การรับรู้รายได้รับเหมาก่อสร้าง

2.1 คำนวณอัตราส่วนต้นงานงานที่เกิดขึ้นแล้วกับต้นทุนทั้งหมดที่ประมาณว่าจะใช้ (อัตราส่วนงานก่อสร้าง = ต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง * 100 / ต้นทุนทั้งหมดโดยประมาณ)

2.2 ประเมินอัตราส่วนงานที่ทำเสร็จโดยวิศวกร

2.3 สัดส่วนของงานที่ทำเสร็จกับงานก่อสร้างทั้งหมดตามสัญญา

รายได้ที่รับรู้ = ราคาตามสัญญาก่อสร้าง * ร้อยละของงานที่ทำเสร็จ

เงินล่วงหน้า (Advance Payment) เป็นเงินที่เรียกเก็บ ณ วันทำสัญญาว่าจ้าง โดยผู้รับเหมาจะนำเงินไปเตรียมสถานที่ก่อสร้าง จัดซื้อวัสดุ ฯลฯ ซึ่งเงินล่วงหน้านี้จะถูกหักคืนเมื่อมีการเรียกเก็บเงินค่างวดในแต่ละงวดต่อๆไป

ณ วันที่เก็บเงินล่วงหน้า ต้องเรียกเก็บ VAT 7% และถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%

เงินงวด เมื่อเรียกเก็บค่างวดงานแต่ละงวด ต้องเรียกเก็บ VAT 7% และถูกหัก ณ ที่จ่าย 3% ของค่างวดงานหลังหักเงินจ่ายล่วงหน้าแต่ละงวดออกแล้ว

เงินประกันผลงาน (Retention) เป็นเงินที่เรามีหน้าที่ต้องจ่ายให้แก่ผู้ว่าจ้างตามจำนวนที่ตกลงในสัญญา โดยยอมให้ผู้ว่าจ้างหักเงินดังกล่าวจากค่างวดเพื่อเป็นการประกันผลงาน เมื่อได้รับเงินค่างวดโดยหักเงินประกันผลงานต้องถือเงินค่างวดทั้งจำนวนเป็นรายได้  ต้องเรียกเก็บ VAT 7% และถูกหัก ณ ที่จ่าย 3% ของค่างวดงานก่อนหักเงินประกันผลงาน ดังนั้นเมื่อเราได้รับคืนเงินประกันผลงาน จึงไม่ต้องออก VAT และไม่ต้องถูกหัก ณ ที่จ่าย

โดยปกติตอนรับค่างวดแต่ละงวดจะประกอบด้วย (เงินงวด - เงินล่วงหน้า - เงินประกันผลงาน) แต่เราจะออก VAT และถูกหัก 3% จากยอด (เงินงวด - เงินล่วงหน้า)

การบันทึกบัญชี ให้บันทึก DR.เงินล่วงหน้าค่าก่อสร้าง (ล้างออก) และบันทึกต้องเงินประกันผลงานโดย DR.ลูกหนี้-สัญญาก่อสร้าง

การบันทึกบัญชี

บัญชี "ค่าก่อสร้างเรียกเก็บตามสัญญา" (Progress Billings) ใช้เพื่อคุมจำนวนเงินค่างวดก่อสร้างที่ได้รับแต่ละงวด กับการรับรู้รายได้ในแต่ละงวดบัญชี ดังนั้นเมื่อสิ้นงวดบัญชียอดคงเหลือของบัญชีนี้อาจเป็นสินทรัพย์(รับรู้รายได้มากกว่าที่เก็บเงิน) หรืออาจเป็นหนี้สิน (เก็บเงินได้มากกว่ารับรู้รายได้)

บัญชี "งานระหว่างก่อสร้าง" (Construction in Progress) เป็นบัญชีสินค้าคงเหลือของกิจการนั้นเอง

การบันทึกบัญชีมีดังนี้

เมื่อรับเงินล่วงหน้าค่าก่อสร้าง

DR.ธนาคาร  104

DR.ภาษีเงินได้ถูกหัก ณ ที่จ่าย 3

CR.เงินล่วงหน้าค่าก่อสร้าง   100

CR.ภาษีขาย  7

เมื่อส่งใบแจ้งหนี้เงินค่างวด 2000 หักด้วยเงินล่วงหน้าค่าก่อสร้าง 100

DR.ลูกหนี้-สัญญาก่อสร้าง 2033

DR.เงินล่วงหน้าค่าก่อสร้าง 100

CR.ค่าก่อสร้างเรียกเก็บตามสัญญา 2000

CR.ภาษีขายยังไม่ครบกำหนด(7% ของเงินรับ - เงินล่วงหน้า)    133

เมื่อได้รับเงิน  2000 หักด้วยเงินล่วงหน้าค่าก่อสร้าง 100 หักด้วยเงินประกันผลงาน 100

DR.ธนาคาร  1876

DR.ภาษีเงินได้ถูกหัก ณ ที่จ่าย (3% ของเงินรับ - เงินล่วงหน้า) 57

CR.ลูกหนี้-สัญญาก่อสร้าง 1933

DR.ภาษีขายยังไม่ครบกำหนด   133

CR.ภาษีขาย (7% ของเงินรับ - เงินล่วงหน้า)   133

* * * ยอดคงเหลือลูกหนี้-สัญญาก่อสร้างคือ  100 (เท่ากับเงินประกันผลงาน)

* * * ถ้าได้รับเงินไม่ครบถ้วนตามที่แจ้งหนี้ ยอดคงเหลือก็ยังคงค้างอยู่ในบัญชีลูกหนี้-สัญญาก่อสร้าง และบัญชีภาษีขายยังไม่ครบกำหนด

เงินล่วงหน้า (Advance Payment) เป็นเงินที่เรียกเก็บ ณ วันทำสัญญาว่าจ้าง โดยผู้รับเหมาจะนำเงินไปเตรียมสถานที่ก่อสร้าง จัดซื้อวัสดุ ฯลฯ ซึ่งเงินล่วงหน้านี้จะถูกหักคืนเมื่อมีการเรียกเก็บเงินค่างวดในแต่ละงวดต่อๆไปณ วันที่เก็บเงินล่วงหน้า ต้องเรียกเก็บ VAT 7% และถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%

เงินงวด เมื่อเรียกเก็บค่างวดงานแต่ละงวด ต้องเรียกเก็บ VAT 7% และถูกหัก ณ ที่จ่าย 3% ของค่างวดงานหลังหักเงินจ่ายล่วงหน้าแต่ละงวดออกแล้ว

เงินประกันผลงาน (Retention) เป็นเงินที่เรามีหน้าที่ต้องจ่ายให้แก่ผู้ว่าจ้างตามจำนวนที่ตกลงในสัญญา โดยยอมให้ผู้ว่าจ้างหักเงินดังกล่าวจากค่างวดเพื่อเป็นการประกันผลงาน เมื่อได้รับเงินค่างวดโดยหักเงินประกันผลงานต้องถือเงินค่างวดทั้งจำนวนเป็นรายได้ ต้องเรียกเก็บ VAT 7% และถูกหัก ณ ที่จ่าย 3% ของค่างวดงานก่อนหักเงินประกันผลงาน ดังนั้นเมื่อเราได้รับคืนเงินประกันผลงาน จึงไม่ต้องออก VAT และไม่ต้องถูกหัก ณ ที่จ่าย โดยปกติตอนรับค่างวดแต่ละงวดจะประกอบด้วย (เงินงวด – เงินล่วงหน้า – เงินประกันผลงาน) แต่เราจะออก VAT และถูกหัก 3% จากยอด (เงินงวด – เงินล่วงหน้า)

การบันทึกบัญชี ให้บันทึก DR.เงินล่วงหน้าค่าก่อสร้าง (ล้างออก) และบันทึกต้องเงินประกันผลงานโดย CR.ลูกหนี้-สัญญาก่อสร้าง

การบันทึกบัญชี บัญชี “ค่าก่อสร้างเรียกเก็บตามสัญญา” (Progress Billings) ใช้เพื่อคุมจำนวนเงินค่างวดก่อสร้างที่ได้รับแต่ละงวด กับการรับรู้รายได้ในแต่ละงวดบัญชี ดังนั้นเมื่อสิ้นงวดบัญชียอดคงเหลือของบัญชีนี้อาจเป็นสินทรัพย์(รับรู้รายได้มากกว่าที่เก็บเงิน) หรืออาจเป็นหนี้สิน (เก็บเงินได้มากกว่ารับรู้รายได้) บัญชี “งานระหว่างก่อสร้าง” (Construction in Progress) เป็นบัญชีสินค้าคงเหลือของกิจการนั้นเอง
การบันทึกบัญชีมีดังนี้

เมื่อรับเงินล่วงหน้าค่าก่อสร้าง DR.ธนาคาร 104 DR.ภาษีเงินได้ถูกหัก ณ ที่จ่าย 3 CR.เงินล่วงหน้าค่าก่อสร้าง 100 CR.ภาษีขาย 7

เมื่อส่งใบแจ้งหนี้เงินค่างวด 2000 หักด้วยเงินล่วงหน้าค่าก่อสร้าง 100 DR.ลูกหนี้-สัญญาก่อสร้าง 2033 DR.เงินล่วงหน้าค่าก่อสร้าง 100 CR.ค่าก่อสร้างเรียกเก็บตามสัญญา 2000 CR.ภาษีขายยังไม่ครบกำหนด(7% ของเงินรับ – เงินล่วงหน้า) 133

เมื่อได้รับเงิน 2000 หักด้วยเงินล่วงหน้าค่าก่อสร้าง 100 หักด้วยเงินประกันผลงาน 100 DR.ธนาคาร 1876 DR.ภาษีเงินได้ถูกหัก ณ ที่จ่าย (3% ของเงินรับ – เงินล่วงหน้า) 57 CR.ลูกหนี้-สัญญาก่อสร้าง 1933DR.ภาษีขายยังไม่ครบกำหนด 133 CR.ภาษีขาย (7% ของเงินรับ – เงินล่วงหน้า) 133
* * * ยอดคงเหลือลูกหนี้-สัญญาก่อสร้างคือ 100 (เท่ากับเงินประกันผลงาน) * * *
ถ้าได้รับเงินไม่ครบถ้วนตามที่แจ้งหนี้ ยอดคงเหลือก็ยังคงค้างอยู่ในบัญชีลูกหนี้-สัญญาก่อสร้าง และบัญชีภาษีขายยังไม่ครบกำหนด
การบันทึกค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง DR.ค่าวัสดุก่อสร้างDR.ค่าแรงงานDR.ค่าใช้จ่ายอื่นDR.ภาษีซื้อ CR.เงินสด/ธนาคาร

เมื่อสิ้นเดือน ให้โอนค่าใช้จ่ายเข้างานระหว่างทำ DR.งานระหว่างก่อสร้าง CR.ค่าวัสดุก่อสร้าง CR.ค่าแรงงาน CR.ค่าใช้จ่ายอื่น

เมื่อรับรู้รายได้ DR.ค่าก่อสร้างเรียกเก็บตามสัญญา CR.รายได้งานก่อสร้างDR.ต้นทุนงานก่อสร้าง CR.งานระหว่างก่อสร้าง

การรับรู้รายได้ตามสัญญาก่อสร้าง ใช้วิธีใด

การรับรู้รายได้และค่าใช้จ่ายโดยอ้างอิงกับขั้นความส าเร็จของงานก่อสร้างตามสัญญา เรียกว่า “วิธี อัตราส่วนของงานที่ท าเสร็จ” เป็นการจับคู่รายได้กับต้นทุนค่าก่อสร้างที่เกิดขึ้นตามขั้นความส าเร็จของงาน ก่อสร้าง ซึ่งท าให้การรายงานเกี่ยวกับรายได้ ค่าใช้จ่าย และก าไรมีความสัมพันธ์กับอัตราส่วนของงานที่ท าเสร็จ

รายได้จากการขายวัสดุก่อสร้างรับรู้รายได้ทางบัญชีเมื่อใด

1. เมื่องานเสร็จ ให้รับรู้รายได้ทั้งหมดเมื่อส่งมอบงาน 2. ตามอัตราส่วนของงานที่ทำเสร็จ ทำได้ 3 วิธีคือ 2.1 คำนวณอัตราส่วนต้นงานงานที่เกิดขึ้นแล้วกับต้นทุนทั้งหมดที่ประมาณว่าจะใช้ (อัตราส่วนงานก่อสร้าง = ต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง * 100 / ต้นทุนทั้งหมดโดยประมาณ) 2.2 ประเมินอัตราส่วนงานที่ทำเสร็จโดยวิศวกร

กิจการต้องรับรู้ผลขาดทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากงานก่อสร้างตามสัญญาเป็นอย่างไร

ก่อสร้างที่เกี่ยวข้องกับสัญญาก่อสร้างเป็นรายได้ และค่าใช้จ่ายตามลําดับ โดยอ้างอิงกับขั้น ความสําเร็จของงานก่อสร้าง ณ วันสิ้นรอบ ระยะเวลารายงาน •กิจการต้องรับรู้ผลขาดทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจาก งานก่อสร้างตามสัญญาเป็นค่าใช้จ่ายทันที

ค่าก่อสร้างเรียกเก็บตามสัญญา อยู่หมวดไหน

สินทรัพย์ 1140-04. ค่าก่อสร้างเรียกเก็บตามสัญญา