หลังผ่าฟันคุด เคี้ยวได้ไหม

คำแนะนำวิธีดูแลและปฏิบัติตัวหลังผ่าฟันคุด ตั้งแต่กัดผ้าก๊อซ กินยา แปรงฟัน พูด และรับประทานอาหาร

เผยแพร่ครั้งแรก 20 ก.พ. 2020 อัปเดตล่าสุด 13 ม.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที

การผ่าฟันคุด เป็นกระบวนการผ่าตัดที่จะทำให้เกิดแผลผ่าตัดบริเวณเหงือกใกล้กับขากรรไกร ซึ่งเป็นบริเวณที่มักมีฟันคุดขึ้นเป็นส่วนมาก และเป็นบริเวณที่มักมีเศษอาหาร และแปรงสีฟันแปรงเข้าไปไม่ถึงถ้วนถี่ จนเกิดความสกปรกได้

ดังนั้นเพื่อให้แผลผ่าฟันคุดสะอาด ไม่สกปรก ไม่เสี่ยงเกิดอาการแทรกซ้อน หรือติดเชื้อได้ เราทุกคนจึงควรรู้วิธีดูแลตนเองหลังจากผ่าฟันคุดว่า ต้องทำอย่างไร รวมไปถึงวิธีรับประทานอาหารที่ไม่กระทบกระเทือนถึงแผล

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ

ถอนหรือผ่าฟันคุดวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 432 บาท ลดสูงสุด 2640 บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

กด

หลังผ่าฟันคุด เคี้ยวได้ไหม

ความหมายของการผ่าฟันคุด

ฟันคุด (Wisdom teeth) คือ ฟันที่ไม่สามารถขึ้นสู่ช่องปากในลักษณะตั้งตรงปกติได้ จนก่อให้เกิดปัญหาเหงือกอักเสบ ฟันผุ ปวดบวม และเป็นหนอง จึงจำเป็นต้องผ่า หรือถอนออก เพื่อไม่ให้ฟันไปสร้างปัญหาต่อฟันซี่ข้างเคียงได้

โดยการผ่าฟันคุด จะเป็นกระบวนการผ่าตัดที่แพทย์จะเปิดเหงือกออกเพื่อกรอตัดกระดูกครอบฟัน หรืออาจต้องตัดฟันคุดออกไปหลายส่วนแล้วค่อยๆ ถอนออกทีละชิ้น หลังจากนั้นแพทย์จะเย็บปิดแผล ให้นัดมาตัดไหมอีกครั้งหลังจากผ่าตัด 7 วันในกรณีใช้ไหมไม่ละลาย

สิ่งสำคัญที่ต้องทำหลังผ่าฟันคุด

หลังจากตรวจสุขภาพฟัน พูดคุยกับนัดหมายผ่าฟันคุดกับทันตแพทย์ และเข้ารับการผ่าฟันคุดเรียบร้อยหมดแล้ว สิ่งสำคัญที่คุณ "ต้องทำ" หลังจากผ่าตัดฟันคุดเสร็จแล้ว มีดังต่อไปนี้

1. กัดผ้าก๊อซ 

เมื่อเย็บแผลเสร็จแล้ว ทันตแพทย์จะให้คนเข้าผ่าตัดกัดผ้าก๊อซให้แน่นบริเวณแผล (ไม่ใช่อมผ้าก๊อซ) เป็นเวลา 1 ชั่วโมง หรือตามที่ทันตแพทย์สั่ง เพื่อห้ามเลือดที่ไหลซึมออกมาจากแผล

โดยในระหว่างที่กัด หากมีเลือด หรือน้ำลายซึม ให้กลืนเลือด หรือน้ำลายนั้นได้เลย อย่าพยายามบ้วนน้ำ อย่าพยายามถอดๆ ใส่ๆ ผ้าก๊อซ เพราะนอกจากจะทำให้เลือดไม่หยุดแล้ว ยังอาจทำให้แผลสกปรกติดเชื้อจากมือที่ไม่สะอาดได้อีกด้วย

และหลังจากกัดผ้าก๊อซชิ้นแรกครบ 1 ชั่วโมงแล้ว ให้คายผ้าก๊อซออก โดยปกติทันตแพทย์จะให้ผ้าก๊อซสำรองมาด้วย 1-2 แผ่นในกรณีที่เลือดยังไม่หยุดไหล ก็ให้กัดผ้าก๊อซแผ่นใหม่ต่อได้ แต่หากเลือดยังไม่หยุดไหลภายใน 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด ก็ควรกลับไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจดูแผล

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ

ถอนหรือผ่าฟันคุดวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 432 บาท ลดสูงสุด 2640 บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

กด

หลังผ่าฟันคุด เคี้ยวได้ไหม

2. ไม่ดูดแผล 

การดูดแผล หรือเอาลิ้นดุนแผลจะทำให้เลือดไหลไม่หยุด และห้ามอมน้ำแข็งเพื่อให้เลือดหยุดไหลด้วย วิธีการนี้เป็นความเข้าใจผิดของคนไข้ที่พบได้บ่อย ซึ่งนอกจากเลือดจะไม่หยุดแล้ว ยังอาจทำให้มีภาวะกระดูกเบ้าฟันอักเสบปวดตามมา

วิธีห้ามเลือดนอกจากการกัดผ้าก๊อซที่ถูกต้อง คือ ใช้ผ้าห่อน้ำแข็ง หรือเจลเย็นประคบด้านนอกของช่องปากบริเวณที่ผ่าตัด ให้ประคบครั้งละ 15 นาที พักเป็นเวลาสั้นๆ แล้วประคบต่อ สามารถประคบได้เรื่อยๆ ใน 48 ชั่วโมงแรก จะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดได้

3. ไม่บ้วนปากในวันแรก

เนื่องจากการบ้วนน้ำอาจทำให้ก้อนเลือดที่เพิ่งแข็งตัวหลุดออก และเลือดไหลออกมาอีก หรือหากพบลิ่มเลือดเป็นก้อนหลังจากเพิ่งผ่าตัดเสร็จใหม่ๆ ก็อย่าเพิ่งตกใจ และให้กลืนเลือดลงไปก่อน อย่าเพิ่งบ้วนปาก

4. รับประทานยา

โดยปกติหลังการผ่าตัด ทันตแพทย์มักจะจ่ายยาปฏิชีวนะ หรือยาแก้ปวดมาให้ด้วย ซึ่งหากมียาที่ทันตแพทย์สั่งให้รับประทานอย่างเคร่งครัด ก็ต้องรับประทานอย่าให้ขาด และอย่าหยุดยาเองด้วย

หากมียาโรคประจำตัว สามารถรับประทานได้ตามปกติ ยกเว้นกลุ่มยาละลายลิ่มเลือด ให้รับประทานได้ในเช้าวันรุ่งขึ้นหากเลือดหยุดดี หากเลือดยังไม่หยุด ควรรีบปรึกษาทันตแพทย์

สิ่งที่ห้ามทำใน 24 ชั่วโมงแรก หลังการผ่าฟันคุด

นอกจากสิ่งสำคัญที่ต้องทำหลังจากผ่าฟันคุดที่กล่าวไปข้างต้น ยังมีสิ่งที่คุณห้ามทำเด็ดขาดใน 24 ชั่วโมงแรกหลังผ่าฟันคุด ซึ่งได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ

ถอนหรือผ่าฟันคุดวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 432 บาท ลดสูงสุด 2640 บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

กด

หลังผ่าฟันคุด เคี้ยวได้ไหม

  • ห้ามบ้วนน้ำ ไม่ว่าจะเป็นน้ำประปา น้ำต้มสะอาด หรือน้ำอุ่น น้ำร้อนก็ห้ามเด็ดขาด
  • ห้ามแคะ แกะ หรือเขี่ยแผล
  • ห้ามใช้น้ำยาบ้วนปาก โดยเฉพาะที่มีแอลกอฮอล์ เนื่องจากอาจทำให้กระดูกเบ้าฟันอักเสบได้ (ยกเว้นถ้าทันตแพทย์ให้น้ำยาบ้วนปากแบบฆ่าเชื้อมาใช้ ให้ใช้ตามที่ทันตแพทย์สั่ง)
  • ห้ามสูบบุหรี่ เนื่องจากจะทำให้แผลอักเสบ และสกปรก
  • ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากจะทำให้มีเลือดออก
  • ห้ามใช้หลอดดูด เนื่องจากแรงดูดอาจทำให้ลิ่มเลือดหลุด
  • ห้ามออกกำลังกาย หรือใช้แรงงานอย่างหนัก เนื่องจากอาจทำให้เลือดออก
  • ห้ามแปรงฟันแรง แต่สามารถใช้แปรงนุ่ม แปรงฟันที่อยู่ใกล้แผลเบาๆ ให้สะอาด เพื่อไม่ให้แบคทีเรียสะสมที่แผล มิฉะนั้นแผลอาจอักเสบได้

การรับประทานอาหารหลังผ่าฟันคุด

การรับประทานอาหารหลังผ่าฟันคุด เป็นปัญหาของใครหลายคน เพราะไม่แน่ใจว่า สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติได้เลยหรือไม่ 

โดยหลังจากผ่าฟันคุด คุณจะมีอาการปวดแผล รู้สึกระบม และมีอาการแก้มบวมเกิดขึ้น ทางที่ดีใน 1-2 วันแรกหลังการผ่าฟันคุด คุณควรรับประทานอาหารเนื้อนุ่ม เป็นน้ำ เคี้ยวง่าย เพื่อไม่ให้แผลกระทบกระเทือนมากจากการเคี้ยว และไม่ควรเป็นอาหารรสเผ็ด หรือรสจัด เพราะจะทำให้แสบแผลได้ เช่น

  • โจ๊ก
  • ข้าวต้ม
  • ซุป
  • โยเกิร์ต
  • นม หรือน้ำผลไม้

การพูดคุยหลังผ่าฟันคุด

หลังจากผ่าฟันคุด คุณอาจไม่สามารถพูดได้ หรือพูดไม่ถนัดประมาณ 1-2 วันแรก เพราะแผลที่บวม และการพูดทำให้รู้สึกเจ็บแผล มันอาจดีกว่าหากคุณจะขอลาป่วยจากงานที่ทำ หรือขอทำงานที่บ้านเพื่องดพูดคุย จะได้ไม่รู้สึกเจ็บแผล และเพื่อให้แผลได้ฟื้นตัว และมีอาการบวมน้อยลงด้วย

วิธีทำความสะอาดหลังผ่าฟันคุดเป็นอย่างไร?

หลังผ่าฟันคุด ยังไม่ควรกลั้วปากแรงๆ แต่สามารถแปรงฟันซี่ที่อยู่ห่างจากฟันคุดได้ตามปกติ ส่วนฟันที่อยู่ใกล้แผล และตัวแผล ก็ให้ใช้แปรงนุ่ม แปรงฟันเบาๆ ให้สะอาด เพื่อไม่ให้แบคทีเรียสะสม มิฉะนั้นแผลอาจอักเสบมาก หากทำความสะอาดได้ดี แผลจะหายเร็ว

การดูแลตนเองหลังผ่าฟันคุดนั้นทำได้ไม่ยาก เพียงแต่ต้องงดกิจกรรมบางอย่างที่เคยทำเป็นประจำอยู่แล้วทุกวัน และดูแลแผลอย่างนุ่มนวล เพื่อไม่ให้เกิดการอักเสบ หรือปากแผลฉีกขาดได้ เพียงเท่านี้แผลจากการผ่าฟันคุดก็จะฟื้นตัวได้โดยเร็ว

อย่างไรก็ตาม หากในระหว่างดูแลรักษาแผล แล้วพบว่า แผลผ่าตัดบวมขึ้น (ไม่ใช่แก้มบวมจากการช้ำของการผ่าตัด) มีหนองไหลออกมาจากปากแผล ก็ให้รีบกลับไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจแผลทันที

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจถอน และผ่าฟันคุด จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)