เปลี่ยนชื่อ เจ้าบ้าน จาก สามี เป็น ภรรยา

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์

เปลี่ยนชื่อ เจ้าบ้าน จาก สามี เป็น ภรรยา

ทะเบียนบ้านเป็นหลักฐานสำคัญแสดงถึงถิ่นที่อยู่ของเรา และจะถูกเก็บบันทึกเข้าสารบบราชการเอาไว้ โดยให้เราถือเอกสารเป็นสำเนาอีกเล่มหนึ่งไว้อ้างอิงกัน ในการทำบัตรประชาชนก็จะระบุที่อยู่อาศัยตามที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านนั้น และเป็นหลักฐานสำคัญแสดงภูมิลำเนา

  ปกติเจ้าบ้านจะเป็นคนเก็บรักษาสมุดเล่มนี้ไว้ หรือจะให้ใครเก็บก็ตามใจ แต่เจ้าบ้านมีหน้าที่ดูแลด้านทะเบียนให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด

 ไม่ว่าจะเป็นการเกิด การตาย ใครเข้ามาอยู่อาศัยและใครย้ายออกไปแล้ว รวมทั้งจำนวนคนที่อยู่อาศัยในบ้านจะต้องไม่มากจนกระทบต่อระบบสาธารณสุขด้วย 

 คนที่อยู่อาศัยในบ้านหลังนั้นก็ต้องมั่นใจว่า เมื่อได้ย้ายออกไปชื่อในทะเบียนบ้านก็ได้ย้ายตามไปด้วย เพราะบางทีตัวไป แต่ชื่อยังไม่ยอมย้าย ก็อาจเสียหายแก่ตัวเองได้ 

 หากมีการส่งจดหมายมาให้ตามทะเบียนบ้านเมื่อไหร่ เจ้าตัวไม่ได้ ก็ถูกข้อสันนิษฐานของกฎหมายถือว่าได้ส่งหนังสือให้โดยชอบแล้ว ถ้าเป็นเรื่องสำคัญก็เดือดร้อนได้ ต้องอาศัยเจ้าบ้านคอยอัพเดทให้ว่ามีไปรษณีย์สำคัญมาถึงหรือไม่ 

 อาจดูเป็นเรื่องหยุมหยิมเกินไปสำหรับหลายคน แต่สำหรับอีกหลายคนก็เป็นเรื่องที่ต้องสนใจ เพราะอาจกลายเป็นคนไม่มีหลักแหล่งได้ เพราะไม่ใส่ใจรายการทะเบียน

 ส่วนใหญ่ครอบครัวไทยมักให้สามีเป็นเจ้าบ้าน ส่วนภรรยาเป็นผู้อาศัย หากมีเหตุต้องแยกทางกันไป เจ้าบ้านไม่ไปแจ้งการย้ายออกให้ ก็จะเสียหายแก่ตัว

 แบบนี้สามารถจะแจ้งย้ายเองได้ โดยไปยังเขตที่ตัวเองอยู่ในปัจจุบันแล้วไปทำเรื่องย้ายออกจากที่เก่าเข้ามาอยู่ในที่ใหม่ โดยให้เจ้าบ้านใหม่เขารับรองว่ามาอยู่จริง เป็นการแจ้งย้ายปลายทางโดยไม่ผ่านเจ้าบ้านเดิม  ทะเบียนของเราก็จะเข้ามาที่ใหม่

 ในทางกลับกัน หากภรรยาไม่อยากย้ายชื่อออกไป และไม่ยอมบอกว่าย้ายไปไหน สามีที่เป็นเจ้าบ้านก็ไม่รู้จะแจ้งย้ายออกไปอยู่ที่ใด กฎหมายทำทางออกให้โดยต้องรอให้พ้น 180 วันนับแต่หล่อนย้ายออกไปค่อยไปทำเรื่องย้ายออกได้ โดยให้ไปแขวนไว้ที่ทะเบียนกลาง เจ้าบ้านต้องแจ้งย้ายคนออกไปหลังจากที่เขาไม่อยู่ภายใน 15 วัน ไม่เช่นนั้น มีความผิดตามกฎหมาย ถูกปรับในอัตราไม่เกิน 1,000 บาท

 ดูแล้วเจ้าบ้านมีอำนาจและหน้าที่ดูดีอยู่ แต่หากว่าเจ้าบ้านย้ายออกไปเสียเองและไม่สนใจที่จะแจ้งว่าไปไหน ไม่ยอมทำเรื่องย้ายออกทางทะเบียนโดยปล่อยทิ้งชื่อไว้ให้เป็นใหญ่ในฐานะเจ้าบ้านต่อไป ผู้อาศัยก็สามารถจัดการกับเจ้าบ้านคนนี้ได้

 ในฐานะเป็นผู้อาศัย ก็ไปทำเรื่องต่อสำนักงานเขตหรืออำเภอว่าเจ้าบ้านเขาไม่อยู่แล้ว และไม่รู้ว่าเขาอยู่ไหน แต่ต้องรอให้พ้น 180 วันนับแต่เขาย้ายออกไปเสียก่อน เจ้าหน้าที่ทะเบียนเขาก็จะดำเนินการเปลี่ยนคนร้องนี้เป็นเจ้าบ้านและปลดเจ้าบ้านเดิมลงไปเป็นผู้อาศัย จากนั้นเจ้าบ้านคนใหม่ก็ดำเนินการย้ายคนเก่าออกไปอยู่ทะเบียนกลาง

 

บรรดาสามีหรือภรรยาทั้งหลายที่ยังรักกันเป็นอันดี ก่อนที่จะขอเลขบ้านก็ควรใช้วิจารณญาณตกลงกันไปด้วยว่า ใครจะเป็นเจ้าบ้านในทะเบียนบ้านนี้ เวลาเข้ามาอยู่ด้วยกันมันไม่เท่าไหร่ แต่ตอนที่เลิกราจากกันไป กว่าจะเจรจาตกลงว่าใครเป็นฝ่ายย้าย ก็ควรทำทะเบียนให้เป็นไปตรงกัน

  ทะเบียนบ้านจึงมีความสำคัญด้วยประการฉะนี้

"ศรัณยา ไชยสุต"

อยากเปลี่ยนชื่อเจ้าบ้านในทะเบียนบ้านค่ะ ต้องทำอย่างไร?

สืบเนื่องจากกระทู้นี้เลยค่ะ
http://pantip.com/topic/34798030

หลังจากที่กลับไปคุยกับพี่สาวแล้ว
สรุปว่าเขาไม่ยอมออกจากบ้านค่ะ แล้วก็ไม่ยอมขอโทษแม่ด้วย

แม่ก็เลยคิดว่า ถ้าเปลี่ยนชื่อเจ้าบ้านเป็นชื่อเราค่ะ ต้องทำอย่างไรบ้าง?

ในทะเบียนจะมีชื่อแม่เป็นเจ้าบ้านค่ะ
แล้วก็มีพี่สาว มีเรา แล้วก็มีหลานชายแค่นี้

เพราะถ้าไม่ทำอะไร เผื่อว่าแม่เป็นอะไร พี่สาวเราก็จะได้เป็นเจ้าบ้านแน่นอนใช่ไหม?
เราอยากรักษาบ้านที่พ่อกับแม่ร่วมกันสร้างไว้น่ะค่ะ
ซึ่งถ้าพี่สาวเราได้เป็นเจ้าบ้านล่ะก็ เขาไม่เอาไว้แน่นอน

สรุปคำถามนะคะ
1. ถ้าจะเปลี่ยนเจ้าบ้านจากแม่ เป็นชื่อเราต้องทำยังไง?
2. ถ้าสมมติว่ายังไม่ได้เปลี่ยนชื่อเจ้าบ้าน แล้วแม่เราเป็นอะไรไป พี่สาวเราจะได้เป็นเจ้าบ้านโดยอัตโนมัติใช่ไหม?
3. การที่จะใช้แม่เปลี่ยนชื่อเจ้าบ้าน เป็นชื่อเรา ต้องได้รับความยินยอมจากพี่สาวเราด้วยหรือเปล่า?

ปล. สำหรับชื่อในโฉนดที่ดิน เป็นชื่อยายค่ะ และยายก็เสียนานมากแล้ว ถามแม่เขาก็บอกไม่ได้ไปดำเนินเรื่องเปลี่ยนชื่อ เพราะต้องการเก็บไว้ให้พี่น้องแบ่งกัน (ไม่รู้ว่าจะเกี่ยวกับการเปลี่ยนชื่อเจ้าบ้านหรือเปล่านะคะ)

รบกวนช่วยหน่อยนะคะ

อยากทราบว่าการเปลี่ยนชื่อเจ้าบ้านต้องทำอย่างไร กรณีบ้านมีชื่อเจ้าบ้านคนเดียว อีกคนที่จะเป็นเจ้าบ้านคนใหม่เป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล ส่วนเจ้าบ้านเดิมเป็นภรรยาไม่จดทะเบียนของผู้ตายซึ่งเป็นเจ้าบ้านจริง ค้องเตรียมเอกสารอย่างไร และนำใครไปบ้างคะ

ได้สอบถามไปงานทะเบียนราษฎรแล้ว ได้รับคำตอบดังนี้ครับ
1. ถ้าเจ้าบ้านคนใหม่ (ผู้จัดการมรดก) ต้องการเป็นเจ้าบ้านเองต้องย้ายเข้าทะเบียนบ้าน แล้วเปลี่ยนตนเองเป็นเจ้าบ้าน เจ้าบ้านคนเดิมเปลี่ยนเป็นผู้อาศัย

2.กรณีไม่เปลี่ยนเจ้าบ้านก็ไม่ต้องทำอะไรเพระาเจ้าบ้านเป็นเพียงคนดูแลบ้าน ไม่เกี่ยวข้องกับกรรมสิทธิ์ในบ้าน
หลักฐาน
- บัตรประชาชนเจ้าบ้านเดิม
- บัตรประชาชนเจ้าบ้านใหม่
- หนังสือคำสั่งศาลการเป็นผู้จัดการมรดก
- ทะเบียนบ้านตัวจริง
- คนที่เป็นเจ้าบ้านมาติดต่อดำเนินการเอง

งานทะเบียนราษฎร โทร. 0 3851 1027 ต่อ 115

สมาชิกที่ถูกใจโพสต์นี้: nuan

admin เขียน:

ได้สอบถามไปงานทะเบียนราษฎรแล้ว ได้รับคำตอบดังนี้ครับ
1. ถ้าเจ้าบ้านคนใหม่ (ผู้จัดการมรดก) ต้องการเป็นเจ้าบ้านเองต้องย้ายเข้าทะเบียนบ้าน แล้วเปลี่ยนตนเองเป็นเจ้าบ้าน เจ้าบ้านคนเดิมเปลี่ยนเป็นผู้อาศัย

2.กรณีไม่เปลี่ยนเจ้าบ้านก็ไม่ต้องทำอะไรเพระาเจ้าบ้านเป็นเพียงคนดูแลบ้าน ไม่เกี่ยวข้องกับกรรมสิทธิ์ในบ้าน
หลักฐาน
- บัตรประชาชนเจ้าบ้านเดิม
- บัตรประชาชนเจ้าบ้านใหม่
- หนังสือคำสั่งศาลการเป็นผู้จัดการมรดก
- ทะเบียนบ้านตัวจริง
- คนที่เป็นเจ้าบ้านมาติดต่อดำเนินการเอง

งานทะเบียนราษฎร โทร. 0 3851 1027 ต่อ 115