นักเรียนหญิงไว้ผมยาวได้ไหม

เปิดเทอมใหม่ ประเด็นใหญ่แวดวงการศึกษาไทย ไม่ใช่เรื่องการรับมือโควิด ไม่ใช่เรื่องจะพัฒนาการศึกษายังไงในยุคนิวนอร์มัล และไม่ใช่เรื่องจะลดความเหลื่อมล้ำยังไง เพื่อให้เด็กไทยเข้าถึงการศึกษาอย่างเท่าเทียม

แต่เป็นเรื่อง.. ทรงผม!

ครูผู้หวังดี (และผู้ปกครองที่คล้อยตาม) ยังมองว่า ทรงผมที่เป็นระเบียบจะช่วยฝึก ‘วินัย’ ให้เด็กๆ โตขึ้นพร้อมทำตามกฎระเบียบของสังคม แต่ครูครับ ครูลืมไปแล้วหรือเปล่าว่า กระทรวงศึกษาธิการเขาเพิ่งออก ระเบียบว่าด้วยนักเรียน’ ฉบับใหม่ มาไม่กี่เดือนก่อน ผ่อนคลายเรื่องทรงผมของเด็กๆ มากขึ้น – ทำไมครูไม่ทำตามระเบียบของกระทรวงนะ งงจัง

อวสาน หัวเกรียนกับติ่งหู ?

ทรงผมของนักเรียนชาย-หญิงที่เราคุ้นเคยกัน แท้จริงแล้วเป็นการปฏิบัติตามกฎกระทรวง (ศึกษาธิการ) ที่ออกมาโดยประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 132 เมื่อปี พ.ศ.2515 โน่นนน  และที่สำคัญ แค่ 3 ปีถัดมา มีการออกกฎกระทรวง (ศึกษาธิการ) อีกฉบับมาแก้ไข ให้นักเรียนชาย-ไว้ผมยาวจนถึงตีนผมได้ นักเรียนหญิง-ให้ไว้ผมยาวจนถึงต้นคอ หากโรงเรียนให้อนุญาตให้ไว้ยาวกว่านั้น ก็ให้รวบให้เรียบร้อย อ้าวๆๆ

ในปี พ.ศ.2548 ยังมีการออก พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก ที่ยกเลิกกฎกระทรวง (ศึกษาธิการ) ทั้งสองฉบับมาอีกด้วย

นักเรียนหญิงไว้ผมยาวได้ไหม

ต่อมา ในปี พ.ศ.2556 รมว.ศึกษาธิการขณะนั้น ยังส่งจดหมายเรื่องทรงผมนักเรียนถึงโรงเรียนต่างๆ ใจความว่า กฎกระทรวงที่มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2515 ได้เลิกใช้ไปนานแล้ว และทรงผมนักเรียนใหม่ ชายไว้รองทรงได้ หญิงถ้าไว้ยาวให้รวบผม

อีกข้อสังเกตก็คือ การลงโทษนักเรียนด้วยการกร้อนผม ตัดแหว่ง เล็มเป็นหน้าม้าเต่อ ไถให้เห็นหนังศีรษะ ฯลฯ ไม่เพียงเป็นการละเมิดสิทธิเด็ก ยังอาจทำผิดระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียน ที่ออกมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 ซึ่งกำหนดบทลงโทษนักเรียนไว้เพียง 4 กรณี 1.ว่ากล่าวตักเตือน 2.ทัณฑ์บน 3.ตัดคะแนนความประพฤติ 4.ทำกิจกรรมเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรม อีกต่างหาก

ทรงผมนักเรียนไทย ยุคนี้

หมดยุคหัวเกรียน-ติ่งหูมากว่า 40 ปีแล้ว เช่นนั้น นักเรียนไทยในยุคปัจจุบันจะไว้ทรงผมอะไรได้บ้างนะ

ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการไว้ทรงผมของนักเรียน พ.ศ.2563 ซึ่งประกาศใช้เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา กำหนดไว้ดังนี้

นักเรียนหญิงไว้ผมยาวได้ไหม

“นักเรียนชาย จะไว้ผมสั้นหรือผมยาวก็ได้ กรณีไว้ผมยาวด้านข้าง ด้านหลังต้องยาวไม่เลยตีนผม ด้านหน้าและกลางศีรษะให้เป็นไปตามความเหมาะสมและมีความเรียบร้อย”

“นักเรียนหญิง จะไว้ผมสั้นหรือผมยาวก็ได้ กรณีไว้ผมยาวให้เป็นไปตามความเหมาะสมและรวบให้เรียบร้อย”

นักเรียนหญิงไว้ผมยาวได้ไหม

ใครไม่เชื่อ ไปตามอ่านกันได้ที่: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/103/T_0006.PDF (มีแค่ 2 หน้าเอสี่เอง อยากให้เข้าไปอ่านกันดู)

ซึ่งแม้ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการนี้ จะไม่ได้กำหนดบทลงโทษทางอาญากรณีไม่ปฏิบัติตามไว้ เช่น จำคุกหรือปรับเงิน แต่การไม่ปฏิบัติตามระเบียบของราชการ อาจมีผลต่อการดำเนินการทางวินัย

ข้อห้าม-ข้อกำหนด

อย่างไรก็ตาม การอนุญาตให้ไว้ผมดังกล่าวของนักเรียนชาย-หญิง ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ยังมีข้อยกเว้นห้ามปฏิบัติ 4 ข้อ ดังนี้

(1) ดัดผม

(2) ย้อมสีผมให้ผิดไปจากเดิม

(3) ไว้หนวดหรือเครา

(4) การกระทำอื่นใดซึ่งไม่เหมาะสมกับสภาพการเป็นนักเรียน เช่น การตัดแต่งทรงผมเป็นรูปทรงสัญลักษณ์หรือเป็นลวดลาย

นอกจากนี้ ยังมีข้อยกเว้นการไว้ผม ตามหลักความเชื่อของศาสนา หรือการดำเนินกิจกรรมบางอย่าง แต่ต้องให้หัวหน้าสถานศึกษาเป็นผู้อนุญาต

นักเรียนหญิงไว้ผมยาวได้ไหม

ช่วงท้ายของระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ยังให้อำนาจสถานศึกษาต่างๆ ไปวางระเบียบว่าด้วยทรงผมนักเรียนของตัวเองได้ “แต่ต้องไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้”

เรื่องราวเกี่ยวกับศีรษะของนักเรียนไทย มีทั้งหมดเท่านี้แหละ โลกเปลี่ยน ระเบียบเปลี่ยน แต่ผู้เกี่ยวข้องบางคนยังเคยชินกับการวัตรปฏิบัติแบบเดิมๆ

Illustration by Kodchakorn Thammachart

You might also like

Share this article


ยังคงเป็นที่สงสัยกันอยู่ว่า นักเรียนสามารถไว้ผมยาวได้ไหม ซึ่งทาง กระทรวงศึกษาธิการ ก็ได้ออกระเบียบการไว้ทรงผมของนักเรียนปี 2563 ออกมาเป็นที่เรียบร้อยเมื่อช่วงเดือนมีนาคม 2563 ที่ผ่านมา เรามาดู ระเบียบการไว้ทรงผมของนักเรียน ฉบับปี 2563 ไปด้วยกันเลย ว่านักเรียนไว้ผมยาวได้ไหม?

นักเรียนหญิงไว้ผมยาวได้ไหม
ระเบียบการไว้ทรงผมของนักเรียน
นักเรียนหญิงไว้ผมยาวได้ไหม
ระเบียบการไว้ทรงผมของนักเรียน

ระเบียบ กระทรวงศึกษาธิการ การไว้ทรงผมของนักเรียน ปี 2563

ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการไว้ทรงผมของนักเรียน พ.ศ. ๒๕๖๓”

ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ 3 ในระเบียบนี้

นักเรียน” หมายความว่า บุคคลซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในสถานศึกษา

สถานศึกษา” หมายความว่า สถานศึกษาในสังกัดหรือกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ ที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน เว้นแต่การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย “หัวหน้าสถานศึกษา” หมายความว่า ผู้อำนวยการ หรือหัวหน้าสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีอำนาจหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา

ข้อ 4 นักเรียนต้องปฏิบัติตนเกี่ยวกับการไว้ทรงผม ดังนี้

  • นักเรียนชายจะไว้ผมสั้นหรือผมยาวก็ได้ กรณีไว้ผมยาวด้านข้าง ด้านหลังต้องยาว ไม่เลยตีนผม ด้านหน้าและกลางศีรษะให้เป็นไปตามความเหมาะสมและมีความเรียบร้อย
  • นักเรียนหญิงจะไว้ผมสั้นหรือผมยาวก็ได้ กรณีไว้ผมยาวให้เป็นไปตามความเหมาะสมและรวบให้เรียบร้อย

ข้อ 5 นักเรียนต้องห้ามปฏิบัติตน ดังนี้

  • ดัดผม
  • ย้อมสีผมให้ผิดไปจากเดิม
  • ไว้หนวดหรือเครา
  • การกระทำอื่นใดซึ่งไม่เหมาะสมกับสภาพการเป็นนักเรียน เช่น การตัดแต่งทรงผมเป็นรูปทรงสัญลักษณ์หรือเป็นลวดลาย

ข้อ 6 ความในข้อ 4 และข้อ 5 มิให้นำมาใช้บังคับแก่นักเรียนที่มีเหตุผลความจำเป็นในการปฏิบัติตามหลักศาสนาของตนหรือการดำเนินกิจกรรมของสถานศึกษา ให้หัวหน้าสถานศึกษาเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาอนุญาต

ข้อ 7 ภายใต้บังคับข้อ 4 ให้สถานศึกษาโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษาหรือคณะกรรมการบริหารโรงเรียนวางระเบียบเกี่ยวกับการไว้ทรงผมของนักเรียนที่มีความเฉพาะเจาะจงได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ การดำเนินการตามวรรคหนึ่งให้ยึดถือหลักความเหมาะสมในการพัฒนาบุคลิกภาพที่ดีของนักเรียน และการมีส่วนร่วมของนักเรียน สถานศึกษา ผู้ปกครอง และชุมชนท้องถิ่น

ข้อ 8 ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการรักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้

ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ออกระเบียบโดย ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

หรือเราจะสรุปได้ว่า

นักเรียนหญิงไว้ผมยาวได้ไหม
ระเบียบการไว้ทรงผมของนักเรียน

ระเบียบ การไว้ทรงผมของนักเรียนใหม่ของทางกระทรวงศึกษาธิการ นั้นอนุญาตให้นักเรียนทั้งชายและหญิงสามารถไว้ผมยาวได้ตามความเหมาะสมและมีความเรียบร้อย แต่ห้ามดัดผม ย้อมผม หรือ ไว้หนวดเครา ตลอดไปจนถึงการตัดแต่งทรงผม เป็นรูปทรงสัญลักษณ์หรือเป็นลวดลายต่างๆ โดยระเบียบดังกล่าว ให้เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ.2563 (วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา) เป็นต้นไป