ยาสมุนไพรใช้แทนยาแผนปัจจุบันได้ไหม

หลายๆ คนเมื่อป่วยไข้ นอกจากวิธีการไปพบแพทย์แผนปัจจุบันตามโรงพยาบาล บางคนก็ถูกแนะนำให้ลองปรึกษาแพทย์แผนโบราณ นำยาหม้อ ยาสมุนไพรต่างๆ มาทาน อาจจะด้วยความเชื่อที่ว่าสมุนไพรมาจากธรรมชาติ ดีต่อร่างกายมากกว่า ไม่ตกค้าง หรืออาจจะด้วยเรื่องของราคาที่อาจจะถูกกว่ายาปฏิชีวนะบางตัว บางคนก็ถูกกับยาแผนปัจจุบัน บางคนก็ถูกกับยาแผนโบราณมากกว่า

แต่ทราบหรือไม่คะว่า ถ้าหากทานยาทั้งสองชนิดนี้ด้วยกัน หรือพร้อมกัน ผลจะเป็นอย่างไร Sanook! Health นำคำตอบจากรายการ Did You Know? คุณรู้หรือไม่? มาฝากค่ะ

สมุนไพร หรือยาแผนโบราณเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาโรคตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายายของเรา ปัจจุบันสมุนไพรไทยต่างๆ เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น โดยใช้เป็นยารักษาโรค หรืออาหารเสริมเพื่อสุขภาพ นอกจากนี้กระทรวงสาธารณะสุขมีการส่งเสริมให้มีการใช้ยาแผนโบราณ หรือยาสมุนไรควบคู่กันไปกับยาแผนโบราณ ตามโรงพยาบาลที่อยู่ภายใต้สังกัดของกระทรวงสาธารณะสุขอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม หลายคนยังสงสัยว่า หากทานยาแผนปัจจุบัน กับยาแผนโบราณควบคู่กันไป หรือทานพร้อมกัย จะมีปฏิกิริยา หรือส่งผลอย่างไรต่อร่างกายหรือไม่?

ยาสมุนไพรใช้แทนยาแผนปัจจุบันได้ไหม

ยาสมุนไพรใช้แทนยาแผนปัจจุบันได้ไหม

คำตอบคือ ผลงานวิจัยจากต่างประเทศระบุว่า หากทานยาแผนโบราณ หรือยาสมุนไร ควบคู่ไปกับยาปฏิชีวนะ หรือยาแผนโบราณในการรักษาโรค อาจมีปฏิกิริยา หรือส่งผลข้างเคียงที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายได้ หากใช้อย่างไม่ระมัดระวัง ทั้งชนิด และปริมาณ โดยปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นจะมี 2 แบบ คือ

1. ปฏิกิริยาเภสัชจลนศาสตร์ หมายถึง ยาชนิดใดชนิดกนึ่งจะเปลี่ยนแปลงประสิทธิภาพในการดูดซึม การกระจายตัว การเผาผลาญ และการขจัดออกจากร่างกายทำให้ยาชนิดนั้นๆ ออกฤทธิ์ได้ไม่เต็มที่ เช่น การทานยาบางชนิด ควบคู่ไปกับการดื่มชาเขียว เป็นต้น

2. ปฏิกิริยาเภสัชพลศาสตร์ หมายถึง การที่ยาชนิดใดชนิดหนึ่งเปลี่ยนแปลงการออกฤทธิ์ที่เนื้อเยื่อ หรืออวัยวะเป้าหมายโดยตรง มีผลทำให้ยาชนิดนั้นๆ มีฤทธิ์ที่แรงกว่าปกติ จนทำให้เกิดอาการข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ได้

นอกจากนั้น สถาบันแพทย์แผนไทย ยังมีคำเตือนอีกด้วยว่า ไม่คสรทานยาสมุนไพร และยาแผนใหม่ที่ออกฤทธิ์คล้ายกันเพราะอาจทำให้ร่างกายได้รับยาเกินขนาด ร่างกายอาจเสียสมดุล และการรักษาอาจไม่เป็นผลอย่างที่ต้องการได้

 

ยาสมุนไพรใช้แทนยาแผนปัจจุบันได้ไหม

เพราะฉะนั้น เราสามารถทานยาสมุนไพร ควบคู่ไปกับยาแผนปัจจุบันได้ แต่ต้องแจ้งคุณหมอว่าเรากำลังทานยาสมุนไพรอะไรอยู่ เพราะยาสมุนไพรกับยาแผนปัจจุบันบางตัว อาจออกฤทธิ์คล้ายกัน และไปตีกันข้างในร่างกาย คุณหมอจะได้หลีกเลี่ยงการจ่ายยาที่ออกฤทธิ์คล้ายๆ กันให้เรา ป้องกันการได้รับยามากเกินขนาดนั่นเองค่ะ

วันนี้สมุนไพรกลายเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาโรค ที่กำลังได้รับความนิยม ภูมิปัญญารุ่นปู่ย่าถูกนำมาต่อยอดเป็นยา เป็นอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ และได้รับการส่งเสริมโดยกระทรวงสาธารณสุขที่ให้มีการใช้ยาสมุนไพรรักษาโรคควบคู่ไปกับการรักษาด้วยแผนปัจจุบันในรพ.สังกัดของรัฐ

อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อสงสัยกันอีกมากว่าหากรับประทานยาสมุนไพรควบคู่ไปกับยาสามัญประจำบ้านจะมีผลอะไรหรือไม่ ตรงนี้ นายนิเวศน์ บวรกุลวัฒน์ แพทย์แผนไทย สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก อธิบายว่า ตัวยาสามัญประจำบ้านส่วนใหญ่แล้วเป็นยารักษาโรคพื้นฐาน ปวดหัว ตัวร้อน ท้องอืดท้องเฟ้อ ซึ่งขณะที่สมุนไพรไทย ๆ อย่างขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด หอม กระเทียม ของพวกนี้รับประทานกันเป็นปกติในอาหารอยู่แล้ว มั่นใจได้ว่าไม่มีผลหากว่าวันนั้นจะรับประทานยาแผนปัจจุบันอะไรมา

แต่เมื่อใดที่สมุนไพรมารวมตัวกันเป็นตำรับยาแล้ว แน่นอนว่าการออกฤทธิ์ต่าง ๆ จะเพิ่มขึ้น จึงไม่ควรรับประทานคู่กับยาสามัญประจำบ้านที่ออกฤทธิ์คล้ายคลึงกัน จะทำให้ได้รับยาเกินปริมาณที่เหมาะสม อาทิ ยาลดไข้ หากรับประทานทั้งยาแผนไทย และยาแผนปัจจุบันร่วมกันอาจจะทำให้อุณหภูมิในร่างกายลดลงจนเสียสมดุล หรือยาระบาย หากรับประทานตัวหนึ่งแล้วยังไม่ออกฤทธิ์ กลับไปรับประทานอีกตัวหนึ่ง อาจจะเกิดปัญหาท้องเสีย ท้องเดินได้ ดังนั้นจึงต้องระมัดระวัง

แต่ถ้ารักที่จะเลือกทางใดทางหนึ่งก็เลือกทางนั้นไปเลยจะดีกว่า และถ้าเราป่วยเรื้อรัง หรือเป็นบ่อยก็ให้ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เช่น ถ้าท้องอืดบ่อย ๆ ก็หันมารับประทานสมุนไพรที่มี รสร้อน เช่น อาหารที่มีขิงเป็นส่วนประกอบ ส้มตำก็ถือเป็นของดี เพราะมีพริก กระเทียม หรือจะเป็นผัดกะเพรา ผัดพริก แกงป่า กินพริกไทยอ่อน เรียกว่ากินอาหารให้เป็นยา“

อาจารย์นิเวศน์ กล่าวว่า อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องบอกให้รู้ไว้โดยทั่วกัน คือ อย่าเชื่อคำบอกเล่าว่ายานี้ดีต่อโรคนี้ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน หรือญาติข้างบ้าน เพราะคนเหล่านี้ไม่ใช่หมอ ในขณะที่ ร่างกายคนเราแตกต่างกัน อาการเกิดขึ้นคล้าย ๆ กัน แต่กลับเป็นคนละโรค ดังนั้นต้องศึกษาข้อมูล ทางที่ดีก็ไปปรึกษาแพทย์แผนไทย หรือแพทย์แผนไทยประยุกต์ให้เป็นผู้สั่งยาให้ เพราะเป็นผู้ที่มีความรู้ สามารถวิเคราะห์โรค และจัดยาให้ได้ตรงตามอาการป่วยของแต่ละคน

ยิ่งถ้าเป็นยาตำรับเฉพาะโรคบางชนิดที่รุนแรงยิ่งต้องระมัดระวัง อย่าหลงเชื่อการโฆษณาทางอินเทอร์เน็ต หรือช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ แม้กระทั่งยาสมุนไพรที่วางขายตามตลาดนัด เพราะที่ผ่านมาพบว่ามีการหลอกลวง อวดอ้างสรรพคุณเกินจริงมามาก ส่วนใหญ่ที่พบว่ารับประทานไปแล้วหายจากการเป็นโรคนั้นจะพบว่าลักลอบผสมสารสเตียรอยด์ ซึ่งเป็นสารต้องห้ามเนื่องจากเป็นโทษต่อร่างกาย

ทั้งนี้ ถ้าจะหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตขอให้อิงหน่วยงานภาครัฐไว้ เช่น กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งจะมีการกลั่นกรองข้อมูลก่อนการเผยแพร่ ส่วนเว็บไซต์อื่น ๆ จะมีการอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง ในขณะที่การควบคุมการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตยังทำได้ไม่ทั่วถึง.

อภิวรรณ เสาเวียง : รายงาน

ยาสมุนไพรกับยาแผนปัจจุบันแตกต่างกันอย่างไร

ยาสมุนไพร คือการรักษาโดยใช้วิธีธรรมชาติ นำมาแปรรูปเช่น ผง น้ำมัน ตัวยา ไม่ได้เข้มข้นเท่ากับยาแผนปัจจุบัน อาจจะต้องใช้ระยะเวลาและปริมาณ ที่มากกว่า แต่ก็ไม่เกิดผลข้างเคียงหรือก่อให้เกิดสารตกค้าง

สมุนไพรกับยาสมุนไพรแตกต่างกันอย่างไร

สมุนไพร หมายถึง พืชที่ใช้ทาเป็นเครื่องยา สมุนไพรกาเนิดมาจากธรรมชาติ และมี ความหมายต่อชีวิตมนุษย์โดยเฉพาะ ในทางสุขภาพ อันหมายถึงทั้งการส่งเสริมสุขภาพและการรักษาโรค ความหมายของยาสมุนไพรในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ได้ระบุว่า ยาสมุนไพร หมายความว่า ยาที่ได้ จากพฤกษาชาติ สัตว์หรือแร่ธาตุ ซึ่งมิได้ผสมปรุงหรือแปรสภาพ เช่น พืช ...

การใช้สมุนไพรดีอย่างไร

ประโยชน์ของสมุนไพรไทย 1. ใช้เป็นยาบาบัดรักษาโรค 2. ใช้เป็นอาหาร 3. ใช้เป็นอาหารเสริมบารุงร่างกาย 4. ใช้ขับสารพิษ 5. ใช้เป็นเครื่องดื่ม 6. ช่วยเสริมสร้างความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ 7. ใช้กาจัดหรือขับไล่แมลง

ทำไมต้องใช้สมุนไพร

สมุนไพรตัวหนึ่งรักษาได้หลายอาการ เริ่มต้นที่ต้านอนุมูลอิสระ กระตุ้นธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ในแผนไทย หรือธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ในแผนจีน สมุนไพรจึงไม่ค่อยมีความจำเพาะต่อโรค แต่ปลอดภัยกว่ายาจากสารเคมี ฉะนั้นสมุนไพรจึงทำงานเข้ากันกับร่างกายมากกว่า ทำให้อวัยวะหรือสรีระในร่างกายปรับตัวได้ดีกว่า