งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ภาษาอังกฤษ

ฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ – ธรรมศาสตร์ ปีนี้ ชวนเพื่อปลุกกระแสสังคมให้ตระหนักรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ภายใต้แนวคิด Make a CHANGE เปลี่ยน ปรับ ขยับสังคม

วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563

งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ภาษาอังกฤษ

          ปิดฉากลงไปอย่างสวยงาม สำหรับการแข่งขันฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ - ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 74 แม้ธรรมศาสตร์จะแพ้ไปด้วย 1-2 คะแนน แต่มิตรภาพที่ชาวธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ที่มีให้กันก็ไม่ได้ลดน้อยลง เพราะเราทุกคนมีสปิริต มีน้ำใจเป็นนักกีฬา มีความสามัคคีรักใคร่กลมเกลียว

          สำหรับการแข่งขันฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ - ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 74 ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว จัดขึ้นเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2563 ณ สนามศุภชลาศัยกรีฑาสถานแห่งชาติ ซึ่งในปีนี้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นเจ้าภาพ ภายใต้แนวคิด “Make a CHANGE เปลี่ยน ปรับ ขยับสังคม” เพื่อปลุกกระแสสังคม ให้ตระหนักรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ให้ลุล่วงไปอย่างราบรื่นและยั่งยืน เสียงจากนิสิต นักศึกษาที่จะสะท้อนให้สังคมได้เปลี่ยน ปรับ ขยับได้ง่าย ๆ และเป็นรูปธรรมผ่านการจัดงานในครั้งนี้ คือการเปลี่ยนพฤติกรรมใกล้ตัวทุกคน แม้จะเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น การรณรงค์เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดขยะ การร่วมกันบริจาคโลหิตเพื่อสังคม เป็นต้น และหวังว่าเสียงเล็ก ๆ จากนิสิต นักศึกษา 2 สถาบัน จะเป็นแรงกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนร่วมกันแสดงพลังในการปรับและเปลี่ยนเพื่อให้สังคมก้าวหน้าได้อย่างมั่นคง

งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ภาษาอังกฤษ

          รศ.เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า แนวคิดหลักในการจัดงานในปีนี้ คือ Make a CHANGE เปลี่ยน ปรับ ขยับสังคม ซึ่งเป็นแนวคิดที่ทันสมัย ทันสถานการณ์โลก แสดงถึงความพร้อมและศักยภาพของคนรุ่นใหม่ในการมีส่วนร่วมเปลี่ยนแปลงสังคม โดยเริ่มจากจุดเล็ก ๆ อย่างตัวเองก่อน เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้ว ย่อมส่งผลให้สังคมไทยขยับไปในทางที่ดีขึ้น งานฟุตบอลประเพณีฯ ก็เช่นเดียวกัน เป็นการสร้างความรัก ความสามัคคี ทั้งศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน โดยความรักสามัคคีที่แน่นแฟ้นเหล่านี้ จะแปรเปลี่ยนเป็นพลังสำคัญในการร่วมแรงร่วมใจพัฒนาชาติบ้านเมืองต่อไปในอนาคต

          นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร นายกสมาคมธรรมศาสตร์ในพระบรมราชูปภัมภ์ กล่าวว่า งานฟุตบอลประเพณีฯ เป็นพื้นที่ให้พวกเราได้แสดงออกถึงความรัก ความสามัคคี ระหว่างสองสถาบันได้อย่างชัดเจนผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ที่พี่น้องได้ร่วมกันทำ สำหรับแนวคิดในปีนี้ ถือเป็นเรื่องที่ท้าทายเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน เพราะโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุก ๆ ด้าน การปรับตัวจึงเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ปีนี้ งานฟุตบอลประเพณีฯ ได้ดำเนินมาเป็นครั้งที่ 74 แล้วถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่ง และถือเป็นหน้าที่ของพวกเราชาวธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ทุกคนที่จะสืบสานประเพณีอันดีงามนี้ต่อไป

งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ภาษาอังกฤษ

          สำหรับขบวนพาเหรดของธรรมศาสตร์ในปีนี้ ได้นำเสนอแนวคิดนี้ด้วยไฮไลท์ของ “ขบวนสื่อแนวคิดหลัก” ที่หยิบยกเรื่อง Social Bullying ขึ้นมา โดยมีจุดมุ่งหมายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียในสังคม ให้เกิดความสร้างสรรค์และไม่ทำให้ใครตกเป็นจำเลยสังคม ผ่านคำพูดว่า “your words have power use them wisely” คำพูดของทุกคนมีพลัง เราสามารถสร้างสังคมใหม่ที่ดีกว่าเดิมด้วยคำพูดของทุกคน นอกจากนี้ยังมี “ขบวนล้อการเมือง” ที่เป็นไฮไลท์ที่น่าจับตามองในทุกปี ซึ่งในปีนี้ยังคงสื่อถึงประเด็นทางสังคมที่เกิดขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา เพื่อสะท้อนให้เห็นสภาพของสังคมและความเคลื่อนไหวในมิติต่าง ๆ อย่างหลากหลาย และสอดคล้องกับแนวคิดของการจัดงานในปีนี้

งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ภาษาอังกฤษ

          นอกจากนี้ยังเป็นครั้งแรกที่ธรรมศาสตร์ และจุฬาฯ ได้ร่วมกันจัดแคมเปญ “Waste This Way รักษ์โลกให้ถูกทาง” เพื่อส่งเสริมการจัดการขยะอย่างถูกต้องในงานฟุตบอลประเพณีฯ ครั้งที่ 74 ผ่านคอนเซปต์ “ลด เปลี่ยน แยก” โดยการ “ลด” ใช้ผลิตภัณฑ์แบบ Single use รวมถึงลดวัสดุที่ไม่จำเป็นและส่งเสริมให้พกภาชนะส่วนตัว “เปลี่ยน” แพคเกจจิ้งอาหารในงาน ให้เป็นวัสดุ compostable และเปลี่ยนวัสดุในการทำพาเหรดให้ดีต่อโลกมากขึ้น และ “แยก” ขยะทุกชิ้นภายในงาน เพื่อนำไป reuse recycle & upcycling ต่ออย่างเหมาะสม และหลังจากจบงาน การจัดการขยะจะถูกนำไปคำนวณเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ที่ลดไปได้ และขยะพลาสติกจะถูกนำไปอัพไซเคิลเป็นรองเท้าให้โรงเรียนที่ขาดแคลนอีกด้วย

คลิกดูรูปบรรยากาศเพิ่มเติม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์

งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ภาษาอังกฤษ

พิธีเปิดงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 71

ก่อตั้ง4 ธันวาคม พ.ศ. 2477 (ธรรมศาสตร์)
จัดขึ้นทุก1 ปี
ครั้งล่าสุด8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 (จุฬาฯ)
วัตถุประสงค์เชื่อมสัมพันธ์ระหว่างนิสิตจุฬาฯ กับนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สำนักงานใหญ่สนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติ
หมายเหตุชื่อมหาวิทยาลัยใดนำหน้าเป็นเจ้าภาพ

งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ หรือ งานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬาฯ[a] เป็นการแข่งขันฟุตบอลประเพณีระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2 มหาวิทยาลัยเก่าแก่ของประเทศไทย เริ่มจัดกิจกรรมครั้งแรกในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2477[1] แต่ละมหาวิทยาลัยจะสลับกันเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันทุกปี ชื่อของมหาวิทยาลัยที่เป็นเจ้าภาพจะได้รับเกียรติให้ขึ้นต้นชื่องานฟุตบอลประเพณีในปีนั้น สถานที่จัดการแข่งขันจะไม่สลับตามเจ้าภาพ แต่จะจัดงานที่สนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติ เป็นประจำทุกปี กองเชียร์ของมหาวิทยาลัยเจ้าภาพจะใช้อัฒจันทร์ฝั่งทิศเหนือ อีกฝ่ายจะใช้อัฒจันทร์ฝั่งทิศใต้

กิจกรรมภายในงานอาจแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การแข่งขันฟุตบอล และกิจกรรมเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างนิสิตจุฬาฯ กับนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เช่น การเดินพาเหรด การเชียร์ การแปรอักษร ขบวนพาเหรดล้อการเมืองและกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์[2] ในทุกๆ ปี บรรยากาศภายในงานจะถ่ายทอดสดผ่านทาง โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย และ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ตามลำดับ ยกเว้น ครั้งที่ 70 (มีการถ่ายทอดสดผ่านทางช่องไบรต์ทีวีร่วมอยู่ด้วย) และ ครั้งที่ 72 และ 74 ที่ถ่ายทอดสดเฉพาะช่องไทยรัฐทีวีในระบบความคมชัดสูง[3] รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายจากการจัดงานทุกปีจะนำไปบริจาคเป็นสาธารณกุศล[1]

ผลการแข่งขันถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ชนะ 24 ครั้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยชนะ 18 ครั้ง และเสมอกัน 32 ครั้ง

ประวัติ[แก้]

งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ภาษาอังกฤษ

งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์ ได้จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2477 โดยกลุ่มนักเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เพื่อสร้างความสามัคคีนิสิตในหมู่นิสิตนักศึกษาทั้งสองมหาวิทยาลัย เนื่องจากมุมมองของนักเรียนในสมัยก่อนว่า ผู้เข้าศึกษาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสำเร็จมัธยมศึกษา ส่วนผู้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (ชื่อในขณะนั้น) ไม่สำเร็จมัธยมศึกษา ทำให้มีการดูถูกกันหรือไม่สนิทสนมกันเหมือนเดิม จึงเป็นแรงบันดาลใจให้นิสิตนักศึกษาทั้งสองมหาวิทยาลัยจัดกิจกรรมสานความสามัคคีและสร้างความปรองดองระหว่างกัน โดยมีแบบอย่างจากการแข่งขันเรือประเพณีระหว่างมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดและมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ในสหราชอาณาจักร และการแข่งขันเบสบอลประเพณีระหว่างมหาวิทยาลัยเคโอและมหาวิทยาลัยวาเซดะในประเทศญี่ปุ่น แต่กลุ่มผู้ริเริ่มถนัดและสนใจกีฬาฟุตบอลมาตั้งแต่เมื่ออยู่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จึงตกลงที่จะจัดการแข่งขันฟุตบอลขึ้น

ผู้ริเริ่มฝ่ายจุฬาฯ ประกอบด้วย ประถม ชาญสันต์ เป็นหัวหน้านิสิตคณะอักษรศาสตร์ในขณะนั้น กับทั้งประสงค์ ชัยพรรค และประยุทธ์ สวัสดิ์สิงห์ เวลานั้น หม่อมราชวงศ์สุมนชาติ สวัสดิวัฒน์ นายกสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำเรื่องเสนอผ่านกองกิจการนิสิตซึ่งมีหม่อมราชวงศ์สลับ ลดาวัลย์ เป็นผู้รับผิดชอบ เพื่อขออนุมัติจัดงานจากอธิการบดี ส่วนผู้ริเริ่มฝ่ายธรรมศาสตร์ คือ ต่อศักดิ์ ยมนาค และบุศย์ สิมะเสถียร ได้ทำเรื่องเสนอเดือน บุนนาค เลขาธิการมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง เพื่อขออนุมัติจากผู้ประศาสน์การ เมื่อได้รับฉันทานุมัติจากมหาวิทยาลัยทั้งสองแล้ว งานก็ได้เริ่มขึ้นโดยมีธรรมศาสตร์เป็นเจ้าภาพ จัดที่ท้องสนามหลวงเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2477 และมีการเก็บค่าผ่านประตูคนละ 1 บาท รายได้ทั้งหมดมอบให้แก่สมาคมปราบวัณโรคซึ่งเป็นโรคที่ร้ายแรงที่สุดในขณะนั้น

ปีต่อมา ย้ายสถานที่จัดการแข่งขันมายังสนามฟุตบอลโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จนปี พ.ศ. 2492 ย้ายมาที่สนามศุภชลาศัยถึงปัจจุบัน รายได้ที่เหลือจากการหักค่าใช้จ่ายแล้วมอบให้แก่หน่วยงานการกุศลทุกครั้ง จนปี พ.ศ. 2521 จึงเริ่มนำรายได้ถวายพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย

การพระราชทานถ้วยรางวัลมีขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2492 เมื่อสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จมาเป็นองค์ประธาน จนปี พ.ศ. 2495 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานและพระราชทานถ้วยรางวัลด้วยพระองค์เอง แต่ปัจจุบัน โปรดให้ผู้แทนพระองค์มาแทน

งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ภาษาอังกฤษ

อัฒจันทร์ฝั่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แปรอักษร

เหตุการณ์ที่ทำให้ต้องยกเลิกการจัดงานฟุตบอลประเพณีมีหลายครั้ง เช่น ในปี พ.ศ. 2485 เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ทั่วกรุงเทพมหานคร ช่วงปี พ.ศ. 2487–2491 เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา ในปี พ.ศ. 2494 เกิดกบฏแมนฮัตตัน ช่วงปี พ.ศ. 2516 – 2518 องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เห็นว่าการจัดงานฟุตบอลประเพณีใช้งบประมาณมาก เป็นกิจกรรมที่ฟุ่มเฟือย ในปี พ.ศ. 2557 เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมือง ในปี พ.ศ. 2560 ยกเลิกกิจกรรมเพื่อเป็นการแสดงความอาลัยในช่วงพระราชพิธีพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และในปี พ.ศ. 2564 - 2565 ยกเลิกกิจกรรมเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

เอกลักษณ์เด่น[แก้]

ขบวนพาเหรด[แก้]

ตามธรรมเนียมก่อนเข้าสู่การแข่งขัน จะมีการเดินพาเหรดขบวนล้อการเมือง โดยกลุ่มอิสระล้อการเมือง ม.ธรรมศาสตร์ เป็นส่วนหนึ่งในงานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬาฯ เป็นสิ่งแสดงความคิดความอ่านทางการเมืองของนักศึกษาที่จะต้องโตขึ้นไปอยู่ในสังคมที่ถูกขับเคลื่อนโดยแรงขับทางการเมือง ไม่ว่าจะด้านเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม ดังนั้น การทำล้อการเมืองแสดงผ่านหุ่น ผ่านข้อความในป้ายผ้า เป็นบทกลอน จะสะท้อนความคิดเห็นของนักศึกษาหลากหลายคณะในมหาวิทยาลัยจากการเรียนในวิชาต่างๆ ออกมาเป็นตัวหุ่น เป็นป้ายผ้า ซึ่งล้อการเมืองมีมาทุกสมัย ไม่ว่าจะเป็นในยุครัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง หรือรัฐบาลสมัยประชาธิปไตยครึ่งใบ หรือรัฐบาลที่มาจากเสียงข้างมากกว่าหลายล้านเสียงก็ตาม ตรงนี้ล้อการเมืองก็ยังอยู่มาเรื่อยๆ ซึ่งเป็นบรรทัดฐานของการล้อที่ไม่ว่าการเมืองจะเป็นอย่างไร ล้อการเมืองจะไม่ขาดช่วงไปจากสังคมไทย[4]

ในขณะที่ขบวนสะท้อนสังคม ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รับผิดชอบโดยกลุ่มสะท้อนสังคม เป็นการนำปัญหาของสังคมที่เกิดในรอบปี โดยการนำเสนอผ่านงานศิลปะ อาทิตัวหุ่น และป้ายผ้า ซึ่งการสะท้อนสังคมเป็นหนึ่งในกระบอกเสียงที่สามารถทำได้ในฐานะนิสิต โดยเป็นการแสดงความคิดเห็นที่ไม่มีถูกผิด เพียงแค่ต้องอยู่ในกรอบเท่านั้น[5]

ทั้งขบวนล้อการเมือง และขบวนสะท้อนสังคม มีจุดประสงค์เพื่อเป็นเสมือนกระจกที่สะท้อนถึงปัญหาที่เกิดขึ้นภายในสังคม โดยนำเสนอภายใต้ขอบเขต ซึ่งจะไม่โจมตีไปที่ใครคนใดคนหนึ่ง เพื่อให้นิสิต-นักศึกษา ตลอดจนประชาชนทั่วไป ได้ตระหนักและตื่นตัวต่อปัญหา/สถานการณ์ที่เกิดขึ้น และร่วมกันหาทางแก้ไขเพื่อให้สังคมมีความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้น

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[แก้]

งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ภาษาอังกฤษ

การอัญเชิญพระเกี้ยว[แก้]

การอัญเชิญพระเกี้ยวปรากฏหลักฐานครั้งแรกในหนังสือพิมพ์สยามนิกร (พิเศษ) ฉบับวันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2507 โดยมีนิสิตหญิง 1 คน เป็นผู้อัญเชิญ โดยการอัญเชิญพระเกี้ยวเข้ามาสู่สนามการแข่งขันเพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่นักกีฬาและกองเชียร์ โดยจะคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเป็นนิสิตชาย 1 คน และ นิสิตหญิง 1 คน เพื่อเป็นตัวแทนบรรดานิสิตอัญเชิญพระเกี้ยวเข้าสู่สนามแข่งขัน ถึงแม้ว่านิสิตทุกคนต่างมีฐานะเป็นผู้อัญเชิญพระเกี้ยว[6] แต่เนื่องจากในทางปฏิบัตินั้นไม่สามารถให้ทุกคนเป็นผู้อัญเชิญพระเกี้ยวได้ จึงต้องคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเป็นตัวแทนนิสิตเพื่อทำหน้าที่นี้[7]

อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2564 องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อบจ.) มีมติในการประชุมสามัญ 29:0 เสียง เห็นควรให้มีการยกเลิกกิจกรรมการคัดเลือกผู้อัญเชิญพระเกี้ยวในงานฟุตบอลประเพณีฯ เนื่องจากเห็นว่าเป็นธรรมเนียมที่สะท้อนถึงความไม่เท่าเทียม และพบว่ามีการบังคับนิสิตให้มาแบกเสลี่ยงโดยอ้างว่าจะมีผลต่อคะแนนการคัดเลือกผู้มีสิทธิ์ใช้หอพัก[8]

ประธานเชียร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[แก้]

ผู้นำเชียร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยหรือฝั่งจุฬาจะเรียกว่า "ประธานเชียร์" นอกจากจะทำหน้าที่นำเชียร์ ควบคุมจังหวะการร้องเพลงเชียร์ของสแตนด์แล้ว ยังทำหน้าที่เป็นตัวแทนของนิสิตจุฬา ในการประชาสัมพันธ์งานฟุตบอลประเพณีฯ และบำเพ็ญประโยชน์แก่สาธารณะอีกด้วย ในระยะแรกนั้นผู้นำเชียร์หรือประธานเชียร์จะเป็นผู้ให้จังหวะปรบมือแก่กองเชียร์ ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงท่าทางของผู้นำเชียร์ขึ้นใหม่ โดยเน้นหลักการสำคัญของผู้นำเชียร์แห่งจุฬาฯ นั้น มี 5 ประการ ได้แก่ การให้จังหวะ การควบคุมกองเชียร์ ความสวยงาม ความพร้อมเพรียง และรูปแบบในการนำเสนอ มีการแต่งตัวให้สวยงาม สร้างสีสันให้กับสแตนด์เชียร์ การสรรหาผู้นำเชียร์ฯ จากการเปิดรับสมัครคัดเลือกอย่างเป็นทางการจากนิสิตทั่วไป ไม่จำกัดคณะและชั้นปี ในแต่ละปีนั้นมีจำนวนผู้ผ่านการคัดเลือกแตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสมของผู้สมัครในปีนั้น ๆ โดยทั่วไปแล้วมักมีจำนวนเฉลี่ยรุ่นละ 11-13 คน

จุฬาฯคทากร[แก้]

จุฬาฯคทากรมีหน้าที่หลักคือ การเดินนำขบวนพาเหรดของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากนั้นยังมีหน้าที่แสดงควงคทาประกอบเพลงประจำมหาวิทยาลัยอีกด้วย

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[แก้]

ทูตกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์[แก้]

งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ภาษาอังกฤษ

อัฒจันทร์ฝั่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ขณะกำลังแปรอักษรว่า "รัก CU นะ"

ในอดีตผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้นำในขบวนอัญเชิญธรรมจักร ถ้วยพระราชทาน ป้ายนามมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง และดรัมเมเยอร์ ได้มาจากการคัดเลือกเช่นเดียวกับการอัญเชิญพระเกี้ยวของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนกระทั่งหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาในปี พ.ศ. 2516 ประเพณีการคัดเลือกก็ได้งดไป เนื่องจากถูกมองว่าเป็นความฟุ่มเฟือยและเกิดเป็นที่มาของคำขวัญว่า "ธรรมจักรเป็นของชาวธรรมศาสตร์ทุกคน ทุกคนจึงมีสิทธิในการอัญเชิญได้" จึงคงไว้เพียงขบวนอัญเชิญธรรมจักรและรับสมัครทุกคนที่สนใจร่วมแบกเสลี่ยงอัญเชิญโดยไม่มีผู้แทน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2544 สมาคมธรรมศาสตร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ฟื้นฟูผู้นำในขบวนอัญเชิญธรรมจักรและดรัมเมเยอร์และทำหน้าที่ในการบำเพ็ญประโยชน์ ตลอดจนการรณรงค์และส่งเสริมให้นักศึกษาร่วมทำกิจกรรมเพื่อสังคมกันมากขึ้นกลับมา ในชื่อว่า "ทูตกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" โดยเริ่มตั้งแต่ 2545 เป็นต้นมา หน้าที่ของทูตกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์คือเป็นตัวแทนนักศึกษาในการนำขบวนพาเหรดทั้งหมดของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เข้าสู่สนาม โดยเป็นผู้อัญเชิญป้ายนามมหาวิทยาลัย ถ้วยพระราชทาน อัญเชิญพานพุ่มนำขบวนอัญเชิญธรรมจักรและดรัมเมเยอร์ รวมถึงการบำเพ็ญประโยชน์ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย การคัดเลือกทูตกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะพิจารณาถึงทั้งลักษณะ บุคลิก ความรู้ความสามารถ ทั้งในด้านการเรียน และในความรู้เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การมีจิตอาสา มีคุณธรรมและพร้อมที่จะช่วยเหลือแก่สังคม

แม่ทัพเชียร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[แก้]

ผู้นำเชียร์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์หรือฝั่งธรรมศาสตร์จะเรียกว่า "แม่ทัพเชียร์" เป็นตัวแทนนักศึกษาของมหาวิทยาลัยสำหรับทำหน้านำกองเชียร์ร้องเพลงส่งเสียงเชียร์ ประกอบรหัส สัญญาณ การเคลื่อนไหวร่างกาย หรืออุปกรณ์ เพื่อความพร้อมเพรียง ความสวยงาม และความสนุกสนานของการเชียร์และแปรอักษร โดยทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีแนวคิดและต้นแบบแรงบันดาลใจจาก ผู้ควบคุมวงดนตรีหรือวาทยากร ที่ทำหน้าที่นำการเล่นดนตรีวงใหญ่หรือการร้องประสานเสียง ผู้นำเชียร์นั้นนอกจากจะมีท่วงท่าสง่างาม ยังมีรหัสสัญญาณมือที่สื่อความหมายสามารถประยุกต์ใช้กับการร้องเพลงเป็นหมู่คณะของกองเชียร์

เพลงประจำการแข่งขัน[แก้]

  • เพลงพระราชนิพนธ์ของทั้งสองมหาวิทยาลัย
    • เพลงของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คือ เพลงพระราชนิพนธ์ยูงทอง
    • เพลงของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือ เพลงพระราชนิพนธ์มหาจุฬาลงกรณ์
  • เพลงจามจุรีประดับโดมในดวงใจ เป็นการนำเพลงของทั้งสองมหาวิทยาลัยมาร่วมกันคือเพลงจามจุรีประดับใจ และเพลงโดมในดวงใจ
  • เพลงชั่วดินฟ้า เป็นเพลงของจุฬา และธรรมศาสตร์บอกถึงความรักความสามัคคีของทั้งสองสถาบันนี้
  • เพลงธรรมศาสตร์-จุฬา สามัคคี แต่งโดยจิตร ภูมิศักดิ์
  • เพลงธรรมศาสตร์-จุฬา ภาราดรณ์ ไม่ปรากฏผู้แต่ง

ผลการแข่งขัน[แก้]

ผลการแข่งขันจนนับจากปี พ.ศ. 2477 ถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชนะ 24 ครั้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชนะ 18 ครั้ง และเสมอกัน 32 ครั้ง ดังนี้[9]

จุฬาฯ ชนะ ธรรมศาสตร์ชนะ เสมอ
ครั้งที่ วันที่ ฝ่ายที่ชนะ จำนวนประตู
1 4 ธันวาคม พ.ศ. 2477 เสมอ 1–1
2 พ.ศ. 2478 เสมอ 3–3
3 พ.ศ. 2479 ธรรมศาสตร์ 4–1
4 พ.ศ. 2480 ธรรมศาสตร์ 2–1
5 พ.ศ. 2481 ธรรมศาสตร์ 2–1
6 พ.ศ. 2482 เสมอ 0–0
7 พ.ศ. 2483 เสมอ 2–2
8 พ.ศ. 2484 จุฬาฯ 2–0
9 พ.ศ. 2486 จุฬาฯ 3–1
10 30 ธันวาคม พ.ศ. 2492 ธรรมศาสตร์ 3–2
11 30 ธันวาคม พ.ศ. 2493 จุฬาฯ 5–3
12 27 ธันวาคม พ.ศ. 2495 เสมอ 0–0
13 19 ธันวาคม พ.ศ. 2496 ธรรมศาสตร์ 3–1
14 25 ธันวาคม พ.ศ. 2497 จุฬาฯ 1–0
15 24 ธันวาคม พ.ศ. 2498 เสมอ 2–2
16 25 ธันวาคม พ.ศ. 2499 เสมอ 0–0
17 21 ธันวาคม พ.ศ. 2500 ธรรมศาสตร์ 3–1
18 20 ธันวาคม พ.ศ. 2501 จุฬาฯ 3–2
19 26 ธันวาคม พ.ศ. 2502 ธรรมศาสตร์ 2–1
20 27 ธันวาคม พ.ศ. 2503 เสมอ 1–1
21 23 ธันวาคม พ.ศ. 2504 เสมอ 1–1
22 22 ธันวาคม พ.ศ. 2505 เสมอ 0–0
23 8 มกราคม พ.ศ. 2506 ธรรมศาสตร์ 3–1
24 26 ธันวาคม พ.ศ. 2507 ธรรมศาสตร์ 3–0
25 25 ธันวาคม พ.ศ. 2508 ธรรมศาสตร์ 2–1
26 24 ธันวาคม พ.ศ. 2509 ธรรมศาสตร์ 2–0
27 30 ธันวาคม พ.ศ. 2510 เสมอ 1–1
28 21 ธันวาคม พ.ศ. 2511 จุฬาฯ 2–0
29 27 ธันวาคม พ.ศ. 2512 ธรรมศาสตร์ 1–0
30 30 มกราคม พ.ศ. 2514 เสมอ 0–0
31 29 มกราคม พ.ศ. 2515 ธรรมศาสตร์ 4–0
32 23 ธันวาคม พ.ศ. 2515 ธรรมศาสตร์ 2–1
33 31 มกราคม พ.ศ. 2519 ธรรมศาสตร์ 2–0
34 21 มกราคม พ.ศ. 2521 ธรรมศาสตร์ 1–0
35 20 ธันวาคม พ.ศ. 2522 จุฬาฯ 2–0
36 20 มกราคม พ.ศ. 2523 เสมอ 0–0
37 31 มกราคม พ.ศ. 2524 เสมอ 1–1
ครั้งที่ วันที่ ฝ่ายที่ชนะ จำนวนประตู
38 27 มกราคม พ.ศ. 2525 เสมอ 2–2
39 29 มกราคม พ.ศ. 2526 เสมอ 1–1
40 21 มกราคม พ.ศ. 2527 ธรรมศาสตร์ 1–0
41 27 มกราคม พ.ศ. 2528 เสมอ 1–1
42 26 มกราคม พ.ศ. 2529 เสมอ 1–1
43 25 มกราคม พ.ศ. 2530 ธรรมศาสตร์ 1–0
44 30 มกราคม พ.ศ. 2531 จุฬาฯ 2–1
45 21 มกราคม พ.ศ. 2532 จุฬาฯ 2–0
46 20 มกราคม พ.ศ. 2533 เสมอ 1–1
47 19 มกราคม พ.ศ. 2534 เสมอ 0–0
48 18 มกราคม พ.ศ. 2535 เสมอ 1–1
49 23 มกราคม พ.ศ. 2536 ธรรมศาสตร์ 2–1
50 22 มกราคม พ.ศ. 2537 เสมอ 2–2
51 21 มกราคม พ.ศ. 2538 จุฬาฯ 2–1
52 20 มกราคม พ.ศ. 2539 ธรรมศาสตร์ 1–0
53 18 มกราคม พ.ศ. 2540 เสมอ 1–1
54 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 เสมอ 0–0
55 23 มกราคม พ.ศ. 2542 จุฬาฯ 2–1
56 15 มกราคม พ.ศ. 2543 เสมอ 0–0
57 20 มกราคม พ.ศ. 2544 จุฬาฯ 2–0
58 19 มกราคม พ.ศ. 2545 เสมอ 2–2
59 25 มกราคม พ.ศ. 2546 เสมอ 0–0
60 24 มกราคม พ.ศ. 2547 เสมอ 0–0
61 22 มกราคม พ.ศ. 2548 ธรรมศาสตร์ 1–0
62 21 มกราคม พ.ศ. 2549 จุฬาฯ 2–0
63 20 มกราคม พ.ศ. 2550 เสมอ 1–1
64 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 เสมอ 0–0
65 31 มกราคม พ.ศ. 2552 ธรรมศาสตร์ 2–0
66 16 มกราคม พ.ศ. 2553 เสมอ 0–0
67 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 จุฬาฯ 3–1
68 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 จุฬาฯ 1–0
69 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 จุฬาฯ 1–0
70 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ธรรมศาสตร์ 2–0
71 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ธรรมศาสตร์ 5–1
72 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 เสมอ 1–1
73 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 จุฬาฯ 2–1
74 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563​ จุฬาฯ 2–1

เชิงอรรถ[แก้]

  1. ชื่อมหาวิทยาลัยใดนำหน้าเป็นเจ้าภาพ

อ้างอิง[แก้]

  1. ↑ 1.0 1.1 สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์. “งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์: สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ .” เว็บไซต์ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์. http://www.cuaa.chula.ac.th/activities/cu-tu-football (2559 ธันวาคม 7 ที่เข้าถึง).
  2. สวัสดิ์ จงกล. “แรกมีในเมืองไทยเกี่ยวกับฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ ธรรมศาสตร์: หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.” เว็บไซต์ หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 18 มีนาคม 2553. http://www.memocent.chula.ac.th/article/ฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์/ (8 ธันวาคม 2559 ที่เข้าถึง).
  3. www.thairath.co.th. (2018). จุฬาฯ-มธ. พร้อมลุยบอลประเพณี ไทยรัฐทีวี ถ่ายสด 3 ก.พ.. [online] Available at: https://www.thairath.co.th/content/1174057 [Accessed 2 Feb. 2018].
  4. พาเหรดล้อการเมือง 'สะท้อนสังคม หรือ ท้าทายอำนาจ' ?. 5 กุมภาพันธ์ 2016. https://www.voicetv.co.th/read/322320
  5. พร้อมมากบอลประเพณี! จุฬาฯ เต้นโชว์ ชูคอนเซ็ปต์ตื่นเต้นได้เลือกตั้ง – มธ. งัดเซอร์ไพรส์กลางสนาม. 7 กุมภาพันธ์ 2562. https://www.amarintv.com/news-update/news-16819/335873/
  6. หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. “การอัญเชิญพระเกี้ยวในงานฟุตบอลประเพณี: หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.” เว็บไซต์ หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 7 พฤศจิกายน 2552. http://www.memocent.chula.ac.th/article/อัญเชิญพระเกี้ยว/ (8 ธันวาคม 2559 ที่เข้าถึง).
  7. การอัญเชิญพระเกี้ยวในงานฟุตบอลประเพณี จาก หอประวัติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  8. "ยกเลิกพิธีแบกเสลี่ยง "อัญเชิญพระเกี้ยว" งานบอลจุฬา-ธรรมศาสตร์". คมชัดลึกออนไลน์. 2021-10-23.
  9. ชมพู-เหลืองแสด, ฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ศึกแห่งตำนาน ศักดิ์ศรี และมิตรภาพ, สยามกีฬา, ปีที่ 28, ฉบับที่ 10184, 20 มกราคม 2556, หน้า 19

ดูเพิ่ม[แก้]

  • รักบี้ประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์
  • จตุรมิตรสามัคคี การแข่งขันฟุตบอลประเพณีระดับมัธยมศึกษาระหว่างโรงเรียนชายล้วนเก่าแก่ 4 สถาบันของประเทศไทย
  • กีฬา 5 พระเกี้ยว การแข่งขันฟุตบอลของโรงเรียนที่ใช้สัญลักษณ์พระเกี้ยว
  • เชียร์ลีดเดอร์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ฟุตบอลประเพณีสิงห์แดง-สิงห์ดำ