ภาวะแทรกซ้อนจากการใส่ท่อช่วยหายใจ

#ภาวะแทรกซ้อนจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ +Hypotension เกิดได้บ่อยมาก...

Posted by Smart Nurse on Saturday, May 7, 2016

    ข้อมูลสุขภาพ

    โรคและการรักษา

    กล่องเสียงบอบช้ำเมื่อหายจากโควิด-19

    2 นาทีในการอ่าน

    ภาวะแทรกซ้อนจากการใส่ท่อช่วยหายใจ

    แชร์

    ผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรงและจำเป็นต้องใส่ท่อช่วยหายใจขณะทำการรักษาเป็นเวลานาน เมื่อหายป่วยจากโควิด-19 แล้วอาจส่งผลให้กล่องเสียงได้รับการบาดเจ็บ เกิดการบวม ช้ำ อักเสบ หรือมีแผลได้ จึงควรหมั่นสังเกตตนเอง หากมีความผิดปกติควรพบแพทย์ทันที

    ผู้ป่วยโควิด-19 กับการใส่ท่อช่วยหายใจ

    ในผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีการอักเสบของปอดอย่างรุนแรง ส่งผลให้ระบบการหายใจล้มเหลว หายใจเองได้ยาก จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ (Ventilator) เพื่อช่วยในการักษาพยาบาล เพิ่มโอกาสรอดชีวิตให้กับผู้ป่วย โดยจะต้องทำการใส่ท่อช่วยหายใจ (Endotracheal Intubation) ทางปากผ่านกล่องเสียงไปยังหลอดลม ท่อนี้จะเป็นตัวนำออกซิเจนจากเครื่องช่วยหายใจส่งไปยังปอด ช่วยให้ปอดทำงานได้ดีขึ้น ซึ่งต้องอาศัยระยะเวลาในการรักษาที่ค่อนข้างนานกว่าจะหายดี ตัวท่ออาจจะก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อภายในกล่องเสียงเกิดการบวม ช้ำ อักเสบ มีแผล หรือบวมจนกลายเป็นเนื้องอกบางชนิด หรือแผลเป็น ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะกล่องเสียงทำงานผิดปกติไปจากเดิม

    ภาวะแทรกซ้อนจากการใส่ท่อช่วยหายใจ

    ภาวะกล่องเสียงหดเกร็ง 

    ภาวะกล่องเสียงหดเกร็ง (Laryngospasm) สามารถเกิดขึ้นได้จากการใส่ท่อช่วยหายใจและเอาท่อช่วยหายใจออก โดยเป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นในทางเดินหายใจขณะที่กล้ามเนื้อของกล่องเสียงยังหย่อนตัวไม่เต็มที่จึงเกิดการบีบเกร็งของกล้ามเนื้อกล่องเสียงและสายเสียงผิด ทำให้ออกซิเจนไม่ผ่านเข้าปอด


    ภาวะกล่องเสียงอักเสบ 

    ภาวะกล่องเสียงอักเสบ (Laryngitis) เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น

    • เชื้อโรค อาทิ ไวรัส  แบคทีเรีย เชื้อรา วัณโรค 
    • ใช้งานกล่องเสียงมากเกินไป อาทิ พูดดัง พูดนาน ร้องเพลงผิดวิธี  ไอแรง ไอเรื้อรัง ขากเสมหะบ่อย ๆ ฯลฯ
    • มีสิ่งระคายเคืองกล่องเสียง อาทิ การหายใจเอามลภาวะในอากาศเข้าไป การสูบบุหรี่ การสำลักอาหาร  อาเจียน กรดไหลย้อน ฯลฯ 
    • การกระแทกเสียดสีจากภายนอกกล่องเสียง อาทิ อุบัติเหตุของแข็งกระแทกลำคอทางด้านหน้า ฯลฯ
    • การกระแทกเสียดสีจากภายในกล่องเสียง อาทิ การใส่ท่อช่วยหายใจเพื่อดมยาสลบ หรือการใส่ท่อช่วยหายใจเพื่อให้ออกซิเจนแก่ผู้ป่วยหนักที่ไม่สามารถหายใจได้เองตามปกติ

    รักษากล่องเสียงอักเสบ 

    การรักษาภาวะกล่องเสียงอักเสบ (Laryngitis) ประกอบไปด้วย

    • การให้ยา โดยแพทย์จะพิจารณาจากสาเหตุของโรคเป็นหลัก อาทิ ยาแก้อักเสบ ยาฆ่าเชื้อ ยาแก้ไอ ยากรดไหลย้อน เป็นต้น
    • การพักใช้เสียง อย่างน้อย 2 สัปดาห์ โดยพูดน้อย ๆ  ไม่ตะเบ็ง ไม่ตะโกน ไม่ร้องเพลง
    • งดดื่มคาเฟอีนปริมาณมาก งดดื่มแอลกอฮอล์
    • การผ่าตัด ในกรณีที่มีเนื้องอกหรือแผลเป็นในกล่องเสียง แพทย์จะสอดท่อผ่านเข้าไปทางช่องปาก และผ่าตัดด้วยอุปกรณ์สำหรับกล่องเสียงโดยเฉพาะ ภายใต้การมองผ่านเลนส์ของกล้องจุลทรรศน์ (Microscope) เพื่อป้องกันการบอบช้ำหรือกระทบกระเทือนต่อเนื้อเยื่อข้างเคียง และทำให้แผลผ่าตัดในกล่องเสียงมีขนาดเล็กที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยผู้ป่วยจะไม่มีบาดแผลบริเวณผิวหนังของลำคอ แต่หลังผ่าตัดผู้ป่วยควรพักการใช้เสียงด้วยการพูดน้อย ๆ ต่อเนื่องอย่างน้อย 2 สัปดาห์หรือจนกว่าแผลผ่าตัดจะหายเป็นปกติ


    สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่จำเป็นต้องใส่เครื่องช่วยหายใจและท่อช่วยหายใจตามคำแนะนำของแพทย์ เมื่อหายจากโควิด-19 แล้วอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด


     

    ข้อมูลโดย


    สอบถามเพิ่มเติมที่

    ศูนย์หู คอ จมูก

    ชั้น 2 อาคาร A โรงพยาบาลกรุงเทพ

    เปิดให้บริการ

    วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 08.00 - 19.00 น
    วันเสาร์ - วันอาทิตย์ เวลา 08.00 - 16.00 น.

    0 2310 3010

    1719

    [email protected]

    แชร์

    การเจาะคอ (Tracheostomy) คือการเปิดรูบริเวณหน้าลำคอ เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีปัญหาทางด้านการหายใจสามารถหายใจได้สะดวกมากขึ้น

    วิธีการเจาะคอ แพทย์จะทำการผ่าเปิดผิวหนังบริเวณด้านหน้าลำคอ เพื่อนำท่อหลอดลมคอ หรือท่อเจาะคอ (Tracheostomy tube) สอดเข้าไปในช่องคอผ่านหลอดลมคอ (Trachea) ของผู้ป่วย (รูปที่ 1) เพื่อให้อากาศสามารถผ่านเข้าสู่หลอดลมและปอดของผู้ป่วยได้

    ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ป่วยไม่ต้องหายใจผ่านทางช่องจมูกและลำคอส่วนบนเหมือนในสภาวะปกติ นอกจากนี้แล้ว การเจาะคอยังช่วยให้ผู้ป่วยสามารถไอเอาเสมหะออกจากหลอดลมได้ หรือเพื่อให้ผู้ดูแลสามารถดูดเอาเสมหะออกจากหลอดลมได้อีกด้วย

    ภาวะแทรกซ้อนจากการใส่ท่อช่วยหายใจ
    ภาพแสดงการเจาะคอ (รูปภาพประกอบจาก rcot.org)

    สารบัญ

    1 ท่อเจาะคอมีกี่แบบและมีลักษณะอย่างไร

    2 สาเหตุที่ต้องเจาะคอ

    3 ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อน

    4 การดูแลผู้ป่วยหลังการเจาะคอ (Tracheostomy Tube Care)

    5 หากพบอาการผิดปกติเหล่านี้ควรรีบมาพบแพทย์

    6 แนะนำบทความเพิ่มเติม

    ท่อเจาะคอมีกี่แบบและมีลักษณะอย่างไร

    ท่อเจาะคอ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ ได้แก่ (รูปที่ 2)

    1. แบบพลาสติก
    2. แบบโลหะ

    ท่อเจาะคอ มีลักษณะเป็นท่อโค้ง ประกอบด้วยท่อ 2 ชั้น ได้แก่ (รูปที่ 2)

    1. ท่อชั้นนอก (Outer tube)
    2. ท่อชั้นใน (Inner tube)

    ท่อทั้งสองชั้นจะสวมซ้อนกันอยู่ สามารถถอดแยกออกจากกันเพื่อล้างทำความสะอาดได้ เนื่องจากผู้ป่วยเจาะคอจะมีเสมหะออกมา ดังนั้นเราจึงต้องทำการล้างเสมหะออกอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการอุดตันของเสมหะ โดยเฉพาะเมื่อต้องใส่ท่อเจาะคอเป็นระยะเวลานานๆ

    ภาวะแทรกซ้อนจากการใส่ท่อช่วยหายใจ
    ชนิดของท่อเจาะคอ (รูปภาพประกอบจาก rcot.org)

    สาเหตุที่ต้องเจาะคอ

    การเจาะคอนั้นเป็นการรักษาชั่วคราว แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจต้องเจาะคอถาวร โดยกลุ่มของผู้ป่วยที่เจาะคอนั้นมีดังนี้

    • มีวัตถุ หรือสิ่งของขนาดใหญ่อุดกั้นทางเดินหายใจ
    • ไม่สามารถหายใจเองได้ หรือต้องใช้เครื่องช่วยหายใจในระยะเวลานาน
    • มะเร็งบริเวณช่องคอ เช่น มะเร็งกล่องเสียง
    • กล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการกลืน เส้นเสียง หรือกระบังลมเป็นอัมพาต
    • บาดเจ็บบริเวณปาด คอ หรือผนังทรวงอกขั้นรุนแรง
    • ผู้ที่มีการผ่าตัดบริเวณรอบกล่องเสียง คอ รวมถึงกะโหลกศีรษะ
    • ทางเดินหายใจบวมและอุดตันเนื่องจากดูดสารพิษหรือเขม่าควัน
    • มีเสมหะมากบริเวณท่อลมและหลอดลมซึ่งต้องทำการดูดออกบ่อยครั้ง โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ไม่มีสติ
    • ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในปอดและมีเสมหะคั่งซึ่งไม่สามารถไอเพื่อขับออกได้
    • ไขสันหลังถูกทำลาย
    • ผู้ป่วยที่มีอาการโคม่า ไม่มีสติ หรือเป้นอัมพาต
    • มีปัญหาอื่นๆ เช่น ภาวการณ์หยุดหายใจขณะหลับขั้นรุนแรง

    ภาวะแทรกซ้อนจากการใส่ท่อช่วยหายใจ

    ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อน

    ภาวะแทรกหลังจากการเจาะคออาจเกิดขึ้นได้ทันที และหลังจากการเจาะคอ นอกจากนี้ยังอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้จากท่อเจาะคอด้วย

    การใส่ท่อช่วยหายใจอันตรายไหม

    1.1 การใส่ท่อช่วยหายใจโดยขาดความระมัดระวัง หรือการที่ใส่ท่อหายใจหลายครั้งอาจทำให้มีอันตรายต่อทางเดินหายใจได้ เช่น มีแผลหรือการฉีดขาดของริมฝีปาก ลิ้น ฟันหัก หรืออาจจะเกิดการฉีกขาดของหลอดลมใหญ่และหลอดอาหารทะลุได้ นอกจากนี้การใส่ท่อช่วยหายใจทางจมูกอาจจะเกิดแผล หรือรอยถลอกในโพรงจมูกทำให้มีเลือดออก ส่วนของ adenoid, polyp ...

    ใส่ท่อช่วยหายใจได้นานสุดกี่วัน

    นอกจากนั้นแล้ว การเจาะคอก็มักทำในคนไข้ติดเตียง ที่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจนานๆ เกินกว่า 1-2 สัปดาห์ขึ้นไป เพราะการใส่ท่อช่วยหายใจนานเกินไป จะส่งผลทำให้เกิดภาวะพังพืดที่กล่องเสียง หรือ พังพืดใต้เส้นเสียง ทำให้คนไข้หายใจได้ลำบากหลังจากรักษาตัวหายแล้ว เนื่องจากพังพืดไปอุดกั้น ทำให้หายใจไม่สะดวกนั่นเอง

    ใส่ท่อช่วยหายใจแล้วพูดได้ไหม

    1. แบบท่อช่วยหายใจ แพทย์จะใส่ท่อเข้าสู่หลอดลมผ่านทางปากหรือจมูก ข้อดีของการใช้ท่อช่วยหายใจแบบนี้คือ ให้ลมที่มีแรงดันสูงโดยไม่รั่ว ให้ออกซิเจนความเข้มข้นสูง สามารถดูดเสมหะได้ แต่ผู้ป่วยจะพูดไม่ได้ รับประทานอาหารทางปากไม่ได้ และจะรู้สึกอึดอัด รวมทั้งอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ไซนัสอักเสบ ปอดอักเสบ หรือเกิดอันตรายต่อกล่อง ...

    ผู้ป่วย เจาะคอ อันตราย ไหม

    การเจาะคอเป็นวิธีที่ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถหายใจได้ แม้ปกติแล้วจะมีความปลอดภัย แต่บางรายอาจมีอาการแพ้ยาสลบที่ใช้จนทำให้หายใจลำบาก เกิดผื่นคันและบวม รวมถึงอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือดและโรคหลอดเลือดสมองได้