เสียชีวิตที่บ้าน ต้อง ทํา อย่างไร

ทันทีที่บุคคลอันเป็นที่รักจากไปอย่างไม่มีวันกลับ นอกจากการตั้งสติ ดูแลสภาพจิต อารมณ์ ความรู้สึกของกันและกัน เพื่อสร้างพลังใจให้เข้มแข็ง สำหรับการก้าวผ่านช่วงเวลาของความทุกข์แล้ว สิ่งที่ต้องทำทันทียังมีอีกหลายประการ ดังนี้

  1. เมื่อความตายเกิดขึ้น

  2. การแจ้งตาย

  3. การจัดการเอกสารของผู้วายชนม์ที่เกี่ยวข้อง และการประสานงานเบื้องต้น

1. เมื่อความตายเกิดขึ้น

เสียชีวิตที่บ้าน ต้อง ทํา อย่างไร

เมื่อความตายเกิดขึ้น สิ่งแรกที่ต้องทำ ขึ้นอยู่กับว่าการเสียชีวิตเกิดที่ใด ที่บ้าน หรือที่โรงพยาบาล

ทั้งสองกรณี จะได้รับหนังสือรับรองการตาย ท.ร.4/1 โดยได้รับเอกสารจากพนักงานส่วนปกครอง หรือจากโรงพยาบาล แล้วแต่กรณี


เสียชีวิตที่บ้าน

1. ท่านห้ามเคลื่อนย้ายศพเด็ดขาด

2.ให้โทรแจ้ง ผู้ใหญ่บ้าน ตำรวจ หรือโรงพยาบาลใกล้บ้าน เพื่อมาชันสูตร เพื่อยืนยันการเสียชีวิต ไม่ได้ถูกฆาตกรรมหรือเหตุเสียชีวิตผิดธรรมชาติ

มาตรา 148 เมื่อปรากฏแน่ชัดหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลใดตายโดยผิดธรรมชาติ หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน ให้มีการชันสูตรพลิกศพ เว้นแต่ตายโดยการประหารชีวิตตามกฎหมาย

การตายโดยผิดธรรมชาตินั้น คือ

(1) ฆ่าตัวตาย

(2) ถูกผู้อื่นทำให้ตาย

(3) ถูกสัตว์ทำร้ายตาย

(4) ตายโดยอุบัติเหตุ

(5) ตายโดยยังมิปรากฏเหตุ

3. หลังชันสูตรยืนยันการเสียชีวิต ท่านแต่งกายศพให้เรียบร้อย หากยังไม่มีโลงหรือไม่สามารถเคลื่อนย้ายควรโรยแป้งรอบ ๆ ศพ เพื่อป้องกันมด แมลงมารบกวนศพ

หากผู้เสียชีวิตเคยแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะ ควรติดต่อศูนย์รับอวัยวะ โทรศัพท์หมายเลข 1666 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งนี้หากเป็นความจำนงบริจาคดวงตาไว้ ควรติดต่อภายใน 6 ชั่วโมง หลังการตาย


เสียชีวิตที่โรงพยาบาล

การปฏิบัติต่อศพ พยาบาลและเจ้าหน้าที่ควรกระทำอย่างสมเกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เช่นเดียวกับผู้ตายยังมีชีวิตอยู่ โดยการทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยความนุ่มนวล ให้ความเคารพเช่นเดียวกับผู้ตายยังมีชีวิตอยู่การตบแต่งร่างกายส่วนต่าง ๆ ต้องทำให้เรียบร้อยที่สุดเหมือนคนธรรมดา เช่น เย็บแผลให้เรียบร้อย ไม่ปล่อยส่วนที่พิการ หรือไม่น่าดูเปิดเผยต่อสายตาญาติและผู้อื่น การแต่งศพ ควรแต่งหน้าและสวมเสื้อผ้าให้มองดูคล้ายขณะที่มีชีวิตมากที่สุด เหมือนสภาพคนที่กำลังนอนหลับสนิท การห่มผ้าคลุมศพ ไม่ควรคลุมใบหน้าหรือศีรษะ แต่ควรคลุมแค่อก

หนังสือรับรองการตาย ใบรับแจ้งการตายและหนังสือมอบหมาย ญาติติดต่อขอรับได้ที่งานเวชระเบียน ตึกผู้ป่วยนอก

ข้อแนะนำสำหรับญาติเมื่อผู้ป่วยถึงแก่กรรมที่โรงพยาบาลการเก็บหรือตรวจศพผู้ป่วยที่ถึงแก่กรรม โรงพยาบาลจะเก็บรักษาศพที่ห้องเก็บศพ แพทย์ผู้ให้การดูแลรักษาอาจขออนุญาตให้มีการตรวจศพเพื่อศึกษาหาสาเหตุของการเสียชีวิต

การขอรับศพออกจากโรงพยาบาล การติดต่อขอรับศพออกจากโรงพยาบาล ญาติจะต้องแสดงใบมรณะบัตรที่ได้รับจากเขต/อำเภอ ให้กับเจ้าหน้าที่ห้องศพก่อน ยกเว้นผู้ป่วยที่ถึงแก่กรรมเป็นอิสลามิกชน ขอให้นำใบรับรองจากจุฬาราชมนตรี มาแสดงกับผู้อำนวยการ หรือผู้แทนผู้อำนวยการโรงพยาบาล


2. การแจ้งตาย

บุคคลที่มีหน้าที่แจ้งการตายได้แก่ เจ้าบ้าน ผู้พบศพ (กรณีไม่มีเจ้าบ้าน) หรือผู้ได้รับมอบหมายให้แจ้งตายแทน หลักเกณฑ์เมื่อมีคนตาย ให้แจ้งการตาย มีดังนี้

* (1) คนตายในบ้าน ให้เจ้าบ้านหรือผู้พบศพแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนตาย ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง นับแต่เวลาตาย หรือพบศพ

* (2) คนตายนอกบ้าน ให้คนที่ไปกับผู้ตายหรือผู้พบศพแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ ที่มีการตายหรือพบศพ หรือแห่งท้องที่ ที่จะพึงแจ้งได้ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาตาย หรือเวลาพบศพ กรณีเช่นนี้ จะแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือ ตำรวจก็ได้ กำหนดเวลาให้แจ้งตาม (1) และ (2) ถ้าท้องที่ใดการคมนาคมไม่สะดวก ผู้อำนวยการทะเบียน กลางอาจขยาย เวลาออกไปตามที่เห็นสมควร แต่ต้องไม่เกินเจ็ดวันนับแต่เวลาตายหรือเวลาพบศพ หากไม่ปฏิบัติตาม (1) และ (2) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท

เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ

เมื่อผู้ป่วยถึงแก่กรรมญาติของผู้ป่วยจะต้องไปขอใบมรณะบัตรจากนายทะเบียนเขต/อำเภอ ที่โรงพยาบาล หรือบ้านตั้งอยู่ โดยจะต้องจัดเตรียมเอกสาร พร้อมสำเนา 1 ชุด เพื่อยื่นประกอบการขอรับใบมรณะบัตร ดังนี้

1. บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการหรือหนังสือสำคัญบุคคลต่างด้าวของผู้ป่วยที่ถึงแก่กรรม

2. บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการของผู้ที่จะไปติดต่อขอรับใบมรณะบัตร

3. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่คนตายมีชื่อและรายการบุคคล (ถ้ามี)

4. หนังสือรับรองการตายจากโรงพยาบาล (ถ้ามี)

ขั้นตอน

เสียชีวิตที่บ้าน ต้อง ทํา อย่างไร

1. ผู้แจ้งยื่นเอกสารและหลักฐานต่อนายทะเบียน เพื่อตรวจสอบและลงรายการในมรณบัตร

2. นายทะเบียนจำหน่ายชื่อผู้ตายออกจากทะเบียนบ้าน โดยจะประทับคำว่า "ตาย" สีแดง ไว้หน้ารายการคนตาย

3. เมื่อนายทะเบียนตรวจสอบเอกสารเรียบร้อยแล้ว จะออกใบมรณบัตรเพื่อให้ญาตินำไปแสดงกับทางวัด โรงพยาบาล และส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป

4. การเคลื่อนย้ายศพไปบำเพ็ญกุศล

- กรณีต้องเก็บแช่ศพ ให้ติดต่อโรงพยาบาล

- การเคลื่อนย้ายศพ สามารถติดต่อมูลนิธิ วัดที่มีบริการขนย้าย หรือจัดซื้อโลงและนำศพไปวัดพร้อมใบมรณบัตรได้

จะเห็นได้ว่าเรื่อง “การตาย” อาจเป็นเรื่องทำใจได้ยาก แต่ “การแจ้งตาย” เป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายไม่ยุ่งยาก เพียงแค่ “เตรียมเอกสารให้ครบ ทำตามกฎ และแจ้งตามเวลากำหนด” เท่านั้น และนี่ก็คือการทำตามกฎหมายไทยครั้งสุดท้ายที่ “เรา” จะสามารถทำให้กับ “ผู้ตาย” ได้


3. การประสานงานเบื้องต้น

ขั้นตอนต่อไป เป็นการแจ้งข้อมูล รวบรวมเอกสาร และการเตรียมงานพิธีต่างๆ

1. แจ้งการเสียชีวิตแก่เพื่อนและครอบครัว ดูแลคนที่คุณรักซึ่งอยู่ใกล้กับผู้เสียชีวิต

2. ค้นหาเอกสารสำคัญใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับแผนการจัดงานศพของผู้ตาย เช่น นโยบายการประกันชีวิต บัญชีธนาคาร พินัยกรรม เอกสารปลดประจำการทหาร ฯลฯ

3. เลือกรูปภาพที่อาจใช้ในข่าวมรณกรรมหรือเพื่อใช้ในงานศพ

4. รวบรวมเสื้อผ้าหรือเครื่องประดับใด ๆ ที่คุณต้องการให้คนที่คุณรักสวมใส่ในพิธีการ

5. รวบรวมข้อมูลชีวประวัติที่จำเป็น (วันที่และสถานที่เกิด ชื่อเต็มของพ่อแม่ รวมทั้งนามสกุลเดิม ฯลฯ )

6. รวบรวมข้อมูลหรือภาพถ่ายอื่น ๆ ที่อาจใช้สำหรับวิดีโอข่าวมรณกรรมหรือวิดีโอที่ระลึก 7. หากยังไม่ได้คุยกัน ให้เริ่มพูดคุยกับครอบครัวและเพื่อนสนิทเกี่ยวกับประเภทของงานศพหรืออนุสรณ์ที่จะเป็นเกียรติแก่ชีวิตคนที่คุณรัก สนทนาว่าเยาวชนและเด็กในครอบครัวจะสามารถมีบทบาทในการให้เกียรติคนที่พวกเขารักในการรับใช้ได้อย่างไร

นอกจากนี้ยังเป็นเวลาที่ดีในการเขียนคำถามหรือข้อกังวลใด ๆ ที่คุณอาจมี การจดบันทึกตลอดกระบวนการสามารถช่วยให้อุ่นใจได้ว่า รายการต่างๆได้รับการแก้ไขและดูแลตามความปรารถนาของครอบครัว


เอกสารอ้างอิง

http://www.rememberingalife.com/planning-a-service

http://www.bora.dopa.go.th/callcenter1548/index.php/menu-population/13-service-handbook/population/11-population-dead