เวียนหัว คลื่นไส้ พะอืดพะอม เบื่ออาหาร

เวียนหัว คลื่นไส้ พะอืดพะอม เบื่ออาหาร

เวียนหัวคลื่นไส้ มีไข้ บ้านหมุน ท้องอืด ง่วงนอน เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร ไม่มีแรง เหงื่อออก ใจสั่น หายใจไม่ทั่วท้อง เกิดจากอะไร? เวียนหัวคลื่นไส้ ตอนเช้า ตอนเย็น กินยาอะไรดี?

อาการหน้ามืด เวียนหัว เป็นอาการที่พบได้ทั่วไปในคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ แต่หากคุณนั่งพัก ดื่มน้ำหรือรับประทานยาแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น แถมยังมีความรู้สึกคลื่นไส้ อยากอาเจียนเข้ามาเพิ่มอีก 

มันอาจถึงเวลาที่คุณต้องหาคำตอบว่าอาการเหล่านี้บ่งบอกถึงอะไรได้บ้าง มีบางอย่างผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกายของคุณหรือไม่ ดังนั้นมาดูกันว่าสาเหตุของอาการหน้ามืด เวียนหัวเกิดจากอะไร และเราจะแก้ไขยังไงได้บ้าง

สาเหตุของอาการหน้ามืด เวียนหัวคลื่นไส้

  • เป็นโรคหรือมีความผิดปกติทางสมองและระบบประสาท: เพราะโรคเหล่านี้มักมาพร้อมอาการปวดศีรษะ มึนงง สับสน ทำให้พูดช้าลงหรือไม่สามารถลำดับประโยคการพูดได้และต้องได้รับการรักษาโดยด่วน เช่น 

  • โรคไมเกรน 

    • เนื้องอกในสมอง 
    • เยื่อหุ้มสมองอักเสบ 
    • ศีรษะได้รับความกระทบกระเทือน หรือได้รับอุบัติเหตุ
    • เส้นประสาทถูกกดทับ 
    • รู้สึกวิงเวียนเวลาปวดไมเกรน 
    • เส้นเลือดในสมองอุดตัน 
  • มีความผิดปกติภายในหูชั้นใน: ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการโคลงเคลง เสียการทรงตัวและเดินโซเซ บางรายอาจเสี่ยงต่อการล้มและต้องนั่งกับพื้น รวมถึงรู้สึกบ้านหมุน เช่น 

  • มีการติดเชื้อในหู 

    • น้ำในหูไม่เท่ากัน 
    • กระดูกในหูเจริญผิดปกติ 
    • ตะกอนหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน 
  • มีความผิดปกติของตา: บางครั้งการมีสายตาสั้น ยาว หรือเอียงผิดปกติ ก็ทำให้การมองเห็นผิดเพี้ยนจนมีอาการวิงเวียนหัวคลื่นไส้ได้เช่นกัน โดยเฉพาะถ้ามีอาการตามัว คุณควรรีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยว่ามีโรคแทรกซ้อนหรือไม่ 

  • ฮอร์โมนเพศแปรปรวน: สาเหตุนี้มักเกิดในเพศหญิง โดยเฉพาะในช่วงก่อน หรือระหว่างมีประจำเดือน ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวคุณผู้หญิงอาจมีอาการปวดหัว เวียนหัว คลื่นไส้อาเจียนได้ โดยการเหล่านี้สามารถเรียกได้ในชื่อ "อาการพีเอ็มเอส (Pre-Menstrual Symptoms: PMS)" นอกจากนี้ ในช่วงระยะแรกของการตั้งครรภ์ ว่าที่คุณมือใหม่หลายรายอาจอาจ้องเผชิญกับอาการนี้เช่นกัน

  • ความดันโลหิตผิดปกติ: ความดันโลหิตสูงหรือต่ำเกินไป ล้วนทำให้เกิดอาการปวดหัว วิงเวียน และคลื่นไส้ได้ โดยเป็นผลมาจากเลือดที่ไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ในร่างกายเกิดความผิดปกติขึ้น หรือแม้แต่ผลข้างเคียงจากยาลดความดันบางชนิดก็ทำให้เกิดการเวียนหัวได้

  • เป็นการตอบสนองของประสาทสัมผัส: เมื่อเราเห็นภาพที่ไม่อยากเห็น ได้สูดดมกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ หรือรับรสชาติที่ไม่ชื่นชอบ หลายๆ ครั้งร่างกายจะตอบสนองโดยเกิดอาการเวียนหัวคลื่นไส้ อยากอาเจียนขึ้นได้เช่นกัน

  • ดื่มแอลกอฮอล์: เราสามารถเรียกอาการจากสาเหตุนี้ได้ในชื่อที่หลายคนคุ้นหูอย่าง "อาการเมาค้าง" เพราะการบริโภคแอลกอฮอล์มากๆ จนเมาหนักสามารถทำให้เกิดอาการปวดหัว เวียนหัวคลื่นไส้ได้ และอาการนี้ยังคงอยู่นานหลายชั่วโมงจนกว่าจะหายดี

  • น้ำตาลในเลือดต่ำ: ผู้ที่อดอาหารหรือรับสารอาหารไม่เพียงพอ จะมีความรู้สึกหน้ามืด เวียนหัวคลื่นไส้ได้ และอาการดังกล่าวมักจะมาพร้อมกับความอ่อนเพลีย หมดเรี่ยวแรง ไม่มีสมาธิ 

  • ได้รับสารเคมีบางอย่าง: เช่น สูดดมทินเนอร์ สารกำจัดศัตรูพืช แก๊สและควันท่อไอเสีย รวมถึงการรับสารพิษที่ปนเปื้อนในอาหาร ซึ่งหากรับในปริมาณมากก็อาจก่อให้เกิดอาการหน้ามืด เวียนหัวคลื่นไส้ได้

  • อาหารเป็นพิษ: สารพิษของเชื้อโรคที่ปนเปื้อนในอาหาร นอกจากจะทำให้เกิดอาการท้องร่วงได้แล้ว บางครั้งยังส่งผลให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และเวียนศีรษะได้เช่นกัน

  • เป็นผลข้างเคียงจากยา: เช่น ยาเคมีบำบัดรักษามะเร็ง และยาสมุนไพรบางชนิด ซึ่งหากคุณใช้ยาเหล่านี้แล้วมีอาการปวดหัว คลื่นไส้ ให้รีบปรึกษาแพทย์ว่าอาการข้างเคียงเหล่านี้เป็นอันตรายหรือไม่ 

  • ภาวะทางจิตเวช: มักพบร่วมกับผู้ที่มีอาการหวาดระแวงหรือโรควิตกกังวล (Anxiety disorder) โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar) หรือโรคซึมเศร้า (Depression) 

การรักษาอาการหน้ามืด เวียนหัวคลื่นไส้

หากเกิดอาการหน้ามืด เวียนหัวคลื่นไส้ คุณอาจทำการรักษาเบื้องต้นด้วยตนเองได้ ดังนี้

  • นั่งลงพิงหลังในที่ที่ปลอดโปร่ง มีอากาศถ่ายเท และสูดหายใจเข้าลึกๆ
  • อาจดมยาดม หรือแอมโมเนียระเหย เพื่อบรรเทาอาการวิงเวียนได้
  • ดื่มเครื่องดื่มผสมน้ำตาลที่มีฤทธิ์ช่วยแก้เวียนหัวคลื่นไส้ เช่น น้ำขิง หรือชาร้อน
  • หากอาเจียนออกมาหลายครั้ง ควรดื่มน้ำเกลือ หรือเครื่องดื่มเกลือแร่เพื่อชดเชยสารน้ำและแร่ธาตุที่เสียไป
  • หากคุณมีอาการคลื่นไส้อย่างรุนแรง คุณอาจต้องหายาแก้คลื่นไส้อาเจียนรับประทานเพื่อยับยั้งอาการไว้ก่อน เช่น ยาไดเมนไฮดริเนต (Dimenhydrinate)  และควรพกยาแก้คลื่นไส้อาเจียนติดตัวไว้บ้างเพื่อป้องกันเมื่ออาการเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน
  • หากอาการที่เกิดขึ้นรุนแรงมากๆ หรือเรื้อรังไม่หาย คุณควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายหาสาเหตุเพิ่มเติม เพราะการตรวจหาอาการอาจจะต้องส่งผ่านการตรวจพิเศษหรือการทดสอบทางห้องแลป เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่เหมาะสม

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android

👨‍⚕️⚕️👩‍⚕️⚕️ ค้นหาโรค อาการ ยา โรงพยาบาล คลินิก และอ่านบทความสุขภาพ เขียนโดยคุณหมอหรือผ่านการรีวิวจากคุณหมอแล้ว ที่ www.honestdocs.co และ www.honestdocs.id 

💪❤️ ไม่พลาดข้อมูลดีๆ ที่จะทำให้คุณแข็งแรงขึ้นทั้งกายและใจ คลิกที่นี่เพื่อแอดไลน์ @hdcoth หรือแสกน QR Code ด้านล่างนี้ และยังติดตามเราได้ที่ Facebook และ Twitter วันนี้

📱📰 โหลดแอป HonestDocs สำหรับ iPhone หรือ Android ได้แล้ววันนี้! จะอ่านบทความ จะเก็บบทความไว้อ่านทีหลัง หรือจะแชร์บทความให้คนที่เราเป็นห่วง ก็ง่ายกว่าเดิมเยอะ

เปรียบเทียบดีลสุขภาพ ทำฟัน และความงาม จาก รพ. และคลินิกกว่า 100 แห่ง พร้อมจองคิวผ่าน HonestDocs คุณหมอมือถือได้เลยวันนี้ ถูกกว่าไปเอง

ขอบคุณที่วางใจ ทุกเรื่องสุขภาพอุ่นใจ ให้ HonestDocs (ออเนสด็อกส์) คุณหมอมือถือ ดูแลคุณ ❤️