ผู้ชายเปลี่ยนนามสกุลได้ไหม

� �� � � �� �
  • ������͡�� ���ʡ�Ţͧ����ͧ �繡��������� ��ȹ��� ���١��ͧ �����˭ԧ��� ����鵡�� ��Ѿ�����ѵ� �ͧ���� ����� ��������� ��þ��觡ѹ��Сѹ
  • �óչ�� �ʹ���ͧ�Ѻ ��÷Ѵ�ҹ�ҡ� ���͹��ѭ�� ��Ҵ��¡�� ��Ѵ������͡��Ժѵ� ���ʵ�� �ء�ٻẺ ���Ἱ��Ժѵԡ�� �ѡ��� ����Ѻ�ͧ 㹡�û�Ъ�� �дѺ�š ��Ҵ���ʵ�� ��觻������ ��ŧ����������
  • ������͡�� ���ʡ�Ţͧ����ͧ ������� ���˵آͧ ��÷���� ��ͺ���� ᵡ�¡ ���Ф�������ѹ�� 㹤�ͺ���� �д�������� �������Ѻ �Ѩ������ � �ա�ҡ

�� � �� � �

  • ��������� ���������� ��Ҽ��˭ԧ ��ҡ����ʡ����� ����ǧ���������
  • ������͡�� ���ʡ�ŵ��ͧ�� ���Դ�����Ѻʹ 㹤�ͺ���� ��������� �������� ���١��
  • ����ͧ�����ҧ�� �������ǡѺ����ͧ ���ʡ�� �������顯���¹�� ����������� ���˭ԧ �Ѻ����� ��������ѹ
บางคนอาจจะสงสัยว่า เมื่อจดทะเบียนสมรสกับสามีคนญี่ปุ่นแล้ว จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องเปลี่ยนนามสกุลตามสามี ถ้าไม่เปลี่ยนจะมีผลอะไรหรือเปล่า?



ซึ่งถ้าตามกฎหมายญี่ปุ่นแล้วก็ไม่มีการบังคับว่าจะให้ฝ่ายหญิงคนต่างชาติเปลี่ยนหรือไม่ แต่ การที่ไม่เปลี่ยนนามสกุล หลังจากจดทะเบียนสมรสกันแล้ว จะเป็นเรื่องแปลกสำหรับคนญี่ปุ่นมาก เพราะสังคมคนญี่ปุ่น เมื่อแต่งงานแล้วจะต้องเปลี่ยนนามสกุลตามสามีเพราะใบคำร้องจดทะเบียนสมรสของคนญี่ปุ่นเขาจะให้เลือกว่าใช้นามสกุลภรรยาหรือสามีค่ะ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องเปลี่ยนเพื่อให้เป็นคนในครอบครัวเดียวกัน


กรณีที่คนไทยจดทะเบียนสมรสกับคนญี่ปุ่น จึงต้องมีการสอบถามฝ่ายหญิงว่าต้องการเปลี่ยนนามสกุลตามสามีหรือไม่ ถ้าต้องการเปลี่ยนตามสามีคนญี่ปุ่น ถ้าสามีคนญี่ปุ่นไม่ได้เดินทางมาที่เมืองไทย สามีต้องดำเนินเรื่องทำเอกสารให้ภรรยาใช้นามสกุลของตนได้ ภรรยาถึงจะสามารถดำเนินเรื่องเปลี่ยนนามสกุลที่อำเภอไทยได้


แต่อีกกรณีถ้าฝ่ายชายมาที่เมืองไทยได้ก็สามารถพาสามีไปที่อำเภอไทยด้วยกัน เจ้าหน้าที่อำเภอก็จะสอบถามเรื่องเปลี่ยนนามสกุลว่าจะเปลี่ยนตามสามีหรือไม่ เรื่องนี้คุณก็สามารถเลือกได้เลย ถ้าต้องการเปลี่ยนเจ้าหน้าที่ก็จะเปลี่ยนให้เลยนะคะ เอกสารที่เราได้จากอำเภอไทยจะเรียกว่า หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อสกุล (ช.5) ค่ะ และเมื่อเราเปลี่ยนนามสกุลที่เมืองไทยเรียบร้อยแล้วก็สามารถนำเอกสารหลักฐานการเปลี่ยนชื่อสกุล แปลเป็นภาษาอังกฤษรับรองกระทรวงการต่างประเทศ และให้สามีคนญี่ปุ่นยื่นเรื่องเปลี่ยนที่อำเภอญี่ปุ่นได้เลยค่ะ

Reply : การขอเปลี่ยนนามสกุลบุตร

     ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๕๖๑ บุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของบิดาในกรณีที่บิดาไม่ปรากฏ บุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของมารดา

กรณีนี้ มารดาสามารถยื่นคำร้องขอเปลี่ยนชื่อสกุล ให้กับบุตรที่เกิดจากสามีเก่าที่มิได้จดทะเบียนสมรสกันมาใช้ชื่อสกุล

ของมารดา (นามสกุลเดิมของมารดาได้) ในกรณีที่มารดามีความประสงค์จะให้บุตรที่เกิดจากสามีเก่า ใช้ชื่อสกุลของสามีใหม่

มี ๒ กรณี คือ

๑. ให้สามีใหม่รับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม

๒. การใช้ชื่อสกุลร่วมกับเจ้าของชื่อสกุล

(การเป็นเจ้าของชื่อสกุลต้องมีหนังสือแสดงการจดทะเบียน ชื่อสกุล ช.๒ มาแสดงต่อหน้านายทะเบียน) มารดาสามารถยื่นคำร้อง

          สรุปได้ว่า หลังจากหย่าแล้วควรต้องเปลี่ยนนามสกุลกลับไปเป็นนามสกุลเดิมของตัวเอง แต่หากต้องการใช้นามสกุลของสามีอยู่ก็ต้องให้เจ้าของนามสกุลที่เป็นต้นสกุลเป็นผู้อนุญาตให้ใช้นามสกุล ซึ่งควรทำตามขั้นตอนให้ถูกต้องกันนะคะจะได้ไม่มีปัญหาในภายหลัง

การเปลี่ยนนามสกุลเป็นอีกหัวข้อหนึ่งที่มีประชาชนให้ความสนใจสอบถามกันเข้ามาค่อนข้างบ่อยสำหรับฝ่ายกงสุลค่ะ หลายๆ ท่านที่สมรสกับชาวต่างชาติ และต้องการเปลี่ยนไปใช้นามสกุลตามสามี หรือไม่เปลี่ยนนั้นไม่มีผลต่อการมีสถานะสมรสเพราะกฏหมายไทยเองก็ยินยอมให้ฝ่ายหญิงใช้นามสกุลเดิม หรือใช้นามสกุลสามีก็ได้ ถ้าคุณจดทะเบียนสมรสในต่างประเทศ คุณไม่จำเป็นต้องไปเปลี่ยนเป็นนามสกุลสามี (ทันที) เพราะในหลายๆ ประเทศ เช่น อเมริกา กฎหมายยินยอมให้ฝ่ายหญิงใช้นามสกุลเดิม หรือจะใช้นามสกุลสามีก็ได้ ฉะนั้น คุณสามารถเลือกได้ ยกเว้นในกรณีที่ประเทศที่คุณไปอยู่นั้นมีกฎบังคับว่า คุณต้องเลือกถือสัญชาติใดสัญชาติหนึ่ง ไม่ยอมให้ถือสองสัญชาติ

อีกกรณีหนึ่งที่เป็นคำถามยอดนิยมที่เข้ามาฝ่ายกงสุลคือ กรณีที่คุณทำกรีนการ์ดเป็นนามสกุลสามี แต่ยังถือพาสปอร์ตไทย เป็นชื่อสกุลเดิม บางคนเกรงว่าเป็นปัญหาเวลาเดินทาง แนะนำว่า เมื่อถึงเวลาที่คุณจะต้องเดินทางให้คุณซื้อตั๋วเครื่องบินเป็นชื่อเดียวกันกับพาสปอร์ต แล้วควรพกสำเนาทะเบียนสมรส ติดกระเป๋าไปด้วย หากเจ้าหน้าที่สอบถามถึงเอกสารอื่นๆ ให้คุณนำสำเนาทะเบียนสมรส หรือกรีนการ์ดให้เจ้าหน้าที่ เป็นการยืนยันว่าเป็นบุคคลคนเดียวกัน เมื่อถึงเวลาที่คุณสามารถสอบเป็นพลเมืองอเมริกัน (ซิติเซ่น) แล้วนั้น คุณสามารถเลือกที่จะใช้นามสกุลตามสามีในเล่มพาสปอร์ตอเมริกันได้

หากจะพูดกันจริงๆ แล้ว การเปลี่ยนนามสกุลให้ตามคู่สมรสนั้น ไม่ได้มีกฎ หรือข้อบังคับตายตัวว่าบุคคลที่สมรสแล้วต้องเปลี่ยนนามสกุลทันที สามารถทำได้ตามสะดวก และถ้าจะหยิบยกข้อดีของการใช้นามสกุลเดิม (ก่อนสมรส) อยู่นั้น ก็คือการที่เอกสารต่างๆ ยังเป็นชื่อสกุลเดิมนั้น คุณไม่ต้องเป็นธุระเปลี่ยนเอกสารทุกอย่างที่มี การเปลี่ยนชื่อในเอกสารต่างๆ นั้นก็มีค่าใช้จ่ายทั้งนั้น และคุณยังสามารถทำนิติกรรมหลายๆ อย่างได้ด้วยตนเองค่ะ ถ้าถามว่า ….ความจำเป็นที่ต้องแก้ไขชื่อสกุลในเอกสารมีเพียงอย่างเดียวคือ ยื่นคำขอเปลี่ยนบัตรประชาชนไทย พร้อมขอแก้ไขชื่อสกุล ในทะเบียนบ้าน (ประเทศไทย) ในคราวเดียวกัน ส่วนเอกสารอื่นๆ เช่น บัญชีธนาคาร ใบขับขี่ ประกันสังคม ฯลฯ ไม่จำเป็นต้องรีบแก้ (ถ้ายังไม่สะดวก) เนื่องจากเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ยึดหลักบัตรประชาชนสามารถยืนยันตัวบุคคลได้เสมอ

ผู้ชายเปลี่ยนนามสกุลได้ไหม

ขั้นตอนการเปลี่ยนนามสกุล :
• เปลี่ยนเนื่องจากสมรสหรือหย่าไม่สามารถทำได้ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ผู้ร้องจะต้องทำการยื่นขอบันทึกสถานะแห่งครอบครัวและขอเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนบ้านที่อำเภอหรือเขตที่ตนเองมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านที่ประเทศไทย โดยนำทะเบียนสมรส/หย่าสหรัฐฯ ที่ผ่านการรับรอง Infor Graphic เปลี่ยนนามสกุล (คลิกที่นี่) ไปด้วย หลังจากนั้นจึงจะสามารถทำหนังสือเดินทางหรือบัตรประชาชนเพื่อให้นามสกุลเป็นปัจจุบัน

• หากท่านไม่สามารถเดินทางไปดำเนินการที่ประเทศไทยด้วยตนเอง สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทนได้ ในขั้นตอนนี้เองที่ท่านจะต้องยื่นเอกสารเพื่อทำเรื่องกับฝ่ายกงสุล ประจำสถานเอกอัครราชทูตไทยฯ สาขาที่รับผิดชอบเขตอาณาของมลรัฐของท่านค่ะ

• ท่านสามารถสอบถามข้อมูลเรื่องการเปลี่ยนนามสกุล/การรับรองเอกสาร/การมอบอำนาจ ได้ที่ อีเมลล์ [email protected] ประจำสำนักงานกรุงวอชิงตัน ดีซี

• เมื่อขั้นตอนการทำเอกสารเรียบร้อยจากฝ่ายกงสุล ประจำสำนักงานในต่างประเทศแล้ว (เอกสารสหรัฐฯ) ท่านจึงนำเอกสารที่ได้ไปติดต่อที่กรมการกงสุล ถนนแจ้งวัฒนะ เพื่อนำเอกสารสหรัฐฯ นั้นไปแปลเป็นภาษาไทย และผ่านการรับรอง จากนั้นจึงสามารถนำเอกสารฉบับนี้ไปติดต่อขอปรับสถานะทางครอบครัวกับสำนักงานเขตที่ท่านมีทะเบียนบ้านอยู่ เป็นลำดับต่อไป

ให้ลูกใช้นามสกุลสามีใหม่ได้ไหม

คุณแม่สามารถเปลี่ยนนามสกุลลูกตามสามีใหม่ได้ โดยให้สามีใหม่ทำการจดทะเบียนรับลูกเป็นบุตรบุญธรรม หรือใช้วิธีการขอร่วมใช้นามสกุลกับเจ้าของนามสกุล

ใช้ 2 นามสกุลได้ไหม

5. การใช้นามสกุลควบ (สองนามสกุล) ตามกฎหมายไทย ไม่สามารถใช้นามสกุลควบ"นามสกุลสามี-นามสกุลตนเอง" ได้ตัวอย่าง เช่น วีระตาเนน-วงศ์เจริญ เป็นต้น

คู่สมรสมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของใคร

“มาตรา ๑๒ คู่สมรสมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ตามที่ตกลงกัน หรือต่างฝ่ายต่างใช้ชื่อสกุลเดิมของตน การตกลงกันตามวรรคหนึ่ง จะกระทำเมื่อมีการสมรสหรือใน ระหว่างสมรสก็ได้

จดทะเบียนสมรสเปลี่ยนนามสกุลได้ไหม

"การเปลี่ยนนามสกุลและคำนำหน้าชื่อ หลังจดทะเบียนสมรสหรือจดทะเบียนหย่า ในต่างประเทศ สามารถทำได้ต่อเมื่อมีการจดทะเบียนบันทึกฐานะแห่งครอบครัว ทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในระบบทะเบียนราษฎร์ที่ประเทศไทยแล้วเท่านั้น (ทะเบียนบ้านที่ประเทศไทย)