การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ

Item

หัวข้อวิทยานิพนธ์

การพัฒนาประเทศรัสเซียตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติปี ค.ศ. 2019 - 2024 ในด้านการพัฒนาและการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน

รายละเอียด

ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัสเซียศึกษา คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ชื่อผู้เขียน

อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์

บทคัดย่อ

"การศึกษาเรื่องการพัฒนาประเทศรัสเซียตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติปี ค.ศ. 2019 - 2024 ในด้านการพัฒนาและการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาถึงภาพรวมของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศรัสเซียในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตลอดจนถึงการศึกษาประโยชน์จากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศรัสเซียในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยงานวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษางานวิจัยเชิงคุณภาพโดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากหนังสือ บทความวิชาการและสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ รวมถึงการนําทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมาเป็นกรอบในการวิเคราะห์ประกอบกับข้อมูลที่ได้มาทำการค้นคว้า
ผลจากการศึกษาพบว่า การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศรัสเซีย ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 2019 -2024 มุ่งเน้นเพื่อให้เกิดการพัฒนาและกระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ผ่านโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมและการขนส่ง ซึ่งประกอบไปด้วย 9 โครงการซึ่งมีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงและขยายโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมเพิ่มศักยภาพ และประสิทธิภาพในการขนส่ง โดยให้ครอบคลุมไปยังทั่วประเทศมากยิ่งขึ้น ซึ่งแผนดังกล่าวจะเป็นการตอกย้ำให้มั่นใจได้ว่าการพัฒนาแผนฉบับนี้จะช่วยให้ประชากรสามารถเข้าถึงสาธารณูปโภคพื้นฐาน รวมทั้งลดอุปสรรคด้านการขนส่งในประเทศ และเพิ่มระดับการเชื่อมต่อจุดศูนย์ทางเศรษฐกิจของดินแดนในประเทศรัสเซีย โดยรัฐบาลกลางมีแผนดังต่อไปนี้ ได้แก่ การพัฒนาเส้นทางหลวงยุโรป - จีนตะวันตก การขนส่งทางรถไฟ เส้นทางทะเลเหนือ ศูนย์กลางการขนส่งและ
โลจิสติกส์ การสร้างและพัฒนาถนนเชื่อมโยงระหว่างศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสนามบินและขยายเส้นทางในภูมิภาค การพัฒนารถไฟความเร็วสูง การพัฒนาเส้นทางทางน้ำภายใน และท่าเรือในประเทศรัสเซีย
ผลสรุปจากการศึกษา แผนพัฒนาฯดังกล่าวจะเพิ่มศักยภาพในด้านการกระจายตัวของการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานไม่ให้กระจุกตัวอยู่เพียงเมืองหลักทางตะวันตก และพัฒนาระดับชีวิตของประชากรให้สามารถเข้าถึงการเดินทางขนส่งสาธารณะได้ทั่วถึงมากยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตามอุปสรรคที่รัสเซียนั้นได้พบเจอถือเป็นปัญหาใหญ่ที่อาจจะส่งผลต่อการดำเนินตามนโยบาย เช่น การระบาดของไวรัสโควิด 19 ส่งผลให้แผนนโยบายหยุดชะงักลง เนื่องจากการหดตัวทางเศรษฐกิจและการเลิกจ้างงานซึ่งเป็นผลจากการล๊อคดาวน์และมาตรการป้องกันโรคระบาด นอกจากนี้สงครามวัคซีนอาจจะเป็นปัญหาสำคัญของรัสเซียเนื่องจากสหภาพยุโรปและองค์การอนาโลกยังไม่รับรองวัคซีนสปุตนิกวี ซึ่งในอนาคตจะกระทบต่อการการพัฒนาและฟื้นฟูเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
อย่างไรก็ตามหากรัฐบาลสามารถที่จะดำเนินประสบความสำเร็จดังเป้าหมาย จะส่งผลต่อขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ที่ดีและดัชนีวัดประสิทธิภาพของระบบ
โลจิสติกส์ (Logistics performance index) ที่จะได้รับการพัฒนาที่ทันสมัยมากยิ่งขึ้น เพื่อกระตุ้นการลงทุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากร "

ปีที่เผยแพร่

ระดับการศึกษา

ชื่อปริญญา

สาขาวิชา

ปีการศึกษา

คำสำคัญ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สหพันธรัฐรัสเซีย, โครงสร้างพื้นฐาน

ตีพิมพ์

Bangkok : Thammasat University

ประเภทข้อมูล

สิทธิ์ในการใช้งาน

การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ

ลิขสิทธิ์

Item sets

  • Email
  • Get embed code

โครงสร้างพื้นฐาน (Physical Infrastructure) จัดว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับภาคธุรกิจในการประกอบการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุน โดยเฉพาะกับการลงทุนทางตรงระหว่างประเทศ (Foreign Direct Investment, FDI) เนื่องจากเป็นการลงทุนระยะยาว ดังนั้นสภาพแวดล้อมโครงสร้างพื้นฐาน ทั้ง การคมนาคมขนส่งในทุกช่องทาง โทรคมนาคม ไฟฟ้า ประปา และอีกมากมายล้วนเป็นตัวแปรสำคัญในการดำเนินธุรกิจ  โดยจะเน้นไปที่การลงทุนทางตรงระหว่างประเทศขาเข้า คือดูประเทศผู้รับทุน (Host) ถ้าหากมีโครงสร้างพื้นฐานที่น่าสนใจก็จะทำให้ดึงดูดการลงทุนได้ดียิ่งขึ้น เราปฏิเสธไม่ได้ว่าเมื่อประเทศมีการพัฒนาถึงระดับหนึ่งแล้วการลงทุนทางตรงระหว่างประเทศขาออกจะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น ดังนั้นวันนี้เราจึงมาดูการศึกษาถึงโครงสร้างพื้นฐานของประเทศผู้รับทุน (Host) ว่ามีผลต่อขนาดการออกไปลงทุนของประเทศเจ้าของทุน (Home) มากน้อยอย่างไร โดยแยกพิจารณาจากพื้นฐานแต่ละด้าน เช่น ถนน ทางรถไฟ ทางเดินเรือ เป็นต้น โดยปัจจัยเหล่านี้สะท้อนความเหมาะสมในการดำเนินธุรกิจได้เป็นอย่างดี อาทิ ประเทศผู้รับทุนมีเส้นทางคมนาคมขนส่งที่ดีก็เหมาะอย่างยิ่งกับการออกไปลงทุนในอุตสาหกรรมที่ต้องมีการขนส่งบ่อยครั้งหรืออ่อนไหวกับระยะเวลาการเดินทาง เป็นต้น ซึ่งการศึกษานี้จะเน้นให้ความสนใจกับการลงทุนทางตรงระหว่างประเทศขาออกโดยการศึกษาในลักษณะนี้จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถจัดทำนโยบายส่งเสริมการลงทุนตลอดจนพิจารณาการเลือกประเทศผู้รับทุนได้เหมาะสมยิ่งขึ้น ผ่านการใช้ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานเป็นเกณฑ์

โดยส่วนมากแล้วเราจะพบว่าความพร้อมทางโครงสร้างพื้นฐานลักษณะภายในของประเทศผู้รับทุน (Host) ที่ยิ่งดีมากขึ้นเท่าไรก็ยิ่งส่งผลให้ดึงดูดและจูงใจให้ประเทศเข้าของทุน (Home) เข้ามาลงทุนมากยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ดีเมื่อศึกษาถึงการจัดอันดับ Infrastructure Index ของโลกจะพบความผันผวนที่ว่า ปัจจุบันนี้ประเทศจีนเป็นประเทศที่ดึงดูดการลงทุนขาเข้ามาเป็นอันดับหนึ่งแต่กลับมีอันดับของ Infrastructure Index อยู่อันดับที่ 28 แต่ในขณะที่สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศอันดับสองที่ดึงดูดการลงทุนเข้าเข้า แต่กลับมีโครงสร้างพื้นฐานดีที่สุด ซึ่งทำให้เห็นได้ว่าการมีระดับโครงสร้างพื้นฐานที่ดีนั่นสามารถส่งผลได้จริงแต่ควรพิจารณาแยกอย่างละเอียดว่าโครงสร้างพื้นฐานส่วนใดส่งเสริมต่อการดำเนินธุรกิจในส่วนใด ซึ่งมีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่งและจะทำให้ภาคเอกชนเกิดความเข้าใจมากขึ้นว่าการไปลงทุนในต่างประเทศควรที่จะให้ความสำคัญกับพื้นฐานใดเป็นหลัก หรือภาครัฐอาจเข้าไปช่วยต่อรองให้มีการสร้างโครงสร้างพื้นฐานในประเทศผู้รับทุนก็จะช่วยให้คนไทยออกไปลงทุนในประเทศนั้นได้มากขึ้นเช่นกัน

ทำความเข้าใจอะไรคือ การลงทุนทางตรงระหว่างประเทศ

การลงทุนทางตรงระหว่างประเทศ (Foreign Direct Investment, FDI) คือการเคลื่อนไหวของเงินทุน โดยดูที่การครอบครองสินทรัพย์และความเป็นเจ้าของบริษัทและวิสาหกิจในประเทศหนึ่งจากต่างประเทศ โดยผู้ที่เข้าครอบครองนั้นมีความต้องการที่จะเข้าควบคุมการผลิต การกระจายสินค้า การให้บริการ หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง กล่าวคือผู้ที่มาลงทุนต้องการที่จะมีบทบาททางเศรษฐกิจในประเทศที่เลือกไปลงทุน ซึ่งเป็นการลงทุนที่มีส่วนได้ส่วนเสียแบบความสัมพันธ์ระยะยาว

การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ

โครงสร้างพื้นฐาน แท้จริงแล้วมีอะไรบ้าง ?

คำว่าโครงสร้างพื้นฐานเป็นคำที่ค่อนข้างกว้างและครอบคลุมหลายประเด็น และในงานศึกษาแต่ละชิ้นก็ได้ให้คำจำกัดความที่แตกต่างกันอยู่มาก บางงานบอกว่าโครงสร้างพื้นฐานคือ ระบบการเมือง ประสิทธิภาพของสถาบัน หรือ กฎหมายข้อบังคับ ในขณะที่บางงานบอกว่าเป็นสิ่งที่จับต้องได้ในเชิงกายภาพ เช่น ระบบคมนาคมขนส่ง โทรคมนาคม หรือสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ซึ่งภายในงานศึกษานี้จะใช้คำกัดความของโครงสร้างพื้นฐานตาม World Bank ว่าจำแนกโครงสร้างพื้นฐานออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านคมนาคม จำพวก ถนน ขนส่งทางราง ลำน้ำ ท่าเรือ อากาศยาน, ด้านไฟฟ้าและพลังงาน, ด้านการสื่อสารโทรคมนาคม และ ด้านน้ำประปา สุขาภิบาลที่อยู่อาศัยสำหรับคนรายได้ต่ำ

ด้านการคมนาคม สามารถแบ่งแยกย่อยอีก 4 กลุ่มด้วยกัน คือ ทางถนน, ทางราง, ทางอากาศ และ ทางน้ำ ซึ่งดูตั้งแต่ความยาวถนน ระยะทางราง การปูทาง ปริมาณขนส่งผ่านทางถนน ทางราง ทางอากาศ ทางน้ำ อัตราการเสียชีวิตบนถนน  จำนวนการขึ้นบินของอากาศยาน ร่วมด้วย

ด้านไฟฟ้าและพลังงาน จะพิจารณาตัวแปร ดังนี้ ปริมาณการผลิตไฟฟ้า ปริมาณอุปทานพลังงานขั้นต้น และจำนวนเงินลงทุนด้านพลังงานกับผู้มีส่วนร่วมภาคเอกชน

ด้านน้ำประปา ซึ่งจำเป็นสำหรับหลายภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับภาคเกษตรกรรม จึงพิจารณาตั้งแต่ ปริมาณการถอนน้ำใช้ทั้งหมดต่อปี ปริมาณการถอนน้ำใช้ในภาคการเกษตรต่อไป ปริมาณการถอนน้ำใช้ในภาคอุตสาหกรรมต่อปี และผลิตภาพการใช้น้ำทั้งหมด จะเป็นการดูภาพรวมความสามารถการผลิตน้ำและการนำไปใช้นั่นเอง

ด้านการสื่อสารโทรคมนาคม โดยจะดูจาก จำนวนการรับบริการโทรศัพท์บ้านต่อประชากร 100 คน ดูจำนวนการรับบริการอินเตอร์เน็ทบรอดแบรนด์ของประชากร จำนวนการรับบริการอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือของประชากร และจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต กับจำนวนอินเทอร์เน็ตเซิร์ฟเวอร์ที่ปลอดภัย

ปัจจัยการตัดสินใจลงทุนทางตรงในต่างประเทศ

แน่นอนว่าปัจจัยทางด้านโครงสร้างพื้นฐานเป็นปัจจัยที่ถูกพิจารณาเป็นอันดับต้น ๆ เมื่อจะตัดสินใจลงทุนแต่นอกจากนั้นแล้วยังมีปัจจัยอื่นร่วมด้วย คือ ปัจจัยทางด้านเศรษฐศาสตร์ ได้แก่ ขนาดของตลาดภายในประเทศที่สะท้อนความสามารถในการผลิตสินค้าและบริการที่ตอบสนองต่อความต้องการภายในประเทศได้, ระดับการพัฒนาของประเทศ โดยมักจะดูจาก GDP per capita ของประเทศเจ้าของทุนกับประเทศผู้รับทุนว่ามีช่องว่างต่างกันขนาดไหน, ทิศทางโดยรวมของประเทศโดยดูจากอัตราการเติบโตของประเทศที่สนใจไปลงทุน, อัตราเงินเฟ้อ ที่สะท้อนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ, ขนาดกำลังแรงงานในประเทศ สามารถบอกความเพียงพอของปริมาณแรงงานที่มีต่อความต้องการใช้ของภาคเศรษฐกิจ, อัตราแลกเปลี่ยน และระดับการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน ถัดมาคือ ปัจจัยด้านต้นทุนการค้า ได้แก่ ระยะทาง คือระหว่างเมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดของทั้งสองประเทศ ซึ่งระยะทางที่ไกลขึ้นจะสะท้อนถึงต้นทุนในการบริหารจัดการและดูแลการลงทุนที่เพิ่มสูงขึ้น, การที่ประเทศทั้งสองมีชายแดนร่วมกันจะช่วยลดต้นทุนทางการค้าที่ไม่จำเป็นลง, การที่ประเทศตั้งอยู่บนเกาะหรือไม่มีทางออกทางทะเลก็ส่งผลกกระทบต่อต้นทุนการลงทุนที่สูงขึ้นเนื่องจากการเดินทางนั้นถูกจำกัด, การที่ประเทศมีการใช้ภาษาราชการเดียวกันก็จะสามารถลดต้นทุนการดำเนินการได้ และการที่ประเทศเคยเป็นอาณานิคมภายใต้การควบคุมของประเทศเดียวกันก็จะมีความสัมพันธ์เชิงอาณานิคมและสามารถช่วยลดต้นทุนการดำเนินการเนื่องจากมีระบบบริหารราชการหน่วยงานที่คล้ายคลึงกัน ปัจจัยที่สามคือ ปัจจัยด้านสถาบัน ได้แก่ เสถียรภาพทางการเมือง, ประสิทธิภาพของภาครัฐ, คุณภาพของกฎระเบียบ, การบังคับใช้กฎหมาย และการควบคุมคอร์รัปชัน ส่วนปัจจัยสุดท้ายคือ ปัจจัยข้อตกลงการลงทุนระหว่างประเทศ ได้แก่ การพิจารณาข้อตกลงการลงทุนแบบทวิภาคี และข้อตกลงการลงทุนระหว่างประเทศ โดยใช้ตัวแปรหุ้นเข้ามาเกี่ยว

การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ

การออกไปลงทุนในต่างประเทศของไทยในปัจจุบัน

ประเทศไทยในปัจจุบันนั้น พบว่าโครงสร้างพื้นฐานของประเทศผู้รับทุนมีผลอย่างยิ่งต่อปริมาณการลงทุนทางตรงระหว่างประเทศขาออกของประเทศเจ้าของทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรศัพท์พื้นฐาน อีกทั้งประเทศไทยยังมีลักษณะการลงทุนทางตรงระหว่างประเทศโดยรัฐมักจะสนใจประเทศที่สามารถเชื่อมโยงกับภาคเศรษฐกิจไทยได้ และเน้นการลงทุนแบบให้ความช่วยเหลือต่อประเทศเพื่อนบ้านมากกว่า ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานที่ประเทศไทยมักออกไปลงทุนในต่างประเทศนั้นจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานจำพวกถนน หรือสะพาน มากกว่าโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้าหรือน้ำประปา ซึ่งสะท้อนได้ว่ายังขาดการวางยุทธศาสตร์การลงทุนในระยะยาวอย่างเหมาะสม เนื่องจากขาดการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในการวางแผนเพื่อส่งเสริมให้ภาคเอกชนไทยที่สนใจลงทุนในต่างประเทศสามารถที่จะประกอบการได้อย่างสะดวกสบาย

การออกไปลงทุนในต่างประเทศของไทยอย่างเหมาะสมเมื่อพิจารณากับโครงสร้างพื้นฐาน

จากการศึกษาจะพบว่าประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา (S) แต่ประเทศไทยเป็นทั้งประเทศที่รับการลงทุนและออกไปลงทุนในต่างประเทศ คือเป็นกรณีทั้ง S-N, N-S และ S-S ทั้ง 2 ทาง ซึ่งเมื่อพิจารณาความเหมาะสมต่อไปแล้วจะพบว่า

การลงทุนในรูปแบบ S-N หรือการที่ไทยไปลงทุนในประเทศที่มีระดับพัฒนาสูงกว่าไทย เช่น สิงคโปร์ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ นั้น ไทยไม่ควรเน้นที่การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเนื่องจากประเทศเหล่านั้นมีพร้อมอยู่แล้ว แต่ควรเน้นไปที่การขยายตลาดและส่งออกสินค้ามากกว่า ซึ่งสิ่งที่ดึงดูดให้ไปลงทุนคือโครงข่ายโทรศัพท์พื้นฐานและการเดินทางด้วยรถไฟเท่านั้น ซึ่งประเทศไทยสามารถนำมาใช้พัฒนาต่อยอดได้

การลงทุนในรูปแบบ S-S คือการลงทุนในประเทศที่มีระดับการพัฒนาใกล้เคียงกับประเทศไทย เช่น บังกลาเทศ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย โดยการลงทุนในรูปแบบนี้สามารถเป็นไปได้ทั้งขาเข้าและขาออก คืออาจหมายถึงการที่ประเทศไทยไปลงทุนในประเทศเหล่านั้นหรือการที่ประเทศเหล่านั้นเข้ามาลงทุนในประเทศไทยก็ได้ โดยที่ประเทศไทยควรไปลงทุนทางด้านการสนับสนุนวิชาการ รวมถึงอาจจะให้เงินกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางถนน ท่าเรือ ทางรถไฟ เพื่อรักษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งช่วยสร้างโอกาสในการลงทุนของภาคเอกชนไทยด้วยเช่นกัน ทั้งในด้านการขยายการผลิต และขยายตลาดได้อย่างสะดวกสบาย แต่อย่างไรก็ดีพบว่ารูปแบบนี้ไม่มีผลที่แน่ชัดว่าปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานใดที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุน

การลงทุนลักษณะ N-S คือในกรณีที่ประเทศไทย ดึงดูดเงินทุนทางตรงระหว่างประเทศจากกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งพบว่า กลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วมักให้ความสำคัญกับเรื่องพลังงานที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต โดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้า ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศที่มุ่งเน้นการพัฒนาในด้านนี้อย่างต่อเนื่องจึงถือว่ามีคุณภาพดีกว่าประเทศเพื่อนบ้าน แต่สิ่งที่ท้าทายสำหรับประเทศไทยคือการผลิตปริมาณพลังงานให้เพียงพอต่อความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นประเทศไทยควรมีการวางยุทธศาสตร์ด้านพลังงานให้เพียงพอและเหมาะสม

ดังนั้นแล้วดูเหมือนว่าการลงทุนทางตรงในต่างประเทศของประเทศไทยจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนในบางส่วนและบางมาตรการเพื่อให้เหมาะสมกับการลงทุนและเอื้อต่อการดำเนินธุรกิจในระยะยาวมากขึ้นเพื่อให้ประเทศไทยสามารถมีบทบาททางเศรษฐกิจในเวทีโลก โดยประเทศไทยควรมุ่งเน้นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสร้างการเชื่อมโยงกับประเทศไทย ซึ่งจะมีประโยชน์โดยตรงในการเชื่อมโยงฐานการผลิต ฐานแรงงาน ตลอดจนการส่งสินค้าไปยังตลาดประเทศอื่น นอกจากนั้นประเทศไทยควรเน้นการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ตอบสนองต่อความต้องการของนิคมอุตสาหกรรมที่นักลงทุนไทยมีความสนใจ เช่น การสร้างโรงผลิตกระแสไฟฟ้า น้ำประปา เส้นทางคมนาคม ในบริเวณอุตสาหกรรม โดยมีรูปแบบใกล้เคียงจากต่างประเทศบางประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย โดยนอกจาก 2 ลักษณะที่กล่าวไปแล้วนั้น ประเทศไทยยังสามารถที่จะลงทุนเพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพื่อเป็นการสร้างไมตรีและเกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ ที่ทำให้สามารถเพิ่มรายได้ในระยะยาวได้ เพราะสินค้าไทยจะสามารถขายได้ดีมากยิ่งขึ้นเมื่อได้รับความไว้วางใจ

ทั้งหมดนี้ทำให้เห็นว่าภาครัฐต้องทำความเข้าใจกับความต้องการของประชาชนให้ชัดเจนเพื่อให้สามารถนำเงินภาษีอากรไปลงทุนหรือสนับสนุนโครงการต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพได้มากยิ่งขึ้น และควรเกิดการบูรณาการระหว่างหน่วยงานภายในประเทศและต่างประเทศเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทางเศรษฐกิจต่อประเทศไทยและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของชาติอีกด้วย

อ้างอิงข้อมูลจาก

โครงการวิจัย “โครงสร้างพื้นฐานและการออกไปลงทุนทางตรงในต่างประเทศ”

หัวหน้าโครงการ : ภาณุทัต สัชฌะไชย

สนับสนุนโดย : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

เรียบเรียง เพ็ญวดี ศิริบุรภัทรกราฟิก เพ็ญวดี ศิริบุรภัทรพิสูจน์อักษรและตรวจทาน จินตนา ธรรมวงษ์