การแต่งกายให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ ป. 1

การแต่งกายให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ

16 ธันวาคม 2020 ครูออฟ การงานอาชีพ ป.1 0

การแต่งกายให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ ป. 1

การแต่งกายให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ ป. 1
การแต่งกายให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ ป. 1
การแต่งกายให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ ป. 1
การแต่งกายให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ ป. 1
การแต่งกายให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ ป. 1

ถ้านักเรียนใส่เสื้อกันหนาวในฤดูร้อน จะส่งผลอย่างไรต่อร่างกาย

นักเรียนจะนำความรู้เรื่องการแต่งกายให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันอย่างไร

นักเรียนคิดว่า การแต่งกายจะต้องคำนึงถึงสถานที่หรือไม่จงอธิบาย?

การแต่งกายให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ ป. 1

โดยการสอบรอบแรก หรือการสอบภาควิชาการ จะทำการสอบวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และสังคมศึกษา โดยมีขอบเขตเนื้อหารายวิชาครอบคลุมความรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4) ของกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้

1. การสอบรอบแรก หรือการสอบภาควิชาการจะทำการสอบวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และสังคมศึกษา โดยมีขอบเขตเนื้อหารายวิชาครอบคลุมความรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4) ของกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้

1.1  วิชาภาษาอังกฤษ มีขอบข่ายของเนื้อหาที่ใช้ในการออกปัญหาสอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 คือ Grammar, Vocabulary, Expression, Conversation และ Reading Comprehension

* เหล่าทหารบก กำหนดเกณฑ์ผ่าน ต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ทหารเรือ และทหารอากาศ กำหนดเกณฑ์ผ่าน ต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 40

1.2 วิชาคณิตศาสตร์ มีขอบข่ายของเนื้อหาที่ใช้ในการออกปัญหาสอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 คือ พื้นที่ผิวและปริมาตร, กราฟ, ระบบสมการเชิงเส้น, ความคล้าย, กรณฑ์ที่สอง, การแยกตัวประกอบของพหุนาม, สมการกาลังสอง, พาราโบลา, อสมการ, ความน่าจะเป็น, สถิติ, ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์, การให้เหตุผลเกี่ยวกับรูปสามเหลี่ยมและรูปสี่เหลี่ยม, ระบบสมการ, วงกลม, และเศษส่วนของพหุนาม และระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 คือ เซต, การให้เหตุผล, จานวนจริง, ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน, ตรรกศาสตร์เบื้องต้น, ระบบจานวนจริง, ทฤษฎีจานวนเบื้องต้น, เลขยกกาลัง, อัตราส่วนตรีโกณมิติ, ความน่าจะเป็น, ระบบสมการเชิงเส้นและเมทริกซ์, ฟังก์ชัน, เรขาคณิตวิเคราะห์และภาคตัดกรวย

* เหล่าทหารเรือ และทหารอากาศ กำหนดเกณฑ์ผ่าน ต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 40

1.3 3. วิชาวิทยาศาสตร์ มีขอบข่ายของเนื้อหาที่ใช้ในการออกปัญหาสอบกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 คือ โครงสร้างของโลก, โลกและการเปลี่ยนแปลง, ปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยา, ธรณีประวัติ, เอกภพ, ดาวฤกษ์ระบบสุริยะ, เทคโนโลยีอวกาศ, การเคลื่อนที่, สนามของแรง, คลื่น, กัมมันตภาพรังสีและพลังงานนิวเคลียร์, การเคลื่อนที่แนวตรง, แรงและกฎการเคลื่อนที่, การเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ, งานและพลังงาน, โมเมนตั้มและการชน, การเคลื่อนที่แบบหมุน, สภาพสมดุลและสภาพยืดหยุ่น, อะตอมและตารางธาตุ, พันธะเคมี, สมบัติของธาตุและสารประกอบ, ปริมาณสัมพันธ์ และของแข็ง ของเหลว แก๊ส

1.4 วิชาภาษาไทย มีขอบข่ายของเนื้อหาที่ใช้ในการออกปัญหาสอบฯ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 คือ สาระที่ 1 การอ่าน / สาระที่ 2 การเขียน / สาระที่ 3 การฟัง การดู และการพูด / สาระที่ 4 หลักการใช้ภาษาไทย / สาระที่ 5 วรรณคดีและวรรณกรรม

1.5 วิชาสังคมศึกษา มีขอบข่ายของเนื้อหาที่ใช้ในการออกปัญหาสอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น คือ ศาสนา ศีลธรรม และจริยธรรม, หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม, เศรษฐศาสตร์, ประวัติศาสตร์ และภูมิศาสตร์ และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย คือ หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม, เศรษฐศาสตร์ และประวัติศาสตร์ รวมทั้งความรู้รอบตัว ข่าว และเหตุการณ์ปัจจุบัน

ทั้งนี้ ข้อสอบมีคะแนนรวม 700 คะแนน โดยจะคัดเลือกผู้ที่มีคะแนนดีที่สุดตามลำดับคะแนน ตามจำนวนที่โรงเรียนกำหนด เข้าทำการสอบรอบสองต่อไป   ในส่วนของการเตรียมตัวสอบภาควิชาการ ผู้สมัครไม่ต้องเตรียมเครื่องเขียนใด ๆ ทั้งสิ้น ทางราชการจะจ่าย ดินสอ ยางลบ และกระดาษใบตอบ ให้ไม่อนุญาตให้นำกระดาษทด หรือกระดาษร่าง หรืออุกรณ์อื่น ๆ เข้าไปในห้องสอบ

2. การสอบรอบที่สอง เป็นการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ตรวจความสมบูรณ์ ของร่างกายและจิตใจ ตามรายละเอียดดังนี้

2.1 การตรวจสุขภาพ เป็นการทดสอบสุขภาพจิต การตรวจขนาดรูปร่าง ลักษณะ ความสมบูรณ์ของร่างกาย ตลอดจนการตรวจโรค และ ความพิการที่ขัดต่อการเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร

2.2 การสอบสัมภาษณ์ท่วงทีวาจาเป็นการตรวจสอบรูปร่าง ลักษณะท่าทาง ความสมบูรณ์ของร่างกาย ความองอาจ คุณลักษณะความเหมาะสมที่จะเป็นนายทหารสัญญาบัตร มีผลการสอบ "ผ่าน" หรือ "ไม่ผ่าน" เท่านั้น ผู้สอบไม่ผ่าน หมายถึง ผู้ที่มีลักษณะทางร่างกายไม่เหมาะสมที่จะเป็นนายทหาร-นายตำรวจ

2.3 การสอบพลศึกษาเป็นการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ซึ่งผู้เข้าสอบจะต้องทำการสอบให้ครบทุกประเภท ถ้าขาดสอบประเภทใดประเภทหนึ่งถือว่าสอบไม่ผ่าน โดยไม่คำนึงถึงคะแนนการสอบข้อเขียน

การสอบพลศึกษา ประกอบด้วยการทดสอบ จำนวน 8 ประเภท ผู้เข้ารับการทดสอบจะต้องทำการทดสอบให้ครบทุกประเภท ตามที่กำหนด โดยมีประเภทและวิธีการทดสอบ ดังนี้

1. ลุกนั่ง 30 วินาที ให้ผู้รับการทดสอบอยู่ท่าเริ่มต้น คือ นอนหงาย เข่าทั้งสอง งอเป็นมุมฉาก เท้าทั้งสองห่างกันประมาณ 1 ฟุต มือทั้งสองให้นิ้วมือประสานกันอยู่ที่ท้ายทอย กางศอกให้แนบพื้นเบาะ เจ้าหน้าที่ช่วยเหลือจะนั่งคุกเข่าบริเวณปลายเท้า มือทั้งสองจับและกดที่ข้อเท้าของผู้เข้ารับการทดสอบ ให้เท้าติดพื้น เมื่อพร้อมแล้ว กรรมการจะให้สัญญาณว่า “เริ่ม” ให้ผู้เข้ารับการทดสอบยกลำตัวท่อนบนขึ้นสู่ท่านั่งพร้อมกับก้มศีรษะและรวบศอกทั้งสองข้างชิดกันเข้าอยู่ระหว่างช่องเข่าแล้วกลับนอนหงายลงพื้นให้อยู่ในท่าเริ่มต้นคือ ให้นิ้วมือที่ประสานอยู่ที่ท้ายทอยและศอกทั้งสองข้าง สัมผัสที่เบาะ ทำเช่นนี้ติดต่อกันให้ได้จำนวนครั้งมากที่สุด ภายในเวลา 30 วินาที หากผู้เข้ารับการทดสอบปฏิบัติผิดจากวิธีดังกล่าวกรรมการจะไม่นับจำนวนครั้ง ที่ทำผิดนั้น

2. นั่งงอตัว ให้ผู้รับการทดสอบอยู่ในท่าเริ่มต้น คือ นั่งเหยียดขาตรงชิดกันและให้ข้างเท้าด้านในชิดกัน ตั้งเท้าให้เป็นมุมฉาก ฝ่าเท้าทั้งสองสัมผัสกับกล่องตรงกลางไม้วัด เมื่อกรรมการสั่ง “เริ่ม” ให้ผู้รับการทดสอบโน้มตัวลงไปเหยียดแขนและปลายนิ้วมือให้ตึงเลื่อนไปข้างหน้าตามแนวไม้วัด จนไม่สามารถเลื่อนปลายนิ้วมือต่อไปได้ และเข่าจะต้องเหยียดตรงตลอดเวลา ห้ามโยกตัวหรืองอตัวแรง ๆ การบันทึกให้ถือระยะที่ไกลที่สุดตามแนวไม้วัด

3. ดึงข้อ ให้ผู้เข้ารับการทดสอบอยู่ในท่าเริ่มต้นโดยจับราวเดี่ยวคว่ำมือ มือห่างกันประมาณความกว้างเท่าช่วงไหล่ ปล่อยลำตัวห้อยลงเหยียดตรง เมื่อพร้อมแล้วกรรมการจะสั่ง “เริ่ม” ให้ผู้เข้ารับการทดสอบดึงตัวขึ้นจนคางอยู่เหนือราว แล้วปล่อยตัวลงมาอยู่ในท่าเริ่มต้นและดึงขึ้นในลักษณะเดิมติดต่อกันให้ได้จำนวนครั้งมากที่สุด ห้ามแกว่งตัวหรือเตะเท้าช่วย หากหยุดพักระหว่างครั้งเกิน 5 วินาที หรือไม่สามารถดึงตัวขึ้นจนคางพ้นราวได้เกิน 2 ครั้งติดต่อกัน ให้หยุดการทดสอบ

4 ยืนกระโดดไกล ให้ผู้เข้ารับการทดสอบอยู่ในท่าเริ่มต้นโดยยืนบนกระดานเส้นเริ่ม ปลายเท้าทั้งสองชิดเส้นเริ่ม เมื่อพร้อมแล้วกรรมการจะสั่ง “เริ่ม” ให้ผู้เข้ารับการทดสอบเหวี่ยงแขนทั้งสองไปด้านหลัง ก้มตัวย่อเข่าเหวี่ยงแขนทั้งสองไปข้างหน้าพร้อมกระโดด ให้ลำตัวและเท้าทั้งสองไปด้านหน้าให้ไกลที่สุด การวัดระยะการกระโดด จะถือจากเส้นเริ่มไปยังจุดที่ส้นเท้าสัมผัสพื้น หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายสัมผัสพื้นใกล้เส้นเริ่มมากที่สุด หากการทดสอบผิดจากที่กำหนด เช่น เหยียบเส้นเริ่มต้น ให้ผู้เข้ารับการทดสอบสามารถทดสอบได้อีก 1 ครั้ง

5. วิ่งกลับตัว เป็นการวิ่งทดสอบบนทางเรียบไป - กลับ ระยะทาง 10 เมตร หลังเส้นเริ่มต้นและปลายทางจะมีวงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 50 ซม. และจะมีท่อนไม้ 2 ท่อน (ขนาด 5 x 5 x 10 ซม.) วางขนาน ห่างกัน 10 ซม. กลางวงกลมปลายทาง ท่าเริ่มต้นให้ผู้เข้ารับการทดสอบยืนเท้าข้างใดข้างหนึ่งอยู่หลังเส้นเริ่ม เมื่อพร้อมแล้ว กรรมการสั่ง “เริ่ม” ให้ผู้เข้ารับการทดสอบวิ่งไปหยิบท่อนไม้ในวงกลมปลายทาง 1 ท่อนแล้ววิ่งกลับตัวเอาไม้มาวางในวงกลมหลังเส้นเริ่ม แล้ววิ่งกลับไปหยิบท่อนไม่อีกท่อนหนึ่ง แล้วกลับตัวมายังเส้นเริ่มและวิ่งผ่านเลยเส้นเริ่มไป โดยไม่ต้องวางท่อนไม้ท่อนที่ 2 ระหว่างการทดสอบ ห้ามโยนท่อนไม้ท่อนแรกเข้าวงกลม และหากวางไม้ไม่ตรงวงกลมจะต้องกลับมาเริ่มต้นใหม่ หรือเมื่อทำการทดสอบเกิดการหกล้ม จะให้ผู้เข้ารับการทดสอบ ทำการทดสอบได้อีก 1 ครั้ง แต่จะบันทึกเวลาและคิดคะแนนในครั้งหลัง

6. วิ่ง 50 เมตร ท่าเริ่มต้นให้ผู้เข้ารับการทดสอบยืนเท้าใดเท้าหนึ่งอยู่หลังเส้นเริ่ม เมื่อผู้ปล่อยตัวสั่ง “เข้าที่” และเมื่อได้ยินสัญญาณปล่อยตัว “เสียงนกหวีดสั้น” ให้ผู้เข้ารับการทดสอบวิ่งไปยังเส้นชัยให้เร็วที่สุด การคิดคะแนนจะคิดตามเวลาที่ผู้เข้ารับการทดสอบแต่ละคนทำได้ดีที่สุด

7. ว่ายน้ำ 50 เมตร ท่าเริ่มต้นให้ผู้เข้ารับการทดสอบยืนบนแท่นปล่อยตัว หรือเกาะที่ขอบสระด้านเส้นเริ่ม เมื่อผู้ปล่อยตัวสั่ง “เข้าที่” และเมื่อได้ยินสัญญาณปล่อยตัว “เสียงนกหวีดสั้น” ให้ผู้เข้ารับการทดสอบพุ่งตัวลงน้ำหรือถีบตัวออกจากขอบสระเส้นเริ่ม แล้วว่ายน้ำโดยเร็วในท่าใดก็ได้ไปยังเส้นชัยแตะขอบสระอีกด้านหนึ่ง การคิดคะแนนจะคิดตามเวลาที่ผู้เข้ารับการทดสอบแต่ละคนทำได้ดีที่สุด

* เหล่าทหารบก กำหนดว่า ว่ายน้ำถึงระยะทาง 50 เมตร หรือว่ายน้ำถึงระยะทาง 50 เมตร แต่ทำเวลาได้เกิน 80 วินาที ถือว่าไม่ผ่านการสอบพลศึกษา อนึ่ง ในกรณีที่ผู้เข้ารับการทดสอบ สอบไม่ผ่านว่ายน้ำตามข้อกำหนด คณะกรรมการสอบพลศึกษาจะให้โอกาสทดสอบซ้ำอีก 1 ครั้ง หลังจากผู้เข้ารับการทดสอบคนสุดท้ายในวันนั้นๆ เสร็จสิ้นการทดสอบไปแล้วไม่เกิน 1 ชั่วโมง โดยผู้ที่จะขอทดสอบซ้ำ จะต้องแจ้งความประสงค์ต่อคณะกรรมการการสอบพลศึกษาใรโอกาสแรกที่ทราบว่าตนเองไม่ผ่านการทดสอบว่ายน้ำ / เหล่าทหารเรือ กำหนดว่า หากผู้เข้ารับการทดสอบว่ายน้ำไม่ถึงเส้นชัย หรือว่ายน้ำไม่ผ่านในเวลาที่กำหนด ถือว่าสอบไม่ผ่านรอบสอง / เหล่าตำรวจ กำหนดว่า ผู้ที่สอบว่ายน้ำทำเกินเวลา 1 นาที 20 วินาที หรือว่ายไม่ถึงเส้นชัย ถือว่าสอบตกพลศึกษา

8. วิ่ง 1,000 เมตร ท่าเริ่มต้นให้ผู้เข้ารับการทดสอบยืนเท้าใดเท้าหนึ่งหลังเส้นเริ่ม เมื่อผู้ปล่อยตัวสั่ง “เข้าที่” และเมื่อได้รับสัญญาณปล่อยตัว “เสียงนกหวีดสั้น” ให้ผู้เข้ารับการทดสอบวิ่งไปตามเส้นทางที่กำหนด จนถึงเส้นชัย การคิดคะแนนจะคิดตามเวลาที่ผู้เข้ารับการทดสอบแต่ละคนทำได้ดีที่สุด

* เหล่าตำรวจ กำหนดว่า ผู้ที่สอบวิ่งระยะไกลทำเวลาเกินกว่า 5 นาที 22 วินาที หรือวิ่งไม่ถึง ถือว่าสอบพลศึกษาตก

ดูคลิปประกอบเพิ่มเติม เรื่อง “แนวทางการสอบสัมภาษณ์และพลศึกษา (นักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพบก)” ได้ที่ https://youtu.be/4LHaZQL-OSg