ตรวจ สอบ รายชื่อ ห้างหุ้นส่วนสามัญ

1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ
 

ห้างหุ้นส่วนสามัญคือ

ห้างหุ้นส่วนซึ่งอาจจะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลกับนายทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัท ของกรมพัฒนาธุรกิจหรือไม่จดทะเบียนก็ได้ กฎหมายไม่ได้บังคับไว้ แต่ถ้าจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจะมีสภาพและได้ชื่อเป็น “ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล”
และห้างหุ้นส่วนประเภทนี้ หุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดร่วมกันในหนี้สินทั้งปวงของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน

ตรวจ สอบ รายชื่อ ห้างหุ้นส่วนสามัญ
ตัวอย่าง สมมุติว่า นาย ก.และนาย ข. ลงทุนทำกิจการร่วมกัน ใช้เงินลงทุน ประมาณ 5 แสนบาท นาย ก. ลงทุน 3 แสน นาย ข. ลงทุน 2 แสน ตั้งเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ ดังนั้นหุ้นส่วนทุกคนก็จะเป็นหุ้นสวนไม่จำกัดความรับผิด เป็นผู้จัดการห้างหุ้นส่วน มีหน้าที่บริหารกันทุกคน ถ้าสมมุติว่า ห้างฯ ได้ไปก่อหนี้ขึ้นมา 1 ล้าน ดังนั้น หุ้นส่วนทุกคนรับผิดชอบต่อหนี้ของบุคคลภายนอก 1 ล้านบาท ส่วนภายในก็มาไล่เบี้ยกับหุ้นส่วนกันเอง ตามส่วนที่ลงทุน เป็นต้น

ดังนั้นห้างหุ้นส่วนสามัญจึงแบ่งออกเป็นอีกมี 2 ชนิดคือ(จดกับไม่จด)
(ก) ห้างหุ้นส่วนสามัญ (ไม่ได้จดทะเบียน)
(ข) ห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียน เมื่อจดทะเบียนแล้วก็เรียกว่า “ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล”

ลักษณะสำคัญของห้างหุ้นส่วนสามัญ

1. ห้างหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดชอบร่วมกัน
2. หุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดชอบโดยไม่จำกัด
3. คุณสมบัติของหุ้นส่วนเป็นสาระสำคัญ

ลักษณะสำคัญของห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล

1. ต้องมีหุ้นส่วนอย่างน้อย 2 คน
2. หุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดชอบในหนี้สินทั้งสิ้นโดยไม่จำกัดจำนวน
3. หุ้นส่วนทุกคนต้องมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดอันได้แก่ เงิน ทรัพย์สิน แรงงานมาเข้าหุ้น
4. ต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
5. ต้องมีหุ้นส่วนผู้จัดการอย่างน้อย 1 คน
6. ต้องมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในราชอาณาจักร
7. ต้องมีตราสำคัญของห้างหุ้นส่วน
8. ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

วิธีการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ

การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ จะคล้ายการจัดตั้งกิจการเจ้าของคนเดียว ซึ่งในสัญญาจะต้องประกอบไปด้วยรายการต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. ชื่อและที่อยู่ของหุ้นส่วนทั้งหมด
2. ชื่อวัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วน
3. ชื่อและสถานที่ตั้งของห้างหุ้นส่วน หากเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องให้ชัดเจน
4. ระยะเวลาของการดำเนินการ
5. จำนวนทุนที่หุ้นส่วนแต่ละคนนำมาลงทุนซึ่งอาจจะเป็นเงิน
ทรัพย์หรือแรงงานซึ่งหากเป็นแรงงานมาลงทุนให้ระบุจำนวนเงินไว้ด้วยว่ามีค่าคิดเป็นเงินทุนเท่าใด

เอกสารที่ต้องใช้ในการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ มีดังนี้
-สำเนาสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ (ผู้ร่วมประกอบการของห้างหุ้นส่วนสามัญที่จะตั้งขึ้นต้องมีอย่างน้อย 2 คนขึ้นไป)
- แบบ ล.ป.10.2 ขอแบบฟอร์มจากสรรพากร หรือ ดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ก็ได้
-สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของบุคคลในห้างหุ้นส่วนสามัญแต่ละคน
- หมายเหตุ เอกสารที่เป็นสำเนา ต้องลงชื่อรับรองว่าถูกต้องด้วย
- นำเอกสารทั้งหมด ในข้อ 1 ไปยื่นขอจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญกับกรมสรรพาพื้นที่ ที่ห้างหุ้นส่วนสามัญจะตั้งอยู่
-เจ้าหน้าที่กรมสรรพากร รับจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ ก็จะออกบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีของห้างหุ้นส่วนสามัญนั้น ก็เป็นอันสิ้นสุดขั้นตอนแล้ว

หน้าที่ทางภาษี

ในกรณีห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเกินจำนวน 30,000 บาท ให้ผู้มีอำนาจจัดการงานของห้างหุ้นส่วนสามัญ ยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินในชื่อของห้างหุ้นส่วนสามัญนั้น สำหรับเงินที่ได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว โดยให้ผู้มีอำนาจจัดการงานของห้างหุ้นส่วนสามัญ รับผิดเสียภาษีในชื่อของห้างหุ้นส่วนสามัญนั้น จากยอดเงินได้พึงประเมินทั้งสิ้น เสมือนเป็นบุคคลธรรมดาคนเดียวไม่มีการแบ่งแยก ทั้งนี้ผู้เป็นบุคคลในห้างหุ้นส่วนสามัญแต่ละคนไม่ต้องยื่นรายการเงินได้ สำหรับจำนวนเงินพึงประเมินดังกล่าว เพื่อเสียภาษีอีก แต่ถ้าห้างหุ้นส่วนสามัญนั้นมีภาษีค้างชำระ ให้ผู้เป็นบุคคลในห้างหุ้นส่วนสามัญทุกคนร่วมรับผิดในเงินภาษีที่ค้างชำระนั้นด้วย ตามมาตรา 56 วรรคท้าย แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ หน้าที่ทางภาษีของห้างหุ้นส่วนสามัญ จะเหมือนกับบุคคลธรรมดา โดยยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 เพื่อเสียภาษีเงินได้ประจำปี ภายในวันที่ 31 มีนาคม ของปีถัดไป และกรณีที่ ห้างหุ้นส่วนสามัญมีเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (5)(6)(7) หรือ (8) คณะบุคคลต้องมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี โดยใช้แบบ ภ.ง.ด.94 ภายใน 30 กันยายน ของทุกปี

การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล

ขั้นตอนการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ต้องจัดเตรียมข้อมูลและเอกสารต่างๆ ดังนี้
1.เตรียมชื่อจดทะเบียน เตรียมชื่อจดทะเบียนสำหรับจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วน ไว้ประมาณ 3 ชื่อ เพื่อยื่นขอตรวจสอบเพื่อไม่ให้ซ้ำกันกับห้าง บริษัท หรือนิติบุคคลอื่นๆ
2.ทำความตกลงระหว่างหุ้นส่วนในเรื่องสำคัญต่างๆ
3.จำนวนเงินลงทุนว่า ใครจะลงทุนกันคนละเท่าไหร่
4.วัตถุประสงค์ของกิจการว่าจะประกอบธุรกิจอะไร
5.ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ ถ้ามีสาขา ก็ต้องแจ้งด้วย
6.ชื่อที่อยู่ของหุ้นส่วน ทุกคน
7.สิ่งที่ลงหุ้นว่า เป็นอะไร จำนวนทุนที่หุ้นส่วนแต่ละคนนำมาลงทุนซึ่งอาจจะเป็นเงิน
ทรัพย์สินหรือแรงงานซึ่งหากเป็นแรงงานมาลงทุนให้ระบุจำนวนเงินไว้ด้วยว่ามีค่าคิดเป็นเงินทุนเท่าใด
8.ชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการ
9.ข้อจำกัดหุ้นส่วนผู้จัดการ (ถ้ามี)
10. ดวงตราหรือตรายาง ของห้างฯ

การจดทะเบียน

ให้หุ้นส่วนทุกคนไปจดทะเบียนที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือจะมอบอำนาจให้บุคคลอื่นๆ ไปจดทะเบียน ก็ได้

ผลการจดทะเบียน

เมื่อจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว ก็จะได้รับเอกสาร หนังสือสำคัญการจดทะเบียน หนังสือรับรอง และต้องมีหน้าที่ตามกฎหมายต่อไป

ตรวจ สอบ รายชื่อ ห้างหุ้นส่วนสามัญ

อนึ่ง

การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญ (ไม่จดทะเบียน)หรือห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล(จดทะเบียน) ประเภทนี้ส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้รับความนิยมกัน