รถไฟสายมรณะ กาญจนบุรี เวลา

ทางรถไฟสายมรณะ
รถไฟสายมรณะ กาญจนบุรี เวลา

ภาพทางรถไฟสายมรณะ ช่วงระหว่างสถานีรถไฟลุ่มสุ่มและป้ายหยุดรถไฟถ้ำกระแซ

ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบรถไฟระหว่างเมือง
ระบบรถไฟทางไกล
ของการรถไฟแห่งประเทศไทย
สถานะเปิดให้บริการ
ปลายทางชุมทางหนองปลาดุก
น้ำตกไทรโยคน้อย
ด่านพระเจดีย์สามองค์ (สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2)
จำนวนสถานี53 (สงครามโลกครั้งที่ 2)
30 (เปิดให้บริการ)
23 (ยุบเลิกแล้ว)
การดำเนินงาน
เปิดเมื่อ25 ธันวาคม พ.ศ. 2486
เจ้าของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ผู้ดำเนินงานการรถไฟแห่งประเทศไทย
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง194.84 กม. (121.07 ไมล์) (จากสถานีธนบุรี)
303.95 กม. (188.87 ไมล์) (สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2)
รางกว้างราง 1 เมตร ทางเดี่ยว

แผนที่เส้นทาง

รถไฟสายมรณะ กาญจนบุรี เวลา

รถไฟสายมรณะ กาญจนบุรี เวลา

ช่องเขาขาด

เส้นทางสถานีตาน-พยูซะยะ ประเทศพม่า

รถไฟสายมรณะ กาญจนบุรี เวลา

จุดเริ่มต้นในประเทศพม่า

ทางรถไฟสายมรณะ (ทางรถไฟสายพม่า หรือ ทางรถไฟสายกาญจนบุรี) เป็นเส้นทางรถไฟสายหนึ่งที่เริ่มต้นจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ผ่านจังหวัดกาญจนบุรี ข้ามแม่น้ำแควใหญ่ โดยสะพานข้ามแม่น้ำแคว ไปทางทิศตะวันตกจนถึงด่านเจดีย์สามองค์ เพื่อให้ถึงปลายทางที่เมืองตาน-พยูซะยะ ประเทศพม่า

ทางรถไฟสายมรณะมีความยาวจากหนองปลาดุกถึงสถานีตาน-พยูซะยะ รวม 415 กิโลเมตร แบ่งเป็นทางรถไฟที่อยู่ในเขตประเทศไทยประมาณ 303.95 กิโลเมตร และอยู่ในเขตพม่า 111.05 กิโลเมตร มีจำนวนสถานีทั้งหมด 37 สถานี ทางรถไฟสายนี้สร้างขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยใช้แรงงานเชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตรและกรรมกรชาวเอเชียที่กองทัพญี่ปุ่นเกณฑ์มาสร้าง เพื่อใช้เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ผ่านประเทศพม่า

ปัจจุบันเส้นทางนี้ไปสุดปลายทางที่บ้านท่าเสาหรือป้ายหยุดรถไฟน้ำตกไทรโยคน้อย ระยะทางจากสถานีกาญจนบุรีถึงสถานีน้ำตกเป็นระยะทางประมาณ 77 กิโลเมตร การรถไฟแห่งประเทศไทยเปิดเดินรถบนเส้นทางนี้ทุกวัน และมีการจัดรถไฟขบวนพิเศษสายกรุงเทพฯ-น้ำตก ทุกวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดราชการ จุดที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจมากคือช่วงสะพานข้ามแม่น้ำแคว และช่วงโค้งมรณะ หรือช่วงระหว่างสถานีรถไฟลุ่มสุ่มและป้ายหยุดรถไฟถ้ำกระแซ ซึ่งเป็นช่วงที่มีการสร้างสะพานเลียบริมหน้าผาและแม่น้ำแควน้อย มีความยาวประมาณ 400 เมตร

ประวัติ[แก้]

ทางรถไฟสายมรณะ สร้างขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยรัฐบาลญี่ปุ่นขอยืมเงินจากรัฐบาลไทย จำนวน 4 ล้านบาท การก่อสร้างใช้เวลาในการสร้างเสร็จเพียง 1 ปี ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2485 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2486 เพื่อใช้เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ผ่านประเทศพม่า หลังสงครามทางรถไฟบางส่วนถูกรื้อทิ้ง บางส่วนจมอยู่ใต้อ่างเก็บน้ำเขื่อนวชิราลงกรณ์ ทางรถไฟสายนี้ถือเป็นอนุสรณ์ให้รำลึกถึงเหตุการณ์สงครามในครั้งนั้น เนื่องจากน้ำพักน้ำแรงของการบุกเบิกก่อสร้าง เป็นของทหารเชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตร ที่กองทัพญี่ปุ่นเกณฑ์มา

เหตุที่ทางรถไฟสายนี้ได้ชื่อว่า ทางรถไฟสายมรณะ ก็เพราะว่า ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นได้เกณฑ์เชลยศึกฝ่ายพันธมิตร ได้แก่ ทหารอังกฤษ อเมริกัน ออสเตรเลีย ฮอลันดาและนิวซีแลนด์ ประมาณ 61,700 คนและกรรมกรชาวชาวจีน ญวน ชวา มลายู พม่า อินเดีย อีกจำนวนมาก และคนไทยที่ถูกเกณฑ์เป็นทาสอีกนับแสนราย มาก่อสร้างทางรถไฟสายยุทธศาสตร์ เพื่อเป็นเส้นทางผ่านไปสู่ประเทศพม่า เพื่อลำเลียงอาวุธยุทโธปกรณ์ รวมทั้งกำลังพล เพื่อจะไปโจมตีพม่าและอินเดียต่อไป ซึ่งขณะนั้นเป็นดินแดนอาณานิคมของอังกฤษ เส้นทางช่วงหนึ่งจะต้องข้ามแม่น้ำแควใหญ่จึงต้องมีการสร้างสะพานขึ้น การสร้างสะพานและทางรถไฟสายนี้เต็มไปด้วยความยากลำบาก ความทารุณของสงครามและโรคภัยตลอดจนการขาดแคลนอาหาร ทำให้เชลยศึกจำนวนหลายหมื่นคนต้องเสียชีวิตลง ทางรถไฟสายนี้สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2486 และเปิดใช้ เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ปีเดียวกัน

หลังสิ้นสุดสงครามรัฐบาลไทยได้จ่ายเงินจำนวน 50 ล้านบาท เพื่อซื้อทางรถไฟสายนี้[1]จากอังกฤษ และทำการซ่อมบำรุงบางส่วนของเส้นทางดังกล่าว เพื่อเปิดการเดินรถตั้งแต่สถานีหนองปลาดุกจนถึงสถานีน้ำตก โดยอยู่ในความดูแลของการรถไฟแห่งประเทศไทยจนถึงปัจจุบัน

เส้นทางรถไฟสายนี้เป็นอนุสรณ์ของโลกที่จารึกความโหดร้ายทารุณของสงครามโลกครั้งที่ 2 และเป็นอนุสรณ์แก่ผู้เสียชีวิตในสงครามด้วย

การท่องเที่ยว[แก้]

รถไฟสายมรณะ กาญจนบุรี เวลา

ขณะที่รถไฟลัดเลาะตามเชิงผาเลียบไปกับลำน้ำแควน้อย และถ้ำกระแซ

ทิวทัศน์ตลอดเส้นทางนี้สวยงามมาก โดยเฉพาะบริเวณถ้ำกระแซ ที่เส้นทางรถไฟจะลัดเลาะไปตามเชิงผาเลียบไปกับลำน้ำแควน้อย ปัจจุบันทางรถไฟสายนี้สุดปลายทางที่บ้านท่าเสาหรือสถานีน้ำตก ระยะทางจากสถานีกาญจนบุรีถึงสถานีน้ำตกเป็นระยะทางประมาณ 77 กิโลเมตร

การรถไฟแห่งประเทศไทยเปิดบริการเดินรถไฟขบวนปกติ ธนบุรี - น้ำตก ทุกวัน และจัดขบวนพิเศษสายกรุงเทพ - น้ำตกไทรโยคน้อย ทุกวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดราชการ

โครงการในอนาคต[แก้]

เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานจากเมืองย่างกุ้งว่าทางการพม่าประกาศจะรื้อฟื้นเส้นทางรถไฟสายมรณะของไทย โดยนายอ่อง มิน รัฐมนตรีกระทรวงการรถไฟพม่าซึ่งรับผิดชอบโครงการ เผยว่าได้ศึกษาความเป็นไปได้ของการบูรณะเส้นทางรถไฟ ความยาว 105 กิโลเมตรจากด่านเจดีย์สามองค์ในพม่าไปยังเขตแดนไทย ซึ่งจะเริ่มต้นขึ้นในเดือนตุลาคมปีเดียวกันนี้ และทางการไทยได้รับปากที่จะให้ความช่วยเหลือ สำหรับการรื้อฟื้นเชื่อมต่อการเดินรถไฟข้ามแดนอีกครั้ง[2]

รายชื่อสถานี[แก้]

ป้ายหยุดรถไฟน้ำตกไทรโยคน้อย

สถานีปัจจุบัน[แก้]

  1. ชุมทางหนองปลาดุก กม. 0+000 ทางรถไฟสายมรณะ ซึ่งตรงกับ กม. 64 + 046.55 จากสถานีธนบุรี (เก่า) หรือ กม. 80+096.55 จากสถานี กรุงเทพ
  2. ถนนทรงพล กม.3.71 นับจากสถานี ชุมทางหนองปลาดุก ซึ่งตรงกับ กม. 67.90 จากสถานีธนบุรี (เก่า)
  3. สระโกสินารายณ์ กม.9.96 นับจากสถานี ชุมทางหนองปลาดุก ซึ่งตรงกับ กม. 74.25 จากสถานีธนบุรี (เก่า)
  4. ลูกแก กม. 13 + 380 นับจากสถานี ชุมทางหนองปลาดุก
  5. ท่าเรือน้อย กม. 25 + 890 นับจากสถานี ชุมทางหนองปลาดุก
  6. บ้านหนองเสือ
  7. ทุ่งทอง กม. 36 + 900 นับจากสถานี ชุมทางหนองปลาดุก
  8. ปากแพรก กม. 50 + 320 นับจากสถานี ชุมทางหนองปลาดุก (กม. 114.36 จากสถานีธนบุรี (เก่า))
  9. กาญจนบุรี กม.53+000 นับจากสถานี ชุมทางหนองปลาดุก (กม. 117.04 จากสถานีธนบุรี (เก่า))
  10. สะพานแควใหญ่ กม. 56 + 255.1 นับจากสถานี ชุมทางหนองปลาดุก (กม. 120+069.50 จากสถานีธนบุรี (เก่า))
  11. เขาปูน กม. 57 + 545 นับจากสถานี ชุมทางหนองปลาดุก (กม. 121.55 จากสถานีธนบุรี (เก่า))
  12. วิทยาลัยเกษตร กม.65 + 685 นับจากสถานี ชุมทางหนองปลาดุก (กม. 129.69 จากสถานีธนบุรี (เก่า))
  13. วังลาน กม. 68 + 454 นับจากสถานี ชุมทางหนองปลาดุก (กม. 132.459 จากสถานีธนบุรี (เก่า))
  14. นากาญจน์
  15. วังเย็น
  16. วังตะเคียน
  17. โป่งเสี้ยว
  18. บ้านเก่า กม. 87 + 904 นับจากสถานี ชุมทางหนองปลาดุก
  19. ท่าตาเสือ
  20. ท่ากิเลน กม. 97 + 904 นับจากสถานี ชุมทางหนองปลาดุก
  21. วังสิงห์
  22. ลุ่มสุ่ม กม. 108 + 140 นับจากสถานี ชุมทางหนองปลาดุก (กม. 172.414 จากสถานีธนบุรี (เก่า))
  23. สะพานถ้ำกระแซ กม. 109.66 นับจากสถานี ชุมทางหนองปลาดุก (กม. 173+934.00 จากสถานีธนบุรี (เก่า))
  24. วังโพ กม. 114 + 040 นับจากสถานี ชุมทางหนองปลาดุก (กม. 178.10 จากสถานีธนบุรี (เก่า))
  25. เกาะมหามงคล
  26. ช่องแคบ
  27. วังใหญ่
  28. บ้านพุพง
  29. น้ำตก กม. 130 + 300 นับจากสถานี ชุมทางหนองปลาดุก (กม. 194.24 จากสถานีธนบุรี (เก่า))
  30. น้ำตกไทรโยคน้อย กม.130 + 900 นับจากสถานี ชุมทางหนองปลาดุก (กม. 194.84 จากสถานีธนบุรี (เก่า))

สถานีสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2[แก้]

  1. กงม้า (คอนม้า) กม. 2 + 000 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
  2. บ้านโป่งใหม่ กม. 5 + 180 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
  3. เขาดิน กม. 43 + 154 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
  4. ท้องช้าง กม. 139 + 050 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
  5. ถ้ำผี กม. 147 + 520 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
  6. หินตก กม. 155 + 030 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
  7. แคนนิว กม. 161 + 400 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
  8. ไทรโยค.. กม. 167 + 660 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
  9. กิ่งไทรโยค กม. 171 + 720 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
  10. ลิ่นถิ่น กม. 180 + 530 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
  11. กุยแหย่ กม. 190 + 480 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
  12. รถไฟสายมรณะ กาญจนบุรี เวลา

    รถจักรไอน้ำแปซิฟิค ซีเอ็กซ์ 50 (CX50) หมายเลข 824 เมื่อคราวไปเยือนทางรถไฟสายมรณะ ที่สะพานถ้ำกระแซ

    หินดาด กม. 197 + 750 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
  13. ปรังกาสี กม. 208 + 110 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
  14. ท่าขนุน กม. 218 + 150 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
  15. น้ำโจนใหญ่ กม. 229 + 140 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
  16. ท่ามะยอ กม. 236 + 800 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
  17. ตำรองผาโท้ กม. 244 + 190 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
  18. บ้านเกริงไกร กม. 250 + 130 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
  19. คุริคอนตะ
  20. กองกุยตะ กม. 262 + 580 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก (สถานีแก่งคอยท่า)
  21. ทิมองตะ กม. 273 + 060 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
  22. นิเกะ กม. 281 + 880 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
  23. ซองกาเลีย กม. 294 + 020 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
  24. ด่านเจดีย์สามองค์ กม. 303 + 630 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก (สถานีจันการายา - ด่านพระเจดีย์สามองค์ฝั่งพม่า)

สถานที่ที่เกี่ยวข้องกับทางรถไฟสายมรณะ[แก้]

  • สะพานข้ามแม่น้ำแคว
  • สุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก
  • พิพิธภัณฑ์สงครามอักษะและเชลยศึก
  • หอศิลป์และพิพิธภัณฑ์สงครามโลกครั้งที่ 2
  • สุสานทหารสัมพันธมิตรช่องไก่
  • ช่องเขาขาด
  • กาญจนบุรี
  • พิพิธภัณฑ์ทางรถไฟไทย-พม่า

อ้างอิง[แก้]

  1. ทางรถไฟสายมรณะเก็บถาวร 2008-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรื่องไทยในอดีต
  2. "พม่ารื้อฟื้นเชื่อมทางรถไฟสายมรณะ" (Press release). เดลินิวส์. 20 พฤษภาคม 2555. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-21. สืบค้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2555. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

รถไฟสายมรณะ กาญจนบุรี เวลา
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ:
ทางรถไฟสายมรณะ
  • แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ ทางรถไฟสายมรณะ
    • ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
    • แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
    • ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์

พิกัดภูมิศาสตร์: 14°02′27″N 99°30′11″E / 14.040833°N 99.503056°E

รถไฟสายมรณะ กาญจนบุรี เวลา
สถานีรถไฟ ป้ายหยุดรถไฟ และที่หยุดรถไฟ ในพื้นที่ของแขวงบำรุงทางกาญจนบุรี และแนวสถานีสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

  • ชุมทางหนองปลาดุก (แขวงบำรุงทางนครปฐม)
  • ถนนทรงพล (แขวงบำรุงทางนครปฐม)
  • สระโกสินารายณ์
  • ลูกแก
  • ท่าเรือน้อย
  • บ้านหนองเสือ
  • ทุ่งทอง
  • ปากแพรก
  • กาญจนบุรี
  • สะพานแควใหญ่
  • เขาปูน
  • วิทยาลัยเกษตร
  • วังลาน
  • นากาญจน์
  • วังเย็น
  • วังตะเคียน
  • โป่งเสี้ยว
  • บ้านเก่า
  • ท่าตาเสือ
  • ท่ากิเลน
  • วังสิงห์
  • ลุ่มสุ่ม
  • สะพานถ้ำกระแซ
  • วังโพ
  • เกาะมหามงคล
  • ช่องแคบ
  • วังใหญ่
  • บ้านพุพง
  • น้ำตก
  • น้ำตกไทรโยคน้อย
  • ท้องช้าง
  • ถ้ำผี
  • หินตก
  • แคนนิว
  • ไทรโยค
  • กิ่งไทรโยค
  • รินถิ่น
  • กุย
  • หินดาด
  • ปรางกาสี
  • ท่าขนุน
  • น้ำโจนใหญ่
  • ท่ามะยอ
  • ตำรองผาโท้
  • บ้านเกริงไกร
  • คุริคอนตะ
  • กองกุยตะ
  • ทีมองตะ
  • นิเกะ
  • ซองกาเลีย
  • ด่านพระเจดีย์สามองค์
  • (ประเทศพม่า)

สถานีรถไฟและทางรถไฟที่ยกเลิกการใช้งานของการรถไฟแห่งประเทศไทย

สถานีรถไฟ

สายเหนือ

บ้านหนองหมู • ทุ่งน้ำซึม • อ่างหิน • ท่าเสา • น้ำริด • แม่พวก • ห้วยแม่ลาน • บ่อแฮ้ว

สายตะวันออกเฉียงเหนือ

ทับกวาง • บ้านพะไล • หนองแคน • บ้านแต้ • บ้านโพธิ์มูล • บ้านขาว • หนองสองห้อง • สระธรรมขันธ์ • หนองคาย (เดิม)

สายใต้

ธนบุรี (เดิม) • บ้านฉิมพลี • คลองปราบ • บ้านป่ากอ • วังวัว • มะม่วงสองต้น • เขาบันไดนาง • น้ำน้อย • ควนหิน • สงขลา • ไอสะเตีย • บ้านพรุ • ศาลาทุ่งลุ่ง • คลองรำ • บ้านท่าข่อย • กะปาง • พรุใหญ่ • ป่าเตียว • ลำภูรา • อู่ตะเภา

สายตะวันตก

ยางประสาท • ดอนขุนวิเศษ • กำแพงแสน • หนองฟัก • หนองผักชี • บ้านมะขามล้ม • สะแกหมูย่าง • เขาดิน

สายตะวันออก

คลองอุดมชลจร • กบินทร์เก่า • ไทย • คลองลึก • เขาพระบาท • แจมโบรี • ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ

สายแม่กลอง

ปากคลองสาน • บางกระบูน • ช่องลม • บ้านบ่อ • กาหลง • นาโคก • ลาดใหญ่

ย่านชานเมือง

แกรนด์คาแนล • หลักหก • คลองรังสิต

ทางรถไฟ

ปากน้ำ • หาดเจ้าสำราญ • บางบัวทอง • พระพุทธบาท • คอคอดกระ • มรณะ • สงขลา • บ้านปลายราง • ท่าตะโก

รถไฟสายมรณะ กาญจนบุรี เวลา
การรถไฟแห่งประเทศไทย

หัวข้อทั่วไป

  • ประวัติ
    • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน
  • รายชื่อผู้ว่าการ
  • รายชื่อสถานีรถไฟ
    • สถานีที่ยกเลิก
  • พาหนะ
    • ตู้โดยสาร
  • อุบัติเหตุ

รถไฟระหว่างเมือง

สายหลัก

  •  รฟท. เหนือ 
    • รายชื่อสถานี
  •  รฟท. ตะวันออกเฉียงเหนือ 
    • รายชื่อสถานี
  •  รฟท. ใต้ 
    • รายชื่อสถานี
  •  รฟท. ตะวันออก 
    • รายชื่อสถานี

สายรอง

  • สายเหนือ
    • ชุมทางบ้านดารา–สวรรคโลก
  • สายตะวันออกเฉียงเหนือ
    • ชุมทางแก่งคอย–ชุมทางบัวใหญ่
    • บุรีรัมย์–เขากระโดง
    • หนองคาย–เวียงจันทน์
  • สายใต้
    • ชุมทางเขาชุมทอง–นครศรีธรรมราช
    • ชุมทางทุ่งสง–กันตัง
    • ชุมทางบางซื่อ–ชุมทางตลิ่งชัน
    • ชุมทางบ้านทุ่งโพธิ์–คีรีรัฐนิคม
    • ชุมทางหนองปลาดุก–น้ำตกไทรโยคน้อย
    •  รฟท. สุพรรณบุรี  (ชุมทางหนองปลาดุก–สุพรรณบุรี)
    • ชุมทางหาดใหญ่–ปาดังเบซาร์
  • สายตะวันออก
    • ชุมทางเขาชีจรรย์–มาบตาพุด
    • ชุมทางคลองสิบเก้า–ชุมทางแก่งคอย
    •  รฟท. ชายฝั่งทะเลตะวันออก  (ชุมทางฉะเชิงเทรา–สัตหีบ)
    • ชุมทางศรีราชา–ท่าเรือแหลมฉบัง
    • มักกะสัน–แม่น้ำ
    • สามเหลี่ยมจิตรลดา
    • อรัญประเทศ–ปอยเปต

รถไฟชานเมือง

กรุงเทพมหานคร

  • ขบวนรถชานเมือง
    • รายชื่อสถานี
  •  รฟท. แม่กลอง 
  • รถไฟสายมรณะ กาญจนบุรี เวลา
    รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง
    •  สายธานีรัถยา 
    •  สายนครวิถี 
  • รถไฟสายมรณะ กาญจนบุรี เวลา
    รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์
    •  สายซิตี้ 

โครงการ

รถไฟความเร็วสูง

  • สายเหนือ
  • สายตะวันออกเฉียงเหนือ
  • สายใต้
  • สายเชื่อม 3 สนามบิน

สายเหนือ

  • เด่นชัย–เชียงราย–เชียงของ
  • นครสวรรค์–แม่สอด
  • แม่เมาะ–งาว

สายตะวันออกเฉียงเหนือ

  • บ้านไผ่–นครพนม
  • นครสวรรค์–บ้านไผ่
  • อุบลราชธานี–ช่องเม็ก
  • จัตุรัส–ชัยภูมิ–เลย–หนองบัวลำภู และ ลำนารายณ์–เพชรบูรณ์–เลย–หนองบัวลำภู
  • ศรีสะเกษ–ยโสธร–ร้อยเอ็ด

สายใต้

  • สุราษฎร์ธานี–ภูเก็ต
  • ชุมพร–ระนอง
  • ทับปุด–กระบี่
  • สงขลา–ปากบารา
  • บ้านภาชี–สุพรรณบุรี
  • โครงการฟื้นฟูทางรถไฟสายมรณะ

สายตะวันออก

  • พุน้ำร้อน–แหลมฉบัง
  • ศรีราชา–มาบตาพุด–ระยอง–ตราด

เส้นทางที่ยกเลิก

สายเหนือ

  • ชุมทางบางซื่อ–พหลโยธิน
  • บ้านหมี่–หมวดผลิตศิลาบ้านหมี่
  • ปากน้ำโพ–ท่าข้าวกำนันทรง
  • แม่เมาะ–เหมืองแม่เมาะ
  • หนองเต่า–เขาทับควาย
  • หัวหวาย–ท่าตะโก
  • หัวหวาย–บ้านปลายราง

สายตะวันออกเฉียงเหนือ

  • บุ่งหวาย–บ้านโพธิ์มูล
  • หนองคาย–ตลาดหนองคาย

สายใต้

  • ธนบุรีเก่า–ธนบุรี
  • ชะอวด–คลองท่าเสม็ด
  • ชุมทางหาดใหญ่–สงขลา
  • น้ำตกไทรโยคน้อย–ด่านเจดีย์สามองค์
  • สุไหงโก-ลก–ปาซีร์มัซ

สายตะวันออก

  • ชุมทางบางซื่อ–คลองตัน
  • หัวลำโพง–ปากน้ำ
  • อรัญประเทศ–มงคลบุรี

สายแม่กลอง

  • ปากคลองสาน–วงเวียนใหญ่

ขบวนรถไฟ

ให้บริการ

  • รถด่วนพิเศษซีเอ็นอาร์
    • ทักษิณารัถย์
    • อีสานมรรคา
    • อีสานวัตนา
    • อุตราวิถี
  • รถด่วนพิเศษทักษิณ
  • รถด่วนพิเศษระหว่างประเทศ
  • อีสเทิร์นแอนด์โอเรียนทัลเอ็กซ์เพรส
  • คิฮะ 182/183 ซีรีส์ (เริ่มให้บริการ ปลายปี 2565)

ยกเลิก

  • รถด่วนพิเศษนครพิงค์

หน่วยงานอื่น

  • โรงพยาบาลบุรฉัตรไชยากร

การขนส่งระบบรางในประเทศไทย

จังหวัดกาญจนบุรี

อำเภอ

  • เมืองกาญจนบุรี
  • ด่านมะขามเตี้ย
  • ทองผาภูมิ
  • ท่าม่วง
  • ท่ามะกา
  • ไทรโยค
  • บ่อพลอย
  • พนมทวน
  • เลาขวัญ
  • ศรีสวัสดิ์
  • สังขละบุรี
  • หนองปรือ
  • ห้วยกระเจา

รถไฟสายมรณะ กาญจนบุรี เวลา

ประวัติศาสตร์

  • รายชื่อโบราณสถาน
    • อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์
  • สงครามบางแก้ว
  • สงครามเก้าทัพ
    • ค่ายฝึกเขาชนไก่
  • สงครามโลกครั้งที่สอง
    • ทางรถไฟสายมรณะ
    • สะพานข้ามแม่น้ำแคว
    • สุสานดอนรัก
    • สุสานเขาปูน

ภูมิศาสตร์

  • แม่น้ำ
    • แควใหญ่
    • แควน้อย
    • ซองกาเลีย
    • บีคี่ใหญ่
    • ภาชี
    • แม่กลอง
    • รันตี
    • สุริยะ
  • เขื่อน
    • แม่กลอง
    • วชิราลงกรณ
    • ศรีนครินทร์
  • ด่านเจดีย์สามองค์
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร
  • อุทยานแห่งชาติ
    • เขาแหลม
    • เขื่อนศรีนครินทร์
    • เฉลิมรัตนโกสินทร์
    • ทองผาภูมิ
    • ไทรโยค
    • ลำคลองงู
    • เอราวัณ
  • ค้างคาวคุณกิตติ

เศรษฐกิจ
คมนาคม

  • ทางหลวง
    • 81 (บางใหญ่–กาญจนบุรี) (กำลังก่อสร้าง)
    • 323 (แสงชูโต)
    • 324 (กาญจนบุรี–จรเข้สามพัน)
    • 346 (ต่างระดับรังสิต–พนมทวน)
    • 367 (เลี่ยงเมืองกาญจนบุรี)
  • ทางราง
    • ทางรถไฟสายมรณะ
    • สถานีกาญจนบุรี

สังคม
การศึกษา

  • รายชื่อโรงเรียน
  • มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
  • มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • พิพิธภัณฑ์
    • พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า
    • อักษะเชลยศึก

วัฒนธรรม

  • รายชื่อวัด
  • วัดวังก์วิเวการาม
  • สะพานอุตตมานุสรณ์

กีฬา

  • สนามกีฬาจังหวัดกาญจนบุรี
  • สโมสรฟุตบอล
    • ดราก้อน ปทุมวัน กาญจนบุรี
    • กาญจนบุรี ซิตี้
    • เมืองกาญจน์ ยูไนเต็ด (ยุติ)
  • กีฬาแห่งชาติ
    • ครั้งที่ 48 (พ.ศ. 2566)

การเมือง

  • สมาชิกวุฒิสภา
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

รถไฟสายมรณะ กาญจนบุรี เวลา
หมวดหมู่