ผู้จัดการมรดกมีสิทธิในมรดกไหม

ผู้จัดการมรดกคือใคร ทำไมต้องมี

  • ผู้จัดการมรดกคือใคร ทำไมต้องมี
    • ผู้จัดการมรดก หมายถึงใคร
    • มรดก หมายถึงอะไร
    • หน้าที่ของผู้จัดการมรดก
    • คุณสมบัติของผู้จัดการมรดก
    • ผู้มีสิทธิขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
    • บุคคลที่ไม่สามารถเป็นผู้จัดการมรดกได้
    • เอกสารยื่นขอแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดก
    • ความสิ้นสุดของการเป็นผู้จัดการมรดก
    • ผู้จัดการมรดกมีได้กี่คน

กระแสเรื่องผู้จัดการมรดกหมายถึงใคร ทำหน้าที่อะไรบ้าง กลายเป็นคำถามที่หลายคนสงสัยหลังจากที่มีแฮชแท็กติดอันดับหนึ่งในทวิตเตอร์ หลังรายการ โหนกระแส เชิญคุณแม่แตงโมมาออกรายการซึ่งได้มีการพูดถึงประเด็นดังกล่าว แน่นอนว่าวันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันให้ชัดเจนว่าในทางกฏหมาย ผู้จัดการมรดก มีได้กี่คน ทำหน้าที่อะไร ใครเป็นได้บ้าง มาหาคำตอบไปพร้อมกัน

ผู้จัดการมรดก หมายถึงใคร

ในทางกฎหมาย ผู้จัดการมรดก หมายถึงบุคคลที่ศาลมีคำสั่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกเพื่อทำหน้าที่รวบรวม ทำบัญชีทรัพย์สิน และแบ่งปันทรัพย์สินอันเป็นมรดกของผู้เสียชีวิตให้กับทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของผู้เสียชีวิต

มรดก หมายถึงอะไร

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1600 บัญญัติว่า มรดก หมายถึง ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตายที่มีอยู่ก่อนถึงแก่ความตาย รวมทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เช่น กรรมสิทธิ์ในที่ดิน รถยนต์ ห้องชุด สิทธิการเช่าซื้อ ทรัพย์สินต่าง ๆ เงินฝากในธนาคาร เป็นต้น ซึ่งพอแยกอธิบายได้ดังนี้

ผู้จัดการมรดกมีสิทธิในมรดกไหม
ทรัพย์มรดก

1. ทรัพย์สิน หมายถึง บ้าน ที่ดิน รถยนต์ ทรัพย์สินทางปัญญา สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์เพลง ฯลฯ
2. สิทธิ หมายถึง สิทธิต่าง ๆ ของเจ้ามรดกที่มีอยู่ก่อนตาย เช่น สิทธิเช่าซื้อ สิทธิเจ้าหนี้กู้ยืม สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน เป็นต้น
3. หน้าที่ความรับผิดชอบ หมายถึง หนี้ ที่เจ้ามรดกก่อขึ้นก่อนเสียชีวิต เช่น หนี้กู้ยืมเงิน หนี้ค้ำประกัน อย่างไรก็ตามทายาทไม่ต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ได้รับ

ผู้จัดการมรดกมีสิทธิในมรดกไหม

ข้อสังเกต : เงินประกันชีวิต ไม่ถือเป็นทรัพย์มรดก เนื่องจากเจ้ามรดกได้มาหลังเสียชีวิตแล้ว อีกทั้งยังหมายความรวมถึงเงินช่วยค่าทำศพ เงินฌาปนกิจสงเคราะห์

หน้าที่ของผู้จัดการมรดก

  • มีสิทธิและหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไป
  • มีหน้าที่รวบรวมทรัพย์มรดกเพื่อแบ่งให้ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม
  • ชำระหนี้สินของเจ้ามรดกแก่เจ้าหนี้
  • ทำบัญชีทรัพย์มรดก
  • ทำรายการแสดงบัญชีการจัดการและแบ่งมรดก

ในกรณีที่ผู้จัดการมรดกไม่ทำตามหน้าที่ หรือทุจริตต่อหน้าที่ เช่น ปิดบังทรัพย์มรดก เบียดบังทรัพย์มรดกเป็นของตน หรือเพิกเฉยไม่แบ่งมรดกให้แก่ทายาท กฎหมายให้สิทธิทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกหรือผู้มีส่วนได้เสียร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งถอนผู้จัดการมรดกได้ และผู้จัดการมรดกอาจมีความผิดทางอาญาซึ่งมีโทษจำคุก

คุณสมบัติของผู้จัดการมรดก

  • บรรลุนิติภาวะ (มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์)
  • ไม่เป็นคนวิกลจริต
  • ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
  • ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย

ผู้มีสิทธิขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดก

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 บัญญัติว่า ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการจะร้องขอต่อศาลให้แต่งตั้งผู้จัดการมรดกได้ในกรณี ดังต่อไปนี้

  • ทายาท (ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม) สูญหายไป หรืออยู่นอกราชอาณาเขต หรือเป็นผู้เยาว์
  • ผู้จัดการมรดก หรือ ทายาทไม่สามารถ หรือไม่เต็มใจที่จะจัดการ หรือมีเหตุขัดข้องในการจัดการหรือแบ่งมรดก
  • เมื่อข้อกำหนดในพินัยกรรมซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกไว้ไม่มีผลบังคับได้ด้วยประการใด ๆ ให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกตามที่ศาลเห็นสมควรโดยคำนึงถึงเจตนาของเจ้ามรดก เพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์

บุคคลที่ไม่สามารถเป็นผู้จัดการมรดกได้

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718 บุคคลต่อไปนี้จะเป็นผู้จัดการมรดกไม่ได้

(1) ผู้ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ
(2) บุคคลวิกลจริต หรือ บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ
(3) บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนล้มละลาย

เอกสารยื่นขอแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดก

1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการของผู้ร้อง 4 ชุด
2. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ร้อง 4 ชุด
3. เอกสารที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ร้องกับเจ้ามรดก (ผู้ตาย) 4 ชุด(ทะเบียนสมรส, สูติบัตร ฯ )
4. สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้ามรดก (ผู้ตาย) 4 ชุด
5. สำเนาใบมรณะบัตรของเจ้ามรดก (ผู้ตาย) 4 ชุด
6. บัญชีเครือญาติของเจ้ามรดก 4 ชุด
7. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวข้าราชการ และทะเบียนบ้าน ของทายาทผู้ให้ความยินยอม 4 ชุด
8. สำเนาใบมรณบัตรของบิดามารดาของผู้ตาย หรือหนังสือรับรองการตายกรณีบิดามารดาของผู้ตาย (เจ้ามรดก) ถึงแก่ความตาย 4 ชุด
9. สำเนาเอกสารเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของเจ้ามรดก (ผู้ตาย) 4 ชุด(เช่น โฉนดที่ดิน, สมุดเงินฝาก)
10. หนังสือให้การยินยอมในการร้องขอจัดการมรดกของทายาท 4 ชุด
11. หลักฐานอื่นๆ ถ้ามี (ใบเปลี่ยนชื่อ, ใบเปลี่ยนนามสกุล) 4 ชุด

ความสิ้นสุดของการเป็นผู้จัดการมรดก

1. ตาย
2. ลาออก ซึ่งต้องได้รับอนุญาตจากศาล แต่หากมีความเสียหายเกิดขึ้นในระหว่างทำหน้าที่ ก็ต้องรับผิดชอบ
3. ศาลมีคำสั่งถอน
4. ตกเป็นบุคคลผู้มีคุณสมบัติต้องห้าม เช่น บุคคลล้มละลาย บุคคลวิกลจริต หรือเสมือนไร้ความสามารถ เป็นต้น
5. การจัดการมรดกสิ้นสุดลง และเป็นการเริ่มนับอายุความจัดการมรดก 5 ปี กรณีทายาทได้รับความเสียหาย

ผู้จัดการมรดกมีได้กี่คน

ผู้จัดการมรดกจะมีคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ แต่หากตั้งหลายคนแล้วเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน ไม่เป็นผลดีต่อกองมรดก ศาลอาจตั้งแค่คนเดียวก็ได้ อ้างอิงคำพิพากษาศาลฏีกาที่ 204/2530

เป็นอย่างไรบ้างคงได้ทราบกันไปแล้วเกี่ยวกับผู้จัดการมรดก มีได้กี่คน ทำหน้าที่อะไร ใครเป็นได้บ้าง จุดประสงค์ของการมีผู้จัดการมรดกเพื่ออะไร รวมถึงเอกสารขอแต่งตั้ง และความสิ้นสุดของการเป็นผู้จัดการมรดก หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์ให้กับเพื่อน ๆ ไม่มากก็น้อย

ที่มา : สนง.อัยการจังหวัดสุราษฎร์ธานี, สนง.อัยการจังหวัดมหาสารคาม

อ่านเพิ่มเติม

  • เปิดข้อมูลกฎหมายคูฮารา พ่อแม่ที่ไม่เลี้ยงดูไม่มีสิทธิในมรดกลูก
  • ประกันชีวิตคุ้มครองตลอดชีพที่ไหนดี คุ้มครองชีวิตนานจนถึงอายุ 99 ปี
  • ประกันชีวิตข้าราชการที่ไหนดี 2565 ถึงจะคุ้ม
  • ประกันชีวิตผู้สูงอายุที่ไหนดี 2565 ความคุ้มครองคุ้มค่า

ผู้จัดการมรดกมีสิทธิในมรดกไหม

ผู้จัดการมรดกมีสิทธิรับมรดกไหม

สิทธิของผู้จัดการมรดกนั้น ไม่มีกำหนดไว้ในกฎหมาย แต่อาจจะพิจารณาได้จากกฎหมายลักษณะมรดกว่า ผู้จัดการมรดกมีสิทธิได้รับมรดกตามกฎหมายกฎหมายกำหนดไว้ในอัตราส่วนนั้นๆ เท่านั้น นอกจากนั้น ผู้จัดการมรดกยังไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างหรือบำเหน็จจากกองมรดก เว้นแต่ทายาทเสียงข้างมากจะกำหนดให้ไว้( มาตรา 1721)

ผู้จัดการมรดกต้องแบ่งทรัพย์สินภายในกี่ปี

มาตรา ๑๗๓๒ ผู้จัดการมรดกต้องจัดการตามหน้าที่และทำรายงานแสดงบัญชีการจัดการและแบ่งปันมรดกให้เสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ระบุไว้ในมาตรา ๑๗๒๘ เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรม ทายาทโดยจำนวนข้างมาก หรือศาลจะได้กำหนดเวลาให้ไว้เป็นอย่างอื่น

ใครเป็นผจก.มรดกได้บ้าง

ใครเป็นผู้จัดการมรดกได้ และใครเป็นไม่ได้ ?.
ทายาท • ทายาทโดยชอบธรรม • ผู้รับพินัยกรรม.
ผู้มีส่วนได้เสีย เช่น เจ้าของร่วมในทรัพย์สินของเจ้ามรดก หรือสามีภรรยาซึ่งไม่ได้จดทะเบียนสมรส และมีทรัพย์สินร่วมกัน.
พนักงานอัยการ.

ผู้จัดการมรดกมีมากกว่า 1 คนได้ไหม

ผู้จัดการมรดกจะมีคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ แต่หากตั้งหลายคนแล้วเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน ไม่เป็นผลดีต่อกองมรดก ศาลอาจตั้งแค่คนเดียวก็ได้ อ้างอิงคำพิพากษาศาลฏีกาที่ 204/2530.