ลักษณะ สํา คั ญ ของการบัญชี ต้นทุน ช่วงการผลิต

E-BOOK
การบัญชีต้นทุน 2

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
หลักการบัญชีต้นทุนช่วง
การผลิต

1.ลักษณะสำคัญของการบัญชีต้นทุน
ช่วงการผลิต มีดังนี้

ลักษณะสินค้าที่ผลิต
- มีลักษณะที่เหมือนกัน ต้นทุนช่วง ต้นทุนการผลิต ประกอบ
ด้วย วัตถุดิบทางตรง ค่าเเรงงานทางตรง และค่าใช้จ่าย
ทางการผลิต เหมือนกัน
- ผลิตสินค้าจำนวนมาก เพื่อเก็บไว้ในคลังสินค้าและออก
จำหน่ายอย่างต่อเนื่อง โดยป่านกระบวนการทางการตลาดใน
การจัดจำหน่าย

2.กรรมวิธีการผลิต
- การผลิตสินค้า มีขั้นตอนผลิตอย่างต่อเนื่องโดยผลิตเป็นราย
แผนก จากแผนกผลิตแรกไปจนแผนกผลิตสุดท้ายจนกลาย
เป็นสินค้าสำเร็จรูป

3.การคำนวณต้นทุนการผลิต
- มีการสะสมต้นทุนการผลิตตามแผนกผลิตหรือเป็นช่วงการ
ผลิตจะเปิดบัญชีคุมงานระหว่างทำ ซึ่งถือเป็นบัญชีย่อยของ
บัญชีคุมงานระหว่างทำแยกเป็นแต่ละแผนกผลิตเช่นกัน

2.ข้อแตกต่างระหว่างระบบบัญชีต้นทุน
งานสั่งทำและระบบบัญชีต้นทุนช่วงการ
ผลิต

ระบบบบัญชีต้นทุนงานสั่งทำ ระบบบัญชีต้นทุนช่วงการผลิต

1.ลักษณะของสินค้า - สินสินค้าที่ผลิตมี มีลักษณะที่เหมือน ๆ กันและเป็น
- สินสินค้าที่ผลิตแต่ละครั้งจะมีความแตกต่างกัน มาตรฐานเดียวกันทุกหน่วย
ทางในรูป ทั้งในรูปลักษณะเฉพาะหรือปริมาณขึ้น
อยู่กับความต้องการของลูกค้า

2.กระบวนการผลิต - ผลิตสินค้าแบบต่อเนื่องและผลิตเป็นจำนวนมาก
-ผลิตสินค้าตามคำสั่งของลูกค้าในแต่ละครั้งตาม เพื่อเป็นสินค้าคงคลังรอการจำหน่าย

จำนวนที่ลูกค้าต้องการ

3.การสะสมข้อมูลต้นทุน - รวบรวมต้นทุนแต่ละแผนกโดยใช้รายงานต้นทุน
- รวบรวมต้นทุนโดยใช้บัตรต้นทุนงานตามเลขที่ การผลิต
งาน

4. การคำนวณต้นทุนต่อหน่วย - คำนวณตามงวดเวลา โดย
- คำนวณเมื่องานผลิตเสร็จ โดย ต้นทุนรวมของแต่ละแผนก

ต้นทุนรวมของงานแต่ละงาน หน่วยเทียบสำเร็จรูปในแผนก

จำนวนหน่วยที่ผลิตของงาน

5. การรายงานต้นทุนการผลิต -จัดทำรายงานต้นทุนกการผลิตซึ่งเป็นบัญชีย่อยของ
-มีบัตรต้นทุนงานเป็นบัญชีย่อยของบัญชีงาน บัญชีคุมยอดงานระหว่างทำเป็นรายการผลการ
ปฎิบัติงานและควบคุมต้นทุนการผลิตของแต่ละ
ระหว่างทำ โดยแยกตามงานแต่ละชิ้นหรือแต่ละคำ แผนกรวมถึงเป็นข้อมูลประกอบในการบันทึกบัญชี
สั่ง

3.รูปแบบของกระบวนการผลิต
ตามระบบบัญชีต้นทุนช่วงการผลิต

รูปเเบบของกระบวนการผลิตตามระบบบัญชีต้นทุนช่วง
การผลิต มีความแตกต่างกันหลายรูปแบบโดยทั่วไปมีอยู่ 3 รูป
แบบคือ
1. กระบวนการผลิตแบบเรียงลำดับ

กระบวนการผลิตแบบเรียงลำดับ เป็นกระบวนการผลิต
สินค้าพินชนิดเดียวโดยผ่านแผนกผลิตต่าง ๆ ตามลำดับชั้น
จากแผนกผลิตแรกจนถึงแผนกผลิตสุดท้ายที่ผลิตเสร็จเป็น
สินค้าสำเร็จรูป
กิจการที่ใช้กระบวนการผลิตแบบเรียงลำดับ ได้แก่ โรงงาน
ผลิตน้ำอัดลม โรงงานผลิตน้ำปลา โรงงานผลิตน้ำตาล โรงงาน
ผลิตกระดาษเป็นต้น
2. กระบวนการผลิตแบบขนาน

กระบวนการผลิตแบบขนาน เป็นกระบวนการผลิตสินค้า
ชนิดหนึ่งโดยเริ่มจากแผนกผลิตหลายแผนกแล้วจะมารวมตัว
กันในแผนกหนึ่งเพื่อผ่านไปผลิตในแผนกผลิตถัดไปจนผลิต
เสร็จเป็นสินค้าสำเร็จรูป กิจการที่ใช้กระบวนการผลิตแบบ
ขนาน ได้แก่ โรงงานผลิตปลากระป๋อง โรงงานผลิตเครื่องปรุง
รส เป็นต้น

3.กระบวนการผลิตแบบเลือกเเผนก
กระบวนการผลิตแบบเลือกแผนก เป็นกระบวน

การผลิตที่มีลักษณะการผลิตสินค้าหลายชนิด โดยการ
ผลิตจะเริ่มจากแผนกเดียวกันก่อนแล้วผ่านการผลิตต่อ
ในแผนกผลิตต่างๆตามชนิดของสินค้าที่ต้องการซึ่งมี
วิธีการผลิตที่แตกต่างกันจนได้สินค้าสำเร็จรูปแต่ละ
ชนิด กิจการจะใช้กระบวนการผลิตแบบเลือกผลิต
ได้แก่ โรงงานผลิตอาหารจากเนื้อสัตว์ โรงงานผลิตสาร
เคมี เป็นต้น

4.การรวบรวมต้นทุนตามแผนกผลิต

ระบบบัญชีต้นทุนช่วงการผลิตจะรวบรวมต้นทุนตาม
แผนกผลิตหรือศูนย์ต้นทุนที่มีหน้าที่ผลิตสินค้าซึ่ง
กิจการแน่จัดแปลงผลิตตามลักษณะการทำงานของ
แผนกนั้นนั้นตัวอย่างเช่นบริษัทยามาฮ่าจำกัดเป็น
บริษัทที่ผลิตรถยนต์โดยรถยนต์ที่ผลิตเสร็จแล้วจะ
ผ่านกระบวนการ3แผนกดังนี้

5. วิธีการของระบบบัญชีต้นทุนช่วงการผลิต

วิธีการขอระบบของต้นทุนช่วงการผลิต มีด้งนี้
1.การผลิตของเเต่ละเเผนกผลิต โดยการจัดทำรายงานต้นทุนการ
ผลิต แยกเป็นแผนก ๆ
2.ต้นทุนการผลิต ประกอบด้วย วัตถุดิบทรงตรง ค่าแรงงานทาง
ตรง และค่าใช้จ่ายการผลิตเเต่ละแผนกจะรวบรวมต้นทุนการ
ผลิตออกเป็นงวด ๆ ซึ่งปกตินิยมรวบรวมต้นทุนของแต่ละแผนก
ตามงว
3. แผนกผลิตจะรวบรวมหน่วยปลิตเสร็จจากแผนกและโอนออก
ในกรณีที่กิจการผลิตหน่วยที่ยังผลิตไม่เสร็จ ตือ งานระหว่างทำ
ต้องมีการปรับยอดให้หน่วยเทียบเท่าหน่วยผลิต
4. ทำการคำนวณต้นทุนต่อหน่วยของเเต่ละแผนกในแต่ละงวด
5. โอนต้นทุนของหน่อยที่ผลิตเสร็จของแผนกผลิตแรกจนถึงแผนก
ผลิตสุดท้าย ซึ่งคำนวณมาจากต้นทุนของงานระหว่างทำต้นงวด
กับต้นทุงการผลิตต่าง ๆ ที่นำเข้าสู่กระบวนการผลิต
6.จัดทำรายงานต้นทุนการผลิต โดยแยกตามแผนกผลิตแต่ละ
แผนกและแสดงให้
เห็นถึงต้นทุนผลิตรวมและต้นทุนการผลิตต่อหน่อย

6.วงจรการบันทึกบัญชีระบบ
บัญชีต้นทุนช่วงการผลิต

วงจรบัญชีต้นทุนช่วงการผลิต มี 4 ขั้นตอน ได้เเก่ การจัดหา
การผลิต การเก็บรักษา
1.1 การจัดหา เป็นขั้นตอนการจัดหาทรัพยากรต่าง ๆ หรือ
ปัจจัยนำเข้าเพื่อเข้าหระบวนการผลิต ปัจจัยดังกล่าว ได้เเก่
การจัดหาวัตถุดิบ วัสดุโรงงาน อุปกรณ์ เครื่องจักร เป็นต้น
1.2 การผลิต เป็นกระบวนการที่สำคัญที่สุด ทำการแปร
สภาพวัตถุดิบ ฃทางตรงให้เป็นสินค้าสำเร็จรูป มีการสะสม
ต้นทุนในการผลิต โดยบันทึกการเบิกวัตถุดิบทางตรง วัสดุสิ้น
เปลืองเข้าสู่กระบวนการผลิต บันทึกการทำงานของพนักงาน
และบันทึกค่าใช้จ่ายการผลิตที่ใช้ในการผลิต
1.3 การเก็บรักษา เป็นกระบวนการต่อเนื่องจากการผลิต
เมื่อสินค้าผลิตเสร็จเป็นสินค้าสำเร็จรูป โดยผ่านการตรวจ
สอบคุณภาพและตาวจนับจำนวนเเล้วจะถูกนำเก็บรักษาไว้ใน
คลังสินค้าเพื่อรอการขายต่อไป
1.4 การขาย เป็นกระบวนการสุดท้าย เมื่อมีการขายสินค้าให้
สินค้า สินค้านั้นจะถูกนำออกมาจากคลังสินค้าเพื่อมอบให้
ลูกค้า รวมถึงการจัดเก็บเงินจากการขายสินค้า

สรุป

ระบบบัญขีต้นทุนช่วงการผลิต เป็นวิธีการคำนวณตันทุน
สำหรับกิจการที่มีการผลิตสินค้าต่อเนื่องกันเป็นจำนวนมาก มี
กระบวนการผลิตสินค้าแยกเป็นแผนก ๆ ในแต่ละแผนกจะมี
กระบวนการผลิตที่เหมือน ๆ กัน

รูปแบบของกระบวนการผลิตตามระบบบัญชีต้นทุนช่วงการ
ผลิต โดยทั่วไปมีอยู่ 3 รูปแบบ คือ แบบเรียงลำดับ แบบขนาน และ
แบบเลือกแผนก
ระบบบัญชีตันทุนช่วงการผลิตจะรวบรวมต้นทุนตามแผนกผลิต
หรือศูนย์ต้นทุนที่มีหน้าที่ผลิตสินค้า ซึ่งกิจการได้จัดแบ่งแผนก
ผลิตตามลักษณะการทำงานของแผนกนั้น

วิธีการของระบบบัญชีต้นทุนช่วงการผลิต จะมีการรวบรวม
ข้อมูลการผลิตของแต่ละแผนกผลิต โดยการจัดทำรายงานตันทุน
การผลิตแยกเป็นแผนก 1 ต้นทุนการผลิต ประกอบด้วยวัตถุดิบ
ทางตรง ค่าแรงงานทางตรง และค่าใช้จ่ายการผลิต แต่ละแผนก
จะรวบรวมต้นทุนการผลิตออกมาเป็นงวด ๆ และนำตันทุนการ
ผลิตไปบันทึกรายการเข้าบัญชีงานระหว่างทำของแต่ละแผนก
แผนกผลิตจะรวบรวมหน่วยผลิตเสร็จจากแผนกและโอนออก ใน
กรณีที่กิจการผลิตมีหน่วยที่ยังผลิตไม่เสร็จ คือ งานระหว่างทำ
ต้องมีการปรับยอดให้เป็นหน่วยเทียบเท่าหน่วยที่ผลิตเสร็จจากนั้น
ทำการคำนวณต้นทุนต่อหน่วยของแต่ละแผนกในแต่ละงวด โอน
ต้นทุนของหน่วยที่ผลิตเสร็จของแผนกผลิตแรกจนถึงแผนกผลิต
สุดท้าย ซึ่งคำนวณมาจากต้นทุนของงาระหว่างทำต้นงวดกับ
ต้นทุนการผลิตต่างๆ

วงจรบัญชีต้นทุนช่วงการผลิต มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ การจัดหา
การผลิต การเก็บรักษาและการขาย

หน่วยการเรียนรู้ที่2
รายงานต้นทุนการ
ผลิต

1.ความหมายของรายงานต้นทุนการ
ผลิต

รายงานต้นุทนการผลิต คือ หารจัด
ทำรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลการ
ผลิตในแผนกผลิต ประกอบด้วย
ข้อมูลด้านปริมาณการผลิต และ
ข้อมูลต้นทุนการผลิตที่เกิดขึ้น
ประจำแผนกผลิตแต่ละแผนก ซึ่ง
ถือว่าเป็นบัญชีย่อยของบัญชีคุม
ยอดงานระหว่างทำรายแผนก โดย
ปกติจะจัดทำรายงานต้นทุนการ
ผลิตรายแผนกนิยมทำเดือนละครั้ง

2. ขั้นตอนการจัดทำรายงานต้นทุนการผลิต

การจัดทำรายงานต้นทุนการผลิต มี 5 ขั้นตอน
ดังนี้

1.รายงานจำนวนหน่วย เป็นขั้นแสดงจำนวนหน่วย
ผลิตหรือปริมาณการผลิต ประกอบด้วย จำนวน
หน่วยที่เริ่มผลิต จำนวนหน่วยที่ผลิตเสรในงวด
ปัจจุบัน และจำนวนหน่วยที่ผลิตไม่เสร็จ

2.คำนวณหน่วยเทียบสำเร็จรูป เป็นการคำนวณ
ผลผลิตที่ได้รับในรูปของหน้วยดทียงสำเร็จรูปซึ่ง
เปรียบเสมือนว่าสินค้าตั้นผลิตเสร็จเป็นสินค้า
สำเร็จรูป โดยการเเจกเเจงรายละเอียดของการ
ใช้ต้นทุนการผลิตตามจำนวนหน่วยที่จัดได้

3. คำนวณต้นุทนการผลิตรวม เป็นการรวบรวมต้นุทนการ
ผลิตที่เกิดขึ่นที้งหมดในแต่งะแผนกประจำงวดการผลิต
ประกอบด้วย ต้นทุนวัตถุดิบทางตรงต่าเเรงงานทางตรง
และค่าใช้จ่ายการผลิต รวมทั้งงานระหว่างทำต้นงวด และ
ต้นทุนที่โอนมาจากแผนกผลิตก่อน
4. คำนวณต้นทุนต่อหน่วยเทียบสำเร็จรูป มีวิธีการคำนวณ
โดยนำข้อมูลที่ได้จากขั้นที่3 หารด้วยหน่วยเทียบสำเร็จรูปที่
คำนวณได้จากขั้นที่ 2 ผลลัพธ์ที่ได้คือต้นทุนต่อหน่วยเทียบ
สำเร็จรูป
5.สรุปต้นทุนการผลิต เป็นการสรุปข้อมูลของผลการผลิต
ของแผนก ประกอบด้วย ต้นทุนที่ผลิตเสร็จเเละโอนออก
และต้นทุนงานระหว่างทำ เป็นการนำข้อมูลในข้้นที่ 4 คูณ
กับหน่วยเทียบของผลิตภัณฑ์ที่โอนออกและงานระหว่างทำ
ปลายงวด โดยต้นทุนรวมที่ได้ในขั้นที่ 5 จะต้องเท่ากับยอด
ต้นทุนรวมในขั้นที่ 3 วิธีการสรุปต้นทุนการผลิต

3. วิธีการทำรายงานต้นทุนการ
ผลิต

การจัดทำรายงานต้นทุนการผลิตที่นิยมใช้กันมี 2 วิธีคือ
1. วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก เป็นวิธีการคิดต้นทุนเพียง
ยอดเดียวโดยการรวมงานระหว่างทำต้นงวดกับต้นทุนที่
เกิดขึ้นเป็นการผลิตของงวดปัจจุบัน
2. วิธีเข้าก่อนออกก่อน เป็นวิธีที่ถือว่างานระหว่างทาง
ต้นงวดเป็นผลิตภัณฑ์ที่แยกต่างหากจากลิตภัณฑ์ที่ผลิต
และเสร็จในงวดปัจจุบัน ดังนั้นงานระหว่างทำต้นงวด
จะแยกออกเป็น 2 ส่วน คือ เป็นต้นทุนของงานระหว่าง
ทำต้นงวดยกมากับต้นทุนที่เพิ่มเข้าไปในงวดปัจจุบันเพื่อ
ให้งาน

4.การจัดทำรายงานต้นทุนการผลิตวิธี
ถั่วเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก

เป็นการจัดทำรายงานต้นทุนการผลิตวิธีถัวเฉลี่ย
ถ่วงน้ำหนักถือว่างานทุกหน่วยทั้งงานระหว่างทำ
ต้นงวดและหน่วยที่เริ่มผลิตจะมีต้นทุนการผลิต
ต่อหน่วยเท่ากัน กล่าวคือ การคำนวณต้นทุน
หน่วยที่ผลิตเสร็จและโอนออกและงานระหว่างทำ
ใบงวดจะรวมต้นทุนของงานระหว่างทำต้นงวด
และต้นทุนการผลิตงวดปัจจุบันในรูปของต้นทุน
ถัวเฉลี่ยต่อหน่วย

5. การจัดทำรายงานต้นทุนการผลิต
วิธีเข้าก่อนออกก่อน

การจัดทำรายงานต้นทุนการผลิตวิธีเข้าก่อนออกก่อน
ถือว่าต้นทุนของงานระหว่างทำต้นงวดเป็นต้นทุนของงวด
ก่อนดังนั้นสินค้าที่ผลิตเสร็จและโอนออกระหว่างงวดจะ
แบ่งออกเป็น 2 รุ่นคือ
1. สินค้าที่ผลิตเสร็จจากงานระหว่างทำต้นงวดถือเป็น
สินค้ารุ่นก่อน
2. สินค้าที่ผลิตแล้วผลิตเสร็จในงวดนี้ถือเป็นสินค้ารุ่น
ปัจจุบัน

6.ข้อเเตกต่างการทำรายงานต้นทุนการผลิต
วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักและวิธีเข้าก่อนออก
ก่อน

วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงหน้าหนัก วิธีเข้าก่อนออกก่อน

1.การหาปริมาณหน่วยที่ผลิตเสร็จและโอนออก - แยกหน่วยที่ผลิตเสร็จและโอนออกกเป็น 2 รุ่น
- ไม่แยกหน่วยที่ผลิตเสร็จและโอนออกว่ามาจาก คือ งานระหว่างทำต้นงวดและหน่วยที่เริ่มผลิต
งานระหว่างทำต้นงวดหรือหน่วยผลิตในปัจจุบัน งวดปัจจุบัน

2.การคำนวณหน่วยเทียบสำเร็จรูป - คิดตามจำนวนปัจจัยการผลิตที่เติมในงาน
- คิดตามหน่วยที่ผลิตเสร็จทั้งหมดในงวดปัจจุบัน ระหว่างทำต้นงวดเพื่อให้ครบ 100% แล้วจึงนำ
เป็นหน่วยที่ผ่านการผลิตในแผนกครบ 100% โดย ไปรวมกับหน่วยเทียบเท่าของกน่วยผลิตเสร็จใน
ไม่คำนึงว่ามีขั้นความสำเร็จจากงวดก่อนที่อยู่ใน งวดปัจจุบัน
งานระหว่างงวดทำต้นงวดเท่าใด

3. การรวบรวมต้นทุน - แยกต้นทุนออกเป็น 2 ส่วน คือ ต้นทุนงาน
- นำผลรวมของต้นุทนงานระหว่างทำต้นงวด ระหว่างทำต้นงวดและต้นทุนงวดปัจจุบัน การ
ประกอบด้วย วัตถุดิบทางตรง ค่าแรงงานทางตรง คำนวณต้นทุนต่อหน่วยเทียบเท่าคิดเฉพาะ
และค่าใช้จ่ายการผลิต มารวมกับต้นทุนของหน่วย ต้นทุนงวดปัจจุบันเท่านั่น
ปัจจุบันการคำนวณต้นทุนเฉลี่ยต่อเพียงยอดเดียว

4. การคำนวณต้นทุนหน่วยที่ผลิตเสร็จและโอน - ต้นทุนของหน่วยที่ปลอตเสร็จและโอนออก
ออก คำนวณมาจากการผลิต 2 รุ่น คือ งานระหว่าง
- ต้นทุนของหน่วยที่ผลิตเสร็จเท่ากับปริมาณหน่วย ทำต้นงวดและต้นทุนงวดปัจจุบัน
ที่ผลิตเสร็จและโอนออก คูณด้วยต้นทุนถัวเฉลี่ยต่อ
หน่วยเทียบสำเร็จรูป

สรุป

รายงานต้นทุนการผลิต คือ การจัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับ
ข้อมูลการผลิตในแผนกประกอบด้วย ข้อมูลด้านปริมาณการ
ผลิตและข้อมูลตันทุนการผลิตที่เกิดขึ้นประจำแผนกผลิตแต่ละ
แผนก ซึ่งถือว่าเป็นบัญชีย่อยของบัญชีคุมยอดงานระหว่างทำ
รายแผนก โดยปกติจะจัดทำรายงานต้นทุนการผลิตรายแผนก
นิยมทำเดือนละครั้ง

การจัดทำรายงานต้นทุนการผลิต มี 5 ขั้นตอน คือ 1) รายงาน
จำนวนหน่วย 2) คำนวณหน่วยเทียบสำเร็จรูป 3) คำนวณต้นทุน
การผลิตรวม 4) คำนวณต้นทุนต่อหน่วยเทียบสำเร็จรูป5) สรุป
ต้นทุนการผลิต

วิธีการทำรายงานต้นทุนการผลิต ที่นิยมใช้กันมี 2 วิธี คือ วิธี
ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักและวิธีเข้าก่อนออกก่อน

การทำรายงานต้นทุนการผลิตวิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก ถือว่า
งานทุกหน่วย ทั้งงานระหว่างทำต้นทุนงวดและหน่วยที่เริ่มผลิต
จะมีต้นทุนการผลิตต่อหน่วยเท่ากัน คือ การคำนวณต้นทุนหน่วย
ที่ผลิตเสร็จและโอนออลและงานระหว่างทำปลายงวด จะรวม
ต้นทุนของงานระหว่างทำต้นงวดและต้นทุนการผลิตงวดปัจจุบัน
ในรูปต้นทุนถัวเฉลี่ยต่อหน่วย

การทำรายงานต้นทุนการผลิตวิธีเข้าก่อนออกก่อน ถือว่า
ต้นทุนของงานระหว่างทำต้นงวดเป็นต้นทุนของงวดก่อน ดังนั้น
สินค้าที่ผลิตเสร็จและโอนออกระหว่างงวด จะแบ่งออก
คือ สินค้าที่ผลิตเสร็จจากงานระหว่างทำต้นงวด ถือเป็นสินค้ารุ่น
ก่อน สินค้าที่เริ่มผลิตและผลิตเสร็จในงวดนี้ ถือเป็นสินค้ารุ่น
ปัจจุบัน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
รายงานต้นทุนการผลิตกรณี
หน่วยเสียและหน่วยเพิ่ม

@reallygreatsite

1.ความหมายของประเภท
และหน่วยเสีย

หน่วยเสีย หมายถึง สินค้าที่ผลิตไม่ได้รูปแบบ ไม่ได้คุณภาพ
มาตรฐาน มีผลมาจากกรรมวิธีการผลิตการวางแผนการผลิต
บกพร่องเครื่องจักรไม่มีประสิทธิภาพรวมถึงคนงานไม่มีความ
เชี่ยวชาญ

หน่วยเสียในกิจการอุตสาหกรรมแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1.หน่วยเสียปกติหมายถึงหน่วยเสียที่เกิดขึ้นภายใต้การดำเนินงาน
ที่มีประสิทธิภาพแต่กิจการไม่สามารถควบคุมหรือหลีกเลี่ยงการ
สูญหายหรือเสียหายในระยะเวลาสั้นๆกิจการยอมรับให้เกิดหน่วย
เสียปกติจากการผลิตในระดับหนึ่ง
2.หน่วยเสียเกินปกติ หมายถึง หน่วยเสียที่ไม่ควรเกิดขึ้น เนื่องจาก
ฝ่ายบริหารมีการวางแผนและควบคุมการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ
แล้ว เเต่เกิดหน่วยเสียเกินกว่าระดับของหน่วยเสียปกติที่ตั้งเกณฑ์
ไว้

2.หลักการแบ่งสารปันส่วน
ต้นทุนของหน่วยเสีย

โดยปกติกิจการจะตรวจสอบคุณภาพของสินค้าเมื่อผลิตเสร็จและ
จะคัดหน่วยเสียออก แต่มีบางกิจการอาจตรวจคุณภาพสินค้าก่อนที่
จะผลิตเสร็จ ดังนั้น การวางแผนเกณฑ์ในการคิดต้นทุนของหน่วยเสีย
สามารถแบ่งสารปันส่วนหน่วยเสียให้หน่วยดี ซึ่งกำหนดเงื่อนไขได้
2 ประการ ดังนี้

เงื่อนไขที่ 1 ช่วงเวลาที่พบหน่วยเสียในแผนกผลิต
การตรวจสอบพบหน่วยเสียงมี 3 กรณี คือ
1. พบหน่วยเสียเมื่อเรื่องกระบวนการผลิต
2. พบหน่วยเสียเมื่ออยู่ระหว่างกระบวนการผลิต
3. พบหน่วยเสียงเมื่อสิ้นสุดกระบวนการผลิต
เงื่อนไขที่ 2 การใส่วัตถุดิบในกระบวนการผลิต จำแนกเป็น 2
ลักษณะ คือ
1. ใส่วัตถุดิบตอนต้นกระบวนการผลิตครบถ้วน
2. ใส่วัตถุดิบ ค่าแรงงานและค่าใช้จ่ายการผลิตอย่างสม่ำเสมอตลอด
ช่วงการผลิต

3.การคำนวณจำนวนหน่วยเสีย
ที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต

หน่วยเสียปกติเป็นหน่วยเสียที่กิจการยอมรับให้เกิดขึ้นใน
กระบวนการผลิต โดยกำหนดให้ชัดเจนว่าควรมีหน่วยเสียปกติ
เป็นจำนวนเท่าไหร่ ซึ่งอาจพิจารณาจากข้อมูลการเกิดหน่วย
เสียที่ผ่านมาในอดีตมาเป็นแนวทางในการกำหนดจำนวน
หน่วยเสียปกติ สามารถแบ่งได้ 2 ลักษณะดังนี้
1. เป็นอัตราร้อยละหน่วยดีที่ผลิตเสร็จ
2. เป็นอัตราร้อยละของหน่วยนำเข้าปกติ

4.จุดตรวจสอบหน่วยเสีย

ฝ่ายบริหารให้ความสำคัญในการวางแผนการผลิต
ทำอย่างไรจะเกิดการประหยัดและมีประสิทธิภาพมาก
ที่สุดและให้ความสัมพันธ์กับการตรวจสอบหน่วยเสียที่
เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต เนื่องจากหน่วยเสียสามารถ
เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาไม่ว่าจะเกิดขึ้นในตอนเริ่มการผลิต
ระหว่างผลิตหรือตอนสิ้นสุดของกระบวนการผลิต ถ้า
ตรวจสอบจะมีโอกาสพบหน่วยเสียและดึงออกจาก
กระบวนการผลิตได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียต้นทุนในการผลิต
สินค้านั้น ๆ อีก ยิ่งตรวจสอบบ่อยครั้งก็จะประหยัดต้นทุน
การผลิตมากยิ่งขึ้น

5.การจัดทำรายงานต้นทุนการผลิต
กรณีที่มีหน่วยเสีย

การจัดทำรายงานต้นทุนการผลิตกรณีที่มีหน่วยเสียเกิด
ขึ้นในกระบวนการผลิตและกิจการมีงานระหว่างทางต้น
งวดโดยมีวิธีการจัดทำรายงานต้นทุนการผลิต 2 วิธีคือวิธี
ถั่วเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักและวิธีเข้าก่อนออกก่อนจะมีผลต่อ
การคำนวณต้นทุนของหน่วยเสียง

6.การจัดทำรายงานต้นทุนการ
ผลิตกรณีสินค้ามีตำหนิ

สินค้ามีตำหนิหมายถึงสินค้าที่ผลิตไม่ได้รูปแบบหรือคุณภาพ
ตามมาตรฐานที่กำหนดแต่เมื่อนำไปแก้ไขส่วนบกพร่องก็
สามารถนำไปขายได้ใหม่ในสภาพของสินค้าคุณภาพดีหรือ
คุณภาพรองลงมา
ในกระบวนการผลิตที่มีสินค้าเสียหายเกิดขึ้นจะแบ่งเป็น 3
ลักษณะคือ
1. ถ้าสินค้านั่นเสียหายเล็กน้อยและสามารถซ่อมแก้ไขได้เรียกว่า
สินค้ามีตำหนิ
2. สินค้านั้นเสียหายหรือชำรุดมากและไม่สามารถแก้ไขให้เป็น
สินค้าดีมาตรฐานได้ต้องทิ้งหรือขายในราคาต่ำเรียกว่าของเสีย
3.ถ้าสินค้านั้นเสียมากซ่อมแซมไม่ได้อาจขายได้ในราคาต่ำหรือ
ขายไม่ได้เลยเรียกว่าเศษวัสดุการจัดทำรายงานต้นทุนการผลิต
กรณีสินค้ามีตำหนิ

7.การจัดทำรายงานต้นทุนการผลิตกรณี

หน่วยเพิ่ม

หน่วยเพิ่ม หมายถึง การเพิ่มจำนวนวัตถุดิบเข้าไปในกระบวนการ
ผลิตของการผลิตสินค้าบางชนิดซึ่งเป็นไปตามกรรมธีการผลิตของ
สินค้าชนิดนั้น ๆ การเติมวัตถุดิบเข้าไปในกระบวนการผลิตมีผล
ทำให้จำนวนหน่วยที่ต้องผลิตเพิ่มขึ้น ซึ่งผลจากการเพิ่มวัตถุติบอา
จมีทำให้
1.ไม่มีหน่วยผลิตเพิ่มแต่มีผลทำให้ต้นทุนต่อหน่วยสูงขึ้น เช่น
โรงงานประกอบรถยนต์ การใส่ชิ้นส่วน ตัวถัง เบาะ ยางรถยนต์
เป็นต้น ไม่ได้เพิ่มจำนวนรถยนต์แต่เป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิต
2.มีหน่วยผลิตเพิ่มขึ้นแต่ตันทุนการผลิตไม่เพิ่มขึ้น เช่น การเติมน้ำ
ในกระบวนการผลิตเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิตน้อยมากแต่ต้นทุน
ต่อหน่วยต่ำลง เช่น น้ำผลไม้เข้มข้น 35%
3.มีหน่วยผลิตเพิ่มขึ้นและทำให้ต้นทุนต่อหน่วยเปลี่ยนแปลงไป เช่น
การเติมน้ำตาลในน้ำอัดลมทำให้มีหน่วยผลิตเพิ่มขึ้นในแผนกที่ 2
หรือแผนกถัดไป และทำให้ต้นทุนต่อหน่วยสูงกว่าแผนกแรกด้วย

สรุป

หน่วยเสีย หมายถึง สินค้าที่ผลิตไม่ได้รูปแบบ ไม่ได้คุณภาพ
มาตรฐาน มีผลมาจากกรรมวิธีการผลิต การวางแผนการผลิต
บกพร่อง เครื่องจักรไม่มีประสิทธิภาพ รวมถึงคนงานไม่มีความเชี่ยว
ซาญ หน่วยเสียไม่สามารถแก้ไขเป็นหน่วยดีได้ แต่สามารถขายได้ตาม
สภาพของสินค้าที่เสียนั้น

หน่วยเสียในกิจการอุตสาหกรรม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
หน่วยเสียปกติและหน่วยเสียเกินปกติ

การคิดต้นทุนของหน่วยเสีย สามารถแบ่งสันปั่ นส่วนหน่วยเสียให้
หน่วยดี ซึ่ง กำหนดเงื่อนไขได้
2 ประการ ได้แก่ เงื่อนไขที่ 1 ช่วงเวลาที่พบหน่วยเสียในแผนกผลิต
การตรวจพบหน่วยเสีย
มี3กรณีคือ 1/พบหน่วยเสียเมื่อเริ่มกระบวนการผลิต 2)พบหน่วยเสีย
เมื่ออยู่ระหว่างกระบวนการผลิต
3) พบหน่วยเสียเมื่อสิ้นสุดกระบวนการผลิต เงื่อนไขที่ 2 การใส่
วัตถุดิบในกระบวนการผลิต
จำแนกเป็น 2 ลักษณะ คือ 1) ใส่ตอนต้นกระบวนการผลิตครบถ้วน 2)
ใส่วัตถุดิบ ค่าแรงและค่าใช้จ่ายการผลิตอย่างสม่ำเสมอตลอดช่วงการ
ผลิต

การคำนวณหน่วยเสียปกติ สามารถทำได้ 2 ลักษณะ คือ 1)
คำนวณหน่วยเสียปกติจากหน่วยดีที่ผลิตเสร็จ 2) คำนวณหน่วยเสีย
ปกติจากหน่วยนำเข้าปกติ

การคำนวณต้นทุนของหน่วยเสีย กำหนดเงื่อนไขการพิจารณาเป็น
2 กรณี คือ 1) ไม่รับรู้หน่วยเสีย 2) รับรู้หน่วยเสีย

หน่วยเพิ่ม หมายถึง การเพิ่มจำนวนวัตถุดิบเข้าไปในกระบวนการ
ผลิตของการผลิตสินค้าบางชนิด ซึ่งเป็นไปตามกรรมวิธีการผลิตของ
สินค้าชนิดนั้น ๆ การเติมวัตถุดิบเข้าไปในกระบวนการผลิต
มีผลทำให้จำนวนหน่วยที่ต้องผลิตเพิ่มขึ้น ซึ่งผลจากการเพิ่มวัตถุดิบ
อาจมีผลทำให้ 1) ไม่มีหน่วยผลิตเพิ่มแต่มีผลทำให้ต้นทุนต่อหน่วยสูง
ขึ้น 2) มีหน่วยผสิตเพิ่มขึ้นแต่ต้นทุนการผลิตไม่เพิ่มขึ้น 3) มีหน่วย
ผลิตเพิ่มขึ้นและทำให้ต้นทุนต่อหน่วยเปลี่ยนแปลงไป