เวียนหัว คลื่นไส้ ง่วง นอน ท้องเสีย

การดูแลอาการคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยระยะสุดท้าย

อาการคลื่นไส้อาเจียนเป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยระยะสุดท้าย อย่างไรก็ตามพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมีอาการคลื่นไส้ได้บ่อยกว่าอาการอาเจียน ซึ่งหากไม่ได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสมแล้ว ก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมา เช่น มีภาวะขาดน้ำ รับประทานอาหารได้น้อยลง เพลียไม่มีแรง

สำหรับกลไกหลักของอาการคลื่นไส้อาเจียนเกิดจากส่วนของ Vomiting center ซึ่งอยู่ที่สมองส่วน Medulla oblongataได้รับสัญญาณประสาทจากpathwayหลักๆ 4 อย่างได้แก่

เวียนหัว คลื่นไส้ ง่วง นอน ท้องเสีย
  Cortex และ Limbic system โดยในส่วนนี้มักเกิดจากการได้รับกลิ่น การได้เห็นสิ่งที่ทำให้รู้สึกคลื่นไส้อาเจียน การนึกถึงประสบการณ์ที่ทำให้รู้สึกอยากจะคลื่นไส้อาเจียน เป็นต้น นอกจากนั้นผู้ป่วยที่มีความดันในกระโหลกศีรษะสูงขึ้นก็อาจจะทำให้เกิดการคลื่นไส้อาเจียนได้

เวียนหัว คลื่นไส้ ง่วง นอน ท้องเสีย
  Chemoreceptor trigger zone ที่อยู่บริเวณ Medulla oblongata โดยบริเวณนี้จะถูกกระตุ้นได้จากการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในเลือดหรือในน้ำไขสันหลัง

เวียนหัว คลื่นไส้ ง่วง นอน ท้องเสีย
  Vestibular apparatus ในส่วนของหูชั้นกลาง ซึ่งได้รับการกระตุ้นจากการเปลี่ยนแปลงของท่าทาง

เวียนหัว คลื่นไส้ ง่วง นอน ท้องเสีย
  Peripheral pathwayอื่นๆ เช่น neurotransmitter receptor ในส่วนของทางเดินอาหาร การกระตุ้น Vagal หรือ Sympathetic nervesจากตัวของะมะเร็งเอง หรือจากการที่มีภาวะตับโตจากการกระจายของมะเร็ง สำหรับชนิดของสารสื่อประสาทหลักที่เกี่ยวข้องกับกลไกของอาการคลื่นไส้อาเจียนนั้นมี 3 ตัว ได้แก่ Dopamine, Serotonin และ Histamine 

สาเหตุของอาการคลื่นไส้อาเจียนที่พบได้บ่อยคือ

เวียนหัว คลื่นไส้ ง่วง นอน ท้องเสีย
  อาการท้องผูก
เวียนหัว คลื่นไส้ ง่วง นอน ท้องเสีย
  ภาวะลำไส้อุดตัน
เวียนหัว คลื่นไส้ ง่วง นอน ท้องเสีย
  การติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
เวียนหัว คลื่นไส้ ง่วง นอน ท้องเสีย
  การระคายเคืองหรือการอักเสบของกระเพาะอาหาร เช่น Gastritis, การติดเชื้อราในทางเดินอาหาร
เวียนหัว คลื่นไส้ ง่วง นอน ท้องเสีย
  ผลข้างเคียงจากยาและการรักษาบางอย่าง เช่น การให้รังสีรักษา ส่วนยาที่พบว่าทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนได้บ่อย คือ Opioids, SSRI, Antibiotics, ยาเคมีบำบัด เป็นต้น
เวียนหัว คลื่นไส้ ง่วง นอน ท้องเสีย
  ภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง (Increased intracranial pressure)
เวียนหัว คลื่นไส้ ง่วง นอน ท้องเสีย
  ภาวะUremiaจากไตวาย
เวียนหัว คลื่นไส้ ง่วง นอน ท้องเสีย
  ภาวะที่มีระดับของแคลเซียมในเลือดสูง (Hypercalcemia)
เวียนหัว คลื่นไส้ ง่วง นอน ท้องเสีย
  สาเหตุอื่นๆเช่น กลิ่นบางอย่าง, ความวิตกกังวล เป็นต้น

หลักการรักษาอาการคลื่นไส้อาเจียน ทำได้อย่างไร 

ในการรักษาอาการคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยระยะสุดท้าย ทีมที่ดูแลจำเป็นต้องวินิจฉัยหาสาเหตุที่น่าจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนของผู้ป่วยก่อนจากการซักประวัติ การประเมินความรุนแรงโดยใช้แบบประเมิน ESAS การตรวจร่างกาย ตลอดจนการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการหรือทางรังสีวิทยาอื่นๆเพิ่มเติมเท่าที่จำเป็น เพื่อที่จะได้ให้การรักษาตามสาเหตุอย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตามทีมที่ดูแลพึงตระหนักว่า หลายๆครั้งที่อาการในผู้ป่วยระยะสุดท้าย มักจะเกิดจากปัจจัยหลายๆปัจจัยร่วมกัน ดังนั้นการวางแผนการรักษาจึงจำเป็นต้องให้ครอบคลุมปัจจัยที่เป็นไปได้ในผู้ป่วยแต่ละราย

วิธีการรักษาโดยใช้ยา (Pharmacological Interventions)ทำได้อย่างไร?

นอกจากให้การรักษาสาเหตุเฉพาะที่อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนแล้ว ยาบางชนิดสามารถนำมา่ใช้รักษาอาการอาเจียนในผู้ป่วยระยะสุดท้าย ได้แก่

เวียนหัว คลื่นไส้ ง่วง นอน ท้องเสีย
  Serotonin antagonist: สำหรับยากลุ่มนี้จะเลือกใช้ในกรณีที่สงสัยว่าอาการคลื่นไส้อาเจียนของผู้ป่วยน่าจะเกิดจากการรักษาด้วยเคมีบำบัด ตัวอย่างยากลุ่มนี้ได้แก่ Ondansetron, Granisetron เป็นต้น ข้อพึงระวังของการให้ยากลุ่มนี้คือ ไม่แนะนำให้ใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน เพราะอาจจะทำให้เกิดอาการท้องผูกได้ และไม่แนะนำให้เลือกใช้เป็นอันดับแรกๆหากไม่ได้สงสัยว่าอาการคลื่นไส้อาเจียนของผู้ป่วยเกิดจากการให้ยาเคมีบำบัด เนื่องจากยามีราคาแพงและมีทางเลือกอื่นๆที่เหมาะสมกว่า

เวียนหัว คลื่นไส้ ง่วง นอน ท้องเสีย
  Metoclopramide: เป็นยาที่ใช้บ่อยในการรักษาอาการอาเจียนในผู้ป่วยระยะสุดท้าย ยาตัวนี้จัดอยู่ในกลุ่ม Dopamine antagonist ข้อดีคือมีราคาถูก และเพิ่ม GI motility ผลข้างเคียงที่ต้องระวังคือ Akathesia และ Extrapyramidal side effects สำหรับยากลุ่มนี้แนะนำให้ใช้ในกรณีที่สงสัยว่าอาการคลื่นไส้อาเจียนเกิดจากยากลุ่ม Opioids และควรพิจารณาลดขนาดยาลงในผู้ป่วยที่มีปัญหาตับวายหรือไตวาย

เวียนหัว คลื่นไส้ ง่วง นอน ท้องเสีย
  Domperidone: เป็นยากลุ่ม Prokinetic สามารถใช้แทน Metoclopramide ได้ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยที่เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ Metoclopramide ข้อเสียของยาตัวนี้คือ มีเฉพาะชนิดที่เป็นยาเม็ดรับประทาน ดังนั้นในผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานยาได้เนื่องจากมีอาการคลื่นไส้อาเจียนมาก ก็อาจจะต้องพิจารณาในยาในกลุ่มอื่นแทนไปก่อน

เวียนหัว คลื่นไส้ ง่วง นอน ท้องเสีย
  Haloperidol: เป็นยากลุ่ม Antidopaminergic ที่สามารถนำมาใช้รักษาอาการคลื่นไส้อาเจียนได้ แม้จะยังไม่มีข้อมูลจากการศึกษาที่เป็นRCTสนับสนุนก็ตาม สำหรับขนาดที่ให้จะเริ่มจากขนาดต่ำกว่าขนาดที่ใช้รักษาผู้ป่วยPsychosis โดยทั่วไปแนะนำให้เริ่มจากขนาด 0.5-1 mg ทุก 6-8 ชั่วโมง ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักไม่ต้องการขนาดยาสูงเกิน 4 mgต่อวัน ก็สามารถจะควบคุมอาการคลื่นไส้อาเจียนได้ ผลข้างเคียงที่สำคัญ คือ อาการง่วงซึม, Extrapyramidal side effects, QT prolongation, neuroleptic malignant syndrome นอกจากนั้นในผู้ป่วยที่มีปัญหาตับวายหรือไตวาย ควรลดขนาดยาลงครึ่งหนึ่งของขนาดปกติ

เวียนหัว คลื่นไส้ ง่วง นอน ท้องเสีย
  ยากลุ่มอื่นๆ ที่อาจจะใช้ร่วมกับยากลุ่มข้างต้นคือ Steroids (ยังไม่ทราบกลไลการออกฤทธิ์ แนะำนำให้ใช้ช่วงสั้นๆเพื่อบรรเทาอาการ และลดขนาดยาลงเมื่ออาการของผู้ป่วยดีขึ้น), Benzodiazipine (ในกรณีที่สงสัยว่าความวิตกกังวลอาจจะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน)

การดูแลอื่นๆทำได้อย่างไร?

คำแนะนำในการดูแลอื่นๆ ได้แก่

เวียนหัว คลื่นไส้ ง่วง นอน ท้องเสีย
  อาหารที่ผู้ป่วยรับประทาน ควรจะเป็นอาหารที่ไม่มีกลิ่นรุนแรง หรือมีรสจัด เพราะอาจจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนได้มากขึ้น
เวียนหัว คลื่นไส้ ง่วง นอน ท้องเสีย
  จัดสถานที่และลักษณะของอาหารให้น่ารับประทาน หลีกเลี่ยงการพูดคุยในสิ่งที่อาจจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกวิตกกังวลในช่วงเวลารับประทานอาหาร
เวียนหัว คลื่นไส้ ง่วง นอน ท้องเสีย
  อย่าใส่เสื้อผ้าที่คับจนเกินไป โดยเฉพาะในส่วนท้อง
เวียนหัว คลื่นไส้ ง่วง นอน ท้องเสีย
  พยายามระวังอย่าให้มีอาการท้องผูก
เวียนหัว คลื่นไส้ ง่วง นอน ท้องเสีย
  รับประทานอาหารมื้อละไม่มากจนเกินไป แต่ให้รับประทานบ่อยๆแทน เช่น อาจจะมีของว่างระหว่างมื้อ

Reference :

  1. Glare PA, Dunwoodie D, Clark K, Ward A, Yates P, Ryan S, et al. Treatment of nausea and vomiting in terminally ill cancer patients. Drugs2008;68(18):2575-90.
  2. Haughney A. Nausea & vomiting in end-stage cancer. Am J Nurs2004 Nov;104(11):40-8; quiz 9.
  3. O'Brien C. Nausea and vomiting. Can Fam Physician2008 Jun;54(6):861-3.

อ.นพ.กิติพล นาควิโรจน์

เวียนหัว คลื่นไส้ พะอืดพะอม เบื่ออาหารเกิดจากอะไร

อาการปวดหัว หน้ามืด เวียนหัว คลื่นไส้ อาเจียนหลายครั้ง เบื่ออาหาร อาจเกิดจาก 1. ความผิดปกติในช่องท้อง ได้แก่ - อาหารเป็นพิษ จากการทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรคหรือพิษของเชื้อโรค - กระเพาะอาหารอักเสบ แต่จะมีอาการจุกแน่น หรือแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ หรือท้องด้านซ้ายบน ร่วมกับอาหารไม่ย่อย อิ่มเร็ว เรอบ่อย เป็นต้น

เวียนหัวง่วงนอนเกิดจากอะไร

ระบบรับสัญญาณประสาทของสมองส่วนกลาง เช่น ประสาทส่วนกลางถูกกดจากการทานยานอนหลับ ดื่มสุราหรือภาวะอดนอน ภาวะความเครียด วิตกกังวล หวาดกลัว หรือมีโรคทางกายที่มีผลต่อสมอง ได้แก่ ภาวะขาดสารอาหาร น้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำผิดปกติ โรคไทรอยด์เป็นพิษ โรคหัวใจ โรคปอดเรื้อรัง เป็นต้น

มวนท้อง คลื่นไส้เกิดจากอะไร

อาการคลื่นไส้ มวนท้อง อยากอาเจียน เรอ หัวใจเต้นเร็ว อาจเกิดจาก - อาหารเป็นพิษ ซึ่งก็จะทำให้มีอาการปวดมวนท้อง คลื่นไส้ อาเจียน และอาจมีถ่ายอุจจาระเหลวร่วมด้วย และเมื่อมีอาการคลื่นไส้ ก็จะทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นได้

ทำไมรู้สึกพะอืดพะอม

สาเหตุของการคลื่นไส้ คลื่นไส้เป็นอาการที่เกิดจากหลายสาเหตุ โดยปัญหาสุขภาพที่ทำให้เกิดอาการนี้อาจมาจากอาการเมารถ การแพ้อาหารหรือยาบางอย่าง หรืออาการอันเนื่องมาจากปัญหาสุขภาพบางโรค โดยสาเหตุของอาการคลื่นไส้ สามารถแบ่งเป็นสาเหตุที่มาจากปัญหาสุขภาพในร่างกาย และผลข้างเคียงจากการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในร่างกาย ดังนี้