ลดหย่อนภาษีบุตร

‘สิทธิลดหย่อนบุตร’ มีลูกหลายคน ลดหย่อนภาษีได้เยอะ!! ลูกแท้ ลูกบุญธรรม แตกต่างกัน

ใครที่ยังไม่ได้ยื่นแบบการเสียภาษี อย่าลืม ‘สิทธิลดหย่อนบุตร’ ซึ่งการลดหย่อนนั้น ตั้งแต่เริ่มตั้งท้องฝากครรภ์ไปจนถึงคลอดเลยทีเดียว และไม่ใช่เฉพาะลูกคนแรกเท่านั้น ลูกคนที่สองคนที่สามก็ลดหย่อนได้เช่นกัน

ลดหย่อนภาษีบุตร

กรมสรรพากรพิ่มสิทธิลดหย่อนบุตรสำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกหลายคน โดยสามารถลดหย่อนบุตรคนที่ 2 ได้เพิ่มขึ้น จากเดิม 30,000 บาท เป็น 60,000 บาท เพื่อเป็นการสนับสนุนให้คนมีลูกเพิ่มมากขึ้น

สิทธิลดหย่อนบุตร

ลูกเกิดก่อนปี 2561 ลดหย่อนแบบเหมาคนละ 30,000 บาท ไม่ว่าจะเป็นลูกคนที่เท่าไหร่ก็ตาม

ลูกเกิดในปี 2561 – ปัจจุบัน ลดหย่อนแบบเหมา ลูกคนแรกลดหย่อน 30,000 บาท ลูกคนที่สองและคนต่อๆ มาลดหย่อน 60,000 บาท

ในกรณีที่ลูกคนแรกเกิดก่อนปี 2561 คนที่สองเกิดในปี 2561 ก็จะสามารถลดหย่อนได้ 60,000 บาทเช่นกัน ไม่ว่าจะกี่คนก็ตาม

เงื่อนไขการรับสิทธิการลดหย่อนภาษี

สำหรับแม่ – ลูกที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ ต้องถูกขึ้นชื่อเป็น บุตรที่ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ว่า ‘แม่จะจดทะเบียนสมรสหรือไม่ก็ตาม’

สำหรับพ่อ – ลูกที่จะใช้สิทธิลดหย่อนได้ ต้องเป็น บุตรที่ถูกต้องตามกฎหมาย อันเกิดจาก การจดทะเบียนสมรสของบิดามารดา จดทะเบียนรับรองบุตร หรือศาลพิพากษาให้เป็นบุตร

ลดหย่อนภาษีบุตร

สิทธิการลดหย่อนด้วยบุตรบุญธรรม

สำหรับคนที่มีลูกบุญธรรมก็สามารถนำมาใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ แต่ต้องมีการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยใช้สิทธิในการลดหย่อนลูกบุญธรรมได้ไม่เกิน 3 คน ซึ่งต่างจากลูกแท้ๆ ที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ไม่จำกัดจำนวนบุตร

ข้อจำกัดในการลดหย่อนภาษีบุตร

การลดหย่อนบุตรนั้นไม่ได้สามารถทำได้ตลอดชีวิต โดยข้อกฎหมายจะมีการประเมินคุณสมบัติโดยอ้างอิงจากความสามารถและวัยของบุตร ดังนี้

  1. คุณสมบัติของลูกที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้

ลูกเกิดจนถึงบรรลุนิติภาวะ (อายุ 20 ปี) หรือยังไม่บรรลุนิติภาวะโดยการสมรส

อายุ 20 – 25 ปี หรือบรรลุนิติภาวะแล้ว แต่ยังเรียนอยู่ในระดับปวส. หรือปริญญาตรีขึ้นไป

ลูกอายุเท่าไหร่ก็ได้แต่เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ โดยต้องมีคำสั่งจากศาล บัตรประจำตัวผู้พิการ นอกเหนือจากค่าลดหย่อนบุตรแล้ว ในกรณีสามารถนำบุตรมาลดหย่อนในกรณีทุพพลภาพได้อีก 60,000 บาท

  1. กรณีลูกมีรายได้ก่อนบรรลุนิติภาวะ

ในกรณีที่ลูกมีรายได้ตั้งแต่ 30,000 บาทขึ้นไป พ่อแม่ไม่สามารถนำลูกคนนั้นมาลดหย่อนภาษีได้

แต่ถ้ารายได้นั้นได้มาจาก เงินปันผล แม้ว่าจะเกิน 30,000 บาท ผู้ปกครองก็สามารถนำบุตรมาลดหย่อนได้ตามปกติ เพราะรายได้จากเงินปันผลถือว่าเป็นรายได้ของพ่อแม่

ลดหย่อนภาษีบุตร

สิ่งที่ควรรู้! อย่ามองข้ามสิทธิประโยชน์ของตนเอง

กรณีลูกแฝด หากคลอดในปี 2561 เป็นต้นไป คนแรกจะสามารถลดหย่อนได้ 30,000 บาท คนที่สองลดหย่อนได้ 60,000 บาท รวมทั้งปีนั้น 90,000 บาท

กรณีลูกบุญธรรม ต้องมีการจดทะเบียนรับรองบุตรบุญธรรม โดยจะเริ่มหักได้ตั้งแต่ปีภาษีที่จดทะเบียน โดยบิดามารดาที่ชอบด้วยกฎหมายเดิม ไม่สามารถหักลดหย่อนจากคนนี้ได้อีก

ตั้งครรภ์ข้ามปี ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ทั้ง 2 ปี แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 60,000 บาทต่อท้อง

สามี – ภรรยา สามารถใช้ค่าลดหย่อนบุตรซ้ำกันได้ โดยไม่จำเป็นต้องแบ่งกัน โดยทั้งสองฝ่ายจะต้องเป็นผู้มีเงินได้ กรณีทั้งคู่มีรายได้ใกล้เคียงกัน การแยกกันยื่นจะส่งผลดีมากกว่า เนื่องจากการยื่นร่วมจะทำให้รายได้สุทธิสูงขึ้น

กรณีหย่า แม้ว่าจะทำการหย่ากับภรรยาหรือสามีเดิมไปแล้ว แต่ถ้าหากลูกมีการจดทะเบียน ก็ยังสามารถใช้ลดหย่อนลูกได้อยู่ทั้งคู่ หากมีการเลี้ยงดูด้วยกัน ทั้งในกรณีคนแรกและคนต่อๆ มา บางกรณีแม้จะเป็นลูกแท้ๆ แต่ไม่มีการจดทะเบียน ก็ไม่สามารถลดหย่อนภาษีได้

ชาวต่างชาติ ในกรณีชาวต่างชาติมาทำงานในประเทศไทยเกิน 180 วัน จะถือว่าเป็นผู้มีเงินได้ สามารถลดหย่อนลูกได้ ไม่ว่าลูกจะอยู่ในประเทศหรือต่างประเทศก็ตาม

อ่านข่าวเพิ่มเติม

  • เตือนไว้ก่อน! ‘ภาษี’ ไม่ชำระ ชำระไม่ครบ ล่าช้า มีโทษ เจอเบี้ยปรับ และอาจเจอคุก
  • 5 วิธี “เลี่ยงภาษี” แบบถูกกฎหมาย ฉบับผู้มีเงินได้ต้องรู้ !! วางแผนปีนี้ ลดภาษีปีหน้า
  • อะไรเอ่ย…?? ลดหย่อนภาษีได้ถึง 2 เท่า ! คลิกอ่านก่อน ยื่นเสียภาษีออนไลน์ 2565