คํา น. วณ ค่าไฟ พัดลมไอ เย็น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2563 หลังจากที่ผู้ใช้ไฟฟ้า ได้รับบิลค่าไฟ และพบว่าค่าไฟหลายบ้านพักอาศัยมีอัตราสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญ และมีการโพสต์ในสังคมโซเชียล ทั้งทวิตเตอร์ และเฟซบุ๊ก

จนกระทั่ง นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เตรียมเรียกคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟผ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มาหารือในวันที่ 20 เมษายน 2563

  • กรมอุตุฯเตือน 24-26 ธ.ค. เจออากาศหนาวเย็นอีกระลอก ต่ำสุด 8-10 องศา
  • ราชกิจจาฯออกประกาศ ห้ามรถ 10 ล้อขึ้นไป วิ่งช่วงปีใหม่ 6 ถนนสายหลัก
  • กองทัพเรืออัพเดต “ผู้สูญหาย-เสียชีวิต” เรือหลวงสุโขทัยอับปางล่าสุด

ก่อนที่ผลการหารือจะออกมาชี้แจง และมีมาตรการที่ชัดเจน มีเพจเฟซบุ๊ก ของผู้ที่ใช้ชื่อว่า “โธ่ ชีวิตพนักงานไฟฟ้า” มาตอบคำถาม และอธิบายตัวอย่าง 4 สูตรการคำนวณค่าไฟ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ทำให้ค่าไฟพุ่งขึ้น ดังนี้

1. การไฟฟ้า คิดเงินแบบอัตราก้าวหน้ามาตลอด ใช้เยอะจ่ายเยอะ ประโยคนี้คือ ความจริง (จะอ้างไม่รู้ไม่ได้นะคะ หรือจะบอกว่าสุดท้ายไฟฟ้าก็เอาเปรียบอยู่ดีไม่ได้ ไฟฟ้าไม่ได้ไปใช้ไฟกับคุณ)

2. ตัวแปรของค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้น คือ หน่วยการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น พูดง่าย ๆ ก็ คือ คุณใช้ไฟฟ้ามากขึ้นเลยทำให้ราคามันก้าวกระโดด

3. หลายคนคงสงสัย ทำไมหน่วยการใช้ไฟฟ้าถึงขึ้นได้มากขนาดนี้ ? ไฟฟ้ามาทำอะไรกับมิเตอร์รึเปล่า ?

คำตอบ คือ ไฟฟ้าไม่มีใครไปทำอะไรกับมิเตอร์ลูกค้าหรอกค่ะ เอาจริง ๆ นะ พนักงานแผนกมิเตอร์จำนวน 7 คน ต่อผู้ใช้ไฟฟ้าหลักแสนราย

ทีนี้เราต้องมาดูพฤติกรรมของตัวเองและคนในบ้าน ที่บอกว่าฉันใช้ไฟเท่าเดิม ลองคิดนะ

เปิดแอร์ เวลาเดิมทุกวัน 8.00 – 12.00 น. คุณเย็นเท่าเดิมจริง แต่ตัวที่ทำให้มิเตอร์ขึ้นหน่วยไวแค่ไหน อยู่ที่คอมเพรสเซอร์ข้างนอก ถ้าอากาศข้างนอกร้อนแค่ไหน หน่วยการใช้ไฟก็ขึ้นไวเท่านั้น เพราะคอมเพรสเซอร์คุณทำงานหนัก ยิ่งถ้าเปิดแอร์พร้อมกันนะ เสียงคอมฯดังนานแค่ไหนนั่นแหละคือ ทำใจไว้เลย มิเตอร์กำลังหมุนอย่างแรง และนั่นคือ เงินที่คุณต้องจ่ายไป

เครื่องฟอกอากาศอีก แทบทุกยี่ห้อกินไฟ ลองดูนะที่บอกประหยัดไฟคือไม่ประหยัดเลย ยิ่งเปิดพร้อมแอร์ คูณกำลัง 2 ไปเลย

Advertisement

ตู้เย็น เห็นตั้งนิ่ง ๆ แบบนั้น กินไฟเราแบบเงียบ ๆ นะคะ หน้าที่ของตู้เย็นคือต้องทำความเย็นในช่องแช่อาหาร ตามอุณหภูมิที่เรากำหนด เช่น เราตั้งไว้ที่ 1 องศา หลักการทำงานของมันคือ ต้องทำยังไงก็ได้ให้ 1 องศาตลอดเวลา นั่นก็ คอมเพรสเซอร์หลังตู้เย็นไงที่เป็นตัวทำงาน

– เปิดตู้เย็นบ่อย ๆ เปลืองไฟจริง เพราะตู้เย็นสูญเสียอุณหภูมิตอนเปิด

– แช่ของแบบไม่คิด ยัด ๆ เข้าไปก็เปลืองไฟจริง ต้องจัดระเบียบตู้เย็นกันบ้าง

บ้านที่มีปัญหาเรื่องค่าไฟฟ้าส่วนมาก จะมีเครื่องใช้ไฟฟ้าดังนี้

1. แอร์ พร้อม คอมเพรสเซอร์
2. เครื่องฟอกอากาศ
3. พัดลมไอน้ำ
4. ตู้เย็น ยิ่งอัดของเยอะ คอมเพรสเซอร์ตู้เย็นที่ดังตลอดเวลานั่นแหละคือ กำลังกินไฟคุณ

ตู้เย็นที่ประหยัดไฟคือตู้เย็นที่แช่แค่เครื่องดื่มไม่เกิน 5 ขวดเท่านั้น ถึงจะได้จ่ายราคาต่อปีตามที่ร้านโฆษณา

สรุปคือ ไฟฟ้าไม่ได้ปรับ หรือ ทำอะไรทั้งนั้น ไม่ได้คิดจะทำอะไรด้วย ไม่ฉวยโอกาสอะไรทั้งนั้น ไฟฟ้าการรันตีราคาให้แบบนี้

ตอนนี้หลายคนทำงานแบบ Work From Home หรืออยู่บ้านมากกว่าปกติ เจอปัญหาค่าไฟแพงจนน่าตกตะลึง การไฟฟ้าเคยอธิบายไว้ว่า อุณหภูมิที่สูงจัดส่งผลให้มีการใช้ไฟฟ้ามากขึ้นโดยไม่รู้ตัว ส่งผลให้เครื่องใช้ไฟฟ้าจะทำงานหนักมากขึ้นในเวลาเท่ากันในช่วงปกติ

ถ้าเห็นบิลค่าไฟฟ้าแล้วรู้สึกว่าแพงไป ก็ได้เวลาสำรวจแล้วว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นไหนในบ้าน ที่เป็นตัวการทำให้ค่าไฟพุ่งปรี๊ด มาดูกันว่า………..เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเรา ถ้าเปิดใช้งาน 1 ชั่วโมง กินไฟเท่าไหร่กันบ้าง จะได้มีแนวทางประหยัดไฟกัน

 

คํา น. วณ ค่าไฟ พัดลมไอ เย็น

 

เราจะคำนวณค่าไฟฟ้าโดยใช้สูตร

ค่าไฟฟ้า (บาท/ชม.) = (จำนวนวัตต์ของเครื่องใช้ไฟฟ้า x ค่าไฟต่อยูนิต)/1,000

โดยกำหนดให้ค่าไฟต่อยูนิต = ค่าไฟบ้านพื้นฐาน = 4 บาท/ยูนิต

 

เครื่องทำน้ำอุ่น

ใช้ไฟ: 2500 – 12000 วัตต์

ค่าไฟ: 10 – 47 บาท / ชม.

 

เครื่องปรับอากาศ

ใช้ไฟ: 1200 – 3300 วัตต์

ค่าไฟ: 5 – 13 บาท / ชม.

เครื่องซักผ้า

ใช้ไฟ: 3000 วัตต์

ค่าไฟ: 12 บาท / ชม.

 

เตารีดไฟฟ้า

ใช้ไฟ: 750– 2000 วัตต์

ค่าไฟ: 3 – 8 บาท / ชม.

 

เครื่องดูดฝุ่น

ใช้ไฟ: 750– 1200 วัตต์

ค่าไฟ: 3 – 5 บาท / ชม.

 

เครื่องปิ้งขนมปัง

ใช้ไฟ: 800– 1000 วัตต์

ค่าไฟ: 3 – 4 บาท / ชม.

 

หม้อหุงข้าว

ใช้ไฟ: 450– 1500 วัตต์

ค่าไฟ: 2 – 6 บาท / ชม.

 

ไดร์เป่าผม

ใช้ไฟ: 400– 1000 วัตต์

ค่าไฟ: 2 – 4 บาท / ชม.

 

เตาไมโครเวฟ

ใช้ไฟ: 100– 1000 วัตต์

ค่าไฟ: 0.40 – 4 บาท / ชม.

 

โทรทัศน์

ใช้ไฟ: 80 – 180 วัตต์

ค่าไฟ: 35 – 70 สตางค์ / ชม.

 

ตู้เย็น ( 7 – 10 คิว )

ใช้ไฟ: 70 – 145 วัตต์

ค่าไฟ: 25 – 60 สตางค์ / ชม.

 

เครื่องเล่น VDO 

ใช้ไฟ: 20 – 75 วัตต์

ค่าไฟ: 10 – 30 สตางค์ / ชม.

 

พัดลมตั้งพื้น

ใช้ไฟ: 20 – 75 วัตต์

ค่าไฟ: 10 – 30 สตางค์ / ชม.

* หมายเหตุ : แต่ละรายการคิดจากค่าไฟเฉลี่ย 3.9 บาท/หน่วย

 

หาคำตอบกับ MEA ทำไมค่าไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้น

 

เทคนิคประหยัดพลังงานด้วยวิธีง่าย ๆ

  1. ปิดสวิตซ์ไฟทันทีเมื่อไม่ใช้งาน รวมถึงการถอดปลักเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดเมื่อเลิกใช้ เพราะการปิดสวิตซ์แต่เสียบปลั๊กทิ้งไว้ จะทำให้มีไฟฟ้าไปเลี้ยงเครื่องใช้ไฟฟ้า ทำให้สูญเสียพลังงานโดยเปล่าประโยชน์
  2. ปลูกต้นไม้ไว้รอบบ้าน เพื่อเพิ่มความเย็นให้แก่ตัวบ้าน ลดการใช้เครื่องปรับอากาศก็จะช่วยประหยัดค่าไฟได้มากขึ้น
  3. อย่านำของร้อนเข้าไปแช่ในตู้เย็น จะทำให้ตู้เย็นทำงานหนัก ทำให้สิ้นเปลืองพลังงานมากขึ้น
  4. อย่าพรมน้ำจนแฉะเวลารีดผ้า เพราะเตารีดจะต้องใช้ความร้อนมากขึ้น
  5. อย่าเสียบปลั๊กหม้อหุงข้างทิ้งไว้ เพราะระบบอุ่นจะทำงานตลอดเวลา ทำให้สิ้นเปลืองไฟฟ้าเพิ่มขึ้น

วิธีการช่วยประหยัดไฟฟ้าที่ MEA แนะนำ

ทังนี้ ตัวเลขที่เห็นเป็นการคำนวณจากเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดกำลังวัตต์ตามที่กำหนดแบบประมาณการ และในสภาพแวดล้อมการใช้งานใน 1 ชั่วโมง ในชีวิตจริงโดยปกติจะมีปัจจัยอื่น ๆ เข้ามาข้องเกี่ยวด้วย เช่น การปรับความสว่างหน้าจอทีวี การตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศ รวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าบางอย่าง เช่น เครื่องปิ้งขนมปัง ก็ไม่ได้ใช้งานแบบต่อเนื่องนานเป็นชั่วโมง ๆ ดังนั้นจะเห็นว่านอกจากเครื่องปรับอากาศแล้ว เครื่องใช้อื่น ๆ นับว่าส่งผลกระทบกับค่าไฟแค่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

พัดลมไอเย็นกินไฟกี่บาท

พัดลมไอเย็นนั้นอยู่ที่ : 130 วัตต์ [ 🕐 ระยะเวลาเปิดต่อชั่วโมง ] แอร์ติดผนังถ้าเปิดไปต่อชั่วโมงจะมีค่าไฟอยู่ที่ : 5 - 13 บาท💲* พัดลมไอเย็นจะมีค่าไฟอยู่ที่ : 50 สตางค์💲

คํานวณค่าไฟยังไง

กำลังไฟฟ้า (วัตต์ ) x จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า ÷ 1000 x จำนวนชั่วโมงที่ใช้ใน 1 วัน = จำนวนหน่วยต่อวัน (ยูนิต)

พัดลมไอเย็น hatari กินไฟกี่วัตต์

Hatari Ac pro พัดลมไอเย็น 12ลิตร 68วัตต์ เปิดได้นานสูงสุด 8ชั่วโมง : สินค้าคุณภาพจาก ltgroup | Shopee Thailand.

พัดลมไอน้ํากินไฟไหม

ถ้าถามว่าพัดลมไอเย็นกินไฟไหม ต้องตอบว่ากินไฟพอๆ กับพัดลมธรรมดาค่ะ ถึงแม้จะให้ลมที่เย็นกว่าพัดลมธรรมดาอยู่หลายเท่า แต่พัดลมแอร์ หรือ พัดลมไอเย็นกลับไม่กินไฟอย่างที่คิด เพราะค่าการใช้ไฟของพัดลมไอเย็นนี้ไม่ต่างจากพัดลมธรรมดาเลย