Domestic tour operator คือ

เทคนิค การทำธุรกิจท่องเที่ยว สำหรับนักธุรกิจมือใหม่

ประเทศไทยถือเป็นประเทศท่องเที่ยวอันดับต้นของโลกเลยก็ว่าได้ ด้วยภูมิประเทศของประเทศไทยสามารถท่องเที่ยวได้ในทุกช่วงเทศกาล จึงทำให้ประเทศไทยกลายเป็นเมืองที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติเดินทางมาเยือนเสมอ ดังนั้นจึงทำให้ ธุรกิจท่องเที่ยว เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าจับตามอง หากคุณเป็นอีกคนหนึ่งที่กำลังมองหาช่องทางการทำธุรกิจ ธุรกิจท่องเที่ยวน่าจะเป็นตัวเลือกที่ดี และในวันนี้เราจะมานำเสนอเทคนิคดี ๆ ใน การทำธุรกิจท่องเที่ยว สำหรับนักธุรกิจมือใหม่ ส่วนจะมีเทคนิคไหนบ้าง ตามไปศึกษาข้อมูลพร้อมกันได้เลยค่ะ

Domestic tour operator คือ

            เริ่มต้นธุรกิจท่องเที่ยวยังไง ต้องรู้อะไรบ้าง?

            หลายคนอาจสงสัยว่าธุรกิจท่องเที่ยวมีกี่รูปแบบ รูปแบบธุรกิจท่องเที่ยวที่เรามักเห็นในปัจจุบันมี 4 รูปแบบ

  • ธุรกิจการนำเที่ยว (Tour operator) หมายถึง ธุรกิจที่ทำหน้าที่จัดการนำเที่ยว เริ่มตั้งแต่การออกแบบโปรแกรมท่องเที่ยว จัดหามัคคุเทศก์ จัดหาที่พัก จัดการเดินทางไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ รถไฟ เรือ เครื่องบิน
  • ธุรกิจตัวแทนท่องเที่ยว (Travel Agency) หมายถึง ธุรกิจที่มีหน้าที่จัดจำหน่าย หรือเป็นตัวแทนจำหน่ายบริการด้านการท่องเที่ยว แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้จัดการการท่องเที่ยวเอง ทั้งนี้ ธุรกิจจัดการการนำเที่ยว (Tour operator) ส่วนใหญ่ ก็มีสถานะเป็นธุรกิจตัวแทนท่องเที่ยว (Travel Agency) ด้วย
  • ธุรกิจขายส่งบริการท่องเที่ยว (Travel wholeseller) หมายถึง ธุรกิจที่เป็นผู้รวบรวมสินค้าและบริการการท่องเที่ยวจากหลายๆ ผู้ประกอบการ โดยลูกค้าส่วนใหญ่ของ Travel Wholeseller จะเป็น Travel Agency มากกว่านักท่องเที่ยวโดยตรง
  • ธุรกิจบริหารจัดการจุดหมายปลายทาง (Destination management services : DMC) หมายถึงธุรกิจท่องเที่ยวที่มีบริการหลากหลายในจุดหมายปลายทางหนึ่งๆ ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมทัวร์ ที่พัก สปา การเดินทาง ร้านอาหาร โดยมีลูกค้าเป็นธุรกิจนำเที่ยวเป็นหลัก

            ธุรกิจท่องเที่ยวยังแบ่งตามตลาด ได้แก่

  • ตลาดภายในประเทศ (Domestic) หมายถึง การท่องเที่ยวที่คนในประเทศเดินทางเที่ยวในประเทศเอง
  • ตลาดขาเข้า (Inbound) หมายถึง การท่องเที่ยวที่คนจากต่างประเทศเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศ
  • ตลาดขาออก (Outbound) หมายถึง การท่องเที่ยวที่คนในประเทศ เดินทางออกไปเที่ยวในต่างประเทศ

            เริ่มต้นทำธุรกิจท่องเที่ยว ต้องจดทะเบียนอะไรบ้าง?

            1) จดทะเบียนบริษัท

            ก่อนอื่นจะเริ่มธุรกิจ หากต้องการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัด ก็สามารถเข้าไปจดทะเบียนได้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (http://www.dbd.go.th/) ซึ่งปัจจุบัน ทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ก็มีการอำนวยความสะดวกให้สามารถจดทะเบียนออนไลน์ผ่านระบบ E-registration แล้ว ช่วยร่นระยะเวลาในการจดทะเบียนไปได้มาก

            2) การจดทะเบียนธุรกิจท่องเที่ยว

            เมื่อได้จดทะเบียนนิติบุคคล และมีวัตถุประสงค์ด้านการนำเที่ยวเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่ต้องทำต่อไปคือการไปจดทะเบียนธุรกิจท่องเที่ยวกับกรมการท่องเที่ยว โดยใบอนุญาตท่องเที่ยว มี 4 ประเภท พร้อมทั้งต้องวางเงินหลักประกันที่จะได้คืนเมื่อเลิกกิจการ ดังนี้

  • ประเภททั่วไป สามารถจัดการท่องเที่ยวได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ต้องวางเงินหลักประกัน 200,000 บาท
  • ประเภทนำนักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศ สามารถจัดการท่องเที่ยวแบบ Inbound และ Domestic ได้เท่านั้น ต้องวางเงินหลักประกัน 100,000 บาท
  • ประเภทในประเทศ สามารถจัดการท่องเที่ยวแบบ Domestic ได้เท่านั้น ต้องวางเงินหลักประกัน 50,000 บาท
  • ประเภทเฉพาะพื้นที่ สามารถจัดการท่องเที่ยวได้เฉพาะเขตพื้นที่ที่ได้รับอนุญาต ต้องวางเงินหลักประกัน 10,000 บาท

            3. จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

หากผู้ประกอบการท่องเที่ยว มีการเปิด website เพื่อจำหน่ายโปรแกรมการท่องเที่ยวออนไลน์ ตามหลักแล้วจะต้องมีการขึ้นทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ด้วย

Domestic tour operator คือ

            ต้องมีเงินเท่าไหร่?

            หลายคนอาจสงสัยต้องมีเงินเท่าไหร่ถึงจะเริ่มถึงจะเริ่มต้นธุรกิจท่องเที่ยวได้ ต้นทุนที่จำเป็นต้องจ่ายแน่ ๆ คือธุรกิจท่องเที่ยว จะต้องมีการวางเงินหลักประกันตามประเภทของการจดทะเบียนธุรกิจ หากต้องการจัดตั้งธุรกิจในรูปแบบบริษัทจำกัด ก็จำเป็นต้องมีทุนจดทะเบียน ซึ่งทุนจดทะเบียนยิ่งมาก ก็จะยิ่งทำให้ธุรกิจท่องเที่ยวมีความน่าเชื่อถือ ธุรกิจท่องเที่ยวที่เป็น SMEs ส่วนใหญ่ มีทุนจดทะเบียนตั้่งแต่ไม่กี่แสนบาท จนถึงประมาณ 4 ล้านบาท

            ส่วนจำเป็นต้องมีเงินลงทุนเท่าไหร่นั้น ขึ้นอยู่กับรูปแบบการทำธุรกิจ หากใช้หน้าร้านออนไลน์เป็นหลัก เงินลงทุนก็ไม่จำเป็นต้องมากนัก อาจอยู่ในแค่หลักหมื่นด้วยซ้ำ ขณะที่หากต้องการมีหน้าร้าน ก็ขึ้นอยู่กับทำเลที่จะตั้งอยู่ หากอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวดังๆ ก็มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง

            หาลูกค้ายังไง?

            เมื่อเรามีโปรแกรมการท่องเที่ยวแล้ว ไม่ว่าจะดำเนินการจัดการนำเที่ยวเอง หรือทำตัวเป็นนายหน้าให้ผู้จัดการท่องเที่ยวอีกที สิ่งที่จำเป็นต้องเรียนรู้ก็คือ ช่องทางการจำหน่ายบริการการท่องเที่ยว ซึ่งปัจจุบันมีทั้งช่องทาง Offline และ Online

1. ช่องทาง Offline

ถือเป็นช่องทางจำหน่ายดั้งเดิม ประกอบด้วยช่องทางหลักๆ ดังนี้

  • จำหน่ายเองโดยตรง หากมีหน้าร้านเอง
  • จากจำหน่ายผ่านธุรกิจตัวแทนจำหน่ายบริการท่องเที่ยว (Travel Agency) ในช่วงแรก อาจถือเป็นช่องทางจำหน่ายที่เจาะได้ค่อนข้างยาก หากธุรกิจเราเป็นธุรกิจจัดตั้งใหม่ และยังไม่เป็นที่รู้จักหรือเชื่อถือ เริ่มต้น คงต้องใช้พลังของ Connection ค่อนข้างมากสำหรับช่องทางนี้ ไม่ว่าจะเป็น Travel Agency ในไทยหรือต่างประเทศ
  • โต๊ะทัวร์ (Tour desk) ช่องทางนี้ก็ไม่ต่างกับ Travel Agency มากนัก เรามักจะเห็นโต๊ะทัวร์ตั้งอยู่ตามโรงแรม หรือแหล่งท่องเที่ยวหลักๆ โต๊ะทัวร์พวกนี้ ก็มีสถานะเป็น Travel Agency ประเภทหนึ่ง ต้องอาศัย connection ที่ดีพอสมควรถึงจะเจาะตลาดได้
  • Travel Wholesaler และ DMC ถือว่าเพิ่มความยากจาก Travel Agency ขึ้นไปอีกระดับ ยกเว้นว่า โปรแกรมการท่องเที่ยวของเราจะมีความแตกต่าง มีความสร้างสรรค์ และเป็นที่ต้องการของ Travel Wholesaler และ DMC จริง ๆ แต่ไม่ใช่จะเป็นไปไม่ได้เลย
  • Exhibition and travel fair การไปร่วมงานนิทรรศการและงานแสดงสินค้า ถือเป็นช่องทางหลักอีกช่องทางในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว งานนิทรรศการและงานแสดงสินค้าด้านการท่องเที่ยว มีทั้งเป็นแบบ B2C คือการขายให้แก่นักท่องเที่ยว โดยตรงเช่นงาน เที่ยวทั่วไทย ไปทั่วโลก และ B2B เช่นงาน Thailand Travel Mart, ITB Berlin และ World Travel Market เป็นต้น

2. ช่องทาง Online

            ถือเป็นช่องทางที่มีความสำคัญกับการสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยวหน้าใหม่ โดยเฉพาะผู้ประกอบการท่องเที่ยวรายย่อย โดยประกอบด้วยช่องทางหลักๆ ดังนี้

  • Website การที่ผู้ประกอบการท่องเที่ยวมี website ของตัวเองที่ดูดีและใช้งานง่าย นอกจากจะเป็นช่องทางจำหน่ายโปรแกรมการท่องเที่ยวได้แล้ว ยังถือเป็นสร้างความน่าเชื่อถือให้ธุรกิจท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นด้วย แต่การมี website อย่างเดียว ก็ไม่สามารถทำให้นักท่องเที่ยวหาเราได้เจอ จำเป็นต้องมีการใช้เทคนิคต่าง ๆ เช่นการโฆษณาออนไลน์ หรือการทำ Search Engine Optimization (SEO) เพื่อให้เว็ปไซต์ของเราสามารถหาได้ง่าย
  • Social commerce แม้การมีเวปไซต์ของตัวเองจะเป็นช่องทางที่ดี แต่ช่องทางหนึ่งที่มาแรง และใช้ต้นทุนในการเริ่มต้นไม่มากนัก ก็คือ social commerce และการขายช่องทางเครือข่ายสังคม online เช่น facebook เป็นต้น
  • Online travel agencies (OTA) และ Online marketplace ถือเป็นรูปแบบของ Travel Agency ที่เน้นขายผ่านช่องทาง online การเข้าร่วม platform เหล่านี้ ไม่จำเป็นต้องอาศัย connection เหมือนช่องทาง travel agency ปรกติ และต้องเสียค่าใช้จ่ายในระดับใกล้เคียงกัน แต่กระนั้น OTA และ Online Marketplace ถือเป็นธุรกิจที่เกิดขึ้นเป็นดอกเห็ด ข้อสำคัญคือเราจะเลือกเข้าร่วมกับ platform ที่มีประโยชน์ และสามารถสร้างยอดขายให้กับเราจริง ๆ ได้

Domestic tour operator คือ

            จัดการธุรกิจยังไง?

            การประกอบธุรกิจนำเที่ยว จำเป็นต้องเกี่ยวพันกับหลายภาคส่วน โดยเบื้องต้น ธุรกิจท่องเที่ยวต้องมีการบริหารจัดการดังต่อไปนี้

            1. หามัคคุเทศก์และผู้นำเที่ยว

            2. หาโรงแรมและที่พัก

            3. หาตั๋วเครื่องบิน

            4. หารถเช่า

            จากบทความข้างต้น คือเทคนิคการทำธุรกิจท่องเที่ยว สำหรับนักธุรกิจมือใหม่ หากใครกำลังมองหาเทคนิคในการทำธุรกิจดังกล่าวอยู่ หวังว่าข้อมูลที่เราได้นำมาฝากกันในวันนี้ จะเป็นเทคนิคดี ๆ ที่สามารถนำทางพา ธุรกิจท่องเที่ยว ของคุณนั้นประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก

ข้อปฏิบัติ 5 ข้อ ที่คุณควรที่จะปฏิบัติ ก่อนลงเล่นกีฬา ปัจจุบันเรารู้กันดีว่าการ Warm up และ Cool down ช่วยให้เราสามารถเล่นกีฬาได้ดีขึ้น และช่วยลดความเสี่ยงอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อลง แต่ยังมีสิ่งที่เราควรทำก่อนการเล่นกีฬา คือเริ่มจากการกินไปจนถึงการยึดเส้น สิ่งเหล่านี้จะช่วยเพิ่ม Performance ของเราให้ดีขึ้น ไม่ว่าคุณจะเป็นนักกีฬาประเภทใด สิ่งที่ควรทำก็คือการวอร์มร่างกาย เพื่อให้มีความพร้อมก่อนเล่นกีฬาอยู่เสมอ

อ่านบทความน่าสนใจเพิ่มเติม : รวม 10 เมนูอาหารญี่ปุ่นยอดนิยม ที่คุณไม่ควรพลาด!!