่ 4 วิธี ได้แก่

  1. ยากลุ่มยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ phosphodiesterase type 5 เป็นทางเลือกแรกในการรักษาผู้ที่ไม่มีข้อห้ามใช้ (ผู้ที่ห้ามใช้คือ ผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยยากลุ่ม nitrate)อาการข้างเคียงที่พบบ่อย ได้แก่ ปวดศีรษะ การมองเห็นผิดปกติ อาการร้อนวูบวาบและปวดเมื่อยตามตัว
  2. การรักษาด้วยยาฉีดเข้าที่องคชาต โดยฉีดเข้าอวัยวะเพศโดยตรง ยาชนิดนี้เป็นยาที่ทำให้หลอดเลือดขยายตัว เพื่อนำเลือดเข้าสู่อวัยวะเพศชาย จนเกิดการแข็งตัว และจะแข็งได้นาน 30 – 60 นาที
  3. การรักษาด้วยยาสอดเข้าทางท่อปัสสาวะ ใช้ตัวยาเดียวกับที่ใช้ฉีดเข้าอวัยวะเพศ แต่เป็นรูปแบบเม็ดเล็ก ๆ สอดเข้าทางท่อปัสสาวะ หลังจากคลึงอวัยวะเพศประมาณ 5 – 10 นาที ยาจะซึมเข้าอวัยวะเพศและทำให้แข็งตัวขึ้นมาได้
  4. การรักษาด้วยกระบอกสุญญากาศ โดยนำกระบอกสุญญากาศสวมเข้าที่อวัยวะเพศชายหลังทำการปั๊ม อากาศจะถูกปั๊มออกจากท่อพลาสติกที่สวมเข้าไปภายในเวลา 2-3 นาที เลือดจะถูกดึงให้เข้าไปที่เนื้อเยื่อแทน ทำให้อวัยวะเพศแข็งตัวได้ เมื่ออวัยวะเพศแข็งตัวเต็มที่แล้ว จึงถอดกระบอกสูญญากาศออก แล้วนำยางรัดที่ฐานของอวัยวะเพศชาย เพื่อช่วยให้ยังคงการแข็งตัวต่อไปได้
  5. การผ่าตัดใส่แกนองคชาตเทียม

การรักษาภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศด้วย shockwave

เป็นเทคโนโลยีล่าสุดในการรักษาภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศโดยการใช้คลื่นเสียงที่มีความเข้มต่ำแบบแรงกระแทกจากภายนอก (low intensity extracorporeal shockwave therapy) ไปกระตุ้นบนอวัยวะเพศของผู้ป่วย ส่งผลให้มีการสร้างหลอดเลือดฝอยขึ้นใหม่ เมื่อหลอดเลือดในอวัยวะเพศมีจำนวนมากขึ้น เลือดจึงเข้าไปเลี้ยงอวัยวะเพศได้มากขึ้นด้วย การตื่นตัวและการขยายขนาดของอวัยวะเพศจึงมีประสิทธิภาพมากขึ้น และยังพบว่ามีความปลอดภัยสูง ไม่มีผลข้างเคียงของการรักษาด้วยยา

ขั้นตอนการรักษาด้วย shockwave

  • ระยะเวลาในการรักษาครั้งละ 30 นาที โดยต้องทำอย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ต่อเนื่อง 2 – 3 สัปดาห์
  • ไม่จำเป็นต้องใช้ยาชาหรือยาระงับประสาทก่อนทำการรักษา
  • ขณะทำการรักษาจะรู้สึกเหมือนมีแรงกระแทกเบาๆ บริเวณอวัยวะเพศ ไม่รู้สึกเจ็บ ไม่ต้องพักฟื้น สามารถดำเนินชีวิตหรือมีเพศสัมพันธ์ได้ตามปกติ เนื่องจากเป็นวิธีการรักษาที่ปลอดภัย ปราศจากผลข้างเคียง 

การรักษาด้วย shockwave เหมาะกับใครบ้าง

  • ที่ไม่ต้องการรักษาด้วยการรับประทานยา
  • ผู้ที่ไม่ตอบสนองต่อยา หรือผู้ที่เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยา
  • ผู้ที่ตอบสนองต่อการักษาด้วยยาแล้ว แต่ยังต้องการความมั่นใจมากขึ้น

ผลการรักษา

ผู้ที่เข้ารับการรักษาหลังจากครั้งที่ 3 – 4 จะพบว่ามีความสามารถในการแข็งตัวของอวัยวะเพศดีขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนการรักษา และสมรรถภาพทางเพศจะค่อยๆ ฟื้นฟูขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเข้ารับการรักษาครบตามกำหนด ทั้งนี้จำนวนครั้งของการรักษาอาจขึ้นกับภาวะความรุนแรงของโรคหรือปัจจัยอื่น ๆ เช่น เบาหวาน ภาวะเครียด โดยแพทย์ผู้ทำการรักษาจะเป็นผู้พิจารณาและประเมินผล

การรักษาด้วยวิธี shockwave ควรทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ซึ่งต้องทำการตรวจวินิจฉัยให้รู้สาเหตุที่แท้จริง ประเมินและเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยมากที่สุด เพื่อผลการรักษาที่ดีที่สุด

ทำยังไงดีเรา ถ้า “นกเขาไม่ขัน”

Video Call ปรึกษาปัญหาสุขภาพกับคุณหมอได้ที่บ้าน

ทำนัดหมายเพื่อปรึกษาแพทย์ คลิกที่นี่

สอบถามเพิ่มเติม คลิกที่นี่

นพ. ณัฐกรณ์ มหาวิจิตร

สาขาศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา

ดูประวัติ