สัญญาอนุญาตครีเอทีฟ คอม มอน ส์ มี อะไร บาง

ครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons: CC) เป็นองค์กรไม่แสวงกำไรที่สนับสนุนการใช้เนื้อหาโดยไม่ถูกจำกัดจากสัญญาอนุญาต สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์จะเอื้อให้มีการใช้สื่อทั้งทางภาพ เสียง ข้อมูล โดยการแบ่งแยกสัญญาอนุญาตย่อยออกสำหรับการแจกจ่ายและการใช้ข้อมูล โดยการอ้างอิงถึงเจ้าของลิขสิทธิ์เดิม

ไม่ว่างานชิ้นใดที่ได้รับการสร้างสรรค์ ล้วนแต่ได้รับความคุ้มครองด้านลิขสิทธิ์ และทรัพย์สินทางปัญหา สำหรับงานชิ้นใดๆ ที่เผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต ต่างก็ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในการผลิต จัดทำ เผยแพร่ ในตัวของมันเองอยู่แล้ว เรามาทำความรู้จักกับสัญญาอนุญาต Creative Commons (ครีเอทีฟคอมมอนส์) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงกำไรที่สนับสนุนการสร้างและนำสื่อกลับมาใช้ โดยไม่ถูกจำกัดจากลิขสิทธิ์ โดยสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ เอื้อประโยชน์ให้กับผู้สร้างสรรค์งานสามารถกำหนดได้อย่างชัดเจนว่า จะให้ผู้นำไปใช้ต่อทำอะไรได้บ้าง โดยไม่ต้องขออนุญาต

สัญญาอนุญาตครีเอทีฟ คอม มอน ส์ มี อะไร บาง

ลองนึกภาพดูว่า ลิขสิทธิ์ และทรัพย์สินทางปัญญาเกิดขึ้นเมื่อใด ทันทีที่มีการผลิต สร้างสรรค์งานใดๆ ไม่ว่าจะเป็นศิลปิน ช่างภาพ นักเขียน นักดนตรี ศิลปินที่สร้างสรรค์ผลงานออกมา หรือแม้แต่บทความในเว็บไซต์นี้ ต่างก็อยากจะให้คนอื่นนำผลงานไปเผยแพร่ต่อ โดยไม่มีการแก้ไข ดัดแปลง หรือนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ อย่างเช่น บทความในเว็บไซต์ต่างๆ อาจกำหนดให้ผู้อื่นสามารถนำไปใช้งาน หรือเผยแพร่ต่อได้โดยมีการอ้างอิงแหล่งที่มา ชื่อผู้เขียน แต่ไม่ให้ทำการแก้ไข ดัดแปลง และไม่ให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ เรียกได้ว่า คุณมีเสรีภาพที่จะแบ่งปัน ทำสำเนา แจกจ่าย และส่งงานเผยแพร่ต่อไปได้โดยที่ไม่ทำการแก้ไข ดัดแปลง ตัดทอน เนื้อหาใดๆ และไม่นำไปใช้ประโยชน์ทางการค้า ภายใต้สัญญาอนุญาตสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แต่หากคุณต้องการที่จะเรียบเรียงใหม่ ดัดแปลง หรือนำไปใช้ในทางการค้า จะต้องมีการขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษณ์ก่อน

           สัญญาอนุญาต Creative Commons ทำหน้าที่เป็นใบอนุญาตลิขสิทธิ์ผลงาน ที่เป็นมาตราฐาน ให้สามารถนำไปใช้อย่างเปิดเผย กับผลงานใดๆ ตามเงื่อนไขที่เจ้าของผู้ผลิตผลงานชิ้นนั้นๆไดักำหนดไว้ และเรายังสามารถกำหนดขอบเขตของลิขสิทธิ์ผลงานเราได้ จาก “all rights reserved” เป็น “some rights reserved” เพื่อระบุขอบเขตของลิขสิทธิ์ว่า สงวนลิขสิทธิ์ทั้งหมด หรือ ส่วนหนึ่งส่วนใดของชิ้นงาน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ ไม่ได้เป็นตัวเลือกของการคุ้มครองลิขสิทธิ์แบบ copyright แต่ทำงานร่วมกันเพื่อเปิดโอกาสและยืดหยุ่นให้ปรับข้อกำหนดและเงื่อนไขของการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในแต่ละชิ้นงานได้เอง

โดยการกำหนดสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ มีดังนี้

สัญญาอนุญาตครีเอทีฟ คอม มอน ส์ มี อะไร บาง

การเลือกสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ที่เหมาะกับคุณ จะช่วยคุ้มครองลิขสิทธิ์ของคุณได้ตรงกับลักษณะและชนิดของชิ้นงานได้ดีที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม ทุกชิ้นงานมีลิขสิทธิ์ในตัวของมันเอง ตั้งแต่แรกเริ่มคิดค้นและผลิตขึ้น ดังนั้นก่อนที่จะคัดลอก ทำซ้ำ หรือเผยแพร่ผลงานใดๆ ควรติดต่อเจ้าของผลงานตามมารยาท หรืออ้างอิงแหล่งที่มา ต้นฉบับ และผู้ผลิต สร้างสรรค์ผลงานด้วยทุกครั้ง

อ้างอิงข้อมูลจาก ครีเอทีฟคอมมอนส์ (CC)

สัญญาอนุญาต


สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ประเทศไทย

เครือข่ายครีเอทีฟคอมมอนส์ได้สนับสนุนการใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์และเผยแพร่แนวคิดวัฒนธรรมเสรีและได้รณรงค์ให้สังคมไทยใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ให้เหมาะสมกับงานสร้างสรรค์

“สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์จัดทำขึ้นเพื่อให้เจ้าของผลงานอันมีลิขสิทธิ์ สามารถเปิดให้สาธารณะนำงานของตนไปใช้ได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต เพียงแต่ต้องทำตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ เช่น อ้างอิงที่มา ไม่ใช้เพื่อการค้า หรือ คงต้นฉบับไม่ดัดแปลง

การใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ ไม่ใช่การสละลิขสิทธิ์หรืออุทิศงานเป็นสาธารณสมบัติ เจ้าของงานยังเป็นผู้ถือครองสิทธิ์ของงานนั้นเหมือนเดิม หากแต่ผู้ที่นำผลงานของเจ้าของงานไปใช้โดยผิดเงื่อนไข เจ้าของงานสามารถฟ้องร้องและบังคับผู้ที่ทำผิดได้ตามที่กฎหมายลิขสิทธิ์ คุ้มครอง ซึ่งประเทศไทยได้รองรับกฎหมายนี้แล้ว” (cc.in.th)

วิธีการนำไปใช้

สัญญาอนุญาตมี 4 ตัวหลัก คือ

  • สัญญาอนุญาตประเภทแสดงที่มา (BY) : สัญญาอนุญาตประเภทนี้อนุญาตให้ผู้อื่นดัดแปลง และต่อยอดงานของคุณ ถึงแม้ว่าจะทำไปเพื่อการค้า ตราบใดที่คนที่นำผลงานคุณไปใช้ให้เครดิต/อ้างอิงคุณในฐานะผู้สร้างงานต้นฉบับ
  • สัญญาอนุญาตประเภทไม่ใช้เพื่อการค้า (NC) : สัญญาอนุญาตประเภทนี้ไม่อนุญาตให้ผู้อื่นนำผลงานของคุณไปใช้เพื่อการค้าแต่อย่างใด
  • สัญญาอนุญาตประเภทไม่แก้ไขต้นฉบับ (ND) : สัญญาอนุญาตประเภทนี้ไม่อนุญาตให้ผู้อื่นนำผลงานของคุณมาดัดแปลง แก้ไขหรือต่อเติมผลงานของคุณแม้เพียงถ้อยคำเดียว
  • สัญญาอนุญาตประเภทอนุญาตแบบเดียวกัน (SA)  : สัญญาอนุญาตประเภทนี้ต้องเผยแพร่งานของคุณภายใต้สัญญาอนุญาตประเภทอนุญาตแบบเดียวกับของคุณ หลายคนมักเปรียบเทียบสัญญาอนุญาตประเภทนี้กับสัญญาอนุญาตของซอฟต์แวร์เสรี (open source software) งานดัดแปลงใหม่ ๆ ที่ต่อยอดจากงานของคุณจะอยู่ภายใต้สัญญาประเภทเดียวกัน ดังนั้น งานดัดแปลงต่าง ๆ จึงยอมให้นำไปใช้เพื่อการค้าได้

สัญญาอนุญาตสามารถนำมาผสมกันได้ทั้งหมด 6 รูปแบบ (ตามรูปแบบสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ประเทศไทย)

1. สัญญาอนุญาตประเภทแสดงที่มา ไม่ใช้เพื่อการค้า และไม่แก้ไขต้นฉบับ (by-nc-nd)

สัญญาอนุญาตรูปแบบนี้นับได้ว่ามีข้อจำกัดสูงสุดในการใช้งาน เนื่องจากสัญญาอนุญาตรูปแบบนี้สามารถให้ผู้อื่นนำผลงานของคุณไปใช้ ตราบใดที่ผู้ใช้ให้เครดิต/อ้างอิงคุณในฐานะของผู้สร้างผลงาน และลิงก์กลับมายังคุณ แต่เขาไม่ได้รับสิทธิ์ในการนำผลงานของคุณไปใช้เพื่อการค้า และดัดแปลง ต่อเติม หรือแก้ไข ผลงานของคุณแต่อย่างใด

2. สัญญาอนุญาตประเภทแสดงที่มาไม่ใช้เพื่อการค้า และอนุญาตในแบบเดียวกัน (by-nc-sa)

สัญญาอนุญาตรูปแบบนี้อนุญาตให้ผู้อื่นนำผลงานของคุณมาดัดแปลง แก้ไข หรือต่อยอดผลงานของคุณ ตราบใดที่ผู้ใช้ให้เครดิต/อ้างอิงคุณในฐานะของผู้สร้างผลงาน และลิงก์กลับมายังคุณ และไม่ได้นำผลงานของคุณไปใช้เพื่อการค้า

3. สัญญาอนุญาตประเภทแสดงที่มา และไม่ใช้เพื่อการค้า (by-nc)

สัญญาอนุญาตรูปแบบนี้อนุญาตให้ผู้อื่นดัดแปลงแก้ไข หรือต่อยอดผลงานของคุณ และไม่จำเป็นต้องใช้สัญญาอนุญาตแบบเดียวกับคุณ ตราบใดที่ผู้ใช้ให้เครดิต/อ้างอิงคุณในฐานะของผู้สร้างผลงาน และลิงก์กลับมายังคุณ และไม่ได้นำผลงานของคุณไปใช้เพื่อการค้า

4. สัญญาอนุญาตประเภทแสดงที่มา และไม่แก้ไขต้นฉบับ (by-nd)

สัญญาอนุญาตรูปแบบนี้อนุญาตให้ผู้อื่นไปเผยแพร่ และสามารถนำไปใช้เพื่อการค้าได้ ตราบใดที่ผู้ใช้ให้เครดิต/อ้างอิงคุณในฐานะของผู้สร้างผลงาน และลิงก์กลับมายังคุณ และไม่ดัดแปลง ต่อเติม หรือแก้ไข ผลงานของคุณแต่อย่างใด

5. สัญญาอนุญาตประเภทแสดงที่มา และอนุญาตแบบเดียวกัน (by-sa)

สัญญาอนุญาตรูปแบบนี้อนุญาตให้ผู้อื่นดัดแปลง แก้ไข หรือต่อยอดผลงานของคุณ หรือนำไปใช้เพื่อการค้า ตราบใดที่ผู้ใช้ให้เครดิต/อ้างอิงคุณในฐานะของผู้สร้างผลงาน และลิงก์กลับมายังคุณ และใช้สัญญาอนุญาตแบบเดียวกันแบบเดียวกับคุณที่เป็นผู้สร้างงาน

6. สัญญาอนุญาตประเภทแสดงที่มา (by)

สัญญาอนุญาตประเภทนี้อนุญาตให้ผู้อื่นดัดแปลง และต่อยอดงานของคุณ ถึงแม้ว่าจะนำไปใช้เพื่อการค้า ตราบใดที่คนที่นำผลงานคุณไปใช้ให้เครดิต/อ้างอิงคุณในฐานะผู้สร้างงานต้นฉบับ

สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ ใน GotoKnow

เว็บไซต์ GotoKnow ให้ผู้ใช้งานทุกท่านได้เลือกสิทธิ์ของการเผยแพร่ผลงานของตน โดยมีชุดสัญญาอนุญาตให้ผู้ใช้งานเลือกทั้งหมด 8 รูปแบบ

1. สงวนสิทธิ์ทุกประการ

2. ไม่สงวนสิทธิ์ใดใด

3. ซีซี : แสดงที่มา (by)

4. ซีซี : แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน (by-sa)

5. ซีซี : แสดงที่มา-ไม่ดัดแปลง (by-nd)

6. ซีซี : แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า (by-nc)

7. ซีซี : แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน (by-nc-sa)

8. ซีซี : แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง (by-nc-nd)

บทลงโทษทางกฎหมาย

                ผู้ที่ทำผิดเงื่อนไขในสัญญาอนุญาต เจ้าของผลงานสามารถฟ้องร้องและบังคับผู้ทำผิดเงื่อนไขได้ตามกฎหมายลิขสิทธิ์คุ้มครอง อ่านเพิ่มเติมกฏหมายลิขสิทธิ์ http://www.tmd.go.th/documents/copyright.pdf

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

  • รู้จักกับสัญญาอนุญาต  http://cc.in.th/wiki/meet-the-licenses
  • เครือข่ายครีเอทีฟคอมมอนส์ประเทศไทย http://cc.in.th/about
  • การ์ตูนไอ้แป้น ตอน90 : Creative Commons http://darkygirl.exteen.com/20090705/90-creative-commons
  • ครีเอทีฟคอมมอนส์ประเทศไทย (วิกิ) http://cc.in.th/wiki/
  • ข้อควรพิจารณาก่อนใช้สัญญาอนุญาต   http://cc.in.th/wiki/things-to-think-about
  • คำถามที่พบบ่อย (FAQ) http://cc.in.th/wiki/faq
  • สัญญาอนุญาตแสดงที่มา 3.0 ประเทศไทย http://creativecommons.org/licenses/by/3.0/th/legalcode
  • บันทึกเกี่ยวกับสัญญาอนุญาตใน GotoKnow : http://gotoknow.org/post/tag/creative%20commons