แนวคิดที่ 3 ชนชาติไทยอาศัยอยู่กระจายทั่วไปทางตอนใต้ของประเทศจีน

                      

แนวคิดที่ 3 ชนชาติไทยอาศัยอยู่กระจายทั่วไปทางตอนใต้ของประเทศจีน

ความเป็นมาของชนชาติไทย

     ปัจจุบันการกล่าวถึงชนชาติไทยว่ามาจากไหน หรือ มีถิ่นกำเนิดอย่างไรเป็นคำถามซึ่งยังไม่มีข้อยุติ แต่ได้มีแนวคิด หรือความเห็นเรื่องถิ่นกำเนิดชนชาติไทยที่ปรากฏทั้งในและนอกประเทศ อยู่ ๕ แนวคิด ดังนี้ คือ

                  ๑. แนวคิดที่เชื่อว่าชนชาติไทยมีถิ่นกำเนิดอยู๋บริเวณเทอกเขาอัลไต

                                              

แนวคิดที่ 3 ชนชาติไทยอาศัยอยู่กระจายทั่วไปทางตอนใต้ของประเทศจีน

                                 ภาพที่ ๑.๑ แผนที่แสดงถิ่นกำเนิดชนชาติไทยว่าอยู่บริเวณเทือกอัลไต

     เดิมแนวคิดนี้ได้รับการยอมรับเป็นระยะเวลาหนึ่ง แต่ต่อมาก็มีการพบว่าสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ บริเวณเทือกเขาอัลไตเป็นเขตแห้งแล้งและหนาวเย็นรวมทั้งมีความทุรกันดานมากไม่เหมาะสำหรับเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ ทำให้แนวคิดไม่เป็นที่ยอมรับในปัจจุบัน

      ๒. แนวคิดที่เชื่อว่าชนชาติไทยมีถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณภาคเหนือของมณฑลเสฉวน

                                               

แนวคิดที่ 3 ชนชาติไทยอาศัยอยู่กระจายทั่วไปทางตอนใต้ของประเทศจีน

                                ภาพที่ ๑.๒ แผนที่แสดงถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยว่าอยู่ในบริเวณเหนือของมณฑลเสฉวน

     แนวคิดนี้เดิมเชื่อว่าชนชาติไทยตั้งถิ่นฐานอยู๋ในดินแดนจีนมาก่อน โดยได้รับการกล่าวถึงในจดหมายเหตุของจีน ในสมัยพระเข้ายูจัน เรียกชนชาติไทยว่า"มุง"หรือ"ต้ามุง" ถิ่นที่อยู่ของชาติไทยที่ปรากฏในจดหมายเหตุจีนอยู่ในเขตที่เป็นมณฑลเสฉวนในปัจจุบัน แต่ต่อมาได้การศึกษาค้นคว้าข้อมูลด้านมานุษยวิทยา และภาษาศาสตร์ ิทำให้เป็นที่ถกเถียงกันว่าไม่น่าจะเป็นไปได้

๓. แนวคิดที่เชื่อว่าชนชาติไทยมีถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณภาคใต้ของจีนและทางตอนเหนือของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตลอดจนบริเวณรัฐอัสสัมของอินเดีย

                                       

แนวคิดที่ 3 ชนชาติไทยอาศัยอยู่กระจายทั่วไปทางตอนใต้ของประเทศจีน

       ๑.๓ แผนที่แสดงถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยว่าอยู่บริเวณทางใต้ของจีน และทางตอนเหนือของเอชียตะวันออกเฉียงใต้ ตลอดจนบริเวณรัฐอัสสัมของอินเดีย

     ในปัจจุบันแนวคิดนี้เป็นที่ยอมรับ เนื่องจากมีหลักฐานในสาขาวิชาต่าง ๆ ทั้งด้านภาษาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ โบราณคดีมานุษยวิทยา มาสนับสนุน

               ๔.. แนวคิดที่เชื่อว่าชนชาติไทยมีถิ่นกำเนิดอยู๋ในบริเวณประเทศไทย

                                   

แนวคิดที่ 3 ชนชาติไทยอาศัยอยู่กระจายทั่วไปทางตอนใต้ของประเทศจีน

                       ภาพที่ ๑.๔ แผนที่แสดงแนวคิดที่เชื่อว่าชนชาติไทยมีถิ่นกำเนิดอยู๋ในประเทศไทย

    เนื่องจากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่าในบริเวณเนื้อที่ประเทศไทยในปัจจุบันมีร่องรอยผู้คนอาศัยอยู่ตั้งแต่ สมัยหินเก่า มาจนกระทั่งสมัยหินกลางหินใหม่ ยุคโลหะ และเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ในแต่ละยุคเหล่านี้ยังเห็นถึงความต่อเนื่องทางวัฒนธรรม ที่มีมาจนถึงปัจจุบันด้วย เช่น มีการพบภาพเขียนสีที่ผนังถ้ำต่าง ๆ ในประเทศไทย เป็นต้น

                  

แนวคิดที่ 3 ชนชาติไทยอาศัยอยู่กระจายทั่วไปทางตอนใต้ของประเทศจีน

                      ภาพที่ ๑.๕ ภาพเขียนสีผนังถ้ำสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่แผาแต้ม จ.อุบลรายธานี

                  

แนวคิดที่ 3 ชนชาติไทยอาศัยอยู่กระจายทั่วไปทางตอนใต้ของประเทศจีน

                      ภาพที่ ๑.๖ ภาพเขียนสีผนังถ้ำสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่ภูปลาร้า จ.อุทัยธานี

   ๕.. แนวคิดที่เชื่อว่าชนชาติไทย มีถิ่นกำเนิดมาจากคาบสมุทรมลายูและหมู่เกาะต่าง ๆ ในอินโดนีเซีย

                            

แนวคิดที่ 3 ชนชาติไทยอาศัยอยู่กระจายทั่วไปทางตอนใต้ของประเทศจีน

         ภาพที่ ๑.๗ แผนที่แสดงแนวคิดที่เชื่อว่าถิ่นกำเนิดของไทยอยู่ในแหลมมลายู และหมู่เกาะอินโดนีเซีย

แนวคิดนี้เป็นการศึกษาของนักวิชาการทางการแพทย์ของไทยเกี่ยวกับความถี่ของยีน (Gene Frequency) และหมู่เลือดระหว่างคนไทยกับคนอิยโดนีเซียและพบว่ามีกลุ่มเลือดที่คล้ายคลึงกันมากจึงเป็นที่มาของความเชื่อ ที่ว่าชนชาติไทยมีถิ่นกำเนิดในอินโดนีเซีย ต่อมาจึงค่อย ๆ อพยพเข้ามายังลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาแล้วขึ้นเหนือไปจนถึง ตอนใต้ของจีน จากนั้นได้เคลื่อนย้ายลงมาอีกแต่ในปัจจุบันส่วนใหญ่เห็นพ้องกันว่าแนวคิดนี้น่าจะมีข้อบกพร่องได้เนื่องจากเป็นการสุ่มตัวอย่างจากคนในปัจจุบันแล้วนำไปสันนิษฐานถึงชนชาติของคนในอดีตนอกจากนี้การวิจัยทางการแพทย์สมัยใหม่ทำให้พบว่าชาวมาเลเซีย มีลักษณะใกล้เคียงกับชาวเขมรมากกว่าแต่ไม่ใกล้เคียงกับไทย ซึ่งใกล้เคียงกับคนจีนมากกว่า จึงทำให้แนวคิดนี้ไม่เป็นที่ยอมรับ

          

แนวคิดที่ 3 ชนชาติไทยอาศัยอยู่กระจายทั่วไปทางตอนใต้ของประเทศจีน

ชุมชนโบราณในประเทศไทย

     จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เช่น ภาพเขียนสีบนผนังถ้ำ โครงกระดูกมนุษย์ เครื่องมือ เครื่องใช้ อาวุธขวานที่ทำจากหินขัด และค่อย ๆ พัฒนามาเป็นโลหะ เป็นเครื่องยืนยันได้ว่ามีมนุษย์อาศัยอยู่ในดินแดน ประเทศไทยมาช้านานแล้ว เริ่มจากในถ้ำและเพิงผาในระยะแรกดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์ ไม่พักอยู่ที่ใดนาน แต่จะเร่ร่อนไปตามที่ต่าง ๆ โดยเลือกตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำและชายฝั่งทะเลที่มีความอุดมสมบรูณ์ ในระยะต่อมาจึงเกิดการรวมตัวกันอยู่ และกลายเป็นชุมชนขึ้นในประเทศไทยได้พบร่องรอยว่ามีชุมชนโบราณ ตั้งถิ่นฐานในบริเวณต่อไปนี้

- บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา

- บริเวณที่ราบลุ่มของแม่น้ำมูล แม่น้ำชี และแม่น้ำสายต่าง ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

- บริเวณที่ราบชายฝั่งทะเลฟากตะวันออกของอ่าวไทย

        

แนวคิดที่ 3 ชนชาติไทยอาศัยอยู่กระจายทั่วไปทางตอนใต้ของประเทศจีน

ปัจจัยที่มีผลต่อการตั้งถิ่นฐาน และการดำรงชีวิตของมนุษย์ในประเทศไทย

     ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตั้งถิ่นฐาน และการดำรงชีวิตของมนุษย์ในประเทศไทยมีอยู่หลายด้าน คือ

๑. ลักษณะทำเลที่ตั้ง

    ประเทศไทยตั้งอยู๋บนคาบสมุทรอินโดจีน อยู่ท่ามกลางกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทางด้านเหนือมีอาณาเขตติดต่อ กับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยลาว ด้านใต้ติดกับประเทศมาเลเซีย ด้านตะวันออกติดกับประเทศสหภาพพม่า เป็นบริเวณที่มีชายฝั่งทะเลเป็นระยะทางยาว ด้านตะวันตกติด กับทะเลอันดามัน และมหาสมุทรอินเดีย ส่วนด้านตะวันออกติดกับอ่าวไทยและมหาสมุทรแปซิฟิก จากลักษณะทำเลที่ตั้งที่มีเขตติดกับประเทศอื่นรอบด้านทำให้การติดต่อคมนาคมระหว่างกันมีมาก การคมนาคมที่าะดวกนี่เองเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้คนหลายเชื้อชาติเคลื่อนย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานทำมาหากินตั้งแต่สมัยโบราณมาจนถึงปัจจุบัน

๒. ลักษณะภูมิประเทศ

    ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปของประเทศไทยมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ละภูมิภาคดังนี้

ภาคเหนือ - พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีที่ราบอยู๋ระหว่างเชิงเขาและหุบเขา

ภาคกลาง - พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีความอุดมสมบรูณ์ และมีภูเขากระจายอยู่ทั่วไป

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ - พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นบริเวณที่มีขอบยกสูง และค่อย ๆ ลาดต่ำกลายเป็นแอ่งที่ราบคล้ายกระทะ

กาคใต้ - พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นคาบสมุทรยาว และมีภูเขาเรียงขนานแนวเหนือใต้อยู่ตอนกลางของภาค ทำให้มีพื้นที่ราบน้อย ส่วนใหญ่เป็นที่ราบชายฝั่งทะเลทั้งสองด้าน

๓. ลักษณะภูมิอากาศ

     ประเทศไทยตั้งอยู๋ในเขตมรสุม ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ พัดผ่านทำให้ฝนตกชุกทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ทำให้ทุกพื้นที่ของประเทศมีปริมาณน้ำฝนเพียงพอต่อการเพาะปลูก โดยเฉพาะข้าวที่เป็ฯพืชเศรษฐกิจที่มีผลต่อการดำรงอยู่ของชุมชนตลอดจนผลผลิตทางการเกษตรอื่น ๆ ประกอบกับประเทศมีภูมิอากาศที่เหมาะสม ไม่หนาวหรือรร้อนเกินไป สภาพทางภูมิอากาศเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพล ต่อการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์

๔. ทรัพยากรธรรมชาติ

     ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธพลต่อการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ จากมนุษย์ยุคหินที่เร่ร่อน ย้ายถิ่นฐานไปตามสถานที่ต่าง ๆ ก็เพราะต้องการแสวงหาความอุดมสมบรูณ์ของแหล่งอาหารซึ่งเป็นที่สิ่ง ที่เกิดขึ้นและมีอยู๋ตามธรรมชาติ ดินแดนประเทศไทยในอดีตถือเป็นดินแดนแห่งหนึ่งที่มีความอุดมสมบรูณ์ ทางทรัพยากรธรรมชาติ มีความอุดมสมบรูณ์ของแผ่นดินที่เหมาะกับการเพาะปลูกมีทรัพยากรน้ำอย่างเพียงพอ สัตว์ป่า ของป่า รวมถึงแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น ดีบุก สังกะสี ทองแดง เป็นต้น ทรัพยากรธรรมชาติ นอกจากจะมีอิทธิพล ต่อการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์แล้วยังสามารถนำไปแลกเปลี่ยนกับชุมชนอื่น ๆ ทำให้ชุมชนของมนุษย์มีความเจริญ และมั่นคงมากขึ้น

        

แนวคิดที่ 3 ชนชาติไทยอาศัยอยู่กระจายทั่วไปทางตอนใต้ของประเทศจีน

อิทธิพลของวัฒนธรรมอินเดียอินเดียที่มีต่อวัฒนธรรมไทย

     บริเวณที่เป็นประเทศไทยปัจุจัน เป็นแหล่งที่มีมนุษย์หลายเผ่าพันธุ์อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ตั้งแต่สมัยโบราณ จนถึงปัจจุบัน ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ มนุษย์ประเทศไทยได้สร้างวัฒนธรรมขึ้นมาในระดับหนึ่ง เช่น การใช้เครื่องมือหิน การวาดภาพตามผนังถ้ำ การปั่นดินเผา ตลอดจนการสร้างเครื่องมือเครื่องใช้ด้วยสำริด และเหล็กในเวลาเดียวกันการรวมกลุ่มของคนเป็นชุมชนก็เป็นชุมชนขนาดเล็ก ยังไม่พัฒนาเป็นสังคมเมือง ต่อมาเมื่อได้รับเอาวัฒนธรรมอินเดียและจีนเข้าไปผสมผสานชุมชนก็เติบโตไปเป็นสังคมเมือง เกิดเป็นรัฐต่าง ๆ ขึ้น อาทิ รัฐหริภุญไชยทางภาคเหนือ รัฐทวารวดีทางภาคกลาง รัฐโคตรบรูทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รัฐศรีวิชัยทางภาคใต้ เป็นต้น แต่ละรัฐได้พัฒนารูปแบบวัฒนธรรมเป็นของตนเอง นอกจากนี้ยังมีลักษณะใกล้เคียง กับรัฐเพื่อนบ้าน และมีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมซึ่งกันและกันด้วย การผสมผสานทางวัฒนธรรมที่สำคัญใน ประเทศไทยที่จะกล่าวถึงในที่นี้ ได้แก่ ด้านการปกครอง ด้านศาสนา และด้านศิลปกรรม ตามลำดับ

        

แนวคิดที่ 3 ชนชาติไทยอาศัยอยู่กระจายทั่วไปทางตอนใต้ของประเทศจีน

ด้านการปกครอง

     วัฒนธรรมทางด้านการปกครองของชนชาติไทยแต่ดั้งเดิม คือ ระบบพ่อปกครองลูก เป็นระบบ ที่สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ปกครอง และผู้อยู่ใต้ปกครอง

     ต่อมาชนชาติไทยได้ยอมรับนับถือพระพุทธศาสนามาเป็นหลักในการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นอิทธิพลของวัฒนธรรมอินเดียที่ไทยรับมาจากลังกาผ่านมา ทางนครศรีธรรมราช ทำให้ผู้ปกครองเอาใขใส่ดูแลผู้อยู๋ใต้ปกครองมากขึ้น โดยนำเอาหลักธรรมทาง พระพุทธศาสนา เรื่องทศพิธราชธรรมมาเป็นหลักในการปกครองและเรียกการปกครองแบบนี้ว่า "ธรรมราขา" คติการปกครองแบบธรรมราชานี้ กษัตริย์และขุนนางผู้ทำหน้าที่ปกครองต้องพฤติตนอยู่ในหลักธรรม ของพระพุทธศาสนา ครั้นถึงปลายสมัยสุโขทัยและต้นอยุธยาไทยรับเอาคติสมมติเทพ ซึ่งเป็นความเชื่อตามหลักศาสนาพราหมณ์ ของอินเดียผ่านมาทางขอม ความเชื่อตามคติสมมติเทพ นี้ได้ยกย่องกษัตริย์ให้มีฐานะสูงส่งเป็นดังเทพเจ้า ผลจากความเชื่อตามคติสมมติเทพทำให้ลักษณะความสัมพันธ์ แบบพ่อปกครองลูกลดความสำคัญลง อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่า พระมหากษัตริย์ไทยจะทรงมีพระราชอำนาจ มากตามคติสมมติเทพ แต่พระองค์ก็ทรงเป็นธรรมราชา แม้ในปัจจุบันประเทศไทยปกครองโดย ระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแต่ปวงชนชาวไทยก็ยังเคารพ บูชาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นดุจบิดา

          

แนวคิดที่ 3 ชนชาติไทยอาศัยอยู่กระจายทั่วไปทางตอนใต้ของประเทศจีน

ด้านศาสนา

     ความเชื่อถือดั้งเดิมของชนชาติไทย คือ การนับถือผี และ นับถือเรืองขวัญจึงมีพิธีกรรมการเลี้ยงผี และบายศรีสู่ขวัญปรากฏอยู๋ตามชุมชนต่าง ๆ ต่อมาเมื่อชาติไทยรับวัฒนธรรมอินเดีย โดยเฉพาะการยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ก็ได้นำคำสอนของศาสนาดังกล่าวมาผสมผสาน กับความเชื่อดั้งเดิม ก่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรมทางด้านศาสนา และพิธีกรรมในการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ตามความเชื่อแบบไทยจึงมีทั้งพิธีพุทธและพราหมณ์ผสมกันไป

        

แนวคิดที่ 3 ชนชาติไทยอาศัยอยู่กระจายทั่วไปทางตอนใต้ของประเทศจีน

ด้านศิลปกรรม

     สืบเนื่องมาจากความศรัทธาที่เกิดจากการผสมผสานกันหลานศาสนา มีทั้งศาสนาพราหมณ์ พระพุทธศาสนา แต่ละศาสนาก็ได้สร้างสรรค์งานศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน และส่งผ่านงานศิลปะเหล่านี้ออกสู่ชุมชนอื่น ๆ ต่อไป

     ดังนั้น เมื่อคนไทยยอมรับนับถือศาสนาใดแล้ว ก็ยอมรับเอาศิลปะแห่งศาสนานั้น ๆ เข้าไว้ด้วยก่อให้เกิดการผสมผสานทางด้านศิลปะระหว่างศาสนาที่ตนยอมรับรับถือใหม่กับศิลปะดั้งเดิมของตน กลายเป็นเอกลักษณ์ทางศิลปะที่เป็นแบบเฉพาะตน เช่น เจดีย์รูปทรงบัวตูม แบบสุโขทัย เจดีย์ทรงลังกา เจดีย์ทรงศรีวิชัย ตลอดจนมีปรางค์แบบขอมอีกด้วยสิ่งเหล่านี้ ล้วนแสดงให้เห็นถึงการผสมผสาน ทางวัฒนธรรมของชนชาติไทยกับชนชาติอื่น ๆ เช่น อินเดีย จีน และดินแดนใกล้เคียง ที่มีการติดต่อสัมพันธ์กันมาแต่สมัยโบราณ สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

        

แนวคิดที่ 3 ชนชาติไทยอาศัยอยู่กระจายทั่วไปทางตอนใต้ของประเทศจีน

รัฐไทยที่ปรากฏในตำนาน

๑. อาณาจักรโยนกเชียงแสน (พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๙)

    มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองเชียงแสน (อําเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย) เรื่องราวของอาณาจักรโยนกเชียงแสน ปรากฏอยู่ในตํานานสิงหนวัติกุมารและตํานานลวจังกราช กล่าวถึงเจ้าชายสิงหนวัติกุมาร ผู้สืบเชื้อสายเจ้านายไท จากมณฑลยูนนานทางตอนใต้ของจีน ได้อพยพผู้คนลงมา ประมาณพุทธศตวรรษที่ 13 มาก่อตั้งเมืองที่เชียงแสน ชื่ออาณาจักรโยนกเชียงแสน ต่อมาพวกขอมเข้ายึดครอง ๒ อาณาจักรโยนกเชียงแสน และขับไล่ผู้ปกครองเดิมออกไป พระเจ้าพรหมกุมารเชื้อสายของกษัตริย์โยนกเชียงแสน สามารถกอบกู้เอกราช และสร้างเมืองใหม่ขึ้นที่เวียงชัยปราการ แต่หลังพระเจ้าพรหม พวกขอมที่เมืองสะเทินใน พม่ายกทัพมารุกราน พระเจ้าไชยสิริโอรสของพระเจ้าพรหมจึงพาผู้คนอพยพหนีมาสร้างเมืองใหม่ที่กําแพงเพชร จนกระทั่งในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ อาณาจักรโยนกเชียงแสนจึงถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนา

๒. เมืองเงินยางเชียงแสน

     ตำนานเมืองเชียงแสนได้เล่าว่า ปู่เจ้าลาวจก หรือลวจักราขได้พาไพร่พลเคลื่อนย้ายมาจากดอยตุง แล้วรวบรวมผู้คนสร้างเมืองเชียงแสนขึ้นใหม่ เรียกว่า"เมืองเงินยางเชียงแสน หรือหิรัญนครเงินยาง" ต่อมาในสมับพ่อขุนมังรายจึงได้ย้ายราชธานีจากเชียงแสนมาที่เชียงราย

                                      

แนวคิดที่ 3 ชนชาติไทยอาศัยอยู่กระจายทั่วไปทางตอนใต้ของประเทศจีน

                      ภาพที่ ๑.๘ พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนมังราย กษัตริย์แห่งเมืองเงินยางเชียงแสน

๓. เมืองพะเยา

     ตามตำนานเมืองเชียงแสนเล่าว่า พ่อขุนลาวเงินเจ้าผู้ปกครองเมืองเงินยางเชียงแสน ได้ลงมาสร้างเมืองพะเยา ให้พระราชโอรสพระนามว่า "พ่อขุนจอมธรรม" เมืองพะเยาจึงมีฐานะเป็นบ้านพี่เมืองน้องกับเมืองเงินยางเชียงแสน เมืองพะเยาได้เจริญรุ่งเรืองมากในสมัย พ่อขุนงำเมือง

     ตำนานเมืองพะเยาเล่าว่า พระองค์ทรงมีบุญญาธิการมาก ทรงสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้กับเมืองพะเยา เพื่อเป็นการเชิดชูพระเกียรติคุณของพระองค์ให้ปรากฏ ชาวพะเยาได้พร้อมใจกันสร้างอนุสาวรีย์ของพระองค์ไว้เคารพสักการะ ประดิษฐานอยู่ที่หน้าสวนสาธารณะหน้ากว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา ในปัจจุบัน

                                                  

                                                                                ภาพที่ ๑.๙ พระบรมราชานุสาวรีย์พญางำเมือง

๔. อาณาจักรหริกุญชัย(พุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๙)

    ตั้งอยู่ที่เมืองหริกุญชัยหรือจังหวัดลําพูนในปัจจุบัน ตํานาน จามเทวีวงค์หรือตํานานเมืองหริกุญชัยกล่าวว่าฤาษีวาสุเทพเป็นผู้สร้างเมืองหริกุญชัยและ ขอให้กษัตริย์ละโว้ส่งเชื้อ สายพระวงศ์มาปกครองละโว้จึงส่งพระนางจามเทวีผู้เป็นพระราชธิดามาเป็นปฐมกษัตริย์แห่งหริกุญชัย จนถึงปลาย พุทธศตวรรษที่ ๑๗ พระอาทิตยราชได้ปกครองหริกุญชัย และได้สร้างความเจริญรุ่งเรืองโดยเฉพาะการทํานุบํารุง พระพุทธศาสนา ทรงสร้างพระธาตุหริกุญชัย สร้างวัดทําให้บ้านเมืองมีความสงบสุข

๕. อาณาจักรละโว้ พุทะศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๙(ระหว่ง พ.ศ. ๑๐๐๐-๑๙๐๐)

    สืบทอดความเจริญต่อจากอาณาจักร ทวาราวดี เชื้อว่าละโว้คือ เมื่องลพบุรี ตามตํานานพงศาวดารเมืองเหนือเคยตกอยู่ใต้อํานาจขอม จึงรับวัฒนธรรม 5 จากทวาราวดีและขอมไว้มากมาย เช่น พระปรางค์สามยอด สร้างตามแบบขอมละโว้เคยติดต่อกับจีน แต่ต่อมาตกอยู่ ใต้ การปกครองของอุยธยา

๖. เมืองนครศีธรรมราช

     จากหลักฐานทางโบราณสถาน โบราณวัตถุ และจารึกภาษาสันสกฤตที่พบในนครศรีธรรมราช แสดงให้เห็นว่า บริเวณเมืองนครศรีธรรมราชเคยเป็นเมืองเก่าที่เจริญรุ่งเรือง มาตั้งแต่สมัยศรีวิชัย และยังพบหลักฐานความเจริญรุ่งเรืองทางพระพุทธศาสนาอีกด้วย และต่อมาได้มีความสัมพันธ์กับอาณาจักรสุโขทัย ตั้งแต่สมัย พ่อขุนรามคำแหง