เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ รัชกาลใด

เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ รัชกาลใด

ประกาศ
ให้ใช้วันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่

เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ รัชกาลใด
เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ รัชกาลใด
เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ รัชกาลใด
เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ รัชกาลใด
เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ รัชกาลใด
เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ รัชกาลใด
เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ รัชกาลใด
เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ รัชกาลใด
เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ รัชกาลใด
เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ รัชกาลใด
เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ รัชกาลใด

ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
คณะผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์
(ตามประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร
ลงวันที่ ๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๐)

  • อาทิตย์ทิพอาภา
  • พล.อ. พิชเยนทรโยธิน

โดยที่จารีตประเพณีของไทยแต่โบราณมา ได้ถือวันแรม ๑ ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ เป็นการสอดคล้องต้องกับคติแห่งพระพุทธศาสนา ซึ่งถือฤดูเหมันต์เป็นการเริ่มต้นปี ต่อมา จารีตอันนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปตามคติพราหมณ์ ซึ่งใช้วันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า เป็นวันขึ้นปีใหม่ ครั้นภายหลังเมื่อทางราชการนิยมใช้สุริยคติ จึ่งได้ถือวันที่ ๑ เมษายน เป็นวันขึ้นต้นปีมาตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๓๒

แต่ในนานาอารยประเทศทั้งปวง ตลอดถึงประเทศใหญ่ ๆ ทางปลายบุรพทิศนี้ ได้นิยมใช้วันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นต้นปี การนิยมใช้วันที่ ๑ มกราคมนี้ มิได้เกี่ยวข้องกับลัทธิศาสนา จารีตประเพณี หรือการเมืองของชาติใดประเทศใด แต่เป็นการคำนวณโดยวิทยาการทางดาราศาสตร์ และนิยมใช้กันมาเป็นเวลากว่าสองพันปี เมื่อประเทศไทยได้นิยมถือสุริยคติตามอย่างนานาประเทศแล้ว ก็เป็นการสมควรอย่างยิ่งที่จะใช้วันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นต้นปีเหมือนอย่างประเทศทั้งหลาย เพราะวันที่ ๑ มกราคม ก็ใกล้เคียงกับวันแรม ๑ ค่ำ ของไทย และเป็นการใช้ฤดูหนาวเริ่มต้นปี การใช้วันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ จะเป็นการสอดคล้องต้องตามจารีตประเพณีโบราณของไทย ต้องตามคติแห่งพระบวรพุทธศาสนา และได้ระดับกับนานาอารยประเทศทั้งมวล

อนึ่ง ได้มีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติปีประดิทิน พุทธศักราช ๒๔๘๓ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาตั้งแต่วันที่ ๑๗ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๘๓ และพระราชบัญญัตินั้นก็เป็นอันใช้ได้ตั้งแต่วันที่ ๑๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๘๓ เป็นอันว่าทางรัฐนั้นได้ใช้วันที่ ๑ มกราคม เป็นวันเริ่มปีใหม่แล้ว

จึ่งมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ คณะสงฆ์ และอาณาประชาราษฎร์ทั้งมวล นิยมถือวันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ ให้ถือเป็นจารีตประเพณีของชาติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป และขอให้ปีใหม่อันเริ่มขึ้นในวันที่ ๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๘๔ นี้ จงเป็นเวลารุ่งอรุณแห่งชีวิต ให้ชาติไทยได้รับความเจริญและก้าวหน้าขึ้นสู่ความรุ่งโรจน์ใหญ่หลวง ให้อาณาประชาราษฎร์ทั้งปวงได้รับความร่มเย็นเป็นสุขทั่วกันเทอญ

ประกาศมา ณ วันที่ ๒๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๘๓ เป็นปีที่ ๗ ในรัชชกาลปัจจุบัน

  • ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
  • พิบูลสงคราม
  • นายกรัฐมนตรี

บรรณานุกรม[แก้ไข]

  • "ประกาศให้ใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2483". (2484, 1 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 58, ตอน 0 ก. หน้า 31–33.

รัชกาลใด เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ไทย จากเดิม 1 เมษายน ของทุกปี เป็น 1 มกราคม

พ.ศ. 2432 วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตรงกับวันที่ 1 เมษายน พอดี รัชกาลที่ 5 จึงโปรดให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวัน 1 เมษายน พ.ศ. 2477 ประกาศให้มีงานรื่นเริงขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน เพื่อฟื้นฟูประเพณีวันขึ้นปีใหม่ที่ซบเซา พ.ศ. 2484 มีมติให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายน มาเป็นวันที่ 1 มกราคม

รัชกาลใดเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็น 1 มกราคม

2. พระบรมราชโองการ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ประกาศ ให้เลิกใช้รัตนโกสินทรศก และให้ใช้พุทธศักราชแทน 3. ประกาศพระบรมราชโองการเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2483 ประกาศให้ใช้วันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่

วันปีใหม่เกิดขึ้นรัชกาลใด

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) นิยมใช้วันขึ้นปีใหม่ในช่วงวันสงกรานต์ ดังนั้นจึงมีชาวไทยส่วนหนึ่งที่ยังยึดถือวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ไทยอยู่

ผู้ที่เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ของไทยเป็นวันที่ 1 มกราคม ตามแบบสากล คือใคร *

สำหรับการพิจารณาเปลี่ยน "วันขึ้นปีใหม่" ในครั้งนั้น เกิดขึ้นโดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาเรื่องนี้ขึ้นมา ซึ่งมี "หลวงวิจิตรวาทการ" เป็นประธานกรรมการ หลังจากหารือกันแล้วเสร็จ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากเดิม 1 เมษายน ให้เป็นวันที่ 1 มกราคมแทน โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็นวัน ...