พัฒนาการจากชุมชนเป็นบ้านเมืองสรุป

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

ดินแดนไทยมีสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมกับการตั้งหลักแหล่ง ดังปรากฏจากหลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของมนุษย์ จนพัฒนาเป็นชุมชน บ้านเมือง แคว้นหรือรัฐ และอาณาจักรในที่สุด

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

1. อธิบายพัฒนาการแต่ละขั้น ตั้งแต่ชุมชนสู่รัฐโบราณได้

ด้านทักษะกระบวนการ

1. วิเคราะห์ความสัมพันธ์และปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการจากชุมชนไปสู่รัฐโบราณได้

ด้านคุณลักษณะคุณลักษณะอันพึงประสงค์

1. ใฝ่เรียนรู้

2. มุ่งมั่นในการทำงาน

3. รักความเป็นไทย

คุณลักษณะเฉพาะ

1. เห็นคุณค่าของความสัมพันธ์และพัฒนาการจากชุมชนไปสู่รัฐโบราณ

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

- ตั้งคำถามนำและให้นักเรียนร่วมกันอภิปราย

การทำใบงานที่ 11

- การนำเสนอหน้าชั้นเรียน

เครื่องมือวัด

- แบบประเมินการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 15

เกณฑ์การวัด

- เกณฑ์คุณภาพการประเมิน (RUBRIC SCORE)     

เครื่องมือ

- คำถามนำ

- แบบประเมินการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 15

เกณฑ์การวัด

- นักเรียนตอบคำถามถูกต้องมากกว่าร้อยละ 50

- เกณฑ์คุณภาพการประเมิน(RUBRIC SCORE)      

แคว้น หมายถึงกลุ่มเมืองหลายเมืองที่มารวมตัวกันอยู่ในอาณาจักรบริเวณที่มีขอบเขตค่อนข้างจะแน่นอนมีผู้คนจำนวนมากพอที่จะมีผู้นำและมีองค์กรทางการปกครองที่มีอำนาจรวมศูนย์หรือมีอำนาจเหนืออาณาบริเวณของตนและมีหน้าที่จัดการปกครองให้เกิดระเบียบและความสงบในสังคม

จากการสำรวจหลักฐานทางโบราณคดีพบบ้านเมืองหลายแห่งได้ขยายตัวเป็นแคว้น ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่12-15 ในบริเวณภาคต่างๆของไทยเช่นทวาราวดี ละโว้ บริเวณภาคกลาง หริภุญชัย บริเวณภาคเหนือตามพรลิงค์ บริเวณพักใต้เป็นต้น บริเวณภาคใต้ เป็นต้น

พัฒนาการจากชุมชนเป็นบ้านเมืองสรุป

ตราประทับดินเผา พบที่เมืองจันเสน ตำบลตาคลี    จังหวัดนครสวรรค์

เมื่อชุมชนหลายๆแห่งหรือหลายหมู่บ้านมีพัฒนาการมากขึ้นมีการติดต่อสัมพันธ์กับชุมชนอื่นทำให้ชุมชนที่ตั้งอยู่บริเวณที่เป็นศูนย์กลางชุมชนการเดินทางสะดวกกลายเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจหรือชุมชนขนาดใหญ่

เมื่อชุมชนรอบๆ เข้ามาติดต่อสัมพันธ์กันมากขึ้นชุมชนที่เป็นศูนย์กลางก็มีการเติบโตมี โครงสร้างทางสังคมเศรษฐกิจการเมืองที่ซับซ้อนมากขึ้นทำให้การแบ่งหน้าที่ในสังคมมากขึ้นเกิดชนชั้นเช่นชนชั้นปกครองนักบวชช่างฝีมือชาวนาจนกระทั่งเกิดเป็นสังคมเมืองและพัฒนาเป็นเมืองในที่สุด

พัฒนาการจากชุมชนเป็นบ้านเมืองสรุป
 

ลูกปัดหินคาร์นีเสียน  พบที่เมืองอู่ทอง อำเภออู่ทอง  จังหวัดสุพรรณบุรี

จากหลักฐานทางโบราณคดีสันนิษฐานได้ว่าพัฒนาการของชุมชนที่จะขยายตัวเป็นบ้านเมืองจะเริ่มชัดเจนตั้งแต่พุทธศตวรรษที่7-8 โดยส่วนใหญ่จะพบมากในบริเวณที่อยู่ใกล้ทะเลและที่ราบลุ่มแม่น้ำมากกว่าที่สูงเพราะมีความอุดมสมบูรณ์กว่าเช่นบริเวณคาบสมุทรภาคใต้ที่มีเมืองที่สำคัญคือเมืองสทิงพระ จังหวัดสงขลา เมืองยะรัง จังหวัดตานี ในภาคกลางบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำท่าจีน แม่กลอง บางปะกงเจ้าพระยา ปาสัก มีเมืองอู่ทองจังหวัดสุพรรณบุรีเ มืองนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เมืองละโว้จังหวัดลพบุรี เมืองศรีมโหสถจั งหวัดปราจีนบุรี เมืองพระรถ จังหวัดชลบุรี

อย่างไรก็ตามในบริเวณที่สูงหลายแห่งก็มีการพัฒนาจากชุมชนเป็นเมืองเช่นกันถ้าชุมชนนั้นมีสภาพภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อมที่พอเหมาะที่จะเอื้ออำนวยเช่นมีทรัพยากรที่มีค่าหายากเป็นที่ต้องการของชุมชนคนอื่นหรืออยู่ในเส้นทางคมนาคมที่เป็นเส้นทางหลักในการติดต่อกับหลายๆชุมชน เช่นชุมชนบ้านปราสาท ในอำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา เป็นต้น

ในชุมชนเหล่านี้มีหลักฐานที่แสดงถึงการพัฒนาจากชุมชนเป็นบ้านเมืองหลายประการเช่นหลุมศพที่มีทั้งศพคุณธรรมดาและผู้นำซึ่งจะหันศรีษะไปคนละทางและมีข้าวของมีค่าต่างกันมากนอกจากนี้ยังมีร่องรอยของการขุดคูน้ำและคันดินล้อมรอบชุมชนซึ่งจำเป็นต้องใช้แรงงานคนจำนวนมากและจัดการแบ่งหน้าที่กันทำงานแสดงให้เห็นว่าต้องเป็นเมืองที่มีผู้คนค่อนข้างมาก

พัฒนาการจากชุมชนเป็นบ้านเมืองสรุป

   เหรียญเงินพบในอาณาจักรศรีวิชัย     

พัฒนาการจากชุมชนเป็นบ้านเมืองสรุป

        โครงกระดูกมนุษย์พบที่บ้านโนนวัด อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา

ปัจจัยสำคัญอีกประการที่ทำให้เกิดการพัฒนาจากชุมชนเป็นบ้านเมืองคือการติดต่อการรับอารยธรรมจากชุมชนเป็นบ้านเมืองคือการติดต่อได้รับอารยธรรมจากต่างชาติจากหลักฐานทางโบราณคดีและหลักฐานที่เป็นบันทึกของต่างชาติแสดงให้เห็นว่าชุมชนหลายแห่งได้ติดต่อกับต่างชาติทั้งจีนอินเดียและโรมันเปอร์เซียและรับอารยธรรมจากต่างชาติโดยเฉพาะจากอินเดียมาใช้ทำให้เกิดเป็นชนชั้นการปกครองที่มีฐานะทางสังคมสูงขึ้นเช่นเป็นผู้นำที่มีความศักดิ์สิทธิ์ดุจเทพพระเจ้าทำให้ชุมชนที่นับถือศาสนาเดียวกันมีวัฒนธรรมร่วมกันมีความเป็นอันหนึ่งเดียวกันสามารถรวมกันได้โดยมีผู้ปกครองคนเดียวกัน